×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

ผลประกอบการไตรมาส 3 และ 9 เดือนแรกปี 2562 ของเอสซีจี กำไรลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี ร่วมกับอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ขับเคลื่อนและขยายผลชุมชนต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอย

เอสซีจีบริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด และ เคทีซีหรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของช่างและผู้รับเหมาก่อสร้างรายย่อยในยุคดิจิทัล ผ่านบัตรเครดิตKTC-SCG VISA Purchasing

เอสซีจี เดินหน้าตามกลยุทธ์สร้างการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน ลงทุนกว่า 2.1 หมื่นล้านบาท เข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน PT. Fajar Surya Wisesa Tbk. หนึ่งในผู้นำธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซีย พร้อมรองรับตลาดที่มีประชากรสูงถึง 270 ล้านคน และมีอัตราการเติบโตของตลาดบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับเป็นการลงทุนครั้งสำคัญที่จะช่วยสร้างโอกาส การเติบโตของธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี ในอนาคต

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปิดเผยว่า “เอสซีจี ยังคงเดินหน้าตามกลยุทธ์เพื่อสร้างการเติบโตอย่างแข็งแกร่งมั่นคงในระยะยาว (Long-term Growth) ด้วยการขยายฐานการลงทุนในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี ได้เข้าลงทุนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สัดส่วนร้อยละ 55 ใน PT. Fajar Surya Wisesa Tbk. (หรือ “Fajar”) ซึ่งเป็นผู้นำธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ และเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย จากผู้ถือหุ้นปัจจุบัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 9.6 ล้านล้านรูเปีย (ประมาณ 21,150 ล้านบาท หรือเทียบเท่า 665 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่า จะดำเนินธุรกรรมแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 โดยใช้แหล่งเงินทุนจากภายใน นอกจากนี้ เพื่อรองรับโอกาสในการขยายธุรกิจแพคเกจจิ้งในอนาคต เอสซีจีอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มทุนของธุรกิจแพคเกจจิ้ง ซึ่งคาดว่าการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2562 นี้

นายรุ่งโรจน์ กล่าวต่อไปว่า “การเข้าถือหุ้นข้างมากใน Fajar จะช่วยขยายการเติบโตของเอสซีจีในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดอินโดนีเซีย ซึ่งธุรกิจแพคเกจจิ้งมีโอกาสเติบโตอย่างมากในอนาคต โดยหากพิจารณาจากจำนวนประชากร 270 ล้านคน และอัตราการใช้กระดาษบรรจุภัณฑ์ต่อคนของอินโดนีเซียแล้ว ศักยภาพการเติบโตของตลาดกระดาษบรรจุภัณฑ์ในอินโดนีเซียสูงกว่าไทยเกือบ 3 เท่าตัว”

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี มีผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง สามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง และการแข่งขันที่รุนแรงได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงมีขีดความสามารถสูง และมีศักยภาพในการขยายธุรกิจครอบคลุมอาเซียน โดยมีโรงงานตั้งอยู่ที่ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นตลาดที่เติบโตอย่างมาก โดยมุ่งขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการเป็นผู้ให้บริการบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (Total Packaging Solutions Provider) รวมทั้งการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้า บริการ และกระบวนการผลิต เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และการใช้งานของผู้บริโภค ตลอดจนการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตามแนวทางของเอสซีจี หรือ SCG Circular Way

ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี ในปี 2561 มีรายได้จากการขาย 87,255 ล้านบาท โดยมีกำไรสำหรับปี 6,319 ล้านบาท ขณะที่ Fajar ในปี 2561 มียอดขายกระดาษบรรจุภัณฑ์รวม 1.38 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 9.94 ล้านล้านรูเปีย (ประมาณ 21,900 ล้านบาท) และมีกำไรสำหรับปีประมาณ 1.41 ล้านล้านรูเปีย (ประมาณ 3,100 ล้านบาท)

เอสซีจี เดินหน้าโครงการปิโตรเคมีครบวงจรรายแรก ในประเทศเวียดนาม ล่าสุดได้ลงนามในสัญญาเงินกู้จำนวนกว่า 3,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 110,000 ล้านบาท) กับ 6 สถาบันการเงินชั้นนำ โดยจะเริ่มการก่อสร้างในไตรมาสที่สาม ปี 2561 และคาดว่าจะสามารถดำเนินการผลิตในเชิงพาณิชย์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566  เพื่อรองรับความต้องการภายในเวียดนามที่ปัจจุบันสูงถึงปีละ 2.3 ล้านตัน และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในระดับสูง

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “โครงการ Long Son Petrochemicals หรือ LSP เป็นโครงการปิโตรเคมีครบวงจรขนาดใหญ่ระดับ World Scale มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 5,400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 180,000 ล้านบาท ถือเป็นการลงทุนหลักของเอสซีจีในปัจจุบัน การลงทุนในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในธุรกิจเคมิคอลส์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  นอกจากนี้ยังนำเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกที่มีความยืดหยุ่นในการเลือกใช้วัตถุดิบสูงทำให้ได้เปรียบทางการแข่งขัน รวมทั้งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาคิดค้นนวัตกรรมเพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น”

การลงนามในสัญญาเงินกู้เป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐกับ 6 สถาบันการเงินชั้นนำได้แก่ ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น ธนาคารมิซูโฮ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีวงเงินจำนวนกว่า 3,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 110,000 ล้านบาท) และมีระยะเวลาเงินกู้ประมาณ 14 ปี โดยมีธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

LSP ตั้งอยู่ที่เมือง Ba Ria – Vung Tau ห่างจากนครโฮจิมินห์ประมาณ 100 กิโลเมตร มีกำลังการผลิตโอเลฟินส์ 1.6 ล้านตันต่อปี สำหรับผลิตเม็ดพลาสติกชนิด HDPE LLDPE และ PP โดยโครงการมีการดำเนินงานอย่างเข้มงวดตามมาตรฐานความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมระดับโลก เพื่อให้การดำเนินธุรกิจสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมของเวียดนามได้อย่างยั่งยืน

 

บุคคลในข่าว (ซ้ายไปขวา)

1. เยาวดี นาคะตะ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
2. วีระพงศ์ ศุภเศรษฐ์ศักดิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
3. วรางคณา วงศ์ข้าหลวง รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
4. เชาวลิต เอกบุตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การเงินการลงทุน เอสซีจี
5. ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม General Director, Long Son Petrochemical Company Limited
6. รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี
7. ชลณัฐ ญาณารณพ รองผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์
8. ยูอิชิ นิชิมุระ Regional Head of Greater Mekong Sub-Region, Country Head of Thailand, General Manager of Bangkok Branch, ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
9. ราจีฟ คันนัน Executive Officer - Head of Investment Banking Asia, ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
10. มาซายูกิ สุงาวาร่า, Executive Officer and General Manager, ธนาคารมิซูโฮ
11. วศิน ไสยวรรณ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุด Corporate Banking ธนาคารไทยพาณิชย์

X

Right Click

No right click