นางสาวสุขุมาล ผดุงศิลป์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) กล่าวถึงงานเสาร์สนามไชย Saturday Happening ในแนวคิด Healing House ฮีลละไม ใจละมุน ว่า ในมุมมองการทำงานของพิพิธภัณฑ์ได้ปรับเข้าสู่บทบาททางสังคมที่นอกเหนือไปจากการให้ความรู้ และประสบการณ์ที่ได้จากการเข้าชมในพิพิธภัณฑ์ แม้ว่าพิพิธภัณฑ์ยังมีหน้าที่ในการสื่อสารความรู้ แต่ด้วยวิธีการที่ลดทอนความขึงขังให้พิพิธภัณฑ์ได้มีบทบาทหน้าที่และศักยภาพอย่างใหม่ที่เชื่อมต่อไปยังผู้คน เป็นพื้นที่ที่ก่อให้เกิดวาทกรรมทางสังคมทั้งในวาระประวัติศาสตร์ร่วมสมัย และโอบรับผู้คนบนความเปลี่ยนแปลงของเมืองและสังคมวัฒนธรรม มิวเซียมสยามจึงจัดกิจกรรมที่ใช้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายในรูปแบบงานเสาร์สนามไชย เพื่อส่งเสริมความสุขไปพร้อมกับคุณภาพชีวิตของคนเมืองบนพื้นที่และกระบวนการพิพิธภัณฑ์ เพื่อสร้างประสบการณ์และส่งมอบความรู้ ไปกับการส่งมอบความรู้สึกร่วมของคนเมือง (sense of belonging) เพื่อให้พิพิธภัณฑ์ทำหน้าที่และเป็นพื้นที่ของการให้บริการทางสังคม (social service) อย่างแท้จริง ซึ่งมีการหยิบยก คำว่า healing มาใช้ ในความหมายของการส่งเสริมความสุขทางใจ เพื่อให้เกิดความสบายใจ เพื่อให้ชีวิตรื่นรมย์ โดยมีนัยถึงคำว่า ฮีลใจ ซึ่งเป็นศัพท์รุ่นใหม่ที่ผู้คนนิยมใช้ในโลกออนไลน์ ส่วนคำว่า house มีความหมายถึง บ้าน สถานที่ที่อุ่นใจ ซึ่งใช้ในความหมายที่ให้คนรู้สึกว่า พิพิธภัณฑ์ ก็คือบ้านที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นใจได้เช่นกัน
ทางด้าน นางสาวชนน์ชนก พลสิงห์ ภัณฑารักษ์งานเสาร์สนามไชย กล่าวว่า งานเสาร์สนามไชย Saturday Happening- Healing House ฮีลละไม ใจละมุน ประกอบด้วยกิจกรรมมากมาย อาทิ
- กิจกรรมสำหรับเด็ก (Kidscovery Zone) ศิลปะสร้างสมาธิ และเยียวยาอารมณ์ เพื่อปลดปล่อยความทุกข์ เพิ่มความสุข สำหรับการสร้างสรรค์ของเด็ก 4 -12 ปี โดยทำเป็นชุดกิจกรรม Mandala Healing Art ให้เด็กสามารถใช้เวลา 5-10 นาทีเพื่อผ่อนคลาย หรือนำชุดกิจกรรมกลับบ้านไปได้
- พิพิธภัณฑ์ออกเดท กิจกรรมเพื่อการแบ่งปัน “สิ่งของฮีลใจ” บนกระบวนการทำงานพิพิธภัณฑ์ที่ว่าด้วย “เรื่องราว” และ “ข้าวของ” ชวนทุกคนสร้างการมีส่วนรวม ด้วยการส่งต่อ สิ่งของพร้อมข้อความที่สร้างกำลังใจให้คนในสังคม
- 3. กิจกรรม ระเบิดสี ระบายสวย - ปาก้อนสี เป็นงานศิลป์ ผนังของการปลดปล่อยความเครียด โดยใช้การสร้างสรรค์
- 4. เวิร์กช้อป สำหรับเด็ก กิจกรรมที่ชวนเด็กๆ มาเรียนรู้วิธีการสร้างสมาธิ สร้างความสุขให้ล้นใจ ด้วยกิจกรรมฮีลใจด้วยวงกลม Mandala Healing Art
- เวิร์กช้อป สำหรับผู้ใหญ่ กิจกรรมเพื่อความผ่อนคลาย ผ่านผัสสะรูปแบบต่าง อาทิ รูป รส กลิ่น เสียง เขียน สัมผัส เพื่อมอบความผ่อนคลาย และวิธีการใหม่ๆ ในการรับมือกับความเครียดของคนเมือง รูปแบบกิจกรรมจะหมุนเวียนไปในแต่ละครั้ง โดยมีตัวอย่างหัวข้อเวิร์กช้อป ดังนี้
-อูมามิ ชูรสชูใจ รสอร่อยจากธรรมชาติ | Naturally Umami โดย นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
- Kit เสียง - คิดเสียง จุดเริ่มต้นของการฟัง คือการใช้เวลาในการพิจารณาเสียงรอบข้าง | Kit Sound โดย ฉมามาศ แก้วบัวดี และเขตสิน จูจันทร์ นักดนตรีที่สนใจการสร้างความตระหนักเรื่องการฟังและเสียงรอบตัว
-ยาดม ยาใจ | Inhaler and heart healing โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรวุฒิ อ่อนน่วม นักปรุงน้ำหอมและออกแบบกลิ่น-ห้องนิทรรศการ 1
-เขียน.ปล่อย.วาง | Write & Re-lete โดย อนุรักษ์ เม่นหรุ่ม (ครูโอเล่) นักเขียนผู้สร้างพื้นที่ให้แผ่นกระดาษเป็นที่ปลดปล่อยเรื่องราวจากข้างใน
-สนุก.สร้าง.เสียง Sanook Sonore โดย ผศ.ดร.อโณทัย นิติพน ศิลปินศิลปาธร สาขาดนตรี และฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร ผู้ผ่านประสบการณ์เสียงเปลี่ยนชีวิต
-สมุด Heal ใจ | Healing Book Making โดย ภาสุร จึงแย้มปิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษา
Architecture Healing Trails
- 6. กิจกรรมพิเศษ
กอด กับ กาย เขียนจดหมายถึงตัวเองในอีก 5 ปีข้างหน้า
- 7. นำชมเส้นทางเพื่อการฮีลใจ จัดการนำชมภายในนิทรรศการของมิวเซียมสยาม เพื่อความผ่อนคลาย ให้ผู้เข้าชมได้ตระหนักในคุณค่าของตัวเองผ่านวัตถุทางวัฒนธรรม และเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
- ดนตรีกลางแจ้ง ผ่อนคลายด้วยบรรยากาศดนตรีในสวนภายในพื้นที่พิพิธภัณฑ์
- ตลาดนัดหัวใจสีเขียว ตลาดนัดรักษ์โลกที่คำนึงสุขภาวะด้านสุขภาพของผู้บริโภค ด้วยพืชผักที่แหล่งเพาะปลูกตามธรรมชาติ และกระบวนการดำเนินตลาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- Hearing House พื้นที่ฮีลใจผ่านเสียง
พื้นที่ที่จะทำให้ท่านได้พักและอยู่กับตัวเองผ่านเสียงธรรมชาติ ดนตรี และคลื่นความถี่ รวมถึง ASMR ที่มาจากเสียงในระนาบหูของมิวเซียมสยาม ทั้งบรรยากาศ ธรรมชาติ สถาปัตยกรรม รวมถึงเรื่องเล่าจากภัณฑารักษ์ นักอนุรักษ์ และคนทำงานในพิพิธภัณฑ์ ออกแบบประสบการณ์เสียงโดยทีม เฮียร์ แอนด์ ฟาวด์
สำหรับงานกิจกรรมเสาร์สนามไชย ฮีลละไม ใจละมุน Saturday Happening Healing House จะจัดขึ้นในทุกวันเสาร์แรกของเดือน จำนวน 4 ครั้ง ด้วยกัน เริ่มตั้งแต่วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน, วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม, วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม และวันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2566 โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น. ณ มิวเซียมสยาม (MRT สนามไชย ทางออก1)