เอสซีจี เปิดต้อนรับครอบครัวพลังชุมชนจากทั่วประเทศ กับงาน พลังชุมชน สร้างคนด้วยปัญญา” ในโครงการ “พลังชุมชน”

พัฒนานวัตกรรมตอบเมกะเทรนด์โลก ขานรับเศรษฐกิจ BCG ในงาน Thailand-Japan Economic Forum 2023

เอสซีจี มุ่งแก้จน ลดความเหลื่อมล้ำสังคม ตามแนวทาง ESG 4 Plus (มุ่ง Net Zero – Go Green – Lean เหลื่อมล้ำ – ย้ำร่วมมือ ภายใต้ความเชื่อมั่น โปร่งใส) ผ่านโครงการพลังชุมชน อบรมให้ความรู้คู่คุณธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต มุ่งให้ชุมชนเห็นคุณค่าและพัฒนาศักยภาพตนเอง  สร้างอาชีพด้วยการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้โดนใจลูกค้า ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้น่าซื้อ ดึงดูดใจผู้บริโภค นำหลักการตลาดไปใช้ในการจัดจำหน่ายทั้งออนไลน์ (Online) และออฟไลน์ (Offline) ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ขณะเดียวกันต้องบริหารจัดการความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเอง หากทำผิดพลาด ต้องไม่ย่อท้อ ล้มแล้วต้องรีบลุก  นำจุดบกพร่องมาเป็นบทเรียนพัฒนาตนเอง

ตั้งแต่ปี 2561 มีผู้ร่วมอบรมในโครงการ​พลังชุมชน 650 คน จาก 14  จังหวัด ได้แก่ ลำปาง สระบุรี กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช เชียงราย แพร่ อุดรธานี อุบลราชธานีลำพูน อุตรดิตถ์ บุรีรัมย์ พิษณุโลก ตาก และระยอง มีสินค้าแปรรูป​กว่า 1,150 รายการ ชุมชนมีรายได้เพิ่ม 5 เท่า เกิดการจ้างงาน 3,410 คน ส่งต่อความรู้ 26,130 คน ช่วยปลดหนี้ มีอาชีพมั่นคง ต่อยอดความรู้ พัฒนาเป็นการตลาดรอดจนซึ่งมีรูปแบบเฉพาะตัว ขณะเดียวกันยังแบ่งปันความรู้และเป็นต้นแบบส่งต่อแรงบันดาลใจให้ชุมชนอื่นๆ เกิดเป็นเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง

เอสซีจีได้จัดงาน “พลังชุมชน สร้างคนด้วยปัญญา โดยเชิญ 6 ตัวแทนบุคคลต้นแบบมาร่วมแบ่งปันความรู้ แนวคิดการพัฒนาอาชีพ หัวข้อ “เปลี่ยนอย่างไรให้ปัง” และเปิดเวทีให้น้อง ๆ โรงเรียนน้ำโสมพิทยาคม จ.อุดรธานี มาแชร์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสร้างมูลค่าจากวัตถุดิบรอบตัวและนำไปทำโครงการวิชาการประกวด ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ นอกจากนั้น ยังเปิด “ตลาดพลังชุมชนชวนช้อป” นำสินค้ากว่า 200 รายการมาจำหน่าย เช่น ผงกล้วยหอมทองพร้อมชง จ.แพร่  ก๋วยจั๋บรสต้นตำรับเส้นญวน จ.อุบลราชธานี กระบกเคลือบคาราเมล จ.อุบลราชธานี  เกล็ดปลานิลอินทรีย์ทอดกรุบกรอบ จ.เชียงราย  ขนมกุ๊กไก่ไส้สับปะรด จ.ลำปาง ผ้าย้อมดินถิ่นครูบา จ.ลำพูน แผ่นแปะสมุนไพรแก้ปวด จ.เชียงราย  น้ำพริกปลาส้ม 4 ภาค จ.อุดรธานี และกระเป๋าทำจากผ้าขาวม้า จ.สระบุรี   

ผู้สนใจสามารถสนับสนุนชุมชน โดยเลือกซื้อสินค้าขึ้นชื่อของแต่ละจังหวัด และแหล่งท่องเที่ยวทั่วไทย ได้ที่ E-CATALOG https://my.eboox.cc/shop9/1/2566/   

รุกตลาด รับแนวโน้มสายมูเติบโตต่อเนื่อง มูลค่าตลาดเฉียด 1 พันล้านบาท พร้อมเฟ้นหานิวเจน ประกวดแบบบ้านสู่แบบจริงในงาน Open House 2023

บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ร่วมกับ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด มหาชน ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โดยมีเป้าหมายร่วมกันที่จะศึกษาและพัฒนา Guideline โครงการ Pathway to NET ZERO Building ผ่านโครงการต้นแบบและขยายผลการดำเนินการ โดยการใช้เทคโนโลยีประหยัดพลังงานและมาตรฐานอาคารเขียว (Green Building) ภายใต้เงื่อนไขความร่วมมือซึ่งกันและกัน และเผยแพร่ผลสัมฤทธิ์สู่สาธารณชน โดยจะได้นำผลของการดำเนินการต่อยอดสู่การพัฒนาโครงการเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases : GHG) ทั้งในอาคารเก่าและอาคารใหม่ในอนาคต

นายวชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Smart System Solution Business บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด กล่าวว่า “สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเอสซีจี โดย เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ในฐานะผู้นำด้านสินค้า บริการ รวมถึงโซลูชันด้านสินค้าวัสดุก่อสร้าง ที่ได้ให้ความสำคัญในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในอาคารมาโดยตลอด ในครั้งนี้ เอสซีจี โดยบริษัท SCG Building and Living Care Consulting ซึ่งเป็นธุรกิจที่ก่อตั้งขึ้นจากการนำองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการก่อสร้างของเอสซีจี ผนึกเข้ากับแนวทาง ESG” ที่เอสซีจีนำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้สอดคล้องกับหลักพัฒนาคุณภาพทางสังคมแบบยั่งยืน ต่อยอดสู่ธุรกิจบริการให้คำปรึกษาด้านสิ่งปลูกสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างมาตรฐานคุณภาพการใช้ชีวิตภายในอาคารให้ดีขึ้น จาก 3 บริการหลัก คือ Sustainability and Wellbeing Building Certification, Building Services Engineering, Healthcare and Wellness Building Design ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาและออกแบบอาคารเพื่อความยั่งยืนและเพื่อสุขภาวะที่ดี ่านการให้คำปรึกษาเพื่อออกแบบกรอบแนวทางดำเนินการ วิเคราะห์ องค์กร อาคารและผลิตภัณฑ์ คำนวณความคุ้มค่าและผลตอบแทน พร้อมนำเสนอ Solutions ให้เหมาะสมกับเป้าหมายและงบประมาณของแต่ละองค์กร และธุรกิจ SCG Smart Building Solution ซึ่งให้บริการโซลูชันด้านพลังงานในอาคาร และการบริหารจัดการอาคารด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน รวมถึงบริษัทต่างๆ ในเครือ บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง มีความยินดีที่จะนำองค์ความรู้มาต่อยอด เพื่อวางแนวทางโครงการ Pathway to NET ZERO Building โดยได้ร่วมกับทางเซ็นทรัลพัฒนา ในการจัดทำแผนแม่บทเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่ NET ZERO ในปี 2050 โดยมีโครงการนำร่องได้แก่ เซ็นทรัล เวสต์วิลล์, แจ้งวัฒนะ, พัทยา, อยุธยา, นครปฐม, และนครสวรรค์”    

“การลงนามในวันนี้เป็นอีกหนึ่งในจุดเริ่มต้นของ เอสซีจี และ เซ็นทรัลพัฒนา ในการใช้จุดแข็งของ ทั้ง 2 ธุรกิจมาพัฒนาต่อยอดสู่เป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นพันธกิจของสังคมโลก ซึ่งหวังว่ากลยุทธ์สำคัญที่ได้จากโครงการนี้จะมีส่วนสำคัญในการสร้างองค์ความรู้และเผยแพร่สู่สาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการผลักดันให้เกิดนโยบายหรือแผนงานเพื่อมุ่งสู่ความเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญเพื่อโลกที่ยั่งยืนให้กับหลายๆ หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ต่อไปในอนาคต” นายวชิระชัย กล่าวทิ้งท้าย

 

นายชนวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล Chief Development and Commercial Officer บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เซ็นทรัลพัฒนา มีวิสัยทัศน์ที่สำคัญคือ ‘Imagining better futures for all’ เราจึงตั้งเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนอย่างจริงจัง คือการเป็นองคก์ร NET Zero ภายในปี 2050 ด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และมลพิษจากธุรกิจสุทธิเป็นศูนย์ ทั้งนี้ เราตั้งใจพัฒนา พื้นที่ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต รวมถึงดูแลชุมชนและสังคม โดยการพัฒนาธุรกิจหลักของเรา ทั้งศูนย์การค้า, ที่อยู่อาศัย, โรงแรม และอาคารสำนักงาน จะเป็นการเชื่อมโยงเข้าหากันทั้งระบบ เพื่อสร้าง The Ecosystem for All’ ที่แข็งแกร่งและยั่งยืนให้กับทุกภาคส่วน รวมไปถึงเรายังได้ขยายความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรในด้านต่างๆ ที่จะแบ่งปันและส่งเสริมความเชี่ยวชาญระหว่างกันอีกด้วย ดังเช่นการริเริ่มโครงการ “Green Partnership”  หรือพันธมิตรสีเขียว โดยเริ่มต้นที่ โครงการต้นแบบ Framework Pathway to Net Zero Building Guideline ร่วมกับ บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะมีส่วนช่วยสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจให้กับบุคลากรของทั้งสองบริษัท ในด้านกระบวนการทำงานสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืนต่อไป”

X

Right Click

No right click