December 23, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

 

แกร็บ ประเทศไทย ตอกย้ำการเป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับภูมิภาค ประกาศความมุ่งมั่นสู่การเป็นองค์กร ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI-led Organization) เผยแนวทางการพัฒนาและ ใช้เทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาและตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคดิจิทัล ควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในวงจรธุรกิจและสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่าน 3 ตัวแปรหลัก คือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) อุปกรณ์ที่เชื่อมโยงด้วยอินเทอร์เน็ต (IoT) และโซลูชันนวัตกรรมบนแอปพลิเคชัน (In-app Solutions) พร้อมเผยตัวอย่างนวัตกรรมล่าสุด อาทิ ฟีเจอร์บัญชีครอบครัว (Family Account) ที่ผู้ใช้บริการสามารถติดตามการเดินทางและชำระค่าบริการเรียกรถผ่านแอปฯ ให้กับคนในครอบครัวได้ ฟู้ดล็อกเกอร์ (Food Lockers) ตู้ฝากอาหารเดลิเวอรีที่ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพนักงานออฟฟิศ รวมถึงแผนที่ในอาคาร (Indoor Map) ที่ช่วยให้คนขับประหยัดเวลาเดินหาร้านอาหารภายในห้างหรืออาคาร

 

นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า “กว่าทศวรรษของการดำเนินธุรกิจ แกร็บยึดมั่นในพันธกิจ GrabForGood หรือ ‘แกร็บ เพื่อชีวิตที่ดีกว่า’ ที่มุ่งพัฒนาและนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในภูมิภาคมาโดยตลอด โดยแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีของแกร็บ เริ่มต้นจากการศึกษาพฤติกรรมการใช้ชีวิตและทำความเข้าใจอินไซต์ของผู้บริโภค รวมถึงคนในวงจรธุรกิจ (Ecosystem) ไม่ว่าจะเป็น คนขับหรือผู้ประกอบการร้านค้า-ร้านอาหาร ตลอดจนติดตามและเรียนรู้ประเด็นความสนใจและความท้าทายของสังคม เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดผล ในวงกว้าง โดยปัจจุบันแกร็บมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ใน 4 ประเด็นหลัก คือ การเสริมประสิทธิภาพการทำงาน

(Efficiency) การเพิ่มศักยภาพและผลิตผล (Productivity) การยกระดับประสบการณ์การใช้งาน (Experience) และการสร้างผลกระทบเชิงบวก(Impact)

“สำหรับในประเทศไทย การนำเทคโนโลยี รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI Technology) มาใช้เพื่อเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจ ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลัก (4A) ที่เราประกาศไว้ตั้งแต่ต้นปีเพื่อรักษาความเป็นผู้นำทั้งบริการการเดินทางและเดลิเวอรี โดยในปีนี้เรามุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาและใช้ประโยชน์เทคโนโลยีใน 3 ส่วนหลัก คือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) อุปกรณ์ ที่เชื่อมโยงด้วยอินเทอร์เน็ต (IoT) และโซลูชันนวัตกรรมบนแอปพลิเคชันของเรา(In-app Solutions) เพื่อช่วยตอบโจทย์และเติมเต็มความต้องการของคนในอีโคซิสเต็มในด้านต่างๆ อย่างสร้างสรรค์”

ไฮไลท์สำคัญในด้านเทคโนโลยีของแกร็บในปีนี้ ประกอบด้วย

 

· เทคโนโลยีที่เข้าใจ “ผู้ใช้บริการ” ทุกบริการและนวัตกรรมของแกร็บถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกและแก้ปัญหา (pain point) ในชีวิตประจำวันให้กับผู้บริโภคในยุคดิจิทัล โดยผ่านการศึกษาพฤติกรรมและบริบทของการใช้งานเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างตรงจุด ซึ่งนอกจากบริการคำสั่งซื้อกลุ่ม (Group Order) แล้ว ในปีนี้แกร็บยังได้เผย 2 นวัตกรรมที่เพิ่งเปิดตัวล่าสุด อย่าง ฟีเจอร์บัญชีครอบครัว (Family Account) ที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์การใช้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันให้กับสมาชิกในครอบครัว โดยผู้ใช้บริการสามารถเรียกรถ ตรวจสอบตำแหน่งการเดินทาง สื่อสารผ่านแชตกับคนขับ และชำระค่าบริการให้กับสมาชิกในครอบครัวได้อย่างสะดวกสบาย รวมถึงฟู้ดล็อกเกอร์ (Food Lockers) ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาให้กับพนักงานออฟฟิศที่ชอบสั่งอาหารผ่านแอปฯ แต่บางครั้งอาจติดประชุมหรือไม่สามารถลงมารับอาหารได้ทันที ซึ่งช่วยสร้างความสะดวกให้ทั้งผู้สั่งอาหารและไรเดอร์

· เทคโนโลยีที่เสริมประสิทธิภาพ “คนขับและไรเดอร์” เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับคนขับ คือ การอำนวยความสะดวกและช่วยให้คนกลุ่มนี้สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งถือเป็นการเพิ่มโอกาสในการหารายได้ให้กับพวกเขา โดยแกร็บมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยี AI และ Machine Learning (ML) มาช่วยในระบบจัดสรรงานสำหรับคนขับและวางแผนระบบปฏิบัติการหลังบ้าน ซึ่งรวมถึงนวัตกรรมล่าสุดอย่าง ระบบจัดสรรคำสั่งซื้อแบบทันเวลาพอดี (Just-in-Time Allocation) ที่ใช้ ML มาประเมินเวลาการเตรียมอาหารของ

ร้านค้าก่อนจะส่งงานให้คนขับเพื่อลดระยะเวลาการรอรับอาหารให้สั้นที่สุด และการพัฒนาแผนที่ในอาคาร (Indoor Map) ที่ช่วยแนะนำเส้นทางและบอกตำแหน่งของร้านอาหารภายในห้างหรืออาคาร ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการค้นหาได้ถึง 20%

· เทคโนโลยีที่เสริมโอกาสทางธุรกิจให้กับ “ผู้ประกอบการร้านค้า-ร้านอาหาร” การช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กสามารถเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีให้กับคนกลุ่มนี้ หนึ่งในนวัตกรรมล่าสุดของแกร็บคือการนำเทคโนโลยี AI มาช่วยสร้างหรือออกแบบ ภาพอาหารให้ใกล้เคียงของจริงที่สุด ซึ่งจะช่วยดึงดูดความสนใจของลูกค้าและเพิ่มโอกาสในการขายให้กับร้านค้า ขณะเดียวกัน แกร็บยังคงพัฒนาบริการสินเชื่อดิจิทัล โดยนำเทคโนโลยี ML มาใช้ประเมินศักยภาพและอนุมัติวงเงินที่เหมาะสมให้พาร์ทเนอร์ร้านค้าโดยพิจารณาจากข้อมูลการทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์มของแกร็บ

· เทคโนโลยีที่ช่วยแก้ปัญหาและพัฒนา “สังคมและสิ่งแวดล้อม” โดยแกร็บมุ่งให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความปลอดภัย ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาแอปพลิเคชัน ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างความอุ่นใจให้กับผู้ใช้บริการและคนขับอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมตั้งแต่ก่อน ระหว่างและหลังจบการเดินทาง อาทิ ระบบยืนยันตัวตนของคนขับด้วยการสแกนใบหน้า (Biometric Authentication) ระบบตรวจสอบการเดินทางแบบเรียลไทม์ (Real-time Trip Monitoring) หรือระบบบันทึกเสียงระหว่างการเดินทาง (AudioProtect) ที่ช่วยป้องกันเหตุร้ายและใช้เป็นหลักฐานหากเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้โดยสารและคนขับ ขณะเดียวกัน แกร็บยังได้นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อรับมือกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ การพัฒนาฟีเจอร์ไม่รับช้อนส้อมพลาสติก (Plastic Cutlery Opt-Out) และฟีเจอร์ชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) ที่ผู้ใช้บริการสามารถร่วมบริจาคเพื่อนำเงินไปซื้อคาร์บอนเครดิตและปลูกต้นไม้ซึ่งได้รับความสนใจและการมีส่วนร่วมอย่างดีจากผู้ใช้บริการ

เทคโนโลยีที่ช่วยเสริมศักยภาพของ “พนักงาน” เพื่อมุ่งสู่การเป็น AI-led Organization ในปีนี้แกร็บได้ส่งเสริม และผลักดันให้พนักงานทั่วทั้งภูมิภาคก้าวทันเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ ผ่านโปรแกรมพัฒนาและฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีที่มีความเข้มข้น โดยเฉพาะGenerative AI พร้อมพัฒนาเครื่องมือที่ออกแบบโดยทีมเทคภายในองค์กร เช่น โปรแกรม GrabGPT เครื่องมือที่นำเทคโนโลยี Large Language Models (LLMs) เข้ามาช่วยในการผลิตเนื้อหาและภาพประกอบ รวมถึง โปรแกรม Mystique เครื่องมือที่ช่วยในการเขียนคำโฆษณา ซึ่งจะช่วยย่นเวลาการทำงานของฝ่ายการตลาดและครีเอทีฟ

“สำหรับแกร็บ เราไม่ได้มุ่งเน้นการใช้หรือพัฒนาเทคโนโลยีที่ต้องล้ำสมัยที่สุด แต่เราให้ความสำคัญกับเป้าหมายของ คนในอีโคซิสเต็มและอรรถประโยชน์ของเทคโนโลยี คือ ต้องตอบโจทย์และแก้ปัญหาของคนในอีโคซิสเต็มได้จริงๆ สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยเราจะยังคงเดินหน้าสานต่อพันธกิจ GrabForGood เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและขับเคลื่อนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปสู่อนาคตต่อไป” นายวรฉัตร ปิดท้าย

 

     ในงาน“dtac Loop: The Shapes of Data” ที่จัดขึ้นโดยดีแทค มีการยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยี Machine Learning, Big Data และอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ต่อภาคธุรกิจและสังคม มานำเสนอเป็นตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีกับโลกธุรกิจและการทำงานภาคสังคม

X

Right Click

No right click