×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6847

ปัจจุบันปัญหาขยะถือเป็นสิ่งที่ทั่วโลกต้องเผชิญ เนื่องจากส่งผลต่อระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผู้คนอย่างมาก ซึ่งในส่วนของประเทศไทย มีรายงานสถานการณ์มลพิษประจำปี 2559 โดยกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า มีปริมาณขยะมูลฝอยทั่วประเทศถึง 27.04 ล้านตัน หรือคิดเป็น 74,073 ตันต่อวัน แต่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีเพียง 9.59 ล้านตันเท่านั้น ที่เหลือเป็นการเผาและนำไปเทกองรวม ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างมหาศาล

ดังนั้น เพื่อเป็นการหาทางออกให้กับการจัดการปัญหาขยะของประเทศ ในงาน “SD Symposium 2018 (Sustainable Development Symposium 2018)” ภายใต้แนวคิด “Circular Economy: The future we create” เอสซีจีจึงได้จัดเสวนาในหัวข้อ Circular Waste Value Chain” โดยมีตัวแทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องร่วมพูดคุยหาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่ “ธนา ยันตรโกวิท” รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.) กระทรวงมหาดไทย, “สุวรรณา จุ่งรุ่งเรือง” รองปลัดกรุงเทพมหานคร, “สินชัย เทียนศิริ” ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, “ศักดิ์ชัย ปฏิภาณปรีชาวุฒิ” Vice President - Polyolefins and Vinyl Business ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี และ “เพชร มโนปวิตร” องค์กรสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN)

 

ชู 3Rs ต้นทางการจัดการขยะ สร้างพฤติกรรมใหม่ให้ประชาชน

“ธนา” กล่าวว่า แม้จะมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะหลายฉบับ และเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย แต่ไม่ได้มีใครเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการเก็บขยะ ดังนั้น สถ. จึงเป็นหน่วยงานหลัก เนื่องจากมีองค์กรปกครองส่วนถิ่น (อปท.) อยู่กว่า 7,851 แห่ง ซึ่งมีศักยภาพแตกต่างกันไป แต่กว่าร้อยละ 70 ของ อปท. มีรายได้น้อยและไม่ได้รับเงินอุดหนุนที่เพียงพอ
 “จากการสำรวจพบว่า อปท. กว่า 3,000 แห่ง ไม่มีรถเก็บขยะและมีสถานที่กำจัดขยะที่ไม่ถูกต้องอีกกว่า 2,810 กอง ซึ่งหลังจากรัฐบาลประกาศปัญหาขยะเป็นวาระแห่งชาติ โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบ จึงมีการวางแผนจัดการขยะแบบองค์รวม ทั้งขยะเก่าที่มีอยู่หรือขยะใหม่ที่จะเกิดขึ้น และการใช้มาตรการทางกฎหมายให้ครอบคลุม รวมถึงการสร้างจิตสำนึกให้ประชาชน”
“ปัญหาขยะที่เกิดขึ้น วงจรสำคัญคือต้นทางที่เป็นผู้บริโภค ซึ่งที่ผ่านมา สถ. ได้รณรงค์ “ใช้น้อย ใช้ซ้ำ ใช้ใหม่” ที่แปลงมาจาก 3Rs โดยให้ อปท. และชุมชน เชื่อมโยงชาวบ้านให้เกิดการคัดแยกขยะ และมีกิจกรรมต่างๆ ทั้งตลาดนัดขยะและผ้าป่าขยะ ทำให้เกิดกลไกการจัดการตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางเพื่อการรีไซเคิล อีกทั้ง สถ. ยังจัดทำโครงการ From Bin to Bag” หรือการเปลี่ยนจากถังขยะมาเป็นถุงขยะ เพื่อให้มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ตลอดจนโครงการ “Fast track to zero waste” เพื่อสร้างชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะให้เป็นศูนย์ ด้วยการคัดแยกและกำหนดวันจัดเก็บขยะ”
“อย่างไรก็ตาม การจะทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมนั้น ทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกันอย่างเป็นระบบและมีแนวทางที่ชัดเจน โดยเฉพาะการสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เพื่อให้ปัญหาปลายทางที่เป็นการกำจัดขยะหมดไป ทั้งยังจะทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สมบูรณ์ได้อีกทางด้วย”

 

ด้าน “สุวรรณา” กล่าวเสริมว่า การจะทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยเฉพาะการจัดการของเสียเพื่อนำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบอีกครั้งนั้น แนวทาง 3Rs ถือว่าสำคัญ เนื่องจากเป็นการรักษาต้นทุนทางธรรมชาติ การจัดการทรัพยากรอย่างเป็นระบบ รวมถึงการใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน โดยเฉพาะผู้ผลิตที่ต้องใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติให้น้อยที่สุดและทำให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ขณะที่ผู้บริโภคก็ต้องเลือกใช้สินค้าและบริการที่ให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้
“การจัดการขยะของ กทม. เน้นดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการลดการฝังกลบให้เหลือน้อยที่สุดและให้เป็นแนวทางสุดท้าย เนื่องจากเราพยายามลดขยะที่ต้นกำเนิด ไม่ว่าจะเป็นการนำเศษอาหารและพืชผักผลไม้ไปทำปุ๋ย การส่งเสริมการคัดแยกขยะด้วยหลัก 3Rs ให้ครอบคลุม และการสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ลดปริมาณขยะไปได้อย่างมาก”
“แม้ว่าการจัดการขยะของ กทม. จะมีหลายชุมชนประสบความสำเร็จ แต่โมเดลเหล่านั้นกลับไม่ได้ขยายออกไปเพราะไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน  ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงต้องร่วมกันส่งเสริมให้คนตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว ที่สำคัญภาครัฐต้องมีแนวทางดำเนินงานที่ชัดเจน ตลอดจนการกำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมาย เพื่อเชื่อมโยงให้การจัดการขยะเกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่ง กทม. จะร่วมทำงานอย่างบูรณาการ เพื่อสร้างโมเดลต้นแบบการจัดการขยะที่ต่อเนื่องระดับชาติต่อไป”

 

สร้างศูนย์กลางรับซื้อบรรจุภัณฑ์เก่าและใช้นวัตกรรมการผลิตที่มีประสิทธิภาพ

ขณะที่ “สินชัย” มองว่า การจัดการบรรจุภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ แก้ว พลาสติก หรือโลหะ ต้องเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นทาง และส่งต่อให้สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมาการดำเนินงานของ TIPMSE เป็นความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรมทั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค ผู้แยกขยะ/รับซื้อของเก่า และโรงงานรีไซเคิล ในการสนับสนุน สร้างความรู้ความเข้าใจ และเชื่อมโยงให้เกิดวงจร CLP (Closed Loop Packaging) เพื่อให้การกำจัดขยะไม่ได้เป็นเพียงการทำลาย แต่เป็นการจัดการปัญหาที่ได้ผลตอบแทน
“การจะทำให้ CLP เกิดขึ้นจริงนั้น ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันขับเคลื่อนด้วยโมเดลทางธุรกิจ ซึ่งอาจเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise - SE) ที่ให้ผู้สูงอายุเข้ามาร่วมดำเนินงาน โดยต้องมีศูนย์กลางรับบรรจุภัณฑ์หรือของที่ไม่ใช้แล้ว และต้องมีการเก็บข้อมูลปริมาณขยะทุกประเภทก่อน เพื่อหาความคุ้มทุนและแนวทางการขนส่ง จากนั้นควรหาพันธมิตรมาร่วมดำเนินการ โดยเฉพาะภาคเอกชนและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้เริ่มทดลองในลพบุรีและนนทบุรีไปแล้ว”
“วิธีการนี้เป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้เกิดการแก้ปัญหาขยะได้อย่างยั่งยืน ที่สำคัญคือต้องมีพันธมิตรหลายภาคส่วนมาร่วมกัน โดยเปลี่ยนความคิดจาก “ภาระ” ให้เป็น “ภารกิจ” สร้างความตระหนักให้ประชาชน ด้วยการสร้างแรงจูงใจในการจัดการขยะ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปพร้อมกัน”

 

สอดคล้องกับ “ศักดิ์ชัย” ที่มองว่า เศษบรรจุภัณฑ์หรือพลาสติกมีคุณค่าทางเศษฐกิจอย่างมาก แต่ส่วนใหญ่มักไม่มีการคัดแยกอย่างถูกต้อง ทำให้เกิดการปนเปื้อนในรูปแบบต่างๆ ดังนั้น โมเดลศูนย์กลางการรับซื้อขยะแบบซาเล้งจึงควรเกิดขึ้น เพื่อให้สามารถนำพลาสติกเหล่านั้นกลับมาใช้ใหม่ได้
“พลาสติกอยู่ในบรรจุภัณฑ์เกือบทุกส่วนและยังจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของคน แต่เราควรลดการใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (Single-Use Plastic) ที่ก่อให้เกิดขยะจำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมา เอสซีจีในฐานะผู้ผลิตก็ตระหนักถึงปัญหานี้ จึงได้พยายามคิดค้น วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกับหลายหน่วยงานในการนำพลาสติกกลับไปรีไซเคิลให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด”
“ไม่เพียงเท่านี้ ในการผลิตสินค้าพลาสติกของเอสซีจี ยังได้คิดค้นนวัตกรรมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีความแข็งแรงทนทาน มีความบางแต่เหนียว สามารถทดแทนวัสดุธรรมชาติ ทั้งยังสามารถรีไซเคิลได้ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการลดปัญหาขยะจากต้นกำเนิด แต่สิ่งสำคัญคือทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันอย่างบูรณาการ โดยเฉพาะผู้บริโภคที่ต้องตระหนักและเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย”

 

แนะใช้มาตรการเศรษฐศาสตร์รวมต้นทุนค่าจัดการสิ่งแวดล้อม

ขณะที่ “เพชร” กล่าวว่า แนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนสอดคล้องกับการจัดการปัญหาขยะ แต่จะทำอย่างไรให้ขยะลดลง เกิดการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกมีขยะพลาสติกกว่า 8,000 ล้านตัน แต่สามารถนำมารีไซเคิลหรือใช้ใหม่ได้ไม่ถึง 10% ทำให้มีตกค้างในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก โดยเฉพาะในท้องทะเล จากการจัดการขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพ เน้นเทกองจนไหลลงทะเล ทำให้สัตว์ทะเลกว่า 700 ชนิดและปะการังได้รับผลกระทบ
“ขณะที่องค์การอนามัยโลกระบุว่า ปัจจุบันร่างกายมนุษย์มีไมโครพลาสติก (Micro Plastic) ที่เกิดจากการแตกตัวของพลาสติกในเสื้อผ้า ใยสังเคราะห์ ยางรถยนต์ หรือพลาสติกอื่นๆ ทำให้ปนเปื้อนในน้ำประปา รวมถึงเกลือสมุทร เบียร์ และน้ำดื่มบรรจุขวดเป็นจำนวนมาก อีกทั้งองค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ปัญหาพลาสติกเป็นวาระของโลก เนื่องจากส่งผลต่อสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งยังทำให้สูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างน้อยปีละกว่า 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐ”
“ดังนั้น การใช้พลาสติกโดยเฉพาะการใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งจึงต้องมีการลดหรือเลิกใช้ ซึ่งจะต้องมีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้ามาจัดการ และภาคส่วนต่างๆ ต้องร่วมมือกัน โดยเฉพาะผู้ผลิตต้องมีส่วนรับผิดชอบ และประชาชนทุกคนต้องเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งอาจจะนำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์เข้ามาช่วย โดยเฉพาะการรวมต้นทุนการจัดการสิ่งแวดล้อมไปในผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดการลดละตั้งแต่ต้นทาง และจะเป็นโอกาสให้ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรมได้คิดค้นนวัตกรรมและออกแบบวัสดุใหม่ๆ ในอีกทางหนึ่งด้วย”

 

การจัดการขยะจึงไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น แต่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันอย่างบูรณาการ โดยเฉพาะการจัดการที่ต้นทางและสร้างจิตสำนึกให้ผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและมีจิตสาธารณะร่วมกันในการจัดการปัญหาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สมบูรณ์ได้ต่อไป

ด้วยความเชื่อว่า ไม่มีการสร้างใด จะยั่งยืนไปกว่าการสร้าง ‘คน’ มูลนิธิเอสซีจี จึงส่งเสริมคนรุ่นใหม่ให้กลับมาพัฒนาบ้านเกิดทั้งด้านการศึกษา สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการ ต้นกล้าชุมชน ที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 2559 เพื่อมุ่งสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ให้เป็นกำลังสำคัญในการดูแล และพัฒนาท้องถิ่นของตนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมูลนิธิเอสซีจีได้สนับสนุนเบี้ยยังชีพ และค่าดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ให้แก่ต้นกล้าเป็นระยะเวลา 3 ปี และเชิญเครือข่ายนักพัฒนารุ่นพี่ผู้มากประสบการณ์ในพื้นที่ทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะแนวทางการทำงาน ซึ่งปัจจุบันมีต้นกล้าชุมชนกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ นอกจากนั้น มูลนิธิฯ ยังได้จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพต้นกล้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขามาถ่ายทอดความรู้ให้กับต้นกล้า และจัดกิจกรรมศึกษาการทำงานชุมชนในพื้นที่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมประสบการณ์ พร้อมสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกัน

สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ มูลนิธิฯ ได้นำต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 2 และพี่เลี้ยง รวม 44 คน ลงพื้นที่ชุมชนศึกษาพื้นที่จังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ร่วมกับ Mr. Tadashi Uchida, President of International OVOP Exchange Committee และทีมงานจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งต้นกล้าและพี่เลี้ยง รวมถึงชุมชนต่างได้รับคำแนะนำ และแนวทางทางการแก้ไขปัญหา และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจาก Mr. Tadashi Uchida ที่สามารถนำไปปรับใช้ด้วยการนำเสนอจุดแข็งของสินค้าผ่านการเล่าเรื่องที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างจุดเด่น อันจะนำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน ครั้งนี้ ยังเป็นโอกาสที่ต้นกล้าได้เชื่อมโยงเครือข่าย และเสริมสร้างการทำงานภาคสังคมที่เข้มแข็งต่อไปในอนาคต

นอกจากนี้ ต้นกล้าชุมชนยังได้ศึกษาดูงานจากชุมชนบ้านใต้ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง และชุมชนโหล่งฮิมคาว อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ที่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมถึงเยี่ยมชมตลาดประชารัฐของดีจังหวัด ณ ลานพุทธามหาชัย อ.แม่ทา จ.ลำพูน ที่เริ่มต้นขึ้นจากแรงผลักดันของพฤติพร จินา ต้นกล้าชุมชนหญิงรุ่นที่ 2 ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากครั้งที่มูลนิธิฯ พาไปเรียนรู้ที่โอย่าม่าแลนด์ ประเทศญี่ปุ่น

สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพต้นกล้าชุมชนว่า “มูลนิธิเอสซีจีตระหนักดีว่า ต้นกล้าชุมชนจะเติบโตและแข็งแรงได้นั้น ต้องได้รับการพัฒนาที่เหมาะสม การจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพให้น้องๆ ต้นกล้า ทั้งการดูงานที่เมืองฮอกไกโด และเมืองโออิตะ เพื่อศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OVOP (One Village One Product) หรือโอทอป และการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เช่น Mr. Tadashi Uchida และทีมงาน ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการขับเคลื่อนพัฒนา และยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากประเทศญี่ปุ่น มายังประเทศไทยเพื่อให้ความรู้กับน้องๆ ทำให้ต้นกล้าได้ปิดประสบการณ์ แนวคิด และมุมมองใหม่ๆ เพราะเราเชื่อว่าการได้สัมผัสประสบการณ์จริงย่อมมีคุณค่าและสร้างแรงแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ ต้นกล้า ตลอดจนพี่เลี้ยงได้นำกลับไปปรับใช้ตามความเหมาะสมของชุมชนตนเอง ถือเป็นเครื่องมือในการเสริมศักยภาพความเข้มแข็งอย่างสมดุลและยั่งยืน

ด้าน Mr. Tadashi Uchida, President of International OVOP Exchange Committee กล่าวถึงการเดินทางมาในครั้งนี้ว่า “หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OVOP มีความใกล้เคียงกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 อย่างมาก คือ เริ่มจากการทำสิ่งเล็กๆ ง่ายๆ ที่สามารถทำด้วยตนเอง แล้วใส่พลังความคิดสร้างสรรค์และความพยายามอย่างต่อเนื่อง ทำงานอย่างกระตือรือร้น  กล้าหาญ และมุ่งมั่น ผมเชื่อว่าน้องๆ ต้นกล้าสามารถทำได้แน่นอน ดังนั้น ภารกิจของพวกเราคือ ให้คำแนะนำ ความมั่นใจ และความหวังแก่น้องๆ ต้นกล้า พี่เลี้ยง และชุมชนที่เราไปเยี่ยมชม เพื่อให้เขาสามารถพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ โดยให้ความสำคัญกับคุณค่าของจิตใจมากกว่าคุณค่าของเงิน และเมื่อพวกเขาสามารถพึ่งพาตัวเองได้ มีความภาคภูมิใจ และมีเกียรติ ก็จะส่งผลให้ชุมชนมีเสถียรภาพและความยั่งยืน ทำให้คนหนุ่มสาวไม่อยากละทิ้งบ้านไปทำงานในเมือง และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในชุมชน

ต้นกล้าหญิง พฤติพร จินา ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 2  เจ้าของโครงการสืบสานพันธุกรรมท้องถิ่นเพื่อความมั่นคงทางอาหาร จ.ลำพูน กล่าวถึงความประทับใจว่า “ได้พลังอย่างมากจากคำแนะนำของคุณอูชิดะ และพี่เลี้ยง ทุกคำติชมช่วยยืนยัน และเพิ่มความมั่นใจให้กับเราทุกคน ความทรงจำแบบนี้ให้แรงบันดาลใจมากกว่าการดูจากภาพ หรือการเล่าให้ฟัง การพาไปเจอและได้สัมผัสทำให้เราได้คิดทบทวนแล้วนำกลับไปปรับใช้ ถือเป็นโอกาสที่ดี ขอขอบคุณมูลนิธิเอสซีจีมาก นับเป็นบันไดขั้นแรกในการต่อยอดสู่ความสำเร็จสำหรับการเริ่มต้นพัฒนาผลิตภัณฑ์พัฒนาชุมชนต่อไป

ด้านบรรจง นะแส ที่ปรึกษาสมาคมรักษ์ทะเลไทย นักพัฒนารุ่นพี่กล่าวเสริมว่า “ครั้งนี้ พี่ว่ามีความสมบูรณ์ คือเราได้ดูงานในพื้นที่จริง ทั้งร้านอาหาร กิ๊ฟท์ช้อป ร้านผักอินทรีย์ ทำให้น้องๆ ต้นกล้าที่ยังไม่เห็นภาพการทำงาน ยังมีความลังเล ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน เธอทำได้ ฉันก็ต้องทำได้ การดูงานในพื้นที่จริง ทำให้เห็น ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ ส่วนวิทยากรที่เดินทางมาจากญี่ปุ่น ช่วยให้พวกเราได้รับคำแนะนำดีๆ หลายเรื่อง อย่างเรื่องสินค้าที่ดีและมีคุณภาพต้องมีอะไรบ้าง การอธิบายเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ในรูปแบบที่ตลาดต้องการ หลักการตลาด สิ่งที่พี่ชอบมาก คือ การตลาดที่ดีที่สุด คือ ปากต่อปาก บางทีเราละเลยไป ทำอย่างไรให้คนมาเห็นแล้วพูดถึง คิดถึง พี่ว่ากิจกรรมครั้งนี้มีประโยชน์ ถือเป็นคุณูปการแก่นักพัฒนารุ่นใหม่อย่างแท้จริง

มูลนิธิเอสซีจีภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ เพราะไม่ใช่เพียงต้นกล้าเหล่านี้จะมีอาชีพเป็นของตัวเอง แต่ยังสามารถสร้างอาชีพ กระจายรายได้ให้คนในชุมชน ได้ทำงานในบ้านเกิด ส่งผลให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยไม่ละทิ้งรากเหง้าและวิถีชีวิตอันงดงามของตัวเอง มูลนิธิฯ หวังว่าโครงการต้นกล้าชุมชนจะจุดประกายให้เมล็ดพันธุ์นักพัฒนารุ่นใหม่ได้เติบโต หยั่งราก และตั้งมั่น รับใช้บ้านเกิดของตนเองต่อไป    

มูลนิธิเอสซีจี “เชื่อมั่นในคุณค่าของคน”

เอสซีจี เดินหน้าโครงการปิโตรเคมีครบวงจรรายแรก ในประเทศเวียดนาม ล่าสุดได้ลงนามในสัญญาเงินกู้จำนวนกว่า 3,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 110,000 ล้านบาท) กับ 6 สถาบันการเงินชั้นนำ โดยจะเริ่มการก่อสร้างในไตรมาสที่สาม ปี 2561 และคาดว่าจะสามารถดำเนินการผลิตในเชิงพาณิชย์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566  เพื่อรองรับความต้องการภายในเวียดนามที่ปัจจุบันสูงถึงปีละ 2.3 ล้านตัน และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในระดับสูง

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “โครงการ Long Son Petrochemicals หรือ LSP เป็นโครงการปิโตรเคมีครบวงจรขนาดใหญ่ระดับ World Scale มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 5,400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 180,000 ล้านบาท ถือเป็นการลงทุนหลักของเอสซีจีในปัจจุบัน การลงทุนในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในธุรกิจเคมิคอลส์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  นอกจากนี้ยังนำเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกที่มีความยืดหยุ่นในการเลือกใช้วัตถุดิบสูงทำให้ได้เปรียบทางการแข่งขัน รวมทั้งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาคิดค้นนวัตกรรมเพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น”

การลงนามในสัญญาเงินกู้เป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐกับ 6 สถาบันการเงินชั้นนำได้แก่ ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น ธนาคารมิซูโฮ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีวงเงินจำนวนกว่า 3,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 110,000 ล้านบาท) และมีระยะเวลาเงินกู้ประมาณ 14 ปี โดยมีธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

LSP ตั้งอยู่ที่เมือง Ba Ria – Vung Tau ห่างจากนครโฮจิมินห์ประมาณ 100 กิโลเมตร มีกำลังการผลิตโอเลฟินส์ 1.6 ล้านตันต่อปี สำหรับผลิตเม็ดพลาสติกชนิด HDPE LLDPE และ PP โดยโครงการมีการดำเนินงานอย่างเข้มงวดตามมาตรฐานความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมระดับโลก เพื่อให้การดำเนินธุรกิจสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมของเวียดนามได้อย่างยั่งยืน

 

บุคคลในข่าว (ซ้ายไปขวา)

1. เยาวดี นาคะตะ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
2. วีระพงศ์ ศุภเศรษฐ์ศักดิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
3. วรางคณา วงศ์ข้าหลวง รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
4. เชาวลิต เอกบุตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การเงินการลงทุน เอสซีจี
5. ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม General Director, Long Son Petrochemical Company Limited
6. รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี
7. ชลณัฐ ญาณารณพ รองผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์
8. ยูอิชิ นิชิมุระ Regional Head of Greater Mekong Sub-Region, Country Head of Thailand, General Manager of Bangkok Branch, ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
9. ราจีฟ คันนัน Executive Officer - Head of Investment Banking Asia, ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
10. มาซายูกิ สุงาวาร่า, Executive Officer and General Manager, ธนาคารมิซูโฮ
11. วศิน ไสยวรรณ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุด Corporate Banking ธนาคารไทยพาณิชย์

 

Circular economy คือแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการของเสียที่บริโภคแล้ว วัตถุดิบ สินค้าที่หมดอายุ และพลังงาน ให้ถูกนำกลับไปเป็นทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในระบบด้วยกระบวนการที่เหมาะสม โดยนำไปเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ (Re-process) ผ่านการออกแบบใหม่ (Re-design) การสร้างคุณค่าใหม่ (Added value) การสร้างนวัตกรรมใหม่ (Innovation) การสร้างความร่วมมือ (Collaboration) เพิ่มขึ้น ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และการใช้ซ้ำ (Reuse) ซึ่งจะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรใหม่น้อยที่สุดและเกิดประโยชน์สูงสุด ลดปริมาณขยะจากการนำกลับเข้ามาสู่วงจรการผลิตได้ ขณะที่ผลิตภัณฑ์ยังมีคุณภาพและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน จึงถือเป็นการสร้างคุณค่าที่ดีขึ้นและสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคม รวมถึงธุรกิจ

การจัดงานปีที่ 5 เอสซีจี เลือกหัวข้องานสัมมนา “SD Symposium 2018” ภายใต้แนวคิด “Circular Economy : The Future We Create” เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็นให้มีประสิทธิภาพสูงสุดตั้งแต่กระบวนการผลิต การบริโภค ไปจนถึงการนำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบ เพื่อการเติบโตอย่างสมดุลของธุรกิจ คุณภาพชีวิต และโลกที่ยั่งยืน

 

Peter Bakker

 

ประธานและซีอีโอ  World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) กล่าวว่า แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนถือเป็นนวัตกรรม (Circular Innovation) ที่ปฏิวัติรูปแบบการผลิตและบริโภคครั้งใหญ่ของโลก ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกมีการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนและเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการทำให้แนวคิดนี้แพร่หลายในวงการธุรกิจได้ จะต้องเริ่มจากจิตสำนึกของผู้บริหารและคนในองค์กรที่ต้องการขับเคลื่อน ขณะเดียวกันทุกภาคส่วนก็ต้องตระหนักถึงปัญหาและร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลก

อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีความท้าทายอย่างยิ่ง เพราะมีทั้งความต้องการพัฒนาประเทศ การยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน อีกทั้งเป็นแหล่งผลิตที่รองรับความต้องการของประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ดังนั้น หากมีการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ก็จะช่วยให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการด้วยนวัตกรรมที่สามารถใช้ทรัพยากรได้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้องค์กรลดต้นทุนจากการใช้ทรัพยากรและมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงสนับสนุนให้ภาคธุรกิจทั่วโลกเติบโตได้ถึง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี ค.ศ. 2030 (จาก CEO Guide to the Circular Economy, WBCSD) นอกจากนี้ ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีผลทำให้ความตกลงปารีส (Paris Agreement) รวมทั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals, SDGs) บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้

 

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

 

รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในการปาถกฐาเปิดงานว่า แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนสอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการผลิตสินค้าและบริการที่ต้องมุ่งสร้างคุณค่ามากกว่าปริมาณ (Value Driven) ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินการตาม Roadmap การพัฒนาประเทศเพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนท่ามกลางความท้าทายของทรัพยากรโลกที่ลดลง ด้วยการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ฟื้นฟูที่สมดุลกับการใช้ประโยชน์ โดยมีมาตรการสนับสนุน เช่น นโยบายส่งเสริม การสร้างสรรค์นวัตกรรมและเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อช่วยให้เกิดการแบ่งปันและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า นโยบายส่งเสริมการจัดการขยะและของเสียอย่างเหมาะสม โดยการนำกลับมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งนโยบายส่งเสริมการลงทุนด้วยหลักธรรมาภิบาล รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม การสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้นได้จริงนั้น สิ่งสำคัญไม่ใช่เพียงการขับเคลื่อนของรัฐบาล แต่ภาคเอกชนและภาคประชาชนต้องมีส่วนร่วมด้วย โดยภาคเอกชนควรนำแนวคิดนี้ไปปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว ส่วนภาคประชาชนควรตระหนักถึงความสำคัญ และร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้ขยะชนิดต่างๆ และสิ่งที่เป็นผลพวงจากการอุปโภคบริโภคได้หมุนเวียนกลับมาใช้เป็นทรัพยากร เพื่อช่วยสร้างประเทศให้มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนอย่างแท้จริง

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส

 

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวถึงแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรของโลกในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมที่เป็นเพียงการนำทรัพยากรมาผลิต และจบที่ใช้แล้วทิ้ง (Take-Make-Dispose) ให้เป็นการรักษาคุณค่าของทรัพยากรให้มากที่สุด ด้วยการสร้างระบบที่เอื้อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และนำสินค้าที่ใช้แล้วกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตได้อีก เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชน

สำหรับการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ในเอสซีจีนั้น มีการขับเคลื่อนผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก คือ

หนึ่ง Reduced material use และ Durability คือ การลดใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิต เช่น กระดาษลูกฟูก Green Carton ที่ใช้วัตถุดิบลดลงร้อยละ 25 แต่คงความแข็งแรงเท่าเดิม ทั้งยังทำให้ลูกค้าประหยัดต้นทุนในการขนส่งมากขึ้น และการลดการผลิตและการขาย single-use plastic ของเอสซีจี จากร้อยละ 46 เหลือร้อยละ 23 ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งการช่วยให้ลูกค้าลดการใช้พลังงาน เช่น Active AIRflowTM System ระบบระบายอากาศที่ทำให้บ้านเย็นสบาย ไม่ร้อนอบอ้าว ประหยัดค่าไฟจากการใช้เครื่องปรับอากาศ และการเพิ่มความแข็งแรงทนทานของสินค้า เช่น ปูนโครงสร้างทนน้ำทะเล ที่มีอายุการใช้งานเพิ่มขึ้น 2 เท่า

สอง Upgrade และ Replace คือ การพัฒนานวัตกรรมเพื่อทดแทนสินค้าหรือวัตถุดิบชนิดเดิม ด้วยสินค้าหรือวัตถุดิบชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ใช้ทรัพยากรน้อยลงหรือนำไปรีไซเคิลได้มากขึ้น เช่น เม็ดพลาสติกพอลิเอทิลีนจากเทคโนโลยีใหม่ของเอสซีจีที่สามารถนำพลาสติกรีไซเคิลมาผสมได้เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า และปูนโครงสร้างเอสซีจีสูตร Hybrid ที่ใช้ทดแทนปูนโครงสร้างสูตรเดิม ทำให้ใช้วัตถุดิบหินปูนที่ต้องเผาน้อยลง

และสาม Reuse และ Recycle คือ การเพิ่มความสามารถในการหมุนเวียนสินค้าที่ใช้งานแล้วกลับมาใช้ใหม่ เช่น โรงอัดกระดาษ (Paper Bailing Station) เพื่อรวบรวมเศษกระดาษกลับมารีไซเคิล การนำขวดแก้วใช้แล้วมาทดแทนทรายธรรมชาติในการผลิตฉนวนกันความร้อน การพัฒนา CIERRATM ซึ่งเป็น Functional Material ที่ช่วยปรับคุณสมบัติพลาสติก       ให้สามารถใช้พลาสติกเพียงชนิดเดียว (Single Material) แต่ให้คุณสมบัติที่หลากหลายกับบรรจุภัณฑ์ แทนการใช้วัสดุหลายชนิด (Multi Material) ซึ่งยากต่อการนำไปรีไซเคิล และการนำขยะพลาสติกในทะเลและชุมชนมาเป็นส่วนประกอบสำหรับทำบ้านปลาเพื่ออนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเล

“นอกจากนี้ เอสซีจียังสนับสนุนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สมบูรณ์ โดยล่าสุดได้ร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีกับกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ในการนำพลาสติกรีไซเคิลมาเป็นส่วนผสมในการทำถนนยางมะตอย เพื่อช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกในทะเลและชุมชน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของถนนจากคุณสมบัติของพลาสติก และช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกจากการทำถนนได้

เอสซีจีหวังเป็นอย่างยิ่งว่างาน SD Symposium 2018 ในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนนวัตกรรม และกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นรากฐานสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ได้ต่อไป

“SD Symposium 2018” เป็นงานสัมมนาวิชาการว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เอสซีจีจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 เพื่อให้สาธารณชนตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหัวข้อต่างๆ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 1,000 คน ทั้งผู้บริหารจากภาคราชการและเอกชนทั้งองค์กรขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ นักวิชาการ เอ็นจีโอ สื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ

 

X

Right Click

No right click