January 22, 2025

‘หัวเว่ย’ เปิดกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ใหม่ หนุนการปลดล็อกศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก

March 15, 2023 1428

การพัฒนา 5G เชิงพาณิชย์ยังคงเติบโตต่อเนื่องในเอเชียแปซิฟิก

ปัจจัยจากเรื่องการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเหล่าสตาร์ทอัพ ‘ยูนิคอร์น’ และอายุขัยเฉลี่ยของประชากรเพียง 30.2 ปี ผลักดันให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกก้าวเข้าสู่ยุคทองของเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างมั่นคง จากแรงผลักดันเรื่องความต้องการโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีที่เติบโตอย่างยั่งยืน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่เร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านนี้ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ในช่วงเวลาที่ประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเริ่มทยอยเปิดประเทศ และคาดว่าจะรักษาอัตราการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2566 โดยมีการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของ GDP เอาไว้มากกว่า 4% ส่งผลให้แนวโน้มการใช้งานบริการด้านโทรคมนาคมเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ตลาดโทรคมนาคมในเอเชียแปซิฟิกยังคงมีความเหลื่อมล้ำ โดยการเข้าถึงเครือข่าย 4G มีอัตราที่ต่างกันตั้งแต่ 40% จนถึง 100% ส่งผลให้สถิติข้อมูลประชากรและอัตราการรับส่งข้อมูลยังไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ การตอบโจทย์ด้านบริการโทรคมนาคมสำหรับผู้บริโภคก็ยังคงไม่บรรลุศักยภาพสูงสุด

ในระหว่างงานแถลงข่าว ณ งานมหกรรมระดับโลกด้านเทคโนโลยีไร้สาย โมบายล์ เวิลด์ คองเกรส ประจำปี พ.ศ. 2566 (Mobile World Congress - MWC 2023) นาย อาเบล เติ้ง ประธานกลุ่มธึรกิจเครือข่ายโทรคมนาคมภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย ได้เปิดเผยว่า “หัวเว่ยซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีไอซีที ได้นำเสนอหลากหลายกลยุทธ์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลและผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เทคโนโลยี 5G จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างเห็นได้ชัด ในประเทศไทย หัวเว่ยได้ผนึกกำลังเหล่าพันธมิตรและผู้ให้บริการเครือข่ายเพื่อเปิดใช้งานรถขุดเหมืองไร้คนขับบนโครงข่าย 5G เพื่อเสริมศักยภาพการผลิตและขยายกำลังการผลิตอย่างก้าวกระโดด ตลอดจนเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเหมือง เนื่องจากเหมืองแร่มักตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่โครงข่ายโทรคมนาคมยังเข้าไม่ถึง เครือข่าย 5G มอบช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานเหมืองและช่วยบริหารจัดการระบบรถขุดในเหมือง ประเทศอินโดนีเซียถือเป็นอีกหนึ่งในตัวอย่างของการประยุกต์ใช้งานโซลูชันเหมืองอัจฉริยะ โดยเทคโนโลยี 5G ช่วยทำให้ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น 60% และลดการใช้เชื้อเพลิงได้ถึง 30%”

“นอกเหนือจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในการทำเหมืองแร่ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังก้าวสู่เส้นทางการเปิดรับโอกาสการพลิกโฉมสู่ยุคดิจิทัลในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยประเทศมาเลเซียได้เปิดตัวแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่ง 5G แห่งแรกของภูมิภาค ที่มาพร้อมกับโซลูชันการสำรองข้อมูล นวัตกรรมการใช้ AR ช่วยสนับสนุนกระบวนการทำงาน และโซลูชัน IoT เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ ช่วยยกระดับเสถียรภาพการเชื่อมต่อสื่อสารและประหยัดต้นทุนไปพร้อมกัน นอกจากนี้ โซลูชันการแพทย์ทางไกลในประเทศไทย ยังช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและรักษาโรคอย่างเต็มประสิทธิภาพในทุกที่ทุกเวลาผ่านเครือข่าย 5G และโซลูชันพัทยาเมืองอัจฉริยะ 5G ยกระดับการบริหารจัดการเมืองใหญ่เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรและลดมลพิษลงกว่า 20%” นายอาเบลกล่าวเสริม

เขายังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าหัวเว่ยได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับโครงการเหล่านี้ โดยได้เข้าไปช่วยบ่มเพาะความเชี่ยวชาญและสั่งสมประสบการณ์เพื่อวางรากฐานที่มั่นคงด้านผลิตภัณฑ์และโซลูชันไอซีที ในด้านเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สาย หัวเว่ยได้บุกเบิกนวัตกรรมโซลูชันที่จะช่วยเพิ่มอัตราการส่งสัญญาณให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น และประหยัดพลังงานขึ้น 30% จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพราะตอบโจทย์ความท้าทายด้านสถานีส่งสัญญาณที่มีจำนวนน้อยและค่อนข้างมีระยะห่างกัน ในด้านโซลูชันบ้านอัจฉริยะ ผลิตภัณฑ์เครือข่ายไฟเบอร์แบบถึงห้องพัก (Fiber to The Room)  FTTR F30 รุ่นใหม่ จะสร้างประสบการณ์การใช้งานเครือข่ายระดับ ‘กิกะบิต’ และนำประสบการณ์ดิจิทัลคุณภาพสูงสุดมาสู่ชุมชนในภูมิภาค

“เครือข่ายความเร็วเหนือระดับที่ผสานด้วยระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีอัจฉริยะทวีความสำคัญมากขึ้นเพื่อสอดรับกับความต้องการที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องผนวกกับโอกาสธุรกิจใหม่ในยุคดิจิทัล ในปัจจุบันคาดการณ์ว่าเทคโนโลยี 5.5G จะเสริมศักยภาพผู้ให้บริการเครือข่ายโดยเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายขึ้นอีก 10 เท่าเปรียบเทียบกับ 5G และมีแนวโน้มจะแปลงเป็นโอกาสทางธุรกิจได้ถึง 100 เท่า” นายอาเบลกล่าว

ผนึกกำลังเพื่อพลิกโฉมความรุ่งเรืองของยุค 5.5G

ในงานมหกรรมระดับโลกด้านเทคโนโลยีไร้สาย โมบายล์ เวิลด์ คองเกรส ประจำปี พ.ศ. 2566 (MWC 2023) นายหยาง เชาปิน รองประธานอาวุโสและประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์และโซลูชันไอซีทีของหัวเว่ย ได้กล่าวว่า การพัฒนาที่รุดหน้าของเทคโนโลยี 5G นำไปสู่ความต้องการบริการในรูปแบบใหม่ที่แตกต่างจากเดิมและมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยจำเป็นต้องใช้ศักยภาพของเทคโนโลยี 5G ที่เหนือระดับขึ้นไปอีกขั้น ดังนั้นการพัฒนาเทคโนโลยี 5.5G จึงเป็นหนทางเดียวที่จะยกระดับการพัฒนาเครือข่าย 5G ได้ ซึ่งหัวเว่ยและพาร์ทเนอร์ได้บรรลุฉันทามติร่วมกันในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี 5.5G และยึดเป็นแนวทางในการพัฒนาของภาคอุตสาหกรรม โดยทิศทางที่ชัดเจนด้านการกำหนดมาตรฐาน 5.5G (5G-Advanced) F5.5G (F5G-Advanced) และ Net5.5G กลยุทธ์ที่ชัดเจนด้านคลื่นความถี่ การทดสอบเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้งานในสถานการณ์ต่าง ๆ รวมถึงฉันทามติในภาคอุตสาหกรรมที่รุดหน้าอย่างต่อเนื่อง ล้วนมีส่วนขับเคลื่อนการพลิกโฉมเครือข่าย 5.5G เชิงพาณิชย์ ซึ่งการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอีก 10 เท่า จะช่วยผลักดันภาคอุตสาหกรรมหลายพันแห่งให้ปลดปล่อยศักยภาพด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่งกว่าที่เคย

ภายในงาน หัวเว่ยยังได้เน้นย้ำถึงเอกลักษณ์สำคัญ 5 ประการของยุค 5.5G คือ ได้แก่ 1) ประสบการณ์การเชื่อมต่อระดับ 10 กิกะบิตต่อวินาที 2) รองรับอุปกรณ์ IoT ในทุกรูปแบบ 3) โซลูชันเซ็นเซอร์และการสื่อสารแบบครบวงจร 4) เครือข่ายระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ L4 และ 5) เทคโนโลยี ICT ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์เพื่อก้าวสู่ยุค 5.5G ว่า ผู้เล่นในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต้องผนึกกำลังเพื่อกำหนดมาตรฐานขั้นสูง เพื่อบ่มเพาะอุตสาหกรรมให้รุดหน้า และเผยข้อแนะนำสามประการ คือ

1) ทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมต้องร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์สำหรับ 5.5G

2) อุตสาหกรรมควรกำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีภายใต้ข้อกำหนดของกลุ่มมาตรฐานอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (The 3rd Generation Partnership Project - 3GPP) สถาบันมาตรฐานโทรคมนาคมของยุโรป (European Telecommunication Standards Institute – ETSI) และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (The International Telecommunication Union – ITU)

3) ผู้เล่นในอุตสาหกรรมควรร่วมส่งเสริมอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรมให้รุดหน้า โดยผลักดันกรณีตัวอย่างการใช้งานจริงและเร่งการพลิกโฉมด้านดิจิทัลและนวัตกรรมอัจฉริยะ

หัวเว่ยสร้างความโดดเด่นในภาคอุตสาหกรรมเครือข่ายโทรคมนาคมไร้สาย ด้วยผลิตภัณฑ์และโซลูชันชั้นนำ ความสำเร็จอย่างต่อเนื่องด้านการคิดค้นนวัตกรรมล้ำสมัย ตลอดจนการมอบสิ่งดี ๆ คืนสู่ภาคอุตสาหกรรมและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาภาคสังคม จนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ในระหว่างมหกรรมโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (MWC 2023) ณ กรุงบาร์เซโลนา หัวเว่ยได้คว้า10 รางวัลในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งสะท้อนความเป็นเลิศด้านศักยภาพการบริหารธุรกิจและการดำเนินงานของหัวเว่ย

ในอนาคต โลกอัจฉริยะจะเชื่อมโยงกับโลกของเราอย่างไร้รอยต่อ โดยความบันเทิงส่วนบุคคล สำนักงานและอุตสาหกรรมการผลิตจะก้าวเข้าสู่ยุคการเชื่อมต่ออัจฉริยะ ความต้องการเครือข่ายจะเปลี่ยนจากเครือข่ายระดับกิกะบิตที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ไปสู่ เครือข่ายระดับ 10 กิกะบิตที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ เปลี่ยนจากการเชื่อมต่อไปสู่การรับรู้ และเปลี่ยนจากการใช้พลังงานเป็นการประหยัดพลังงาน

ในมหกรรมโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (MWC 2023) หัวเว่ยยังได้เผยต้นแบบทางธุรกิจ GUIDE ซึ่งเป็นกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ใหม่ในการสร้างมาตรฐานเพื่อวางรากฐานสู่ยุค 5.5G ซึ่งเกี่ยวกับประสบการณ์กิกะเวิร์สเพื่อทุกคนในทุกหนทุกแห่ง โซลูชันอัตโนมัติสุดล้ำ การประมวลผลอัจฉริยะและเครือข่ายในรูปแบบบริการ (network as a service) และประสบการณ์การใช้งานที่คัดสรรโดยเฉพาะสำหรับกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกันและการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

“หัวเว่ยพร้อมยืนหยัดสนับสนุนความก้าวหน้าด้านดิจิทัลสำหรับเหล่าพันธมิตร ชุมชนต่าง ๆ และทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทั้งในปัจจุบันและต่อเนื่องสู่อนาคตในอีกหลายปีข้างหน้า” นาย อาเบล เติ้ง กล่าวปิดท้าย

X

Right Click

No right click