สำหรับไฮไลต์สำคัญของงาน Intel Innovation 2023 วันที่สอง นายเกร็ก ลาเวนเดอร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของอินเทล ได้แบ่งปันข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับปรัชญาการทำงานของระบบนิเวศแบบเปิดของอินเทลที่ออกแบบมาเพื่อชุมชนนักพัฒนาโดยเฉพาะ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสมากมายที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถมอบให้ได้

เหล่านักพัฒนาต่างกระตือรือร้นที่จะใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้งานโซลูชั่นสำหรับลูกค้าและเอดจ์ไปยังดาต้าเซ็นเตอร์และระบบคลาวด์ในวงกว้าง โดยอินเทลมุ่งมั่นที่จะจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ด้วยแนวทางการเร่งซิลิคอนที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักการที่เปิดกว้าง ทางเลือกใหม่ ๆ ความไว้วางใจ และความปลอดภัยเป็นสำคัญ ด้วยการส่งมอบเครื่องมือที่พัฒนาประสิทธิภาพของการใช้ AI อย่างปลอดภัย และช่วยลดต้นทุนในการบำรุงรักษาและปรับขนาดโซลูชั่นเหล่านั้น อินเทลได้ช่วยติดอาวุธให้เหล่านักพัฒนาขยายขุมพลัง AI ไปสู่ทุกที่ทั่วโลก

นายเกร็กกล่าวว่า “ชุมชนนักพัฒนาเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทุกคนควรสามารถเข้าถึง AI ได้อย่างง่ายดายและได้ใช้งาน AI ที่เชื่อถือได้ หากนักพัฒนาถูกจำกัดในการเลือกฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ก็จะเป็นการจำกัดการเข้าถึงยูสเคสจำนวนมากในการนำ AI ไปใช้ทั่วโลกไปด้วย อีกทั้งยังจำกัดการเปลี่ยนแปลงสำคัญต่อสังคมที่นักพัฒนาเหล่านี้สามารถช่วยโลกได้”

 

การใช้งาน AI ที่ง่ายขึ้น มาพร้อมกับความไว้วางใจและความปลอดภัย

ประเด็นสำคัญของงาน Intel Innovation 2023 วันที่สอง นายเกร็กยังได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของอินเทลในการรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจร ได้แก่ Intel® Transparent Supply Chain สำหรับการตรวจสอบความสมบูรณ์ของฮาร์ดแวร์และเฟิร์มแวร์ และรับรองการประมวลผลที่เป็นความลับเพื่อช่วยปกป้องข้อมูลสำคัญในหน่วยความจำ โดยปัจจุบัน อินเทลกำลังขยายการรักษาความปลอดภัยของแพลตฟอร์ม และการปกป้องข้อมูลด้วยเครื่องมือและบริการใหม่ ๆ มากมาย รวมถึงความพร้อมใช้งานของการบริการการรับรองความปลอดภัย

นวัตกรรมบริการใหม่ล่าสุดนี้เป็นผลิตภัณฑ์แรกในไลน์อัพซอฟต์แวร์และบริการด้านความปลอดภัยของอินเทลที่เรียกว่า Intel® Trust Authority หรือหน่วยงานด้านความไว้วางใจของอินเทล ที่จะช่วยตรวจสอบและประเมินการทำงานของระบบ Trusted Execution Environment (TEE) การบังคับใช้นโยบาย และบันทึกการตรวจสอบของอินเทลอย่างเป็นอิสระและครอบคลุม โดยสามารถใช้ได้ทุกที่ที่มีการใช้งานการประมวลผลที่ป้องกันความลับของอินเทล รวมถึงมัลติคลาวด์ ไฮบริด ระบบภายในองค์กร และเอดจ์ โดย Intel® Trust Authority จะกลายเป็นนวัตกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการใช้งาน AI ที่เป็นความลับ เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของการประมวลผลในสภาพแวดล้อมที่เป็นความลับ ที่ทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนได้รับการประมวลผลในแอปพลิเคชันแบบแมชชีนเลิร์นนิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอนุมานบนโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® ทั้งรุ่นปัจจุบันและอนาคต

 

AI เป็นพลังสำคัญของนวัตกรรมที่มียูสเคสการใช้งานในทั่วทุกอุตสาหกรรม ตั้งแต่อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ การเงิน ไปจนถึงอีคอมเมิร์ซและการเกษตร

นายเกร็ก กล่าวว่า “กลยุทธ์ซอฟต์แวร์ AI ของเราก่อตั้งขึ้นบนระบบนิเวศแบบเปิดและการเร่งความเร็วในการประมวลผลแบบเปิดเพื่อที่จะสามารถขยายขุมพลัง AI ไปยังทุกที่ เรารู้ดีว่ามีโอกาสมากมายที่จะขยายขนาดของนวัตกรรม และเรากำลังผลักดันขอบเขตความเป็นไปได้ให้นักพัฒนา AI ได้สร้างสรรค์ผลงานของพวกเขาได้อย่างเต็มที่”

ระบบนิเวศแบบเปิด เปิดโอกาสสู่ทางเลือกใหม่เพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดีที่สุด

องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกต่างใช้ AI เพื่อเร่งการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ พลิกโฉมธุรกิจ และพัฒนาบริการเพื่อผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม การใช้โซลูชั่น AI ในทางปฏิบัติยังถูกจำกัดด้วยความท้าทายมากมายที่องค์กรธุรกิจยังไม่สามารถรับมือได้โดยง่าย เพราะยังขาดความเชี่ยวชาญภายในองค์กรและทรัพยากรไม่เพียงพอต่อการจัดการการใช้งาน AI ที่เหมาะสม (เช่น การเตรียมข้อมูลและโมเดลการจำลองข้อมูล) ตลอดจนแพลตฟอร์มกรรมสิทธิ์ที่มีราคาสูงและใช้เวลานานหากต้องซ่อมบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง

อินเทลมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนระบบนิเวศแบบเปิดที่สามารถใช้งานกับสถาปัตยกรรมได้หลากหลายและง่ายดายมากขึ้น ในที่นี้รวมถึงการร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ Unified Acceleration Foundation (UXL) ของมูลนิธิลินุกซ์ สมาคมที่ประกอบด้วยองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรมนี้ พร้อมเดินหน้าส่งมอบระบบนิเวศซอฟต์แวร์เร่งความเร็วแบบเปิดเพื่อลดความซับซ้อนในการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการใช้งานข้ามแพลตฟอร์ม โครงการ UXL นั้นเป็นวิวัฒนาการของโครงการริเริ่มอย่าง oneAPI ที่เป็นโมเดลการเขียนโปรแกรมของอินเทลที่ช่วยให้เขียนโค้ดเพียงครั้งเดียวและสามารถใช้งานกับสถาปัตยกรรมการประมวลผลหลายประเภท อาทิเช่น CPU, GPU, FPGA และชิปเร่งความเร็ว อินเทลเตรียมที่จะส่งมอบข้อมูลของ oneAPI ให้แก่โครงการ UXL Foundation เพื่อช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาข้ามแพลตฟอร์มในสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย

ยิ่งไปกว่านั้น อินเทลยังร่วมมือกับผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ชั้นนำอย่าง Red Hat, Canonical และ SUSE เพื่อนำเสนอซอฟต์แวร์ระดับองค์กรที่ได้รับการปรับให้เหมาะสม เพื่อช่วยรับประกันประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับสถาปัตยกรรมอินเทลรุ่นล่าสุด ภายในงาน Intel Innovation นายเกร็กยังได้ร่วมกับนายกุนนาร์ เฮลเล็กสัน รองประธานและผู้จัดการทั่วไปสำหรับธุรกิจ Red Hat Enterprise Linux ประกาศขยายความร่วมมือที่อินเทลเตรียมให้การสนับสนุนระบบนิเวศ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ตั้งแต่เริ่มต้นโดยใช้ CentOS Stream และอินเทลยังคงสนับสนุน AI ตลอดจนเครื่องมือและกรอบการทำงานของแมชชีนเลิร์นนิ่ง รวมถึง PyTorch และ TensorFlow อย่างต่อเนื่อง  เพื่อช่วยให้นักพัฒนาปรับขนาดประสิทธิภาพได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย Intel Granulate เตรียมเพิ่ม Auto Pilot สำหรับการกำหนดสิทธิ์ทรัพยากรพ็อด Kubernetes ซึ่งเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพความจุที่จะให้คำแนะนำการจัดการความจุแบบอัตโนมัติและต่อเนื่องสำหรับผู้ใช้ Kubernetes ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถลดต้นทุนสำคัญสอดคล้องกับมาตรชี้วัดประสิทธิภาพด้านต้นทุนสำหรับสภาพแวดล้อมการจัดการแพ็คเกจซอฟต์แวร์แบบ Containerization นอกจากนี้ Intel Granulate ยังเพิ่มความสามารถในการประสานการทำงานอัตโนมัติสำหรับเวิร์กโหลด Databricks ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนโดยเฉลี่ย 30% และลดเวลาในการประมวลผล 23% โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงโค้ด1  ในขณะที่ทั่วโลกพึ่งพา AI มากขึ้นในการแก้ปัญหาขนาดใหญ่และซับซ้อน และส่งมอบผลลัพธ์ทางธุรกิจที่แท้จริง เราต่างต้องการการปกป้องโมเดล AI ไปจนถึงข้อมูลและแพลตฟอร์มที่พวกเขาเรียกใช้เพิ่มมากขึ้นจากการดัดแปลง การหลอกเอาข้อมูล และการโจรกรรมข้อมูล การเข้ารหัสแบบ Fully homomorphic encryption (FHE) ช่วยคำนวณการประมวลผลได้โดยตรงกับข้อมูลที่เข้ารหัส แม้ว่าการใช้งานจริงจะถูกจำกัดด้วยความซับซ้อนและโอเวอร์เฮดในการคำนวณก็ตาม

นอกจากนี้ อินเทลยังเผยถึงแผนการที่จะพัฒนาตัวเร่งวงจรรวมเฉพาะแอปพลิเคชัน (ASIC) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านประสิทธิภาพล้านเท่าที่เกี่ยวข้องกับแนวทาง FHE แบบซอฟต์แวร์เท่านั้น นอกจากนี้ ยังเตรียมเปิดตัวชุดเครื่องมือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เข้ารหัสเวอร์ชันเบต้า ซึ่งจะช่วยให้นักวิจัย นักพัฒนา และชุมชนผู้ใช้ได้เรียนรู้และทดลองใช้การเข้ารหัส FHE ซึ่งจะเปิดตัวในปลายปีนี้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Intel® Developer Cloud ซึ่งเปิดให้ใช้งานทั่วไปตามที่ประกาศเมื่อวานนี้ และยังรวมถึงชุดอินเทอร์เฟซที่ทำงานร่วมกันได้เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ FHE เครื่องมือการแปล และเครื่องจำลองตัวอย่างของตัวเร่งฮาร์ดแวร์ด้วย

ความยั่งยืน Mobile ID และรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในอันดับต้นๆ

HID ผู้นำระดับสากลในด้านโซลูชั่นการระบุตัวตนและความปลอดภัยทางกายภาพ (physical security) ได้เผยแพร่ผลรายงาน State of the Security Industry Report เกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านความปลอดภัย ที่รวบรวมความคิดเห็นจากพันธมิตร ผู้ใช้งาน และบุคลากรด้านความปลอดภัยและไอที ในตำแหน่งต่างๆ จำนวน 2,700 คน จากองค์กรหลากหลายขนาดกว่า 11 อุตสาหกรรม โดยการสำรวจได้จัดทำขึ้นเมื่อปลายปี 2565 โดยมีประเด็นที่ผู้ตอบแบบสำรวจเห็นตรงกัน 5 ประการ ดังนี้

1. เกือบ 90% มองว่าความยั่งยืนเป็นเรื่องสำคัญ

ผู้บริโภคต่างเรียกร้องให้ผู้จัดหาสินค้าและบริการแสดงความโปร่งใสเกี่ยวกับผลกระทบด้านต่างๆ ทั้งในขั้นตอนการจัดหาผลิตภัณฑ์ การวิจัยและพัฒนา โดย 87% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่า ความยั่งยืนจัดอยู่ในอันดับ “สำคัญถึงสำคัญที่สุด” และ 76% กล่าวว่า ลูกค้าให้ความสำคัญกับความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็สะท้อนแนวโน้มดังกล่าว

เพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว ทีมงานที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยจึงมีการใช้ระบบคลาวด์และ IoT (Internet of Things) มากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการและลดการใช้ทรัพยากร นอกจากนี้ ก็กำลังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นใหม่ๆ เพื่อให้สามารถใช้พลังงานได้อย่างเหมาะสม ลดขยะและของเสีย และใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

2. องค์กรส่วนใหญ่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ Identity-as-a-Service (IDaaS) อย่างเต็มรูปแบบเพื่อรองรับการทำงานแบบไฮบริด

ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ จำนวน 81% เผยว่า ได้เสนอรูปแบบการทำงานแบบไฮบริด ตัวอย่างเช่น 67% ระบุว่า การยืนยันตัวตนแบบหลายขั้นตอน และแบบไม่ใช้รหัสผ่านมีความสำคัญที่สุดในการปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบการทำงานแบบไฮบริด และการทำงานทางไกล ในขณะที่ 48% ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ Mobile ID และการระบุตัวตนแบบดิจิทัล (Digital ID)

ที่น่าสนใจคือ การสำรวจยังเผยด้วยว่า เกือบครึ่งหนึ่งขององค์กรยังไม่พร้อมที่จะใช้กลยุทธ์ IDaaS อย่างครอบคลุม

 

3. การระบุตัวตนแบบดิจิทัล (Digital ID) และการยืนยันตัวตนผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ จะผลักดันให้มีการใช้โทรศัพท์มือถือในการเข้า-ออกอาคารมากยิ่งขึ้น

การระบุและยืนยันตัวตนมักจะดำเนินการผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ รวมถึงสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์สวมใส่ โดยความนิยมที่เพิ่มขึ้นของกระเป๋าเงินดิจิทัลจากผู้ให้บริการรายใหญ่ เช่น Google, Apple และ Amazon เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของแนวโน้มดังกล่าว การใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น ยังช่วยให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนสามารถเพิ่มกุญแจ บัตรประจำตัว และเอกสารดิจิทัลได้ ในแอปพลิเคชันกระเป๋าเงิน ซึ่งรวมถึง แต่ไม่จำกัดเพียงใบขับขี่ในแปดมลรัฐ ข้อมูลการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ตรวจสอบได้ บัตรประจำตัวพนักงาน บัตรประจำตัวนักศึกษา และกุญแจห้องพักโรงแรม

ผลสำรวจยังเผยอีกว่า บริษัทอสังหาริมทรัพย์ (40%) กำลังแซงหน้าธุรกิจประเภทอื่นๆ เนื่องจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่กำลังใช้ระบบการเข้า-ออกอาคารด้วยโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแอปพลิเคชันสำหรับผู้เช่าของบริษัทเหล่านี้

 

4. เกือบ 60% ของผู้ตอบแบบสำรวจเห็นประโยชน์ของการยืนยันตัวตนด้วยไบโอเมตริกซ์แบบไร้สัมผัส

เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญจากวิธีการควบคุมการเข้า-ออกอาคารแบบเดิมๆ การใช้ข้อมูลไบโอเมตริกซ์ ที่เพิ่มความแน่นหนาในการรักษาความปลอดภัย (เช่น การสแกนไบโอเมตริกซ์เพื่อยืนยันตัวตนทางกายภาพของแต่ละบุคคล) จะช่วยให้องค์กรสามารถป้องกันการลักลอบเข้า-ออกอาคาร และการปลอมแปลงการยืนยันตัวตนได้

ผลสำรวจได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแนวโน้มดังกล่าว โดย 59% ของผู้ตอบแบบสำรวจมีทั้งกำลังใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์อยู่ วางแผนที่จะนำมาใช้ หรืออย่างน้อยก็จะทดลองใช้ในอนาคตอันใกล้นี้

5. ปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานยังคงเป็นปัจจัยที่น่ากังวล แต่ก็เริ่มมีมุมมองในเชิงบวกมากขึ้น

จากการสำรวจครั้งนี้ 74% ของผู้ตอบแบบสำรวจเผยว่าได้รับผลกระทบจากปัญหาห่วงโซ่อุปทานในปี 2565 ที่ผ่านมา แม้ว่า 50% จะมีมุมมองในเชิงบวกว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในปี 2566 นี้ ส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบนั้น ส่วนใหญ่คือบริษัทอสังหาริมทรัพย์ โดย 78% ระบุว่า มีความกังวลกับปัญหาห่วงโซ่อุปทาน

กว่าสองในสามขององค์กรที่มีพนักงานน้อยกว่า 1,000 คน เผยว่าได้รับผลกระทบอย่างมากจากปัญหาห่วงโซ่อุปทานในปี 2565 แต่ในขณะเดียวกันก็มีมุมมองในเชิงบวกว่าปัญหาดังกล่าวจะได้รับการแก้ไขในปี 2566 นี้

การศึกษาทำความเข้าใจกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยสามารถเตรียมความพร้อมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และส่งมอบประสบการณ์ด้านความปลอดภัยที่ยอดเยี่ยมทั้งแบบดิจิทัลและทางกายภาพ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่ล้ำหน้า ทั้งโซลูชั่นและบริการต่างๆ ได้

ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์มาอย่างยาวนาน ในอดีตการเรียกร้องความเป็นส่วนตัวจะมุ่งเน้นไปที่ความเป็นส่วนตัวทางกายภาพ (Physical Privacy)

เป็น 1 ใน 5 องค์กรชั้นนำระดับโลกที่ได้รับการยอมรับในคุณภาพมานานถึง 2 ทศวรรษ

X

Right Click

No right click