November 23, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 805

Sweet Innovation หวานนี้ที่รอคอย

July 12, 2017 3477

เชื่อป่ะ? ว่าดัชนีชี้วัดความเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ใช่ว่าจะดูได้จากแค่ตัวเลข GDP แต่ยังมีอีกดัชนีที่ใช้วัดความมั่งคั่งของเศรษฐกิจได้ คือ ปริมาณการดูดดื่มความหวาน หรืออัตราการบริโภคน้ำตาลนั่นเอง เข้าทำนองว่าเมื่อฐานะเริ่มขยับยกระดับดีขึ้น แบบว่า “มีอันจะกิน“ หรือ “อยู่ดี กินดี“ ก็มักจะมีอัตราการบริโภคน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย เพราะอาหารและเครื่องดื่มในประเทศเศรษฐกิจเติบโต มักผ่านกระบวนการผลิตแบบอุตสาหกรรม ซึ่งมีการปรุงเสริมเพิ่มรสด้วยน้ำตาลเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ

 

น้ำตาล นอกจากจะแทนรสชาติของความหวาน ยังแทนคุณค่าของความสุขและสนุกสนาน ผ่านอาหารและเครื่องดื่มนานาชนิด แต่ความสุขเมื่อมากระจุกจนล้นเหลือ กลายเป็นความล้นเกินของน้ำตาลในร่างกาย เป็นปัญหาของโรคภัยที่ติดตามมา ไม่ต้องดูอื่นไกล ประเทศไทยของเราเอง อ้างอิงข้อมูลของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยล่าสุด ปรากฏว่าคนไทย 88 คนจาก 100 คนมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และ ค่ารักษาพยาบาลในกลุ่มโรคเบาหวาน ไขมันอุดตัน และการบริโภคเกิน ต้องใช้งบประมาณในการรักษาพยาบาล สูงถึง 2% ของจีดีพี ในปีที่ผ่านมา

 

สังคมไทยในวันนี้ที่เริ่มขยับเข้าสู่ สังคม ส.ว. หรือ สังคมสูงวัย (Aging society) อาหารและเครื่องดื่มในตลาด เริ่มมีกระแสการขยับปรับสูตรเพื่อตอบโจทย์เรื่องสุขภาพมากยิ่งขึ้น เช่น อาหารออร์แกนิก, เครื่องดื่มสุขภาพ, ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ที่อุดมไปด้วยสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และอื่นๆ

 

อย่างไรก็ดี นางเอกในฉากของอาหารและเครื่องดื่มทุกวันนี้ น้ำตาลและความหวาน คือตัวละครที่ไม่อาจจะขาดไปได้ “น้ำตาลที่ปลอดภัย” และต้องไร้ซึ่งโอกาสก่อโรคภัยที่จะติดตามมา คือ หนึ่งในนวัตกรรมความหวานซึ่งเริ่มเป็นที่ต้องการและจำเป็น 

 

 

 

Rare Sugar หนึ่งในนวัตกรรมความหวานที่เป็นการผลิตน้ำตาลจากพืช ผัก และผลไม้ที่ให้ความหวานโดยไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด สรรค์สร้างมาสำหรับคนสูงวัย ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตลอดจนถึงสาวๆ ที่ระมัดระวังเรื่องการกินน้ำตาล กรณีตัวอย่างเช่นประเทศญี่ปุ่น ที่มีนวัตกรรมล้ำๆ อยู่มากหลาย ก็มีสถาบันวิจัยและพัฒนาโครงการ Rare sugar มาหลายสิบปี เช่น Kagawa rare sugar project เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษา ที่ค้นคว้าและพัฒนาเพื่อผลิตน้ำตาลที่ปลอดภัย ซึ่งบางโครงการวิจัย Rare sugar ของญี่ปุ่นเคยมีความร่วมมือกับ นักวิจัยของไทยในอดีต เช่น กับคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.ด้วง พุธศุกร์ ในโครงการวิจัยน้ำตาลจากหญ้าหวาน เป็นต้น 

 

ผลิตภัณฑ์น้ำตาลสุขภาพของคนไทย “ยังเห็นกันในรูปแบบแนวบ้านๆ”  และยังน้อยที่มีการใช้นวัตกรรมและความรู้ด้านการวิจัย และไบโอเทคโนโลยีเข้าไปพัฒนา เพื่อยกระดับมาตรฐานและอธิบายคุณค่าของสรรพคุณอย่างเป็นสถิติเพื่อการยอมรับ ทั้งที่ไทยเรามีวัตถุดิบตั้งต้นของผลไม้และพืชผัก ที่สามารถนำมาใช้ในการสกัดและผลิต rare sugar ได้หลายชนิด เช่น มะพร้าว ผลตาล หญ้าหวาน และอื่นๆ

 

กรณีน้ำตาลสกัดจากหญ้าหวาน ในปัจจุบันที่มีการจำหน่ายในร้านค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต แต่ด้วยขนาดของตลาดที่ยังสดใหม่และต่อต้นทุนการผลิต ราคาของน้ำตาลหญ้าหวานที่ตั้งขายทุกวันนี้ เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละกว่า 1,000 บาท เมื่อเทียบกับราคาและขนาดของแพ็กเกจจิง ต้องถือว่ายังเป็นราคาที่สูงอยู่มากกับการบริโภคในขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดีเมื่อตลาดของความต้องการเริ่มจะเติบโต ย่อมหมายถึงโอกาสของการซัพพลายที่น่าจะโตติดตามไปด้วย และนั่นน่าจะเป็นสีสันอันหลากหลายของ “ความหวานที่ปลอดภัย” และคาดหวังว่าจะเป็นโอกาสใหม่ๆ สำหรับเกษตรกรและ SMAEs ของไทยในอนาคต

 

 เรื่อง : กองบรรณาธิการ 

X

Right Click

No right click