November 22, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

สกสว. จัดการประชุมระดมความเห็นการพัฒนาและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของกองทุน ววน. สู่จุดมุ่งเน้นที่สำคัญของ Creative economy และ soft power หนุนสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง

สกสว. จับมือ ทปอ. บพค. และภาคีเครือข่าย เร่งพัฒนากำลังคนและสร้างองค์ความรู้ เทคโนโลยี เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็น ‘ศูนย์กลางกำลังคนระดับสูงด้านชีวสารสนเทศ’ เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลพันธุกรรมและการลงทุนในอุตสาหกรรมการแพทย์ บริการ และธุรกิจแห่งอนาคต

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ คณะกรรมการวิจัยและนวัตกรรม ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) และสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายที่มีความพร้อมในการพัฒนางานวิจัยด้านชีวสารสนเทศ จัดประชุมภาคีเครือข่ายวิจัยชีวสารสนเทศ และเชื่อมโยงนักชีวสารสนเทศของประเทศไทย รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประจำปี พ.ศ. 2566 Thailand Bioinformatics Research Network (TBRN 2023) : Talent Pool and Stakeholder Engagement เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องจีโนมิกส์ โครงการวิจัยด้านสุขภาพ เพื่อรวบรวมและสร้างฐานข้อมูลพันธุกรรมขนาดใหญ่ของคนไทย เพื่อให้นักวิจัยใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการศึกษาวิจัยในอนาคตเกี่ยวกับสุขภาพของคนไทย ทำให้ประชาชนได้รับการวินิจฉัย การรักษาอย่างจำเพาะและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ศาสตราจารย์กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) และ รองศาสตราจารย์ ดร. ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยด้านจีโนมิกส์  ทั้งใน และต่างประเทศ กว่า 200 คน เข้าร่วมการประชุม

โอกาสนี้ ศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล กล่าวว่า การดำเนินงานของแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในการร่วมผลักดันแผนฯ ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดบริการ การรักษาที่มีความแม่นยำสูง การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและการให้บริการการแพทย์จีโนมิกส์จึงมีความจำเป็น ทั้งการจัดตั้งศูนย์บริการทดสอบทางการแพทย์จีโนมิกส์ การถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของอาสาสมัครไทยภายใต้โครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย และการพัฒนาระบบชีวสารสนเทศ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค การออกแบบแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพ การทำนายโอกาสการเกิดโรค รวมไปถึงการต่อยอดเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านจีโนมิสก์และชีวสารสนเทศให้เพียงพอ และเชื่อมั่นว่าการจัดตั้ง “ศูนย์กลางกำลังคนระดับสูงด้านชีวสารสนเทศ” นั้น จะเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านชีวสารสนเทศของประเทศไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม

ด้าน ศาสตราจารย์กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ กล่าวเน้นย้ำถึงการดำเนินงานของกองทุนส่งเสริม ววน. ว่า ได้จัดสรรงบประมาณ 2000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนโครงการ genomics Thailand เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีด้านจีโนมิกส์ในประเทศไทย และสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นท้าทายหลายประการที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข เช่น การขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านจีโนมิกส์ การขาดความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคเอกชน การขาดกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่รองรับการวิจัยด้าน genomics เป็นต้น จึงได้เกิดการหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ร่วมกับ ทปอ. สกสว. บพค. จนได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าควรจัดตั้ง “ศูนย์กลางกำลังคนระดับสูงด้านชีวสารสนเทศ” ของประเทศไทย เพื่อรวบรวมผู้เชี่ยวชาญ พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะสูง การผลักดันการกำหนดมาตรฐานข้อมูล genomics ระดับประเทศ รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา ให้เกิดการใช้ประโยชน์ในภาคการผลิตและภาคบริการ

ขณะที่ รองศาสตราจารย์ ดร. ปัทมาวดี โพชนุกูล กล่าวถึงการดำเนินงานของ "แผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย ว่า นับตั้งแต่ปี2563 เป็นต้นมา สกสว.ได้จัดสรรงบประมาณด้าน ววน. ให้มีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย ซึ่งเน้นการสร้างฐานข้อมูลพันธุกรรมคนไทยจำนวน 50,000 ราย เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลที่สำคัญในการแพทย์ สาธารณสุข และการปรับปรุงระบบบริการสุขภาพของประชาชน โดยมีการส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลพันธุกรรมและการลงทุนในอุตสาหกรรมการแพทย์ บริการ และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกองทุนส่งเสริม ววน. ได้เน้นพัฒนาการวิจัยในด้านการแพทย์จีโนมิกส์ในกลุ่มโรคต่างๆ ได้แก่ มะเร็ง โรคหายาก โรคติดเชื้อ โรคไม่ติดต่อ และโรคแพ้ยา โดยให้ความเห็นว่าความท้าทายสำคัญในปัจจุบันของประเทศไทยด้านชีวสารสนเทศ คือ การผลักดันส่งเสริมในด้านการพัฒนาบุคลากรด้านชีวสารสนเทศ ตลอดจนนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางพันธุศาสตร์ที่ทันสมัย และได้มาตรฐาน เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์ของประเทศไทยในอนาคต

สำหรับการดำเนินการด้านจีโนมิกส์ในปัจจุบัน ดำเนินการโครงการสำคัญในมิติต่าง ๆ  อาทิ โครงการการศึกษาพันธุศาสตร์ จีโนมระดับประชากร จำนวน 50,000 คน การสร้างฐานข้อมูลพันธุกรรมอ้างอิงของไทย เพื่อต่อยอด งานวิจัยและบริการด้านการแพทย์จีโนมิกส์ และ การศึกษากลุ่มผู้ป่วยหลายกลุ่มโรคที่สามารถศึกษาระยะยาวแบบไปข้างหน้า ฯ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นําด้าน Genomic medicine ระดับอาเซียน ภายใน 5 ปี อีกทั้งให้ประชาชนไทยสามารถเข้าถึงบริการด้าน Genomic medicine อย่างมีคุณภาพต่อไป

สกสว. ร่วมมือ บพข. จัดสัมมนาเชิงนโยบาย “Technology Development in Thailand from Korean Perspectives: การพัฒนาเทคโนโลยีของไทยจากมุมมองผู้เชี่ยวชาญเกาหลีใต้” เพื่อพัฒนานโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทยอย่างยั่งยืน

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมมือกับธนาคารโลกเพื่อส่งเสริมนโยบายการพัฒนานวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภาพการเติบโตของประเทศไทย โดยภายใต้ความร่วมมือนี้ ธนาคารโลกและ สกสว. จะจัดทำรายงาน Policy Effectiveness Review (PER) เกี่ยวกับนโยบายการพัฒนานวัตกรรมผ่านการลงทุนในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของภาคเอกชน โดยรายงานฯ จะพิจารณาแนวทางการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศไทย เพื่อประเมินความสอดคล้องของนโยบายปัจจุบันกับความท้าทายและจำเป็นของประเทศไทยในด้านนี้

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)  ให้การสนับสนุนนักวิจัยพัฒนานวัตกรรมชุดเพาะเลี้ยงไข่น้ำระบบปิด พร้อมต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีโปรตีนสูง อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน สร้าง Bio Economy ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศด้วย BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) 

 

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นำทีมโดย ศ.ดร.อรรถชัย  จินตะเวช และคณะ ลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ติดตามความคืบหน้าโครงการ “นวัตกรรมผลิตไข่น้ำระบบปิดแบบแม่นยำและการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์โปรตีนสูงระดับชุมชน” ซึ่งโครงการวิจัยนี้ได้ดำเนินงานมาแล้ว 6 เดือน สามารถสร้างนวัตกรรมในการเพาะเลี้ยงไข่น้ำระบบปิดโดยใช้วิธีการทำเกษตรแบบแม่นยำ สามารถจัดการผลิตและเตรียมต่อยอดขยายผลสู่การเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีโปรตีนสูง

 

ไข่น้ำ คืออะไร ?

ไข่น้ำ หรือ ผำ เป็นพืชดอกสีเขียวที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ในประเทศไทยสามารถเจริญเติบโตตามแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยชาวบ้านในภาคเหนือและอีสานนิยมนำมาใช้เป็นอาหาร ซึ่งข้อมูลจากงานวิจัยระบุว่า ไข่น้ำเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยพบปริมาณโปรตีนในไข่น้ำอบแห้งสูงถึงร้อยละ 40 และนอกจากนี้ยังพบ เบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์อีกด้วย

ผศ.ดร.อารักษ์  ธีรอำพน  หัวโครงการวิจัย เปิดเผยว่า ไข่น้ำเป็นพืชท้องถิ่นที่มีคุณค่าทางโภนาการสูง เหมาะสำหรับเป็นอาหารทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการโปรตีน อย่างเช่น กลุ่มผู้สูงวัยหรือกลุ่มผู้ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยโปรตีนจากเนื้อสัตว์ จึงเกิดแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมชุดเพาะเลี้ยงไข่น้ำในระบบปิด ซึ่งขณะนี้สามารถสร้างโรงเรือนอยู่ระหว่างการทดลองเพาะเลี้ยงไข่น้ำ และขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาพัฒนาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ พร้อมเมื่อการวิจัยแล้วเสร็จกลุ่มนักวิจัยมีแผนที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไข่น้ำสู่ชุมชนบ้านโพนสูง จ.นครราชสีมา และขยายผลต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ในอนาคต

 

สกสวขับเคลื่อน Bio Economy ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศด้วย BCG Model

ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศ โดยการขับเคลื่อน BCG Model ซึ่งการสนับสนุน  โครงการ “นวัตกรรมผลิตไข่น้ำระบบปิดแบบแม่นยำและการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์โปรตีนสูงระดับชุมชน” ถือเป็นการร่วมสร้างเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เป็นการต่อยอดพัฒนาชีวภาพนำไปสู่การขับเคลื่อนพัฒนาให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม สกสว. ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว โดยกำหนดเป็นแผนงานสำคัญ (Flagship) ประจำปีงบประมาณ 2563  ประเด็น BCG in Action (กากรขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภำพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวเพื่อกำรพัฒนำที่ยั่งยืน) เป็นการวางรากฐานขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดย สกสว. จะจัดสรรงบประมาณผ่านไปยังหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU: Program Management Unit) ก่อนจะส่งงบประมาณให้กับนักวิจัยใช้ในการพัฒนาประเทศต่อไป

X

Right Click

No right click