December 22, 2024

แอปโก้ เดินหน้าสร้างสังคมวัฒนชีวา ให้ความรู้สุขภาพระดับโครโมโซม แนะเปลี่ยนพฤติกรรมปกป้อง “เทโลเมียร์” และ “ระบบภูมิคุ้มกัน”

February 18, 2022 1858

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว ทำอย่างไรจะทำให้คนไทย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สุขภาพแข็งแรง สดใส ชะลอวัย ย้อนวัย และภูมิคุ้มแข็งแรง ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท  เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด(มหาชน) หรือ APCO  ซึ่งประสบความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมภูมิคุ้มกันบำบัด และนวัตกรรมวัฒนชีวา และ รศ. ดร. ปรียา ลีฬหกุล  ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการชะลอวัย และที่ปรึกษางานวิจัย APCO จึงได้จัดบรรยายพิเศษ เรื่อง "มหัศจรรย์เทโลเมียร์ ย้อนวัยระดับโครโมโซม" เพื่อให้คนไทยเข้าใจถึงต้นเหตุของปัญหาสุขภาพระดับโครโมโซม

 

ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท  เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด(มหาชน) หรือ APCO กล่าวว่า การค้นพบกลไกการป้องกันเทโลเมียร์ (หมวกหุ้มปลายโครโมโซม) ของ 3  นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันทำให้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาทางการแพทย์เมื่อ 13 ปีก่อนนั้น   ได้ปลุกกระตุ้นให้เกิดการต่อยอดองค์ความรู้ด้านการชะลอวัยและการพัฒนานวัตกรรมเสริมอาหารจากพืชกินได้ของไทย เพื่อซ่อมสร้างและยืดความยาวของเทโลเมียร์ ที่เป็นความหวังของผู้สูงวัยทั่วโลก

 

จากการที่คณะวิจัย Operation BIM ของบริษัท APCO ประสบความสำเร็จในการคิดค้นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูตรเสริมฤทธิ์จากพืชกินได้5 ชนิด คือ ถั่วเหลือง มังคุด งาดำ ใบบัวบกและฝรั่ง  เพื่อการซ่อมสร้างเทโลเมียร์ และกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวเซลล์ทีพิฆาต ที่เป็นส่วนสำคัญในการจัดการและทำลายเชื้อโรคที่บุกรุกเข้ามาทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เราจึงมุ่งมั่นที่จะให้ความรู้ ที่เป็นมิติใหม่ในการดูแลสุขภาพให้ประชาชนได้เข้าใจถึงกลไกการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและบทบาทของเทโลเมียร์ ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับทุกวัย รวมถึงต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหาสุขภาพ เพื่อการดูแลตนเองและเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้มีความเข้าใจอย่างถูกต้อง

รศ.ดร.ปรียา ลีฬหกุล  ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการชะลอวัย และที่ปรึกษางานวิจัย APCO กล่าวว่า มนุษย์เรามีเซลล์อยู่ในร่างกายประมาณร้อยล้านล้านเซลล์ โดยจุดพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงชีวิตที่สำคัญ อันส่งผลต่อความเสื่อมถอยของร่างกาย คือ โครโมโซม  ที่มีประมาณ 23 คู่ในแต่ละเซลล์  แต่ละคู่จะมีเทโลเมียร์เป็นหมวกหุ้มปลายโครโมโซม โดยทำหน้าที่สำคัญ ในการปกป้องโครโมโซม ซึ่งเป็นที่เก็บหน่วยพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอหลายล้านตัว ไม่ให้ถูกทำลาย ดังนั้นหากเทโลเมียร์ ถูกทำลาย จะมีผลต่อโครโมโซม ทำให้ร่างกายเสื่อมถอย

รศ.ดร.ปรียา ลีฬหกุล กล่าวว่า โดยธรรมชาติ เทโลเมียร์จะหดสั้นลงเรื่อยๆ เมื่อเซลล์มีการแบ่งตัว อันหมายถึงความแก่ ชราภาพ และมีโอกาสเกิดโรคเสื่อมถอยต่างๆ ที่เป็นไปตามอายุ นอกจากอายุที่ทำให้เทโลเมียร์สั้นลงแล้ว พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมก็มีส่วนสำคัญ และพบว่าคนอ้วนจะมีเทโลเมียร์สั้นลงเร็วกว่าคนน้ำหนักปกติ ดังจะเห็นว่าคนอ้วนมีโรคแทรกมากมาย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังพบว่า “การกินน้ำตาลมาก” “สูบบุหรี่มาก” หรือ “การดื่มแอลกอฮอล์มาก”  “ไม่ออกกำลังกาย”  “นอนน้อยเป็นประจำ” “เครียดตลอดเวลา” เหล่านี้ล้วนส่งผลให้เทโลเมียร์สั้นลงเร็วกว่าปกติ  

จะเห็นว่า เทโลเมียร์คือตัวชี้วัดหรือบ่งบอกสุขภาพของเราในอนาคต ถ้าเราแก้ไขให้เทโลเมียร์สั้นช้าลง หรือสามารถทำให้ยาวขึ้นได้ หมายถึงการเอาชนะธรรมชาติได้ จึงเป็นความท้าทายว่าเราจะเอาชนะธรรมชาติได้ไหม ซึ่งนับเป็นข่าวดีของคนทั่วโลก เมื่อ ทีมนักวิจัย  Operation BIM ของ APCO  สามารถพัฒนาสูตรนวัตกรรมวัฒนชีวา จากสารสกัดจากพืชกินได้ 5 ชนิด มาใช้ซ่อมสร้างเทโลเมียร์ได้เป็นผลสำเร็จ   โดยจากการตรวจเลือดเพื่อวัดความยาวของเทโลเมียร์ ผู้ใช้นวัตกรรมวัฒนชีวา พบการย้อนวัยได้เฉลี่ยถึง 5.8 ปี และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น แตกต่างกันไป เช่น ผิวพรรณสวยขึ้น อาการวัยทองหายไป ผมที่บางกลับมาหนาขึ้น สุขภาพทางเพศดีขึ้น อารมณ์ดีขึ้น ไม่ฉุนเฉียว หรือวิตกกังวลง่าย  พละกำลังเพิ่มขึ้น ขับรถได้ไกลขึ้น เหนื่อยน้อยลง นอนหลับดี สดชื่น สามารถออกกำลังกายได้นานขึ้น หรือความจำดีขึ้น

บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ APCO (แอปโก้) บริษัทของคนไทย 100 % ซึ่งเป็นผู้นำในการพัฒนาสูตรนวัตกรรมภูมิคุ้มกันบำบัด และนวัตกรรมวัฒนชีวาจากพืชกินได้  โดย กว่า 15 ปี  ของการวิจัยพัฒนา ภายใต้  Operation BIM (Balancing Immunity) ได้รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา และหน่วยงานของรัฐ หลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  โดยในปี 2559  ยังได้รับรางวัลนวัตกรรมดีเด่นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  และปีนี้ กำลังมีความร่วมมือกับสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล  ในการศึกษาเรื่องเทโลเมียร์ในคน เพื่อการขยายผลต่อยอดการพัฒนานวัตกรรมวัฒนาชีวา ต่อไปในอนาคต

 

X

Right Click

No right click