บ้านปู เน็กซ์ ผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานสะอาดชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เผยเทรนด์สำคัญที่สะท้อนว่าองค์กรทั่วโลกต่างมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายด้าน Net-Zero อย่างจริงจังมากขึ้นโดยใช้นวัตกรรมพลังงานสะอาดเพื่อรับมือกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน ตั้งเป้าจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงเกินแก้ไขหากอุณหภูมิโลกสูงขึ้นถึง 2 องศาเซลเซียส โดยเทรนด์ดังกล่าวยังสอดรับกับบทสรุปของการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 28 หรือ COP28 ที่เน้นย้ำบทบาทของภาคเอกชนในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมถึงชูความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคพลังงานสะอาดอีกด้วย

การขับเคลื่อน Net-Zero ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่องเมื่อองค์กรขนาดใหญ่จำนวนมาก ต่างวางเป้าหมายในด้านดังกล่าวไว้อย่างเข้มข้น โดยรายงานของ Net-Zero Tracker หน่วยงานอิสระที่ติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกระบุว่า 1,475 องค์กรจากกว่า 4,000 รายทั่วโลกกำหนดเป้าหมาย Net-Zero เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจำนวนดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ โดยธุรกิจต่างๆ จากหลากหลายอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีชีวภาพ เภสัชกรรม อาหารและเครื่องดื่ม เกษตรกรรม การโรงแรม ภาคการผลิต วัสดุอุปกรณ์ ค้าปลีก คมนาคมขนส่ง และพลังงาน ต่างเห็นความจำเป็นเร่งด่วนของการรับมือกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยดำเนินกลยุทธ์ที่ครอบคลุมทั้งการทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการนำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาใช้วางเป้าหมายขององค์กร การชดเชยด้วยคาร์บอนเครดิต รวมถึงการลงทุนในเทคโนโลยีและการบริหารการดำเนินงานที่ยั่งยืน

สำหรับประเทศไทย ทั้งแบรนด์ไทยและแบรนด์ต่างชาติจากแต่ละอุตสาหกรรมกำลังดำเนินกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนภายใต้เป้าหมายที่จะสร้างเสริมโลกที่เป็นมิตรกับธรรมชาติมากยิ่งขึ้นและมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ อย่างเช่นนิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง, บีทาเก้น, โครงการมิกซ์ยูสซัมเมอร์ ลาซาล, โรงเรียนนานาชาติรักบี้, ตลาดสามย่าน, เอฟเอ็น แฟคตอรี่ เอ๊าท์เลท, เดอะ แพลทินัม แฟชั่น มอลล์, เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์, เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย), ดิ เอราวัณ กรุ๊ป และ ล็อกซเล่ย์  เป็นตัวอย่างองค์กรและแบรนด์ชั้นนำที่หันมาขับเคลื่อนธุรกิจไปพร้อมกับการลดการปล่อย CO2 ปริมาณมหาศาลต่อปี

ท่ามกลางความตื่นตัวด้านความยั่งยืนที่เติบโตขึ้นทั่วโลก บ้านปู เน็กซ์ เชื่อว่านวัตกรรมพลังงานสะอาด อาทิ แหล่งพลังงานหมุนเวียน ระบบกักเก็บพลังงาน ระบบบริหารจัดการพลังงาน ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า ตลอดจนเทคโนโลยีดักจับ กักเก็บ และใช้ประโยชน์คาร์บอน มีความจำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายด้าน Net-Zero เนื่องจากนวัตกรรมเหล่านี้มีบทบาทในการลดการปล่อยคาร์บอน จึงช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคพลังงานหมุนเวียน และนำไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนในท้ายที่สุด โดยภายใต้ความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมอนาคตที่ดียิ่งขึ้นให้กับทุกคน บ้านปู เน็กซ์ เดินหน้าพัฒนาโซลูชันพลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่องเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นรูปธรรม และได้ช่วยให้คู่ค้าลดการปล่อยคาร์บอนได้ประมาณ 4 แสนตัน เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ประมาณ 29 ล้านต้นถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนสังคมไร้คาร์บอนพร้อมทั้งสนับสนุนประเทศไทยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี  พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายใน พ.ศ. 2608

บ้านปู เน็กซ์ มุ่งมั่นเป็นผู้ให้บริการโซลูชัน Net-Zero ให้กับองค์กรทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จึงเดินหน้าขับเคลื่อน 5 ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจแบตเตอรี่ ธุรกิจซื้อขายไฟฟ้า ธุรกิจอี-โมบิลิตี้ และธุรกิจพัฒนาเมืองอัจฉริยะและจัดการพลังงาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการรับมือกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงทั่วโลก นอกจากนี้ บ้านปู เน็กซ์ ยังมองหาโอกาสใหม่ๆ ในการเป็นพันธมิตรกับองค์กรด้านเทคโนโลยีและพลังงานสะอาดที่มีศักยภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศธุรกิจโดยรวมอีกด้วย

ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือทางด้านวิชาการ การวิจัย และนวัตกรรม

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ ได้ลงนามสัญญาเงินกู้ มูลค่า 2.4 พันล้านบาท กับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ซึ่งรวมถึงเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน จำนวน 10.7 ล้านเหรียญสหรัฐ จากกองทุนเพื่อเทคโนโลยีสะอาด (ADB-Administered Clean Technology) เพื่อเป็นทุนสนับสนุนธุรกิจบริการรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า 6 ที่นั่ง จำนวน 1,500 คัน และการสนับสนุนธุรกิจพลังงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถานีชาร์จแบตเตอรี่สำหรับการคมนาคมขนส่งขนาดเล็กในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ รวมถึงการขยายฐานการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าขนาด 1.3 กิกะวัตต์ชั่วโมง ในมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเงินทุนนี้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานของบ้านปู และสนับสนุนการเร่งเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจพลังงานที่สะอาดและฉลาดขึ้น (Greener & Smarter)

 

นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “บ้านปูอยู่ในช่วงของการขยายพอร์ตฟอลิโอธุรกิจพลังงานที่สะอาดขึ้นรวมถึงธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน ผ่านบริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด เพื่อรองรับเทรนด์พลังงานโลก เราขอขอบคุณ ADB ที่สนับสนุนความมุ่งมั่นของเรา ทั้งสององค์กรมีปณิธานตรงกันในการสร้างพลังงานที่ยั่งยืน ความร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้ความพยายามของเราสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น และมีส่วนช่วยขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้คนไปพร้อมกัน”

“ADB ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก รวมถึงส่งเสริมการเข้าถึงพลังงานที่มีเสถียรภาพ ราคาสมเหตุสมผล และมีปริมาณคาร์บอนต่ำ ทั่วทั้งเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งตรงกับกลยุทธ์ Greener & Smarter ของบ้านปู โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาธุรกิจอีโมบิลิตี้ และธุรกิจแบตเตอรี่ เราหวังว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในภาคการขนส่งสาธารณะ ซึ่งจะเป็นปัจจัยการ

เปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่นำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” นางซูซานน์ กาบูรี่ ผู้อำนวยการ สำนักปฏิบัติการภาคเอกชน ธนาคารพัฒนาเอเชีย กล่าว

ปัจจุบัน ธุรกิจอีโมบิลิตี้ ของบ้านปู เน็กซ์ ให้บริการรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าผ่านมูฟมี (MuvMi) ในลักษณะ Ride Sharing ครอบคลุม 12 พื้นที่ในเขตใจกลางกรุงเทพฯ และมีจุดให้บริการกว่า 3,000 จุด สำหรับระบบกักเก็บพลังงาน บริษัทฯ มีธุรกิจที่ครอบคลุมตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงบริการโซลูชันด้านแบตเตอรี่ที่เต็มศักยภาพแบบครบวงจร ตั้งแต่การผลิต จัดจำหน่ายแบตเตอรี่ การนำแบตเตอรี่มาใช้ซ้ำและการรีไซเคิลแบตเตอรี่ที่ใช้กับยานยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่สำรองไฟ สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ ได้ลงนามสัญญาเงินกู้ มูลค่า 2.4 พันล้านบาท กับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ซึ่งรวมถึงเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน จำนวน 10.7 ล้านเหรียญสหรัฐ จากกองทุนเพื่อเทคโนโลยีสะอาด (ADB-Administered Clean Technology) เพื่อเป็นทุนสนับสนุนธุรกิจบริการรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า 6 ที่นั่ง จำนวน 1,500 คัน และการสนับสนุนธุรกิจพลังงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถานีชาร์จแบตเตอรี่สำหรับการคมนาคมขนส่งขนาดเล็กในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ รวมถึงการขยายฐานการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าขนาด 1.3 กิกะวัตต์ชั่วโมง ในมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเงินทุนนี้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานของบ้านปู และสนับสนุนการเร่งเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจพลังงานที่สะอาดและฉลาดขึ้น (Greener & Smarter)

นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “บ้านปูอยู่ในช่วงของการขยายพอร์ตฟอลิโอธุรกิจพลังงานที่สะอาดขึ้นรวมถึงธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน ผ่านบริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด เพื่อรองรับเทรนด์พลังงานโลก เราขอขอบคุณ ADB ที่สนับสนุนความมุ่งมั่นของเรา ทั้งสององค์กรมีปณิธานตรงกันในการสร้างพลังงานที่ยั่งยืน ความร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้ความพยายามของเราสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น และมีส่วนช่วยขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้คนไปพร้อมกัน”

“ADB ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก รวมถึงส่งเสริมการเข้าถึงพลังงานที่มีเสถียรภาพ ราคาสมเหตุสมผล และมีปริมาณคาร์บอนต่ำ ทั่วทั้งเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งตรงกับกลยุทธ์ Greener & Smarter ของบ้านปู โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาธุรกิจอีโมบิลิตี้ และธุรกิจแบตเตอรี่ เราหวังว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในภาคการขนส่งสาธารณะ ซึ่งจะเป็นปัจจัยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่นำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” นางซูซานน์ กาบูรี่ ผู้อำนวยการ สำนักปฏิบัติการภาคเอกชน ธนาคารพัฒนาเอเชีย กล่าว

 

ปัจจุบัน ธุรกิจอีโมบิลิตี้ ของบ้านปู เน็กซ์ ให้บริการรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าผ่านมูฟมี (MuvMi) ในลักษณะ Ride Sharing ครอบคลุม 12 พื้นที่ในเขตใจกลางกรุงเทพฯ และมีจุดให้บริการกว่า 3,000 จุด สำหรับระบบกักเก็บพลังงาน บริษัทฯ มีธุรกิจที่ครอบคลุมตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงบริการโซลูชันด้านแบตเตอรี่ที่เต็มศักยภาพแบบครบวงจร ตั้งแต่การผลิต จัดจำหน่ายแบตเตอรี่ การนำแบตเตอรี่มาใช้ซ้ำและการรีไซเคิลแบตเตอรี่ที่ใช้กับยานยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่สำรองไฟ สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) “ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายระดับนานาชาติ” (International Versatile Energy Provider) ก้าวสู่ทศวรรษที่ 5 พร้อมฉายภาพความสำเร็จของหน่วยงาน Digital and Innovation (D&I)” หนึ่งกุญแจสำคัญที่นำพาบ้านปูเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล (Digital Transformation) ด้วยเป้าหมายในการส่งมอบอนาคตพลังงานเพื่อความยั่งยืน ผ่านการนำเทคโนโลยีและดิจิทัลมาเชื่อมโยงการทำงานของบ้านปูใน 9 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุน และสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจในระยะยาว ด้วย 4 ผลงานเด่น อาทิ การตรวจสอบเส้นทางขนส่ง การวิเคราะห์แนวโน้มราคาพลังงาน การจัดเก็บและรวมศูนย์ข้อมูลของบริษัทในกลุ่มบ้านปูทั้ง 9 ประเทศ ตลอดจนยกระดับ Cybersecurity สร้างความปลอดภัยด้านข้อมูลขั้นสูง เพื่อผลักดันการเติบโตทางธุรกิจภายใต้   กลยุทธ์ Greener & Smarter

 

ดร.ธีระชัย พรสินศิริรักษ์ Head of Digital and Innovation บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “บ้านปูกำลังเร่งการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ (Banpu Transformation) ซึ่งดำเนินการมากว่า 10 ปีแล้ว บริษัทฯ ได้จัดตั้งหน่วยงาน Digital Center of Excellence (DCOE) เมื่อปี 2561 เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลโดยเฉพาะ และต่อมา ได้ผนวก DCOE เข้ากับหน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ในช่วงกลางปี 2565 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภายใต้ชื่อหน่วยงานใหม่อย่าง Digital and Innovation หรือ D&I ซึ่งมีหมุดหมายสำคัญในการส่งเสริมพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานของบ้านปูให้แข็งแกร่ง รองรับความต้องการขององค์กรที่มีการเปลี่ยนผ่านทั้งด้านธุรกิจ เทคโนโลยี และบุคลากร พร้อมสนับสนุนงานปฏิบัติการของธุรกิจในกลุ่มบ้านปู ทั้งในไทย อินโดนีเซีย จีน ออสเตรเลีย ลาว มองโกเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม โดยให้สำนักงานใหญ่ในไทยเป็นผู้นำในการทำ Digital Transformation โดยปัจจุบันมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญจากทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมกว่า 150 คนแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานที่เติบโตเร็วมาก”

ดร.ธีระชัย กล่าวต่อว่า “เป้าหมายและกรอบการทำงานของ D&I ในช่วง 1-2 ปีแรกของการจัดตั้งหน่วยงาน เรามุ่งให้ทีมสามารถทำงานอย่างสอดประสานและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแบบ One Team, One Goal เพื่อสร้างความแข็งแกร่งจากภายใน และในช่วงปีที่ 3-4 เป็นช่วงของการใช้กลยุทธ์การทำงานที่สอดคล้องกัน โดยทีมสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ รวมถึงสามารถแชร์ทีมงานดิจิทัล (Digital Workforce) กันได้ด้วย แม้ว่าการดำเนินงานในประเทศต่างๆ จะมีบริบทที่ต่างกัน แต่เราต้องผนวกความร่วมมือ (Synergy) เพื่อเร่งให้บ้านปูประสบความสำเร็จตามกลยุทธ์ Greener & Smarter ได้เร็วขึ้น หลังจากที่บ้านปูดำเนินธุรกิจภายใต้กลยุทธ์นี้มาตั้งแต่ปี 2558”

อีกหนึ่งภารกิจสำคัญของ D&I คือส่งเสริมให้บุคลากรของบ้านปูตระหนักรู้ถึงความสำคัญของดิจิทัล (Digital Awareness) และเพิ่มทักษะดิจิทัลให้แก่พนักงานที่เกี่ยวข้องในสายงาน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในความสามารถสำคัญที่ทั้งบ้านปูและโลกกำลังต้องการ โดยมีการฝึกฝนบุคลากรให้มีชุดความคิดแบบดิจิทัล (Digital Mindset) และกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) โดยมี Digital Coach เป็นผู้สอนการใช้เทคโนโลยีต่างๆ พร้อมเทรนเดอะเทรนเนอร์ (Train the trainers) เพื่อพัฒนาทักษะบุคลากรให้เป็นเทรนเนอร์หรือโค้ชที่สามารถถ่ายทอดทักษะให้แก่ผู้อื่นได้ต่อ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านบุคลากร (People Transformation) รวมถึงการจัดตั้ง Digital Capability Center (DCC) ในหลายประเทศ เพื่อยกระดับความร่วมมือของพนักงานในแต่ละกลุ่มธุรกิจ โดยดำเนินงานภายใต้ 4 พันธกิจคือ 1) นำเทคโนโลยีไปปรับใช้ทั่วทั้งองค์กร 2) นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานที่สะอาดขึ้น 3) สร้างสรรค์นวัตกรรมให้เกิดขึ้นภายในองค์กร และ 4) สร้างธุรกิจให้แข็งแกร่งและเพิ่มความยืดหยุ่น เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันในอนาคต

 

ในช่วงที่ผ่านมา ทีม D&I ได้ผลักดันการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมมาใช้ในโครงการต่างๆ ที่มีความโดดเด่น ถูกนำไปใช้งานจริง และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้ในอนาคต อาทิ

  • Supply Chain Optimization ระบบที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของห่วงโซ่อุปทาน โดยใช้เทคโนโลยี AI ตรวจจับข้อมูลการขนส่งและโลจิสติกส์ เช่น เส้นทางเดินเรือของเรือขนส่งสินค้า ตารางการจัดวัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น
  • Energy Trading ระบบซื้อขายพลังงานที่มีเทคโนโลยี AI ช่วยวิเคราะห์ทิศทางของราคาพลังงาน เช่น ในอีก 5-10 นาทีข้างหน้าค่าไฟจะต่ำลงหรือสูงขึ้น ช่วยในการตัดสินใจซื้อ-ขายพลังงานได้อย่างแม่นยำ แม้ระบบนี้จะยังอยู่ในช่วงของการทดสอบ แต่ได้นำร่องใช้งานในออสเตรเลียแล้ว และมีแนวโน้มขยายการใช้งานไปยังญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาอีกด้วย
  • Master Data Warehouse ศูนย์กลางข้อมูลของบ้านปูใน 9 ประเทศ เนื่องจากฐานข้อมูลของกลุ่มบ้านปูกระจายอยู่ในหลายประเทศ ทีม D&I จึงพัฒนา Master Data Warehouse ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมข้อมูลของบ้านปู โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดเก็บดาต้าให้เป็นหมวดหมู่และควบคุมให้เป็นฟอร์แมท (Format) เดียวกัน พร้อมกับทำ Corporate Information Factory (CIF) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดเก็บ Data Master Files ร่วมด้วย
  • Cybersecurity ขยายขอบเขตการดูแลความมั่นคงทางไซเบอร์ ครอบคลุมทั้งด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน ส่งผลให้การประกาศสมาชิกดัชนีความยั่งยืน ดาวโจนส์ หรือ Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI ในปี 2022 บ้านปูได้รับคะแนนประเมินประสิทธิผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้าน Cybersecurity เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

 

“ตลอด 1 ปี 6 เดือน หน่วยงาน D&I ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนที่สำคัญ (Key Enabler) และเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยซัพพอร์ตงานด้านดิจิทัลทั้งหมดของบ้านปู เราเดินหน้าไปแล้วกว่า 270 รายการ เป็นรายการทั้งที่อยู่ในขั้นทดลอง/ทดสอบ หรือให้คำแนะนำ หรือเป็นที่ปรึกษา บางรายการเป็นโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตั้งต้น (Minimal Viable Product: MVP) หรือเป็นโครงการที่พัฒนาโซลูชันจนสามารถใช้งานในองค์กรได้ รวมถึงมีโครงการที่สร้างรายได้กลับเข้ามาในหน่วยงาน และโครงการที่ช่วยลดต้นทุนให้หน่วยงานในบ้านปูได้ด้วย เหล่านี้จึงเป็นบทพิสูจน์ความก้าวหน้าในการมุ่งมั่นใช้และพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลของ  บ้านปู” ดร.ธีระชัย กล่าวทิ้งท้าย

ในการก้าวสู่ทศวรรษที่ 5 บ้านปูยังคงเดินหน้าเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยมาใช้อย่างชาญฉลาดทั่วทั้งองค์กร สอดรับกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะเห็นได้ว่าเพียงหนึ่งปีครึ่ง หน่วยงาน Digital and Innovation ประสบความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการบริหารและขับเคลื่อนองค์กรสู่การเปลี่ยนผ่านธุรกิจหลายโครงการ ทั้งหมดนี้ เพื่อสนับสนุนการส่งมอบอนาคตพลังงานเพื่อความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และร่วมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่ผู้คนในวันนี้และในอนาคต ตอกย้ำพันธสัญญาที่ว่า ‘พลังบ้านปู สู่พลังงานที่ยั่งยืน’ (Our Way in Energy)

X

Right Click

No right click