January 22, 2025
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) วันนี้ แจ้งว่า โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมอีโค่วิน ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 29.7 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย เสากังหันลมขนาด 3.3 เมกะวัตต์ จำนวน 9 ชุด ดำเนินงานโดยบริษัท อีโค่วิน เอ็นเนอร์จี้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งบริษัทฯ ร่วมถือหุ้น ร้อยละ 51 ได้เริ่มเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แล้ว เมื่อวันที่ 29 กันยายน ที่ผ่านมา กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จะจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าเวียดนาม (Vietnam Electricity: EVN) ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า ระยะเวลา 20 ปี โรงไฟฟ้าพลังงานลมอีโค่วินแห่งนี้ เป็นโครงการพลังงานลมติดตั้งบนบก (onshore wind farm) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ห่างจากเมืองโฮจิมินห์ ประมาณ 180 กิโลเมตร ในประเทศเวียดนาม โดยก่อนหน้านี้ได้ทำการทดสอบเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Trial run) และทดสอบความน่าเชื่อถือของการเดินเครื่องเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง (Reliability test) ตามมาตรฐานของเวียดนามเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

นางสาวชูศรี เกียรติขจรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โรงไฟฟ้าพลังงานลมอีโค่วิน ถือเป็นโครงการพลังงานทดแทนแห่งที่สามของบริษัทฯ ในประเทศเวียดนามที่ผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ นอกเหนือจากโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำซองเกียง 2 และค๊อคซาน รวมกำลังการผลิตตามสัดส่วนถือหุ้นทั้งสามโครงการ 49.63 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีโครงการอยู่ระหว่างการพัฒนาและก่อสร้างอีก 2 โครงการ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำซองเกียง 1 และโรงไฟฟ้าพลังงานลมเบ็นแจ รวมกำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น 65.15 เมกะวัตต์ ซึ่งทั้งสองโครงการมีกำหนดจะเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปี 2567 และ ปี 2568 ตามลำดับ

เวียดนามถือเป็นประเทศเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทฯ เนื่องจากมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และยังมีการกำหนดแผนการพัฒนาไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนไว้อย่างชัดเจน ทั้งพลังงานน้ำ พลังงานลมบนบก พลังงานลมนอกชายฝั่ง และพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งบริษัทฯ มองเห็นศักยภาพในการขยายการลงทุนต่อยอดธุรกิจพลังงานทดแทนในประเทศเวียดนามได้ โดยดำเนินการผ่านบริษัทฯ เอง หรือผ่านบริษัทร่วมทุน เน็กส์ซิฟ ราช เอ็นเนอร์จี อินเวสเมนต์ (NEXIF RATCH Energy Investment : NREI) ทั้งนี้ บริษัทฯ มีเป้าหมายที่จะขยายกำลังผลิตจากพลังงานทดแทนให้ได้ถึง 4,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2578” นางสาวชูศรี กล่าว

ปัจจุบัน บริษัทฯ มีการลงทุนโครงการพลังงานทดแทน รวมกำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น 2,933 เมกะวัตต์ คิดเป็นร้อยละ 27 ของกำลังผลิตรวม 10,807 เมกะวัตต์ โดยเป็นกำลังการผลิตเดินเครื่องเชิงพาณิชย์สร้างรายได้แล้ว 1,566 เมกะวัตต์ และอยู่ระหว่างการพัฒนาและก่อสร้างอีก 1,367 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ ประเทศออสเตรเลีย ถือเป็นฐานธุรกิจหลักด้านพลังงานทดแทนของบริษัทฯ ด้วยกำลังการผลิตตามการถือหุ้นรวม 1,379.69 เมกะวัตต์ รองลงมาได้แก่ สปป.ลาว 669.10 เมกะวัตต์ ประเทศฟิลิปปินส์ 549.83 เมกะวัตต์ ประเทศอินโดนีเซีย 123.05 เมกะวัตต์ ประเทศเวียดนาม 114.78 เมกะวัตต์ ประเทศไทย 94.76 เมกะวัตต์ และญี่ปุ่น 2.02 เมกะวัตต์

เอกอัครราชทูตโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย กล่าวแสดงความชื่นชมต่อความมุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน  ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในพิธีเปิดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ของโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าบางปะกงชุดที่ 1 และ 2 ของ กฟผ. โดยมีนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และนายราเมช สิงการาม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจพลังงานก๊าซประจำภูมิภาคเอเชีย จีอี เข้าร่วมในพิธี

โรงไฟฟ้าบางปะกงชุดที่ 1 และ 2 ได้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเป็นเวลา 3 เดือนแล้ว หลังจากประกาศเดินเครื่องเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งการพัฒนาในครั้งนี้ ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมใหม่สองชุด ที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง และขับเคลื่อนด้วยกังหันก๊าซ 9HA ของจีอี (NYSE: GE) โดยตั้งเป้าที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอน ทั้งนี้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่ใช้กังหันก๊าซรุ่น 9HA จะมีความสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าทั่วโลกที่ผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินได้โดยเฉลี่ย 60% และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าทั่วโลกที่ใช้ก๊าซผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 25%

เอกอัครราชทูตโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ผมขอแสดงความยินดีกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่การเปิดเดินเครื่องโรงไฟฟ้าบางปะกง ชุดที่ 1 และ 2 ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ การพัฒนาโรงไฟฟ้าบางปะกงไปสู่ความก้าวหน้าและทันสมัยในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือด้านวิศวกรรมระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดผลลัพธ์อันยอดเยี่ยมในหลายระดับ”

“เป้าหมายเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะส่งผลดีต่อโรงไฟฟ้าบางปะกง รวมทั้งประเทศไทยซึ่งมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศให้เป็นกลางภายในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608) ตามลำดับ โครงการโรงไฟฟ้าบางปะกง ซึ่งใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีของจีอีเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญนี้ ยังเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกาและประเทศไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมทั้งโครงการความร่วมมือใหม่ๆ เพื่อเร่งการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์”

“ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาเห็นพ้องกันในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง โดยเมื่อเร็วๆ นี้ เราได้เรียนเชิญประเทศไทยให้เข้าร่วมข้อเสนอข้อริเริ่ม “Net Zero World Initiative”  ซึ่งเป็นข้อเสนอความร่วมมือที่นำโดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งความเชี่ยวชาญของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา องค์กรการกุศล และประเทศพันธมิตรต่างๆ จะเอื้อประโยชน์ต่อการเร่งเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้” เอกอัครราชทูตโกเดค กล่าวเสริม

การพัฒนาโรงไฟฟ้าบางปะกงในครั้งนี้ เพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าเดิม 5 ชุด ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเตา เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมใหม่สองชุดนี้ ขับเคลื่อนด้วยกังหันก๊าซ 9HA ของจีอี ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นกังหันก๊าซที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในโลก ปัจจุบันมีการใช้งานทั่วโลกกว่า 75 เครื่อง รวมกำลังการผลิตไฟฟ้ามากกว่า 42 กิกะวัตต์ โดยโรงไฟฟ้าบางปะกงของ กฟผ. เป็นโรงไฟฟ้าแห่งแรกในประเทศไทยที่ใช้กังหันก๊าซและเทคโนโลยี 9HA ซึ่งได้รับการยอมรับและเคยได้รับรางวัลมาแล้ว

“โครงการนี้ ตอบสนองเป้าหมายการดำเนินงานของ กฟผ. ในการพัฒนาประสิทธิภาพและความมั่นคงของการผลิตไฟฟ้า ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ และลดต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า ด้วยการทดแทนโรงไฟฟ้าเดิม ด้วยโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่มีประสิทธิภาพสูง อีกทั้งเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาล ที่ให้ปลดระวางโรงไฟฟ้าที่ปลดระวางจากการใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน และมีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่า และทดแทนด้วยโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อลดการปล่อยก๊าซ เสริมความมั่นคง และสร้างความยืดหยุ่นให้กับระบบไฟฟ้าของประเทศไทย เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศ ภายในปี 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2065” นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าว

นายราเมช สิงการาม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจพลังงานก๊าซประจำภูมิภาคเอเชีย จีอี กล่าวว่า “เราภาคภูมิใจที่ได้ร่วมงานกับ กฟผ. มาอย่างยาวนานกว่า 40 ปีที่ผ่านมา และจะสานสัมพันธ์นี้ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นบนรากฐานของความไว้วางใจและการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด การเฉลิมฉลองการเปิดเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกงในวันนี้ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้กังหันก๊าซ 9HA.02 แห่งแรก และใหญ่ที่สุดของจีอีในประเทศไทย นับเป็นอีกก้าวสำคัญในความสัมพันธ์ของเรา ผมเห็นคุณค่าในการมุ่งมั่นร่วมมือกับ กฟผ. ต่อไป เพื่อช่วยให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้นำการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในเอเชีย

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมใหม่สองชุดนี้ ช่วยเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าประมาณ 1,400 เมกะวัตต์ เทียบเท่ากับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประมาณ 3 ล้านครัวเรือนในประเทศไทย นอกจากกังหันก๊าซรุ่น 9HA.02 แล้ว ยังมีการติดตั้งกังหันไอน้ำ STF-A650 ที่ล้ำหน้า 2 เครื่อง และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า W86 จำนวน 2 เครื่อง และจีอียังได้ลงนามสัญญาระยะยาวกับ กฟผ. ในการให้บริการด้านอะไหล่และซ่อมบำรุงให้กับโรงไฟฟ้าบางปะกงอีกด้วย

GE ได้เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2443 ปัจจุบัน 30% ของไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดในประเทศ มาจากอุปกรณ์ของจีอี ก๊าซ พาวเวอร์ โดยมีการใช้กังหันก๊าซของจีอีมากกว่า 100 เครื่อง และจีอียังเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่ดำเนินธุรกิจด้านต่างๆ รวมถึงธุรกิจพลังงาน การบิน และการดูแลสุขภาพ

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันที่กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศในทุกๆ ด้านไม่เว้นแม้แต่ภาคพลังงานที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานใหม่ๆ เริ่มเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบพลังงานในขณะ

X

Right Click

No right click