February 05, 2025

ล่าสุด ล็อกก๊าซอีเทนและเรือขนส่งระยะยาวได้สำเร็จ มั่นใจพร้อมแข่งขัน รับตลาดปิโตรเคมีในภูมิภาคช่วงฟื้นตัว

เอสซีจี ได้เปิดหลักสูตร Net Zero Accelerator Program 2025 หรือ NZAP 2025 ซึ่งเป็นหลักสูตร ที่เอสซีจี ร่วมกับพันธมิตร ชวนผู้ประกอบการ และผู้บริหารภาครัฐ เพิ่มความสามารถการแข่งขัน ผลักดันให้ธุรกิจและองค์กรเติบโตสู่เป้า Net Zero ด้วยกัน โดยจะมีการเรียนการสอนจนถึงเดือนมีนาคม ที่สำนักงานใหญ่ เอสซีจี บางซื่อ

“เอสซีจีมีแนวทาง Inclusive green growth ที่มุ่งหวังให้ทุกภาคส่วนเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน จึงมีโครงการช่วยยกระดับผู้ประกอบการ SME ในการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำหลายรูปแบบ รวมทั้งหลักสูตร NZAP 2025 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เอสซีจีออกแบบพิเศษ ให้เป็นการเรียนรู้จากการลงมือทำจริง สร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยให้คำแนะนำ” ดร.ชนะ ภูมี ช่วยผู้จัดการใหญ่ การบริหารความยั่งยืน เอสซีจี กล่าว

คุณมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ ผู้อำนวยการหลักสูตร NZAP กล่าวว่า “หลักสูตรนี้ได้รับการสนับสนุนด้วยดีจากพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ในการร่วมจัดหลักสูตร อาทิ ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายหลักสูตร และร่วมเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้ความเห็นการนำเสนอเอกสารเชิงวิชาการ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์หลักสูตร โดยได้รับความสนใจทั้งจากผู้ประกอบการและหน่วยงานราชการสมัครเข้าร่วมหลักสูตร โดยได้คัดเลือกผู้ที่มีความเหมาะสม สามารถนำความรู้และเครือข่ายไปวางนโยบายในองค์กรของตนได้ 109 ราย โดยจะมีการเรียนทุกวันศุกร์ รวมทั้งการดูงานในประเทศ จนถึงเดือนมีนาคม พร้อมการทำถกแถลงและทำเอกสารเชิงวิชาการเป็นรายกลุ่ม โดยมีผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษาและให้ความเห็น ที่สามารถแก้ปัญหาและนำไปปฎิบัติได้จริง”

หลักสูตร NZAP 2025 เน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มกำไร ลดต้นทุน รับมือภาวะโลกเดือด ด้วยความเข้าใจทิศทางและนโยบายของประเทศไทย กลไกการค้าตลาดคาร์บอน กฎหมายและข้อบังคับด้าน Climate Change ตัวอย่างความสำเร็จของการการดำเนินการสู่ Net Zero และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยมีพันธมิตรในการจัดหลักสูตรที่สำคัญ ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) หอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย (ICC Thailand) และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

มุ่งดูแลผู้ถือหุ้นทุกคนต่อเนื่อง ย้ำสุขภาพองค์กรแข็งแรง คว้าโอกาสเศรษฐกิจในภูมิภาคฟื้น

เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ผู้นำธุรกิจพอลิเมอร์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืน นำโดย นางสาวน้ำทิพย์ สำเภาประเสริฐ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร   แบรนด์และกิจการเพื่อสังคม ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำโดย ดร.ปิ่นสักก์  สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมระดมความคิดเพื่อฟื้นฟูและดูแลระบบนิเวศทางทะเล รวมทั้งการจัดการปัญหาขยะทะเล โดยเน้นกลยุทธ์ Up-Scale และ Up-Speed เพื่อเร่งขยายผลในโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ระหว่าง SCGC และ ทช. อาทิ ทุ่นกักขยะลอยน้ำ  บ้านปลา การปลูกป่าชายเลน

 

พร้อมกันนี้ SCGC ได้ส่งมอบทุ่นกักขยะลอยน้ำโมเดลใหม่ล่าสุด “SCGC - DMCR Litter Trap Gen 3” จำนวน 25 ชุด ให้กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปกักขยะลอยน้ำบริเวณปากแม่น้ำลำคลองสาขาต่าง ๆ ไม่ให้หลุดรอดสู่ทะเล โดยระหว่างปี 2563 จนถึงปี 2567 (ข้อมูล ณ ธันวาคม 2567) SCGC ได้ส่งมอบทุ่นกักขยะฯ ไปแล้วกว่า 50 ชุด ติดตั้งใน 17 จังหวัด สามารถลดปริมาณขยะบกไหลลงสู่ทะเลได้กว่า 90 ตัน ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้กับระบบนิเวศทางทะเล

สำหรับ นวัตกรรมทุ่นกักขยะลอยน้ำโมเดลใหม่ : SCGC - DMCR Litter Trap Gen 3 ได้ออกแบบให้เพิ่มประสิทธิภาพและปรับเปลี่ยนวัสดุใหม่เพื่อช่วยลดการใช้พลังงาน สามารถลดน้ำหนักทุ่นได้กว่า 50% ประกอบติดตั้งสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ขนส่งในปริมาณที่มากขึ้นต่อเที่ยวจึงช่วยลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยทุ่นกักขยะลอยน้ำโมเดลใหม่ สามารถรองรับน้ำหนักขยะได้กว่า 700 กิโลกรัมต่อตัว อายุการใช้งานยาวนานกว่า 25 ปี แม้วางอยู่กลางแสงแดด เนื่องจากวัสดุที่นำมาใช้เป็นพลาสติก HDPE เกรดพิเศษเช่นเดียวกับที่ใช้ใน SCGC Floating Solar Solutions จึงมีความแข็งแรง ทนทาน และสามารถรีไซเคิลได้ทั้งหมด

ทั้งนี้ SCGC ได้ร่วมกับ ทช. และภาคีเครือข่าย เช่น สมาคมเยาวชน The Youth Fund สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มปิโตรเคมี สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมควบคุมมลพิษ องค์กร AEPW (Alliance to End Plastic Waste) ขับเคลื่อนภารกิจพิทักษ์ทะเลมาอย่างต่อเนื่อง โดย SCGC ได้นำความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนามาสร้างสรรค์ “นวัตกรรมเพื่อพิทักษ์ทะเล” (Innovation for Better Marine) อาทิ นวัตกรรมทุ่นกักขยะลอยน้ำ บ้านปลาเอสซีจีซี รวมทั้งร่วมก่อตั้งเครือข่าย “Nets Up” โมเดลการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อทะเลยั่งยืน เปลี่ยนอวนประมงที่ไม่ใช้แล้ว สู่ Marine Materials วัสดุทางเลือกใหม่จากนวัตกรรมรีไซเคิล นอกจากนี้ ยังได้นำพนักงานจิตอาสาร่วมเก็บขยะชายหาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปีที่ผ่าน มีจิตอาสากว่า 2,000 คน สามารถเก็บขยะชายหาดได้กว่า 3 ล้านตัน

เอสซีจี ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออก เปิดโรงงานเอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ เอสซีจีซี (SCGC) ผู้นำธุรกิจพอลิเมอร์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืน ให้ผู้ประกอบการ SMEs จากจังหวัดระยอง และจังหวัดจันทบุรีกว่า 50 คน ในโครงการ “Go Together เติบโตด้วยกัน สู่โลกยั่งยืน” ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง พร้อมและเปลี่ยนความคิดเห็นและรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด เพื่อยกระดับขีดความสามารถให้พร้อมต่อการแข่งขันและเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำเพื่อรับมือกับภาวะโลกเดือด โดยได้รับเกียรติจากนายอนุพงศ์ ถาวรวงศ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรี และนายพิชิต ธีรชัยไพศาล รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง เข้าร่วมเยี่ยมชมกิจการ โดยมีนายศาณิต เกษสุวรรณ ที่ปรึกษา สำนักงานการบริหารความยั่งยืน เอสซีจี และนายนิพัทธ์ ล้ำเลิศลักษณชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย เอ็มเอฟซี จำกัด ในกลุ่มธุรกิจเอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC พร้อมด้วยคณะผู้บริหารให้การต้อนรับ ณ นิคมอุตสาหกรรม อาร์ไอแอล จ. ระยอง

 

ผู้ประกอบการได้สัมผัสเทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมเพื่อพลังงานสะอาด และกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของ SCGC ตามแนวทาง Inclusive Green Growth ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ

  • เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotic and Automation) รองรับอุตสาหกรรม 4.0 ณ
    โรงงานนวพลาสติกอุตสาหกรรม
  • แพลตฟอร์มการบริหารจัดการระบบดิจิทัล โซลูชันสำหรับภาคอุตสาหกรรมแบบครบวงจร ณ ศูนย์ปฏิบัติการ Unified Operations Center เร็ปโก เน็กซ์ (REPCO NEX)
  • ศูนย์สร้างสรรค์นวัตกรรมและพัฒนาต้นแบบสินค้าแบบครบวงจรแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน ณ ศูนย์ไอทูพี (i2P Center : Idea to Product)

โครงการ Go Together จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบการจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ร่วมศึกษากระบวนการบริหารจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างพันธมิตรที่แข็งแกร่ง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกันของอุตสาหกรรมไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากสมาคมธนาคารไทย ช่วยผลักดันเงินทุนสนับสนุน Green Finance ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจในภาพรวม สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน

Page 1 of 67
X

Right Click

No right click