บริษัท จีไอเอส จำกัด ในกลุ่มบริษัทซีดีจี (CDG) ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของ บริษัท การ์มิน (ประเทศไทย) จำกัด เดินหน้าสร้างความสัมพันธ์สมาชิก ผนึก MAAI by KTC สร้างสรรค์ระบบ Loyalty Program แพลตฟอร์มพร้อมใช้แบบครบวงจร ตอบโจทย์สมาชิกยุคดิจิทัล และไลฟ์สไตล์อันเป็นเอกลักษณ์ของ GARMIN ด้วย 3 โซลูชั่น มัดใจสมาชิกนักกีฬาพร้อมขยายฐานสู่กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนใจใน Active Lifestyle ด้วยสิทธิพิเศษและกิจกรรมมากมาย เพิ่มความเชื่อมั่นและความไว้วางใจให้ GARMIN by GIS เป็นเพื่อนข้างกายตามติดไปในทุกที่ ทุกกิจกรรม ตอกย้ำผู้นำสมาร์ทวอทช์อันดับหนึ่งของเมืองไทยอย่างแท้จริง
นายไกรรพ เหลืองอุทัย ประธานบริษัท “GIS” หรือ บริษัท จีไอเอส จำกัด ในกลุ่มบริษัทซีดีจี (CDG) กล่าวว่า “GIS ในฐานะที่เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการของแบรนด์ GARMIN ผู้นำสมาร์ทวอทช์สำหรับกีฬาและไลฟ์สไตล์อันดับหนึ่งของเมืองไทย เดินหน้าพัฒนาจุดแข็งตลอดระยะเวลา 28 ปีที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย เปิดกลยุทธ์ขยายฐานตลาดฐานการตลาดแบรนด์ GARMIN ให้กว้างขึ้น สู่กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนใจใน Active Lifestyle พร้อมกันนี้ยังให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าหลักที่ให้ความไว้วางใจ และมุ่งตอบแทนความมั่นใจที่ลูกค้ามีให้แก่เรามาอย่างยาวนาน จึงได้ร่วมมือกับ MAAI by KTC เปิดตัว Loyalty Program เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับลูกค้าและผู้ใช้งาน GARMIN ด้วยเป้าหมายที่ต้องการทำความรู้จักลูกค้าในมุมมองต่างๆ ให้ลึกซึ้งมากขึ้น รวมไปถึงศึกษาทำความเข้าใจไลฟ์สไตล์ ความชื่นชอบ และความสนใจ อาทิ เทรนด์ด้านสุขภาพที่กำลังได้รับความนิยม เพื่อพัฒนากิจกรรมหรือออกแบบสร้างสรรค์งาน และผลิตภัณฑ์ ที่มอบประสบการณ์พิเศษตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงใจที่สุด”
“สำหรับความร่วมมือกับ MAAI by KTC ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ดำเนินธุรกิจบัตรเครดิตมาอย่างยาวนาน มีความโดดเด่นด้านความแข็งแกร่งและเชี่ยวชาญเรื่องการทำระบบคะแนนสะสม ได้ขยายขอบเขตธุรกิจมาสู่การสร้างระบบ Loyalty Platform GIS จึงมีความมั่นใจมอบหมายให้ MAAI by KTC ช่วยในการจัดการ Platform เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างครบวงจร ซึ่งถือว่าตอบโจทย์ในทุกๆ ด้าน อาทิ การใช้งานที่
สะดวก และสิทธิพิเศษที่ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ และทุกพื้นที่ทั่วประเทศ Platform นี้จะเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน และเปิดโอกาสให้ลูกค้า GARMIN by GIS พบประสบการณ์พิเศษผ่านกิจกรรมต่างๆ และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์สมาร์ทวอทช์ชั้นนำ พร้อมอัพเดท เทรนด์เทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ด้าน Active Lifestyle ในหมู่ลูกค้าและผู้สนใจที่รักในการดูแลสุขภาพ ที่เชื่อมั่นและให้ความไว้วางใจให้ GARMIN by GIS เป็นเพื่อน (buddy) ข้างกาย ที่ติดตัวได้ในทุกที่ ทุกกิจกรรมที่ทำ ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของชีวิตอย่างครบถ้วน”
นางประณยา นิถานานนท์ ผู้บริหารสูงสุด สายงานการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “MAAI by KTC” เป็นระบบที่ช่วยธุรกิจสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าสมาชิกในการสะสมคะแนน และเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนในการทำ CRM ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในยุคดิจิทัล ด้วย One Stop Service ที่ให้บริการด้านการสร้างสรรค์แพลตฟอร์มแบบพร้อมใช้ครบวงจรในกระบวนการแบบ end-to-end ที่มาพร้อมกับเครือข่ายร้านค้าที่รองรับการแลกคะแนนมากมาย บนช่องทางที่หลากหลาย ทั้งรูปแบบ B Scan C อาทิ QR Code / Barcode หรือช่องทางออนไลน์ e-Commerce ต่างๆ และรูปแบบ C Scan B ที่ลูกค้าสามารถแลกคะแนนเพื่อเป็นส่วนลด ณ ร้านค้า ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ของการช้อปปิ้ง ทั้งหมดนี้สะท้อนความแข็งแกร่งของเครือข่ายพันธมิตรของ MAAI by KTC ที่จะทำให้ Ecosystem ทั้งหมดสมบูรณ์แบบ สร้างความแข็งแกร่งให้ระบบ Loyalty Platform ที่จะสามารถต่อยอดกันได้ไม่สิ้นสุด ด้วย 3 โซลูชั่น ได้แก่ Membership Management Point System Management และ E-Coupon Management โดยบริการที่ให้ GARMIN by GIS เป็นโซลูชั่นที่ Customize ให้เฉพาะทาง เพื่อตอบโจทย์รูปแบบธุรกิจที่ต้องการออกแบบสร้างสรรค์งาน และเลือกสรรผลิตภัณฑ์ ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างสูงที่สุด การทำ Loyalty Platform น่าจะเป็นอีกทางเลือก ที่ช่วยให้การต่อยอดธุรกิจได้เป็นอย่างดี ตอบโจทย์การทำธุรกิจที่ต้องเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ พร้อมสร้างความสำเร็จให้กับองค์กรอย่างรวดเร็วและยั่งยืน”
นางสาววรรณกร มัณฑนาจารุ แฟนพันธุ์แท้ GARMIN ตัวแทนคนรุ่นใหม่สายสปอร์ตและไลฟ์สไตล์ กล่าวว่า “GARMIN เป็นแบรนด์ที่มีจุดแข็งเรื่องของสินค้าที่มีคุณภาพ มีฟีเจอร์ที่ตรวจวัดค่าต่างๆ ของร่างกาย และฟังก์ชันการออกกำลังกายที่ครบครัน สามารถประมวลผลออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ ที่สำคัญเรื่องที่ยืน 1 ในใจ คือของระยะเวลาแบตเตอรี่ที่อยู่ได้นานไม่ต้องชาร์จทุกวัน ที่เคยใช้มา 3 เรือน ก็อยู่ได้เกิน 1 สัปดาห์ มีหลากหลายรุ่นให้เลือกตามลักษณะการใช้งาน รวมถึงการออกแบบคอลเล็คชันใหม่ๆ มาได้ทันสมัยและตอบโจทย์การใช้งานมากยิ่งขึ้นด้วย จากที่มีโอกาสทดลอง Membership Program ผ่าน Line OA : @GarminByGIS ก็ไม่ยุ่งยาก เข้าไปตรง Membership กดลงทะเบียน ก็เริ่มสะสมคะแนนจากการสั่งซื้อตั้งแต่ครั้งแรกได้เลย ตอบโจทย์การใช้งานที่ง่าย รวดเร็ว มีกิจกรรม และสิทธิพิเศษที่โดนใจสาวก GARMIN อย่างแน่นอน”
Esri ผู้นำด้าน Location Intelligence การวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศในมุมมองใหม่ ด้วยความเชี่ยวชาญในการพัฒนา ArcGIS ซอฟต์แวร์ชั้นนำระดับโลก ล่าสุด Esri ได้รับรางวัล The Forrester New Wave™:Climate Risk Analytics, 2022 จากบริษัทวิจัย Forrester จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS ในการช่วยแก้ปัญหาด้านความเสี่ยงของสภาพอากาศ ตอกย้ำประสิทธิภาพเทคโนโลยี GIS ด้านการนำข้อมูลต่าง ๆ มาใช้วิเคราะห์ ประมวลผลขั้นสูง และนำเสนอข้อมูลปัญหาที่เกี่ยวกับภัยธรรมชาติและภัยพิบัติต่างๆ จากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกที่มีผลกระทบโดยตรงกับความยั่งยืนในภาพรวมของทุกภาคส่วน
นางสาวธนพร ฐิติสวัสดิ์ ประธานบริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงขึ้นทุกปี โดยรายงานจากองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) เผยว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเป็นปีที่อุณหภูมิโลกสูงสุดเป็นครั้งที่ 6 ตั้งแต่ที่องค์การได้บันทึกสถิติ ทำให้เกิดเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น เหตุการณ์ฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลัน คลื่นความร้อนที่ทำให้เกิดภัยแล้งรุนแรงจนทำให้เกิดไฟป่าเป็นวงกว้างในหลายประเทศ และในภูมิภาคเอเชียเกิดวิกฤตการณ์คลื่นความร้อนและฝนตกหนักกว่าปกติ นับเป็นประเด็นหลักของโลก สิ่งที่เป็นปัญหาในการแก้ปัญหาภัยพิบัติ คือการเข้าไปช่วยเหลือไม่ทันเวลา หรือไม่มีข้อมูลในการเข้าถึงและแก้ปัญหาได้เร็ว เทคโนโลยี GIS จึงเข้ามาช่วยทำให้เห็นภาพรวมทั้งหมด มอนิเตอร์เหตุการณ์ และวางแผนรับมือแก้ปัญหา รวมถึงบริหารจัดการด้านภัยธรรมชาติและภัยพิบัติต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและรัดกุมมากขึ้น โดย Esri เชื่อว่าการมองอะไรด้วยภาพหรือ Location ช่วยทำให้วิเคราะห์สถานการณ์ได้ดีกว่าการเห็นแค่ตัวเลข หรือตัวหนังสือทั่ว ๆ ไป
“เทคโนโลยี GIS ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ให้สอดคล้องไปตามเทรนด์เทคโนโลยี และบูรณาการร่วมกับนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยมีการพัฒนาให้ใช้งานง่ายและรวดเร็วขึ้น เตรียมพร้อมในการแก้ปัญหาได้อย่างทันเวลาและทั่วถึง ซึ่งหนึ่งในจุดเด่นของการทำงานของเทคโนโลยี GIS ที่มีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาด้านภัยธรรมชาติและภัยพิบัติต่าง ๆ คือความสามารถในการรวบรวมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและนำมาวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยง สามารถสร้างแบบจำลองการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการนำเทคโนโลยีด้าน Deep Learning และ Machine Learning รวมทั้ง AI เข้ามาทำงานร่วมกัน ทำให้วิเคราะห์ข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วและแม่นยำ สามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบระหว่างปัจจุบันและอดีต เพื่อคาดการณ์แนวโน้ม วางแผนป้องกัน และหาโซลูชันแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดและยั่งยืน” นางสาวธนพรอธิบาย
นอกจากนี้ เทคโนโลยี GIS มีเครื่องมือที่พร้อมใช้งาน สะดวกต่อการพัฒนาต่อยอด สามารถมอนิเตอร์ติดตามสถานการณ์จริงแบบเรียลไทม์ เพื่อหาแนวทางเข้าควบคุม แก้ไข หรือวางแผนตอบสนองในพื้นที่ที่ต้องการแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีผ่านเว็บแอปพลิเคชันที่สามารถสร้างได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม หรือ โค้ดดิ้ง พร้อมการนำเสนอข้อมูลด้วยรูปแบบที่เข้าใจง่าย ไม่ว่าจะเป็น Dashboard หรือแผนที่ 3 มิติ ที่แสดงผลได้ทั้งบน Mobile และ Desktop ทำให้ประชาชนหรือผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อวางแผนหรือเตรียมความพร้อมสำหรับดำเนินการได้อย่างเหมาะสมและทันเวลา รวมถึงสามารถแบ่งปันข้อมูลร่วมกันในรูปแบบ Open Data ที่เป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
ล่าสุด Forrester บริษัทด้านการวิจัยและวิเคราะห์เทคโนโลยี IT ชั้นแนวหน้าในสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศให้ Esri เป็นผู้นำด้านการทำรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ ประจำปี 2565 จากรายงาน The Forrester New Wave™: Climate Risk Analytics, 2022 รายงานของ Forrester ยังกล่าวถึงจุดเด่นของแพลตฟอร์ม Esri ว่าเป็นแพลตฟอร์มที่มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูล และการประมวลผลขั้นสูง
อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างผู้ให้บริการข้อมูลสภาพอากาศ (NASA, NCAR, NOAA ฯลฯ) และการดำเนินงานในภาคธุรกิจ
นางสาวธนพร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของในประเทศไทยได้มีการนำเทคโนโลยี GIS มาใช้ในการพยากรณ์ด้านภัยพิบัติ โดย Esri ได้ขยายความร่วมมือกับ ”ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ” ด้วยการนำเทคโนโลยี GIS ไปใช้งานด้านภัยพิบัติและด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น การนำเสนอฮับสภาพแวดล้อมเพื่อพยากรณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดกับ ‘กรุงเทพฯ’ ในช่วง 100 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ เทคโนโลยี GIS สามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์ด้านภัยพิบัติอื่น ๆ อาทิ มลพิษทางอากาศ รวมทั้ง ติดตามเหตุการณ์สึนามิ ไฟป่า แผ่นดินไหว ภัยแล้ง พายุ น้ำท่วม จำนวนยอดผู้ป่วยจากโรคระบาดทั่วโลก COVID-19 ฯลฯ ให้ภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชน สามารถนำข้อมูลจากแอปพลิเคชันไปช่วยยกระดับการวางแผนรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว พร้อมคาดการณ์ภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นต่อตนเอง ชุมชนเมือง และประเทศ ได้แม่นยำกว่า
ในฐานะผู้ให้บริการด้าน Location Intelligence อันดับหนึ่ง Esri มุ่งมั่นในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศ ที่ล้วนมีผลกระทบต่อความยั่งยืนในอนาคต โดยการใช้เทคโนโลยี GIS ที่อัปเดต เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ช่วยแสดงรูปแบบ ความสัมพันธ์ของข้อมูลให้เห็นมุมมองที่แตกต่าง เชื่อมโยงและสร้างความเข้าใจแบบองค์รวมอย่างครอบคลุม เพื่อจัดการกับความท้าทายที่ต่างกำลังเผชิญอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ สู่การวางแผนดำเนินการแก้ปัญหาให้ตรงจุดและยั่งยืนด้วยข้อมูลที่รวบรวมไว้ในแพลตฟอร์ม เพื่ออนาคตที่ดีกว่า นางสาวธนพร กล่าวทิ้งท้าย
บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้าน Location Intelligence การวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศในมุมมองใหม่ จากความเชี่ยวชาญในการพัฒนา ArcGIS ซอฟต์แวร์ชั้นนำระดับโลก เผย 3 เทรนด์เทคโนโลยี GIS ที่น่าจับตามอง ทั้งบิ๊กดาต้า & เรียลไทม์ การสร้างแผนที่อัตโนมัติจากภาพถ่ายด้วยระบบประมวลผลอัจฉริยะ และการสร้างแบบจำลองเสมือนจริงในรูปแบบดิจิทัล จาก User Conference 2022 ล่าสุดที่สหรัฐอเมริกา โดย Esri Inc. งานสัมมนาเทคโนโลยี GIS ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่รวมผู้ใช้งาน GIS กว่า 15,000 คนจากทั่วโลก เผยเทคโนโลยี GIS ที่พัฒนาการทำงานร่วมกับนวัตกรรมและเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ พร้อมเตรียมเปิดเวที Thailand User Conference 2022 หรือ TUC ครั้งที่ 26 สัมมนาเทคโนโลยี GIS ครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในวันที่ 18 สิงหาคม 2565 ลงทะเบียนเข้างานได้แล้ววันนี้