แพทย์เตือน ไอ-จามแรง ทำหมอนรองกระดูกแตกได้

December 21, 2022 999

ในยุคที่ฝุ่น PM 2.5 ยังคงแฝงตัวอยู่ในอากาศ ทำให้ใครต่อใครหลายคน มีอาการ ไอ จาม อยู่เสมอ และพบมากในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้

โดยที่หลายคนยังไม่ทราบว่า หากคุณ ไอ จาม แรงๆ อาจส่งผลให้ หมอนรองกระดูกแตกได้  เพราะเรื่องของหมอนรองกระดูกแตกนั้น นอกจากจะเกิดจากพฤติกรรมการนั่งนาน ก้มยกของ และการเกิดอุบัติเหตุแล้ว พฤติกรรมการ ไอ จาม ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดหมอนรองกระดูกแตกได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีหมอนรองกระดูกเสื่อมอยู่แล้ว อาจทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นทับเส้นประสาท เกิดอาการปวดหลังร้าวลงขาร่วมกับอาการชาขึ้นได้

นายแพทย์ ฐปนัตว์ จันทราภาส แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง เผยว่า การจามเป็นกลไกของร่างกายที่จะขับสิ่งแปลกปลอมออกมาด้วยความรุนแรง กรณีจามเบาๆ อาจมีอัตราความเร็วประมาณ 30 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ถ้าหากจามแรงๆ อัตราความเร็วอาจสูงถึง 150 กิโลเมตร/ชั่วโมง ดังนั้นเมื่อไอ หรือจามแรงๆ ในแต่ละครั้ง จะทำให้เกิดแรงดันในช่องปอดและช่องท้องเพิ่มขึ้นจากการหดตัวอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อที่อยู่รายรอบลำตัวเรา ทำให้หมอนรองกระดูกซึ่งมีหน้าที่รับแรงกระแทก ทำงานหนักขึ้นและเกิดแรงดันที่หมอนรองกระดูกแบบฉับพลัน อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงแรงกระทบกระดูกสันหลังของเรา เมื่อเวลาเราไอหรือจาม ควรฝึกเกร็งหน้าท้องไว้ เพื่อให้หน้าท้องรับภาระน้ำหนักแทนกระดูกสันหลัง จะทำให้กระดูกสันหลังรับน้ำหนักน้อยลง และไม่เกิดภาวะหมอนรองกระดูกแตก หรือหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นได้

โรงพยาบาล เอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เรารักษาโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาท โดยขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและความรุนแรง หรือระดับของการกดทับเส้นประสาท รวมถึงระยะเวลาของการเกิดอาการ ในรายที่อาการไม่รุนแรงหรืออยู่ในระยะเริ่มต้น แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการใช้ยาแก้ปวด กายภาพบำบัด และให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ผู้ป่วยประมาณ 80% ที่ทำการรักษาอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นใน 4-6 สัปดาห์ แต่จะมีส่วนที่เหลือที่อาการอาจจะไม่ดีขึ้น เนื่องจากหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นทับเส้นประสาทมาก ซึ่งอาจจะต้องรักษาโดยการผ่าตัด ด้วยวิธีการเจาะรูส่องกล้อง ด้วยเทคนิค PSLD ซึ่งเป็นเทคนิคที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีในการรักษา

โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ  ปรึกษา  โทร 02 034 0808

X

Right Click

No right click