January 15, 2025

เชิญชมนิทรรศการ SELECTIVE MEMORY From potency into being: blue memories (2562, 2563, 2564, 2565)

December 02, 2022 789

นิทรรศการจัดระหว่างวันที่ 12 พฤศจิกายน -11 ธันวาคม 2565 ระหว่างเวลา 11.00-19.00 น. (ปิดทุกวันพุธ) ณ SŌKO สุขุมวิท ซอย 32

SŌKO ขอเชิญชมนิทรรศการ SELECTIVE MEMORY From potency into being: blue memories (2562, 2563, 2564, 2565) โดยศิลปินราบิ้น ฮาสเซิน (เนเธอร์แลนด์) ศิลปินได้บันทึกภาพ ของตัวเองใน สถานที่ต่างๆ ด้วยภาพที่เรียกว่าโฟโตแกรม ซึ่งเป็นการบันทึกภาพในยุคแรกบนกระดาษที่ไวต่อแสงในแต่ละ เฟรมของภาพสิ่งที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ของภาพมากที่สุด นั่นก็คือตัวสถานที่และการแสดงท่าทาง ผ่านภาษากายของเขา

การสร้างสรรค์ภาพของฮาสเซิน เป็นการผสมผสานระหว่างท่วงท่า เวลา และสถานที่เข้าด้วยกัน ในห้วงเวลา เพียงไม่กี่นาที มีหลายๆ ปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อการบันทึกภาพ ไม่ว่าจะเป็นแสง สภาพอากาศ เม็ดทรายจิ๋วๆ ที่ปลิวลงบนแผ่นกระดาษ บนร่างกาย หรือการเคลื่อนไหวทางกายภาพของตัวศิลปินเอง ฮาสเซิน ใช้วิธีล้าง ภาพด้วยของเหลวที่ได้จากธรรมชาติ น้ำ หรือบางครั้งก็เครื่องดื่ม จากนั้นก็ตามด้วยชั้นต่างๆ ของสีแต่ละสี หมายถึงวันในสัปดาห์ที่สร้างชิ้นงานขึ้น ฮาสเซินใช้การสัมผัสโดยตรงระหว่างนิ้ว มือ หรือเท้า กับแผ่นกระดาษ เพื่อบันทึกร่องรอยอากัปกิริยาและการมีอยู่ของตัวเขาเอง

ภาพพิมพ์เขียวเหล่านี้เป็นหลักฐานของประสบการณ์ทางกายอันลึกซึ้ง ซึ่งสะท้อนความเป็นส่วนตัวในการ เดินทางของชีวิตในแต่ละวันที่ไม่ได้ฉาบเคลือบสถานะทางสังคมใดใด ในขณะที่เกิดเหตุการณ์นี้อยู่ ณ ห้วง เวลาใดเวลาหนึ่ง ก็มีบางอย่างที่แตกต่างออกไปเกิดขึ้นกับผู้อื่นด้วย ผลงานชิ้นนี้ของฮาสเซิน เชื่อมโยงห้วงเวลา ที่ซ้อนผสานกันนี้อย่างมีนัยด้วยการรักษาพลังงานของช่วงเวลาในวัตถุนั้น ประวัติศาสตร์ของศิลปิน ถูกยึดโยง เข้ากับประวัติศาสตร์ของบุคคลอื่น ร่างกายของเขาถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้น อันทำให้ ความปรารถนาต่อความสมบูรณ์แบบและความครบถ้วนเป็นรูปเป็นร่าง ฮาสเซินบันทึกสิ่งเหล่านี้ ลงบนแผ่น กระดาษที่อาบน้ำยารับแสงเตรียมไว้ก่อนหน้านี้  เวลาเป็นตัวแทนที่มองไม่เห็น ซึ่งช่วยให้เกิด ปฏิกิริยาขึ้นและ ในที่สุดช่วงเวลานั้นก็ได้ถูกบันทึกไว้ โดยมีปัจจัยสภาวะธรรมชาติ อาทิ แดด ลม อุณหภูมิ ทราย ฝุ่น และน้ำ เข้ามาเกี่ยวข้องในขั้นตอนนี้ด้วย

แม้แต่ในผลงานสองมิติของฮาสเซิน เราก็รับรู้ได้ว่าชิ้นงานมีความเป็นประติมากรรมมากกว่ารูปภาพ ในแง่ที่ว่า สิ่งเหล่านี้สร้างความรู้สึกบางอย่างผ่านการไร้ตัวตน ภาพปะติดแบบคอลลาจซึ่งจำลองและเล่าเรื่องการเดินทาง ของเขาผ่านสภาพแวดล้อมของเมืองต่างๆ ปรากฏฉายออกมา อาทิ สมุดบันทึกและหมายเหตุการเดินทางต่างๆ

ผลงานของฮาสเซินมาจากพื้นฐานแนวคิดคอนเซปชวล เขามีความแม่นยำในการกำหนดขอบเขตของงาน ทั้งในเรื่องวัสดุและองค์ประกอบ แต่ละส่วนได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นด้วยตัวเอง ทำให้งานของเขา มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในขณะเดียวกันก็จับต้องได้และมีความเป็นธรรมชาติ ทำให้เข้าถึงความรู้สึกนึกคิด ของศิลปินและการตอบสนองทางกายภาพผ่านเสียงสะท้อนของสิ่งที่เป็นนามธรรม งานของฮาสเซิน  อยู่บน พื้นฐานความคิดที่ว่า ในความเป็นจริง ไม่มีสิ่งใดน่าสนใจโดยตัวของมันเอง สิ่งนั้นจะมีความหมายก็ต่อเมื่อ มีมนุษย์เป็นสื่อ ผ่านการแทรกแซงของสภาวะภายนอก ซึ่งทำให้เกิดศักยภาพขึ้นมาได้ 


สอบถามเพิ่มเติม https://www.facebook.com/sokocreativespace/ 
ชมผลงานอื่นๆ ของราบิ้น ฮาสเซินได้ที่ www.rabinhuissen.com 
ถ่ายภาพโดย : สมัชชา อภัยสุวรรณ : Samatcha Apausuwan www.samatchaapaisuwan.com 

X

Right Click

No right click