OPEN-TEC ศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Tech Knowledge Sharing Platform) ภายใต้การดูแลของ TCC TECHNOLOGY GROUP ขอนำเสนอมุมมองในการเตรียมความพร้อมขององค์กรในการใช้ AI จาก คุณโชติวิทย์ จารุวรรณสถิต และ คุณบุญชัย รัตนพิเศษ สองผู้บริหารจากเดลล์ เทคโนโลยีส์ ที่มาร่วมกันแบ่งปันข้อมูลบนเวทีให้ความรู้ภายใต้หัวข้อ “Navigating AI Frontier” ซึ่ง ทีซีซี เทคโนโลยี (TCCtech) และเดลล์ เทคโนโลยีส์ (Dell Technologies) ร่วมกันจัดขึ้น โดยทั้งสองท่านเห็นพ้องกับประเด็นบนเวที World Economic Forum 2024 ในเรื่องการทำงานที่ต้องสอดประสานกันของทั้ง 3 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ M+A+D; Machine Learning, กระบวนการทำ Analytics และ Data ข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาลเป็นสิ่งที่ผลักดันให้เกิดการนำ AI มาใช้งาน บนแพลตฟอร์มที่มีความยืดหยุ่น ชาญฉลาด โดยที่ไม่สามารถละเลยข้อคำนึงในหลักการ AI TRiSM (Trust, Risk, and Security Management) และผสมผสานเทคโนโลยีที่เหมาะสม

 AI ส่งผลกระทบต่อทุกระดับ

ในยามที่ AI กำลังเข้ามามีอิทธิพลและแทรกซึมในองค์กรด้านใดด้านหนึ่งไม่มากก็น้อย หลักการของ “AI in Everything” ได้ถูกนำมาปรับใช้กับหลาย ๆ กระบวนการ เช่น Product Development, Sales Process, Training System, Post Sales Support การตระหนักว่า AI จะไม่ได้เข้ามาแทนที่แรงงาน แต่เป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ซึ่งยังต้องอาศัยประสบการณ์ ความเข้าใจ ที่พัฒนาเป็นองค์ความรู้ และมุมมองการตัดสินใจของทีมงาน ทำงานร่วมกันในลักษณะ “Human-Machine Interaction” เป็นการปูทางไปสู่ Digital Transformation ที่ประสบความสำเร็จ ตัวอย่างการทำงานร่วมกันในปัจจุบัน เช่น Software Development, Productivity Improvement, Knowledge Management ฯลฯ

แนวทางสำคัญสำหรับการนำ AI มาใช้ในระดับองค์กร

AI กำลังกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจสู่อนาคต องค์กรชั้นนำทั่วโลกต่างมุ่งนำ AI มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน พัฒนาสินค้าและบริการ ตลอดจนสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เหนือชั้น แต่การนำ AI มาใช้ในระดับองค์กรนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นโดยง่าย จำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ คุณโชติวิทย์และคุณบุญชัย ได้เชื่อมโยง 2 แนวทางสำคัญที่ผนวกกับแนวคิดของ AI Maturity Index ดังนี้

1. การตระหนักรู้ในตนเองและความพร้อม

· ความสอดคล้องของการจัดการการกำกับดูแลข้อมูล (Compliance) ความพร้อมของบุคลากรด้วยทักษะที่เหมาะสม (People Skills Set) และการนำทางลำดับชั้นขององค์กร (Hierarchy) ถือเป็นข้อพิจารณาที่สำคัญ

· การระบุเป้าหมายและปัญหาทางธุรกิจ (Business Use Case) และจัดลำดับความสำคัญของโครงการตามผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการต้นทุน การส่งเสริมความยั่งยืน หรือการบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์อื่น ๆ

· การวัดผล การทดสอบความเป็นไปได้ และความคุ้มค่าของการลงทุน AI ผ่านตัวชี้วัดที่ชัดเจนและผลลัพธ์ที่จับต้องได้ถือเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณา

2. กระบวนการทำ Data Operation

· ร้อยละ 80 ของเวลาในการดำเนินงานด้านข้อมูล หมดไปกับขั้นตอนการแยก การแปลง และการถ่ายโอนข้อมูล (ETL) พร้อมทั้งจัดการกับข้อกังวลด้านความปลอดภัย กับการรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายรูปแบบและแหล่งที่มา

· การเลือกใช้โซลูชัน หรือ Software Ecosystem ที่ยืดหยุ่น เป็นแบบเปิดและปรับเปลี่ยนได้ (open-source and adaptable platforms) เริ่มต้นจากส่วนงานย่อย ๆ แล้วจึงค่อย ๆ ขยายขนาด และจัดลำดับความสำคัญของมุมมองการจัดการด้านไอทีช่วยให้มั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงจะราบรื่น

 แม้การนำ AI มาใช้ในองค์กรจะเต็มไปด้วยโอกาสและประโยชน์มากมาย แต่ก็ยังมีความท้าทายและข้อควรพิจารณา หลายประการที่องค์กรต้องเผชิญ ได้แก่

· ความซับซ้อนและปริมาณข้อมูลที่ต้องการของ Deep Learning: การผสมผสานระหว่าง Data Lake และ Data Warehouse ไปสู่รูปแบบ “Data Lakehouse” ด้วยการจัดการแบบผสมผสาน (Hybrid Approach) โดยใช้ Data Lake เพื่อการจัดเก็บข้อมูลที่หลากหลาย ร่วมกับ Data Warehouse สำหรับข้อมูลที่มีโครงสร้างที่ใช้ในการรายงานและการวิเคราะห์

· IT infrastructure & Data Architecture: ทีมไอทีต้องมีการวางแผนและการจัดการที่ดี เพื่อเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์ และ Architecture ที่เหมาะสมกับ Use Case ให้พร้อมรองรับความสามารถในการรัน AI Workloads โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ Large Language Models (LLMs) ที่ต้องใช้ GPU ที่มีประสิทธิภาพและพลังงาน รวมถึงการพิจารณาปรับใช้ On Premise, Cloud หรือในลักษณะ Hybrid ที่เหมาะสมกับธุรกิจ

เข็มทิศสู่ความสำเร็จในการใช้ AI ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้แก่

· AI Deployment Model สามารถเริ่มได้จากสิ่งใกล้ตัวและเทคโนโลยีภายในองค์กรที่พร้อมใช้งาน เพียงแค่อาศัยการเทรนเพิ่มเติมภายใต้องค์ความรู้เดิม

· เลือกใช้โซลูชันต่าง ๆ ที่เหมาะสม จากผู้ให้บริการมากมายที่ตอบโจทย์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

· ลงทุนในระบบที่ยืดหยุ่น คล่องตัวและปรับเปลี่ยนได้ ซึ่งสามารถพัฒนาให้สอดรับกับความท้าทายที่ไม่หยุดนิ่ง

· วางแผนและจัดสรรการลงทุนการใช้ทรัพยากรให้ทันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

เมื่อได้เห็นความสามารถที่เพิ่มขึ้นของ AI ก็ชัดเจนว่าอนาคตนั้น อุตสาหกรรมต่าง ๆ จะมีความชาญฉลาด ตั้งแต่อาคารและโรงงาน ไปจนถึงทุกหน่วยในองค์กรที่ได้พยายามนำ AI มาใช้ ซึ่งการร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ทั้งในฝั่ง Solution Provider และ Technology Provider จะสามารถสร้างสรรรค์พลังของ AI ให้ปลดล็อกศักยภาพที่แท้จริง

ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่ OPEN-TEC ได้รวบรวมไว้จากงานสัมมนา “Navigating AI Frontier” ที่จัดขึ้นโดย ทีซีซี เทคโนโลยี และเดลล์ เทคโนโลยีส์

เมื่อเร็ว ๆ นี้ กลุ่มบริษัท ทีซีซี เทคโนโลยี ประกอบด้วย บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด (TCCtech) บริษัท ลีพ โซลูชั่น เอเชีย จำกัด  (LSA) บริษัท ชินาทรัพย์ จำกัด (SNS) ได้จัดการประชุม Townhall ประจำปีขึ้น ภายใต้แนวคิด "Our Customer Success is Our Success." ความสำเร็จของลูกค้า คือ ความสำเร็จของพวกเรา เพื่อเป็นการเน้นย้ำในวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นสู่การเป็นพันธมิตรผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีที่พร้อมตอบโจทย์ลูกค้า คว้าชัยชนะและสร้างความสำเร็จไปด้วยกัน โดยอาศัยแนวทางของแผนกลยุทธ์ขยับขยายในเชิงธุรกิจให้พร้อมรองรับการเติบโตในอนาคต

ภายในงานมีการนำเสนอทิศทางธุรกิจ เป้าหมาย และปัจจัยในการบรรลุความสำเร็จจากหลากหลายสายงานธุรกิจ ประกอบด้วย Infrastructure, Enterprise Operations, Enterprise Services, Client and Service Support, Smart Solutions, and Solution Development (Application Development, Cybersecurity, Data Management)

นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอแผนเชิงกลยุทธ์ที่รอบด้านเพื่อพัฒนาบุคลากร และช่วงท้ายเป็นธรรมเนียมทุกปีที่กลุ่มบริษัทจะให้ความสำคัญด้วยช่วงเวลาพิเศษในการมอบของที่ระลึกเพื่อเป็นเกียรติแก่พนักงานที่ร่วมฝ่าฟันอุปสรรคและสร้างความสำเร็จมายาวนาน ได้แก่  10 15 และ 20 ปี

 

“ถ้าจะเขย่าโลก เพื่อไปให้ถึงฝัน ก่อนที่เราไปจะโฟกัสเรื่องใหม่ๆ อย่างเรื่อง Metaverse, Bitcoin, หรือ Defi ผมอยากให้เรามองย้อนกลับไปว่าที่ผ่านมา เราได้นำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์และขับเคลื่อนธุรกิจได้เต็มที่แล้วหรือยัง ทั้ง IOT, Big Data, AI หรือ Machine Learning สิ่งที่คุณลงทุนไปเหล่านี้ มันตอบโจทย์ธุรกิจคุณหรือเปล่า” กล่าวโดย คุณปฐม อินทโรดม กรรมการสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย

หากจะพูดถึงผู้นำทัพแห่งวงการไอทีในประเทศไทย หลายๆ คนน่าจะคุ้นหูกับบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้คร่ำหวอดในสายไอทีและดิจิทัลมายาวนานหลายสิบปี เจ้าของแนวคิด “Think Big” คิดใหญ่ เพื่อเปลี่ยนโลก รายการ open talk EP. 21 นี้ พร้อมชวนคุณเจาะลึกถึงมุมมอง ภาพรวม และอนาคตของประเทศไทยกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล กับคุณปฐม อินทโรดม กรรมการสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ซึ่งมีหลากหลายประเด็นที่น่าสนใจ ที่คุณต้องไม่พลาดใน EP. นี้

  • กลยุทธ์ดิจิทัลที่สำคัญและพร้อมเขย่าโลก เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทย
  • Use case ของผู้ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างจริงจัง โอกาส และความท้าทายของเทคโนโลยี
  • ความสามารถของคนไทยในยุคดิจิทัล และทักษะสำคัญที่ควรมุ่งเน้นเพื่อเพิ่มศักยภาพของธุรกิจ
  • ในภาพใหญ่ของประเทศ คนไทยสามารถพัฒนาเทคโนในด้านไหน มีความพร้อม โอกาส และอุปสรรคอะไรบ้าง
  • บริษัทต่างๆ ของประเทศไทยในอนาคต การก้าวไปสู่ความเป็น Start-Up เราต้องเตรียมตัวและพัฒนาต่อยังไง
  • Crowdfunding และ Defi เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต

คุณปฐม ยังฝากทิ้งท้ายว่า “เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงโลกได้อย่างแน่นอน อยู่ที่เราว่าจะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นหรือแย่ลง ซึ่งผลกระทบย่อมมีอยู่เสมอ หน้าที่ของคนไทย คือ ต้องช่วยกันลดช่องว่าง และปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัลจริงจังมากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสให้ประเทศ ท้ายที่สุดนี้ ผมอยากเห็นคนไทย มีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ แล้วเอาเทคโนโลยีมาต่อยอด อย่าหยุดเรียนรู้ แล้วเราจะอยู่รอดในอนาคต”

รับชมบทสัมภาษณ์ฉบับสมบูรณ์ได้ที่

 

X

Right Click

No right click