September 16, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

เอสซีบี อบาคัส จับมือ Fastwork แหล่งรวมฟรีแลนซ์คุณภาพอันดับ 1 ของประเทศ พัฒนา “สินเชื่อแม่มณีศรีออนไลน์” แพลตฟอร์มสินเชื่อดิจิทัล ซึ่งใช้ AI ในการประมวลผลเพื่อให้บริการสินเชื่อแก่ฟรีแลนซ์ที่ใช้บริการแพลตฟอร์มของ Fastwork โดยเฉพาะ โดยฟรีแลนซ์ใน Fastwork สามารถยื่นขอสินเชื่อผ่านทางเว็บไซต์ และรับเงินทันทีใน 24 ชม. ทันกับความต้องการ ย้ำความเป็นผู้นำของเอสซีบี อบาคัส ในฐานะผู้บุกเบิกแพลตฟอร์ม e-Lending ของไทยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้คนทำงานอิสระทุกคน เสริมขอบข่ายการให้บริการของ Fastwork ให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น พร้อมช่วยผลักดันให้ฟรีแลนซ์รับงานและทำงานได้เต็มศักยภาพ

ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี อบาคัส จำกัด กล่าวว่า “การร่วมมือกับ Fastwork ซึ่งเป็นแหล่งรวมฟรีแลนซ์รายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย คือการนำความเชี่ยวชาญด้านโซลูชั่นทางการเงิน “แม่มณีศรีออนไลน์” ของเรามาช่วยเสริมศักยภาพการบริการของ Fastwork ให้สามารถตอบโจทย์และลดข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ของฟรีแลนซ์ด้วยสินเชื่อออนไลน์ โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning มาใช้ในการวิเคราะห์และพิจารณาวงเงินสินเชื่อให้ตรงกับความต้องการเฉพาะเป็นรายบุคคล พร้อมทราบผลการอนุมัติทันที โดยไม่ต้องส่งเอกสารเพิ่มเติม จึงสามารถช่วยให้ฟรีแลนซ์บริหารการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดข้อกังวลด้านค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับคนทำงานอิสระที่มีศักยภาพทุกคน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

วสะ สุภาโชค เอี่ยมสุรีย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารเว็บไซต์ Fastwork.co กล่าวว่า “ในฐานะที่เราเป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมฟรีแลนซ์ที่มีคุณภาพ เราจึงให้ความสำคัญกับประสบการณ์การใช้งานของสมาชิก และพบว่าสภาพคล่องทางการเงินคือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างความสามารถในการรับงานและส่งมอบงานของฟรีแลนซ์ให้ตอบสนองความคาดหวังผู้จ้างได้อย่างมั่นใจ ทั้งการลงทุนซื้อหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ช่วยเสริมศักยภาพการทำงาน การบริหารจัดการกับภาระค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึง เราจึงเชื่อมั่นว่าการร่วมมือกับเอสซีบี อบาคัส ในการเปิดตัวบริการสินเชื่อออนไลน์บน Fastwork ส่งเสริมให้แพลตฟอร์มของเราสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้คนไทยได้ใช้ความสามารถและสิ่งที่ตนเองรักมาก่อให้เกิดเป็นอาชีพที่มั่นคงพร้อมมีสวัสดิการเหมือนพนักงานประจำ สอดคล้องกับเป้าหมายในการสร้างชุมชนคนทำงานอิสระที่มีทั้งคุณภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข”

Fastwork คือแหล่งรวมฟรีแลนซ์อันดับ 1 ของไทย มุ่งเน้นการสร้างความน่าเชื่อถือซึ่งกันและกันระหว่างฟรีแลนซ์และผู้ว่าจ้าง มีบริการกว่า 60 หมวดงาน ด้วยโซลูชั่นเพื่อการว่าจ้างฟรีแลนซ์ที่ครบวงจร สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั้งร้านออนไลน์ ธุรกิจ หรือเอเจนซี่ที่ต้องการจ้างงานหรือเอาท์ซอร์สฟรีแลนซ์ที่มีคุณภาพ พร้อมบทรีวิวจากผู้ว่าจ้างจริง ทั้งนี้ บริการสินเชื่อแม่มณีศรีออนไลน์พร้อมขยายขอบเขตการให้บริการไปยังคนทำงานอิสระบนแพลตฟอร์มของ Fastwork ในเร็วๆ นี้

กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ เดินหน้ามอบประสบการณ์ใหม่แบบไร้ขีดจำกัดด้านการให้ความรู้เรื่องการลงทุนเพื่อบริหารความมั่งคั่งให้กับกลุ่มลูกค้าเวลธ์ (SCB Wealth) อย่างต่อเนื่อง ปูพรมเสริมแกร่งความรู้ด้วยซีรีส์สัมมนา  SCB Investment Talk 2019 ประเดิมด้วยงานสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ ภายใตคอนเซ็ปต์ “เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารการลงทุนของคุณ สู่กระบวนทัศน์การลงทุนยุคใหม่…Empowering You to the New Investment Paradigm” ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจด้านกลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้น และเตรียมพร้อมรับมือตลาดผันผวนกับกองทุนเด่นปี 2019 พร้อมแท็คทีมบลจ.พันธมิตร นำเสนอผลิตภัณฑ์การลงทุนที่หลากหลายในรูปแบบของ Open Architecture Platform ที่ได้รับการคัดสรรเป็นพิเศษจากทีม SCB CIO Office เพื่อให้อิสระลูกค้าได้เลือกลงทุนตามต้องการ เป็นการสร้างประสบการณ์ในการบริหารความมั่งคั่งให้ลูกค้าแบบไร้ขีดจำกัดแบบมืออาชีพ สำหรับลูกค้า SCB Wealth โดยเฉพาะ โดยมี นางสาวศลิษา หาญพานิช (กลาง) ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน ผลิตภัณฑ์การลงทุนและเงินฝาก ธนาคารไทยพาณิชย์ พร้อมด้วย นายณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด นายสุกิจ อุดมศิริกุล (ที่ 2 จากขวา)  กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด นายพจน์ หะริณสุต (ซ้าย) กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด และนายยุทธพล ลาภละมูล (ขวา) กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด ร่วมเปิดงานสัมมนา เมื่อเร็วๆ นี้ ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้

Key point

  • มูลค่าการส่งออกไทยเดือน ก.ย. หดตัว -5.2%YOY โดยเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 19 เดือน ในหลายหมวดสินค้า นำโดยหมวดสินค้าอุตสาหกรรมที่หดตัว -6.7%YOY เช่น รถยนต์ - อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-7.4%YOY) เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (-4.1%YOY) เคร่ืองใช้ไฟฟ้า (- 0.8%YOY) และโดยเฉพาะทองคำที่หดตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ -78.7%YOY จาก -66.6%YOY โดยเมื่อ พิจารณาการส่งออกที่ไม่รวมทองคำจะหดตัวที่ -0.8%YOY สำหรับหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวที่ -1.6%YOY เช่น อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป กุ้งแปรรูป น้ำตาลทรายขาว และผลไม้ กระป๋องและแปรรูป อย่างไรก็ตาม สินค้าหมวดเกษตรยังขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 0.1%YOY ตามการ ขยายตัวของข้าว และผลิตภัณฑ์มันส าปะหลัง ขณะที่ยางพาราและน ้าตาลยังคงหดตัวจากผลของ ราคาที่ลดลงเป็นสำคัญ ทั้งนี้การส่งออกในภาพรวมในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2018 เติบโตที่ 8.1%YOY
  • การส่งออกไทยหดตัวในตลาดเอเชียเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการหดตัวของมูลค่าการส่งออก ไปยังจีน (-14.1%YOY) ฮ่องกง (-7.0%YOY) ไต้หวัน (-17.5%YOY) และเอเชียใต้ (-3.7%YOY) ขณะที่การส่งออกไปญี่ปุ่นขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ 0.2%YOY จาก 14.6%YOY ในเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกันกับการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ CLMV และ ASEAN-5 ที่ก็ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที 17.5%YOY และ 0.9%YOY จากในเดือนก่อนหน้าที่ 32.5%YOY และ 35.5%YOY ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าการส่งออกไปยังทวีปออสเตรเลียหดตัวที่ -19.3%YOY จากที่ขยายตัวได้ที่ 10.1%YOY ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดีการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปปรับตัวดีขึ้นเป็น 1.2%YOY และ 3.9%YOY จากในเดือนก่อนหน้าที่ 0.6%YOY และ -4.3%YOY ตามลำดับ
  • ผลกระทบจากมาตรการเก็บภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ต่อสินค้าส่งออกของไทย ยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่อง โดยมูลค่าสินค้าส่งออกที่ถูกตั้งเก็บภาษีนำเข้าโดยสหรัฐฯ ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ (แผงโซลาร์) และเครื่องซักผ้า-เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ ที่ไทยส่งออกไปยัง สหรัฐฯ ในเดือนกันยายน หดตัวที่ -78.2%YOY และ -87.6%YOY ตามลำดับ ทำให้มูลค่าการส่งออก ของสินค้ากลุ่มดังกล่าวในภาพรวมทุกตลาดส่งออกลดลง -38.3%YOY และ -44.6%YOY ตามลำดับ ทั้งนี้ การส่งออกเหล็ก-เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ไปสหรัฐฯ กลับมาหดตัว -16.1%YOY หลังจาก ขยายตัว 12.6%YOY ในเดือนก่อนหน้า แต่ในภาพรวมทุกตลาดส่งออกขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่ 2.4%YOY เป็น 4.4%YOY ขณะที่ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม ยังขยายตัวได้ดีทั้งในภาพรวม และการส่งออกไปสหรัฐฯ ที่ 12.1%YOY และ 38.2%YOY ตามลำดับ
  • สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนส่งผลชัดเจนมากขึ้น การส่งออกของไทยไปยัง จีนในเดือนนี้มีการหดตัวสูงที่ -14.1%YOY โดยส่วนหนึ่งคาดว่าเป็นผลกระทบมาจากมาตรการการ เก็บภาษีนำเข้าจากจีนของสหรัฐฯ ที่เริ่มบังคับใช้เมื่อ 6 กรกฎาคม และ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา รวมมูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มที่คาดว่าจะมีความ เกี่ยวข้องกับสินค้าที่จีน ถูกตั้งภาษีนำเข้ามามีการหดตัวชัดเจน เช่น แผงวงจรไฟฟ้า และส่วนประกอบ อุปกรณ์ ตู้เย็น-ตู้แช่แข็ง ซึ่งมูลค่าการส่งออกไปจีนหดตัวที่ -50.8%YOY และ -78.9%YOY ตามลำดับ สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์-อุปกรณ์และส่วนประกอบไปยังจีนหดตัว -13.4%YOY ทั้งนี้ การหดตัวของการส่งออกไทยไปจีนยังอาจมีผลบางส่วนมาจากการที่เศรษฐกิจจีนมีการชะลอตัวลง อีกด้วย
  • มูลค่าการนำเข้าขยายตัวที่ 9.9%YOY ชะลอลงจากการเติบโตที่ 22.8%YOY ในเดือนก่อนหน้า นำโดยการชะลอลงของการนำเข้าสินค้าในหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปที่เติบโต 11.5%%YOY ชะลอลงจาก 37.6%YOY และหมวดสินค้าทุนที่หดตัว -5.8%YOY จากที่ขยายตัว 6.2%YOY ในเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการลดลงของการนำเข้าหมวดเครื่องบินและส่วนประกอบ (-80.2%YOY) เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงเติบโตเร่งขึ้นที่ 50.5%YOY จาก 33.8%YOY ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2018 เติบโตที่ 15.2%YOY

Implication

  • อีไอซีมองการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกไทยปี 2018 มีโอกาสต่ำกว่าที่ ประมาณการเดิมที่ 8.5% เนื่องจากตัวเลขการส่งออกในเดือนนี้ที่ออกมาต่ำกว่าตลาด คาดการณ์ค่อนข้างมาก (-5.2%YOY vs 5.6%YOY) และผลกระทบจากสงครามการค้ามีความชัดเจนและต่อเนื่องมากขึ้น โดยสำหรับความเสี่ยงสงครามการค้าจะยังมีผลกระทบอีกระลอกจาก มาตรการการตอบโต้ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ที่เริ่มบังคับใช้ในวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา มูลค่ารวมกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่คาดว่าจะเริ่มเห็นผลในช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป นอกเหนือไปจากผลกระทบจากส่วนที่มีการบังคับใช้ไปแล้วเมื่อ 6 กรกฎาคม และ 23 สิงหาคมที่ ผ่านมาที่ยังอาจมีผลต่อเนื่องในระยะต่อไป นอกจากนี้ ยังต้องจับตาผลกระทบจากการชะลอตัวของ เศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญโดยเฉพาะจีนที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ การขยายตัวของมูลค่าการส่งออกที่ต่ำกว่าคาดอาจส่งผลถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในภาพรวมในปีนี้และปีหน้าได้
  • อีไอซีคาดว่ามูลค่าการน าเข้าทั้งปี 2018 จะขยายตัวที่ 15% การนำเข้าในช่วงที่เหลือ ของปี 2018 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ต่อเนื่อง จากการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศที่ยังมี แนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง รวมถึงการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน อย่างไรก็ดี การนำเข้าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเพื่อส่งออกอาจชะลอลงหากภาคการส่งออกมี การเติบโตต่ำกว่าที่คาดในระยะต่อไป ทั้งนี้ดุลการค้า 9 เดือนแรกยังเกินดุลอยู่ระดับสูงที่ 2,838.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สะท้อนถึงเสถียรภาพระหว่างประเทศของเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี

 

โดย : จิรายุ โพธิราช (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.)
         Economic Intelligence Center (EIC)
         ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
         EIC Online: www.scbeic.com

 

 

นายณรงค์ศักดิ์  ปลอดมีชัย  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด  เปิดเผยว่า บริษัทฯ เตรียมจ่ายเงินปันผลพร้อมกัน 5 กองทุน  ประกอบด้วย กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาว ซีเล็คท์ (ชนิดจ่ายเเงินปั) (SCBLTSED) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์เพิ่มผลมั่นคง(ชนิดจ่ายเงินปันผล) (SCBPMO) ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นในประเทศ ซึ่งจะจ่ายให้กับผู้ถือหน่วยในวันที่ 18 ตุลาคม 2561 นอกจากนี้ยังมีกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ โกลบอล พร็อพเพอร์ตี้ (SCBGPROP) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นญี่ปุ่น (ชนิดจ่ายเงินปันผล) (SCBNK225D) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้น LOW VOLATILITY (ชนิดจ่ายเงินปันผล) (SCBLEQ) โดยจะจ่ายในวันที่ 22 ตุลาคม 2561 นี้  รวมมูลค่ากว่า 33 ล้านบาท

โดยกองทุน SCBLTSED จะจ่ายปันผลในอัตรา 0.1000 บาทต่อหน่วย สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 24 เมษายน 2561 - วันที่ 30 กันยายน 2561 เป็นการจ่ายปันผลครั้งแรก นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2561  ซึ่งกองทุนนี้เป็นกองทุนที่บริหารโดยทีมผู้จัดการกองทุนหุ้นไทยที่มีประสบการณ์ยาวนาน มีกองทุนภายใต้การบริหารที่ได้รับการจัดอันดับมอร์นิ่งสตาร์ 5 ดาว และ 4 ดาว เน้นสร้างผลตอบแทนเหนือตลาดอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีข้อจำกัดการลงทุน  มีการใช้กลยุทธ์ที่ผสมผสานหลากหลายโมเดลการลงทุนให้เหมาะสมตามสภาวะตลาดในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งในแต่ละโมเดลการลงทุนมีการคัดเลือกหุ้นที่ผู้จัดการกองทุนมีความเชื่อมั่นว่ามีโอกาสสร้างผลตอบแทนให้กับพอร์ตการลงทุนได้สูงที่สุด โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือน อยู่ที่ 5.26% (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561)

กองทุน SCBPMO จะจ่ายปันผลในอัตรา 0.6300 บาทต่อหน่วย สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 - วันที่ 30 กันยายน 2561 นับเป็นครั้งที่ 5 รวมจ่ายปันผล 3.6200 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2541) มีนโยบายการลงทุนเน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตยิ่งขึ้นในอนาคต โดยมี net exposure ในตราสารดังกล่าว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 4.00%  (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561)

สำหรับกองทุน SCBGPROP จะจ่ายปันผลสำหรับผลการดำเนินระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 - วันที่ 30 กันยายน 2561 ในอัตรา 0.2396 บาทต่อหน่วย มีการจ่ายปันผลระหว่างกาลเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2561 ไปแล้ว 0.1556 บาทต่อหน่วย เหลือจ่ายงวดนี้ 0.0840 บาทต่อหน่วย นับเป็นครั้งที่ 4 รวมจ่ายปันผล 0.4896 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559) โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 0.54%  (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561) มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน BGF WORLD REAL ESTATE SECURITIES FUND ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80  ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งมีนโยบายเน้นบริหารเพื่อสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนใน REIT ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือหลักทรัพย์ของบริษัทที่ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก ภายใต้การบริหารจัดการของ BlackRock Investment Management (UK) Limited  ทั้งนี้กองทุนหลักเน้นลงทุนใน REITs และหุ้นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งส่งผลให้กองทุนมีความผันผวนต่ำกว่ากองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพียงอย่างเดียว โดยกระจายการลงทุนไปยังหลากหลายกลุ่มธุรกิจ เช่น ที่พักอาศัย สำนักงาน โรงแรม และอาคารพาณิชย์ เป็นต้น อีกทั้งยังมีการกระจายลงทุนในภูมิภาคต่าง ๆ มากกว่า 10 ประเทศทั่วโลก

ส่วนกองทุน SCBNK225จะจ่ายปันผลสำหรับผลการดำเนินระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 - วันที่ 30 กันยายน 2561 ในอัตรา 0.3843 บาทต่อหน่วย มีการจ่ายปันผลระหว่างกาลเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2561 ไปแล้ว 0.3033 บาทต่อหน่วย เหลือจ่ายงวดนี้ 0.0810 บาทต่อหน่วย นับเป็นครั้งที่ 8 รวมจ่ายปันผล 2.7713 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2556) โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 15.81% (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561) มีนโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Nikkei 225 Exchange Traded Fund (กองทุนหลัก) เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน บริหารงานโดย Nomura Asset Management Co.,Ltd. จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และลงทุนในสกุลเงินเยน (JPY) มีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารทุนทั้งหมดที่เป็นส่วนประกอบของดัชนีนิคเคอิ 225 และตราสารทุนที่กำลังจะมาเป็นส่วนประกอบของดัชนีนิคเคอิ 225 ในสัดส่วนการลงทุนเดียวกับจำนวนหุ้นในดัชนีนิคเคอิ 225 (Nikkei 225 Index หรือ Nikkei Stock Average)

และกองสุดท้ายกองทุน SCBLEQ จะจ่ายในอัตรา 0.1736 บาทต่อหน่วย สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2561 - วันที่ 30 กันยายน 2561 นับเป็นครั้งที่ 5 รวมจ่ายปันผล 0.8338 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559)  โดยมีผลการดำเนินงาน ย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 8.41% (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561)  มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน  Low Volatility Equity Portfolio ชนิดหน่วยลงทุน (Share Class) I   สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) บริหารโดย AllianceBernstein L.P  เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งกองทุนหลักลงทุนในตราสารทุนที่โดยพื้นฐานมีความผันผวนคาดการณ์และความเสี่ยงขาลงคาดการณ์ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดโดยรวม ซึ่งจัดการกองทุนจะคัดเลือกหลักทรัพย์เข้าพอร์ตการลงทุนโดยการใช้แบบจำลองเพื่อคำนวณค่าความเสี่ยงและผลตอบแทนของหลักทรัพย์ รวมถึงใช้หลักการวิเคราะห์ และประสบการณ์ด้านการลงทุนที่ยาวนาน เพื่อให้ได้มาซึ่งพอร์ตการลงทุนที่ประกอบไปด้วยหลักทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำที่สุด ในขณะที่มีคุณภาพด้านปัจจัยพื้นฐานดีที่สุด โดยจะเน้นลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทที่อยู่ในตลาดที่พัฒนาแล้วเป็นหลัก

Event

  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) ในเดือนตุลาคม 2018 และปรับลดคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจโลกในปี 2018 และ 2019 ลดลงเป็น 3.7% ทั้งสองปีจากประมาณการในเดือนกรกฎาคมที่ระดับ 3.9% จากการที่หลายกลุ่มประเทศมีการขยายตัวน้อยกว่าที่คาด ประกอบกับความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบจากสงครามการค้า

Analysis

  • IMF ปรับลด GDP ของเศรษฐกิจโลกจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของสงครามการค้า ความเปราะบางทางเศรษฐกิจรายประเทศ และภาวะการเงินโลกที่มีแนวโน้มตึงตัวต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับประมาณการในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา (รูปที่ 1) การเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคหลักปี 2018 ถูกปรับลดลงโดยเฉพาะในยูโรโซนและกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา (EM) สำหรับประมาณการการเติบโตในปี 2019 สหรัฐฯ และจีนจะขยายตัวราว 2.5% และ 6.2% ตามลำดับลดลงจากประมาณการรอบก่อน 0.2% ทั้งสองประเทศจากผลของสงครามการค้า ในขณะที่ยูโรโซนและญี่ปุ่นจะขยายตัวราว 1.9% และ 0.9% ตามลำดับ (รูปที่ 2) สำหรับการขยายตัวของกลุ่มประเทศ EM ทั้งในปี 2018 และ 2019 มีทิศทางแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ EM เอเชียจะเติบโตได้ค่อนข้างดีราว 6.5% และ 6.3% ตามลำดับ อย่างไรก็ดี อัตราการขยายตัวของปริมาณการค้าโลกถูกปรับลดลงเหลือ 4.2% (ลดลงจากรอบก่อน 0.6%) ในปี 2018 และ 4% (ลดลงจากรอบก่อน 0.5%) ในปี 2019 ตามลำดับ สะท้อนผลกระทบจากสงครามการค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ EM ถูกปรับลงในปีหน้า เนื่องจากจีน บราซิล เม็กซิโก และแอฟริกาใต้ถูกปรับ GDP ลง และกลุ่มประเทศ EM ที่มีความเปราะบางสูง อาทิ ตุรกี อาร์เจนตินา กำลังประสบวิกฤตค่าเงินและมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย พร้อมกันนี้ ภาวะการเงินโลกที่จะตึงตัวขึ้นจากดอกเบี้ยนโยบายในหลายประเทศที่เข้าสู่ช่วงขาขึ้น (รูปที่ 3) และผลกระทบจากมาตรการกีดกันการค้าของสหรัฐฯ ที่จะเริ่มส่งผล จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อภาพรวมการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีหน้า

 

  • IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2019 จากมาตรการกีดกันการค้า  โดย IMF คงประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2018 ขยายตัวที่ 2.9% เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและการกระตุ้นนโยบายการคลังส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวเกินกว่าศักยภาพ อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2019 ถูกปรับลดลงเป็น 2.5% (จากเดิม 2.7%) โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลักมาจากมาตรการกีดกันการค้า จากล่าสุดที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนมูลค่ารวม 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจีนได้ตอบโต้กลับ หลังปี 2019 เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลงเมื่อผลของนโยบายการคลังหมดลงและนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะปกติ

 

  • เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องในระยะข้างหน้า โดย IMF ปรับการเติบโตเศรษฐกิจจีนในปี 2019 ลดเหลือ 6.2% (จากเดิม 6.4%) จากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนที่ทวีความรุนแรงขึ้น ประกอบกับการควบคุมภาคธนาคารเงาและระดับหนี้ในบางภาคส่วนจะส่งผลให้เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอลง โดยตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจล่าสุด อาทิ การบริโภคภายในประเทศ การลงทุน และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีแนวโน้มขยายตัวลดลง ในขณะที่ การส่งออกจะเริ่มชะลอตัวชัดเจนในปี 2019 เนื่องจากภาษีนำเข้าสินค้าจีนที่สหรัฐฯ เรียกเก็บมูลค่ารวม 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะถูกปรับอัตราภาษีจาก 10% เป็น 25% ในวันที่ 1 มกราคม 2019 นอกจากนี้ เงินหยวนยังมีความเสี่ยงอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องจากความเชื่อมั่นนักลงทุนที่อาจลดลงและความเสี่ยงจากสงครามการค้าที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

 

  • กลุ่มประเทศ EM เฉพาะในภูมิภาคเอเชียยังมีปัจจัยพื้นฐานโดยรวมแข็งแกร่ง แต่ความเสี่ยงต่อการเติบโตเพิ่มขึ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ EM เอเชียยังอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ดี สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะสร้างแรงกดดันให้เศรษฐกิจกลุ่ม ASEAN-5 (มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย) เติบโตในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อยจาก 5.3% ในปี 2018 เป็น 5.2% ในปี 2019 อย่างไรก็ตาม จากผลกระทบสงครามการค้า ภาวะการเงินโลกที่มีแนวโน้มตึงตัวขึ้นจากการที่ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ผนวกกับวิกฤตการเงินในตุรกี อาร์เจนตินา จะยังเป็นปัจจัยกดดันความเชื่อมั่นของนักลงทุนและสินทรัพย์ในกลุ่มประเทศ EM และยังอาจส่งผลให้เกิดภาวะเงินทุนไหลออกจากกลุ่มประเทศ EM เอเชียได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศ EM เอเชียที่มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการคลังสูงต่อเนื่อง เช่น อินโดนีเซีย ที่เริ่มประสบปัญหาภาวะเงินทุนไหลออกและค่าเงินอ่อนค่า

 

  • สงครามการค้าจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งสหรัฐฯ และจีนโดยผลกระทบจะเริ่มชัดเจนในปีหน้าโดยเฉพาะกับเศรษฐกิจจีน IMF ได้คาดการณ์ผลกระทบจากมาตรการการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ทั้งการขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียม 10% และ 25% ตามลำดับ การขึ้นภาษีนำเข้า 25% ในสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และภาษีนำเข้า 10% ในสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงการตอบโต้จากประเทศคู่ค้าสหรัฐฯ และจีนซึ่งตอบโต้ในมูลค่าที่เท่ากัน ยกเว้นรอบล่าสุดที่จีนขึ้นภาษีนำเข้าเฉลี่ย 7% ในมูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยคาดว่าเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะสหรัฐฯ และจีนจะได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันการค้าชัดเจนในปี 2019 จากประมาณการของ IMF นอกจากภาษีนำเข้าปัจจุบันที่มีผลบังคับใช้แล้ว หากคาดการณ์ว่าสหรัฐฯ จะขึ้นภาษีนำเข้า 25% บนสินค้านำเข้าจากจีนที่เหลือ 2.67 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมมูลค่าสินค้าจีนที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าราว 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจีนมีการตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ทั้งหมดที่จีนสามารถทำได้ราว 1.3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ผลกระทบสงครามการค้าจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และจีนในปี 2019 มีแนวโน้มชะลอลง 0.2% และ 1.16% ตามลำดับ และในปี 2020 จะมีแนวโน้มลดลง 0.27% และ 0.95% ตามลำดับ

Implication

  • มุมมองของอีไอซีต่อเศรษฐกิจไทยสอดคล้องกับประมาณการใหม่ของ IMF โดย IMF ปรับประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยดีขึ้นจากประมาณการครั้งก่อน ซึ่งในปี 2018 เพิ่มขึ้นเป็น 4.6% จาก 3.9% และในปี 2019 ขึ้นเป็น 3.9% จาก 3.8% ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจไทยโดยอีไอซีที่ระดับ 4.5% และ 4.0% ในปี 2018 และ 2019 ตามลำดับ ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวตามประมาณการใหม่ของ IMF สะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาสามารถขยายตัวได้ดีกว่าที่เคยประเมิน โดยไทยเป็นประเทศเดียวในกลุ่ม ASEAN-5 ที่ IMF ปรับประมาณการเพิ่มขึ้นทั้งในปีนี้และปีหน้า ทั้งนี้ ถึงแม้ว่า IMF จะมองว่าการเติบโตของไทยอาจชะลอลงบ้างในระยะข้างหน้า แต่อัตราการเติบโตในระดับดังกล่าวยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับช่วง 5 ปีก่อนหน้า (2013-2017) ที่เติบโตเฉลี่ยเพียง 2.8% ต่อปี เศรษฐกิจไทยยังคงได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายทั้งจากในประเทศและต่างประเทศที่มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ไทยควรจับตาผลกระทบและความเสี่ยงจากปริมาณการค้าโลกที่ IMF ประเมินว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวลดลงในปีหน้า จากสาเหตุของการชะลอตัวของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและสงครามการค้า รวมถึงผลกระทบของนโยบายการเงินที่มีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้น ทั้งนี้ ธุรกิจไทยยังต้องจับตาผลกระทบทั้งในเชิงบวก เช่น การย้ายฐานการผลิตของธุรกิจจีนเข้ามาไทย และผลกระทบเชิงลบ เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและการค้าโลกหากสงครามการค้าทวีความรุนแรงขึ้น

 

  • ภาวะการเงินที่ตึงตัวขึ้นในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ อีไอซีมองว่าภาระหนี้ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่เป็นประเด็นที่ต้องจับตามอง ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นและการเงินที่ตึงตัวขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว อาจทำให้เกิดการปรับพอร์ตการลงทุนของนักลงทุน การเคลื่อนไหวของค่าเงินที่รุนแรง และเงินทุนไหลเข้าที่ชะลอตัวลงของกลุ่มประเทศ EM โดยเฉพาะประเทศที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ทั้งนี้ อีไอซีมองว่าจุดเปราะบางที่สำคัญสำหรับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ได้แก่ ภาระหนี้สิน เนื่องจากในช่วงที่ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น สภาพคล่องที่ลดลง ทำให้กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่มีความเสี่ยงจากเรื่องภาวะหนี้สูงขึ้น จากข้อมูล Institute of International Finance (IIF) พบว่า หนี้ต่อ GDP ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหนี้ภาคธุรกิจและหนี้ที่อยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา และจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและหากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไทยนั้นยังแข็งแกร่ง เนื่องจากในปี 2017 ไทยมีดุลบัญชีเดินสะพัดสูงถึง 11% ต่อ GDP เงินทุนสำรองต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 3 เท่า และมีหนี้ที่อยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศค่อนข้างต่ำหากเปรียบเทียบกับในกลุ่มประเทศ EM ด้วยกัน

โดย :

ทีมเศรษฐกิจมหภาค (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.)

Economic Intelligence Center (EIC)

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

EIC Online: www.scbeic.com

 

 

 

 

X

Right Click

No right click