×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 840

ซีลวาเนีย ถือฤกษ์ดีครบรอบ 30 ปี ประกาศเดินหน้าชิงตลาดหลอดไฟและอุปกรณ์แสงสว่าง 2 หมื่นล้าน รอบใหม่ หลังปรับโครงสร้างองค์กรลงตัว ล่าสุดเปิดแผนการตลาดแนวรุกทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์และช่องทางการจำหน่าย พร้อมสร้างทีมขายเจาะร้านค้าปลีกทั่วไทย เพื่อเข้าถึงผู้ใช้งานทุกพื้นที่ เผยผลงานปี 66 โตก้าวกระโดด 20% คาดปี 67 โตเพิ่มได้อีกกว่า 20%

นายประภัทร์ ศรีธนานุรักษ์ รองผู้จัดการประจำประเทศ บริษัท เฟโล ซีลวาเนีย (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึง ความพร้อมในการกลับมารุกตลาดหลอดไฟและอุปกรณ์แสงสว่างรอบใหม่ว่า ที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์ ซีลวาเนีย มีการเคลื่อนไหวด้านการตลาดไม่มากนัก เนื่องจากบริษัทฯ มีการปรับโครงสร้างองค์กร ประกอบกับสถานการณ์โควิดทำให้การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดเป็นไปอย่างมีข้อจำกัด โดยในปีที่ผ่านมา 2566 มูลค่าตลาดรวมผลิตภัณฑ์หลอดไฟและอุปกรณ์แสงสว่างของไทยอยู่ที่ประมาณ 20,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 3-5% ซึ่งในปีนี้ 2567 นับเป็นปีพิเศษที่ ซีลวาเนีย ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยครบรอบ 30 ปี จึงถือโอกาสประกาศความพร้อมในการกลับเข้ามาชิงแชร์ตลาดอย่างเต็มตัวในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์และทุกช่องทางการจัดจำหน่าย

โดยการบุกตลาดรอบใหม่นี้ จะชูจุดแข็งที่ทำให้ ซีลวาเนีย ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นความน่าเชื่อถือและมาตรฐานของแบรนด์ที่ยาวนานกว่า 120 ปี การปรับตัวและพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งจนทำให้ ซีลวาเนีย มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ครบและเหมาะสมกับทุกประเภทของการใช้งาน จากโรงงานผลิตของเราเองทั้งในประเทศจีนและยุโรป การมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้คำแนะนำปรึกษา ทั้งในเรื่องผลิตภัณฑ์ การวางระบบและการแก้ปัญหา รวมถึงผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นยังได้รับการพัฒนาด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเฉพาะจาก ซีลวาเนีย ที่ให้ทั้งคุณสมบัติพื้นฐาน ปริมาณแสงส่องสว่าง การประหยัดพลังงาน อายุการใช้งานนาน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานด้วยเทคโนโลยีช่วยให้สะดวกและใช้งานได้หลากหลายขึ้นในรูปแบบของอุปกรณ์ไฟอัจฉริยะ (Smart Lighting)

ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์หลักของ ซีลวาเนีย แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับอาคารและที่พักอาศัย กลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับงานโครงการและงานตกแต่งภายใน-ภายนอก และกลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับงานเฉพาะ อาทิ ไฟสำหรับใช้งาน

ในพิพิธภัณฑ์ ไฟที่ใช้ในโชว์รูม เสาไฟฟ้าพร้อมผลิตภัณฑ์ไฟส่องสว่างอัจฉริยะ (Smart Pole) นอกจากนั้นยังเพิ่มเติมในกลุ่มอุปกรณ์ประกอบเกี่ยวเนื่องอย่าง สวิตซ์ ปลั๊ก ตู้ไฟ ฯลฯ สำหรับปี 2566 ผลิตภัณฑ์กลุ่มใหญ่ที่มีสัดส่วนยอดขายมากสุดยังคงเป็นกลุ่มงานโครงการ.

ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายเป็นอีกส่วนสำคัญที่ทางบริษัทฯ มีการพัฒนาให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในทุกช่องทาง ทั้งโมเดิร์นเทรด กลุ่มงานโครงการ และช่องทางออนไลน์ แต่ช่องทางที่เป็นอาวุธลับสำคัญในวันนี้ คือ ร้านค้าและร้านจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าที่กระจายอยู่ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ร้านค้าเหล่านี้มีความพิเศษในด้านความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับลูกค้าผู้ใช้งาน สามารถแนะนำและผลักดันการตัดสินใจเลือกใช้สินค้าได้เป็นอย่างดี ทำให้ปีที่ผ่านมา 2566 ซีลวาเนีย เริ่มมีการจัดตั้งทีมขายเพื่อเจาะเข้าช่องทางร้านค้าและร้านจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าขึ้นในทุกภูมิภาค สิ่งที่ได้รับนอกจากความสัมพันธ์ที่ดีกับทางร้านค้าและการเข้าถึงผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ในวงกว้างแล้ว ยังได้รับข้อมูลเชิงลึกของทั้งร้านค้า ผู้ใช้งาน คู่แข่ง ข้อมูลตลาดและการตลาดของคู่แข่ง โดยเรามีการนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์และพัฒนาสร้างแผนการตลาดเชิงรุกให้แก่ ซีลวาเนีย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งให้ยอดขายรวมทั้งปีที่ผ่านมาเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดถึง 20%

ดังนั้น แผนการตลาดในปี 2567 ของ ซีลวาเนีย จะมีการรุกในช่องทางร้านค้าและร้านจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้ามากขึ้น เบื้องต้นทางบริษัทฯ มีการจัดตั้งทีมขายทั่วประเทศขึ้น 12 ทีม เพื่อทำงานร่วมกับ 300 ร้านค้าที่มีอยู่ในมือ โดยพร้อมที่จะขยายเพิ่มเติมในการรองรับการเติบโตและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในแต่ละพื้นที่ โดยทีมขายจะต้องทำงานร่วมกับร้านค้าอย่างใกล้ชิด ทั้งรับฟังความคิดเห็น เลือกผลิตภัณฑ์ในการทำตลาดให้เหมาะสมกับลูกค้าในพื้นที่ การจัดพื้นที่โชว์สินค้าในร้าน การทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย ฯลฯ ซึ่งแผนการรุกตลาดและการร่วมมือกับพันธมิตรร้านค้าในการทำตลาดอย่างใกล้ชิดทำให้คาดว่าปี 2567 จะสามารถสร้างการเติบโตของยอดขายรวมได้เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 20%

ส่วนกิจกรรมพิเศษในโอกาสครบรอบ 30 ปีนั้น นอกจากจะมีการจัดเลี้ยงขอบคุณคู่ค้า ตัวแทนจำหน่ายและร้านค้าแล้ว ยังมีการเพิ่มกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่อีกหลายกลุ่ม อาทิ สวิตซ์ ปลั๊ก ตู้ไฟ และ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับงานภายในอาคาร (Indoor Lighting) เช่น โรงแรม ร้านอาหาร อาคารที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า กลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับตกแต่งร้าน (Shop Lighting) ตกแต่งสวน (Landscape Lighting) ผลิตภัณฑ์กลุ่มนวัตกรรม (Special Project) เช่น ไฟสนามกีฬา ไฟถนน ฯลฯ รวมถึงยังมีการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมกับทั้งโรงเรียน วัด และชุมชนอีกด้วย

สำหรับผู้สนใจข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ซีลวาเนียสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sylvania-lighting.com.

“21-24 พ.ย. ไปพนมเปญและสีหนุวิลล์  24 กลับมาไป หาดใหญ่และภูเก็ต และ 26 พ.ย. ไปสอนหนังสือเชียงใหม่ และปลายเดือนพ.ย. บินเข้าลาวต่อ ส่วนเดือนธันวาคมอยู่กรุงเทพประมาณ 3-4 วัน”

ฟังตารางงานของ สมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานกรรมการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) และ CEO APM ในภูมิภาคอินโดจีน มือทองด้านการเงินขาลุยที่ตระเวนเปิดตลาดใหม่ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศจนได้รับการยอมรับในวงการ การหาเวลานั่งพูดคุยกับเขาจัดว่าเป็นเรื่องที่ยาก เมื่อมีโอกาส MBA จึงขอนัดคุยอัปเดตเรื่องราวของ APM ทั้งในไทยและต่างประเทศว่ามีความคืบหน้าไปในระดับใดบ้างแล้ว รวมถึงรูปแบบธุรกิจที่เขาและทีมงานกำลังสร้างอาณาจักรธุรกิจ APM ทั้งในไทยและต่างประเทศ

หากจะสรุปวิธีการทำธุรกิจของ APM จะใช้วิธีสร้างพื้นฐานให้แน่น ใส่ใจกับรายละเอียด และมีความอดทนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และจากนั้นก็จะเริ่มขยายฐานออกไปสู่พื้นที่หรือธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวเนื่องกัน เห็นได้จากการที่ APM เริ่มปูงานในประเทศไทยจนมีความเข้มแข็งสามารถนำบริษัทเข้าจดทะเบียนมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีแววทั่วประเทศ โดยสมภพและทีมงานใช้วิธีเข้าไปเชิญชวนให้กิจการนั้นๆ เห็นประโยชน์ของการเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์และการใช้เครื่องมือทางการเงินประเภทต่างๆ

เมื่อ APM มีความมั่นคง 7 ปีที่ผ่านมา สมภพก็นำทีมเข้าไปวางรากฐานการทำธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงินใน สปป.ลาว ที่เขามองว่าแม้ตลาดหลักทรัพย์ของ สปป.ลาว ในขณะนั้นยังเล็ก แต่ก็เป็นตลาดที่มีโอกาสอยู่มาก ประกอบกับความใกล้ชิดของทั้งสองประเทศเป็นประโยชน์ต่อการสร้างฐานธุรกิจให้เข้มแข็ง จนได้ใบอนุญาตที่ปรึกษาทางการเงินสามารถเริ่มนำบริษัทเจ้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สปป.ลาว แล้ว 3 บริษัท และมีอีกจำนวนหนึ่งที่อยู่ระหว่างเตรียมการ ระหว่างนั้นเขาก็เริ่มวางรากฐานธุรกิจใหม่ของ APM คือธุรกิจเช่าซื้อที่กำลังเริ่มต้นในวันนี้

 

สมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานกรรมการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) และ CEO APM ในภูมิภาคอินโดจีน

 

ปูฐานให้มั่นคง

การเติบโตตามธรรมชาติเป็นวิธีที่ APM ใช้ขยายธุรกิจ สมภพและทีมงานวางรากฐานทั้งการขยายฐานลูกค้าและบริการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่รีบร้อน ตัวอย่างการขยายธุรกิจเช่าซื้อ สมภพมองว่าเขาและทีมงานมีประสบการณ์จากสายธนาคารมาก่อน การทำธุรกิจนี้จึงเป็นหนึ่งในธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่สามารถเกื้อหนุนธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่เดิมได้สมภพวิเคราะห์ว่าปี 2561 ที่กำลังจะมาถึง ตลาดทุนใน CLMV จะมีความตื่นตัวมาก เพราะผู้กำกับดูแลรวมถึงผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์ในประเทศเหล่านี้วางเป้าหมายให้มีบริษัทจดทะเบียนในแต่ละตลาดแต่ละแห่งขั้นต่ำ 20 บริษัท ทำให้ตลาดทุนในประเทศกลุ่มนี้ยังเป็นโอกาสของ APM

เขาแจกแจงกิจกรรมที่น่าสนใจของ APM ในแต่ละประเทศโดยเริ่มจาก สปป.ลาว ที่เพิ่งนำ Phousy Construction and Development Public Company (PCD) เข้าตลาดหลักทรัพย์ลาวไปเมื่อตุลาคมที่ผ่านมา และกำลังเตรียมนำ UDA Farm เข้าจดทะเบียนในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า และยังมีบริษัทที่เตรียมจะยื่นเข้าจดทะเบียนอีก 2 บริษัทในปี 2561 และกำลังเตรียมความพร้อมอีก 1 บริษัท ทิศทางการทำงานใน สปป.ลาวจึงยังคงเดินหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่กัมพูชา APM กำลังรอรับใบอนุญาตในนามบริษัท APM Cambodia Securities จำกัดซึ่งคาดว่าจะได้รับในไม่นานนี้ ขณะเดียวกันก็เริ่มเจรจาให้คำปรึกษาธุรกิจในกัมพูชาเพื่อเตรียมตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์กัมพูชาไว้แล้ว นอกจากนี้ APM ยังจะจับมือกับ ก.ล.ต.กัมพูชา เพื่อผลักดันเอสเอ็มอี 50 บริษัทเข้าโครงการ Excellence Program เตรียมเอสเอ็มอีเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดย APM จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ช่วยผลักดันเตรียมความพร้อมบริษัทเหล่านี้ในด้านระบบบัญชี

เมียนมาเป็นอีกประเทศที่ APM ตั้งใจจะเข้าไปทำธุรกิจ โดยยังอยู่ระหว่างการรอใบอนุญาตอย่างเป็นทางการ รวมทั้งปัจจุบันประเทศเมียนมายังไม่มีการนำหุ้นเข้า IPO แต่มีบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 4 บริษัทที่เดิมมีการซื้อขายหุ้นกันนอกตลาดหลักทรัพย์ (OTC) เดิมอยู่แล้ว และก็ขออนุญาตเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Rangon Stock Exchange) จึงยังไม่มีความคืบหน้าด้านที่ปรึกษาทางการเงินมากนัก เวียดนามเป็นประเทศที่มีตลาดทุนมา 19 ปีแล้ว สมภพมองว่า APM ก็ให้ความสนใจแต่ยังต้องทำให้กิจการในประเทศต่างๆ มีความเข้มแข็งมากขึ้นก่อนจึงจะรุกเข้าไปได้ อีกทางหนึ่ง APM ก็รุกเข้าไปที่สิงคโปร์ โดยอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและศึกษากฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อไปเปิดบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน โดยสมภพให้ความสนใจ Catalyst Board ซึ่งเป็นตลาดรองที่มีกฎเกณฑ์ไม่มากนัก แต่ให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินเป็นคนรับผิดชอบหากเกิดอะไรผิดพลาดขึ้นมา

สมภพสรุปกรอบที่วางไว้ทั้งหมดว่า “เพื่อให้ครอบคลุมการบริการใน 3- 5 ปีจากนี้ได้ เราไม่จำเป็นต้องเร่ง เพราะเราเรียนรู้ว่าแต่ละอย่างเร่งไม่ได้ ใจเราเร่ง แต่บางอย่างเร่งไม่ได้ อย่างไลเซนต์ พอได้แล้วเราเร่งคนก็ไม่ได้ ก็ต้องค่อยๆ เรียนรู้”ความพร้อมเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับงานที่ปรึกษาทางการเงิน ตัวอย่างเช่นที่สปป.ลาวซึ่ง APM ต้องส่งคนลงไปทำงานอย่างทุ่มเทอย่างน้อย 1-2 ปีเรียนรู้ทำความรู้จักตลาดใหม่ ให้ความรู้กับตลาดเกี่ยวกับสินค้าและบริการ พัฒนาบุคลากรท้องถิ่น ซึ่งต้องใช้ความทุ่มเททรัพยากรทั้งเงินทุนและเวลาเป็นอย่างมาก หัวเรือใหญ่อย่างสมภพจึงต้องลงมือด้วยตัวเองในแบบที่เรียกได้ว่ากัดไม่ปล่อยจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ แม้จะต้องเดินทางไปมาแทบไม่มีเวลาพักแต่นั่นคืองานที่เขาสนุกและอยากทำเพื่อให้งานมีคุณภาพและเดินหน้าต่อเนื่อง

 

 

รักษาฐานขยายตลาด

การลุยงานอย่างต่อเนื่องของสมภพเป็นจุดเด่นที่เขาได้รับการยอมรับในวงการ ทำให้เขามีคิวงานแน่นล้นแทบทุกวันทั้งนี้เพื่อรักษาฐานที่มีอยู่พร้อมกับขยายตัวต่อไปหาพื้นที่ใหม่ๆ จำนวน IPO ที่ APM นำเข้าจดทะเบียนในแต่ละปีมีหลายบริษัทคือคำตอบที่เห็นได้ชัดเจน หากไม่มีการเตรียมความพร้อมอย่างต่อเนื่องคงทำได้ยากในประเทศไทยปี 2560 APM ยื่นไฟลลิ่งไปแล้ว 5 บริษัท เข้าจดทะเบียนซื้อขายไปแล้ว 2 บริษัท ขณะที่ปี 2561 สมภพบอกว่าน่าจะยื่นได้ประมาณ 6-8 บริษัท

สมภพมองว่า เอสเอ็มอียังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เพราะหากดูตัวอย่างในสหรัฐอเมริกาบริษัทใหญ่ๆ ล้วนเกิดจากการผลักดันเอสเอ็มอีเข้าตลาดแนสแด็กแล้วเติบโตขึ้นทั้งสิ้น ส่วนหนึ่งของการผลักดันโดย APM คือการจัดงานดินเนอร์ทอล์กตามจังหวัดต่างๆ เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว เพื่อโปรโมตหุ้นน้องใหม่ที่เข้าจดทะเบียน ที่สมภพมองว่าเป็นการสร้างโอกาส 2 ทาง ทางหนึ่งคือการสร้างนักลงทุน และอีกทางหนึ่งคือการสร้างผู้ประกอบการใหม่ๆ ที่จะเข้ามาสู่กระบวนการจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ “เป็นเวทีให้คนได้ฟัง หลายรายที่เป็นนักลงทุนคือผู้ประกอบการพอฟังเสร็จเขาก็เรียกรุ่นลูกมาบอกว่า เขาแก่แล้ว รุ่นลูกไปคุยกับ APM ว่าจะเอาบริษัทเข้าอย่างไรแต่ต้องคิดเองพูดเองเพราะต้องเป็นคนอยากเอาเข้าเอง เตี่ยแค่ปิ๊งไอเดีย เราก็จะได้คนรุ่นใหม่ฟังครั้งหนึ่ง 200-300 คน ครั้งหนึ่งได้ 1 ราย ก็พอแล้ว คิดแค่นี้ แต่ถ้าไม่จัดก็ไม่มีได้ ต้องยอมเหนื่อยและลงทุนด้วย

อีกเรื่องที่ APM ทำมาต่อเนื่องคือการให้ความรู้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่บริษัทให้คำปรึกษาทางการเงินและกำลังเตรียมตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ โดยจัดหลักสูตร High Flyer Entrepreneur ให้แนวคิดการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัว สามารถใช้ศาสตร์ด้านบริหารจัดการเข้าไปใช้ได้อย่างไร และเรื่องการเตรียมความพร้อมเข้าตลาดหลักทรัพย์ การใช้ประโยชน์จากตลาดทุน การใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อสร้างความเติบโต โดยในประเทศไทยจัดมาแล้ว 5 รุ่น และกำลังเตรียมจะจัดหลักสูตรเดียวกันใน สปป.ลาวและกัมพูชาในปีหน้า

นอกจากเป็นการให้ความรู้กับผู้ประกอบการยังเป็นการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจที่สามารถเชื่อมโยงกันและอีกทางหนึ่งคือการสร้างสายสัมพันธ์ที่มัดแน่นกับ APM ในฐานะที่ปรึกษาที่คอยช่วยเหลือธุรกิจ การสานสัมพันธ์รักษาฐานลูกค้าเมื่อพัฒนาให้เข้มแข็งได้แล้ว ก็จะมีส่วนช่วยเสริมธุรกิจของ APM ให้ขยายตัวไปได้ ดังที่สมภพกล่าวในช่วงหนึ่งของการสนทนาว่า APM ไทยมั่นคง APM ลาวมั่นคง กัมพูชามั่นคง พอเราจะไปที่สิงคโปร์หรือเมียนมา เขาเห็นผลงาน 3 ประเทศว่ามั่นคงถึงจะต่อยอดความเป็น FA ได้ง่ายขึ้น เราจะมาพูดปากเปล่าคงไม่ได้ เราต้องพูดถึงนิติบุคคลที่เรามีผลงานนี่คือหลักการ”

สมภพเล่าภาพอนาคตที่เราจะเห็น APM จะประกอบด้วย 2 ธุรกิจหลัก คือที่ปรึกษาทางการเงิน โดยมีฐานหลักที่ประเทศไทยและ สปป.ลาว ค่อยๆ ขยายตัวไปยังประเทศกัมพูชา เมียนมาและเวียดนามภายใน 5 ปีข้างหน้า อีกข้างหนึ่ง คือธุรกิจเช่าซื้อ ที่จะปรับโครงสร้างการถือหุ้นโดยจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งขึ้นมาถือหุ้นในลิสซิ่งทุกประเทศในอนาคตจะผลักดันโฮลดิ้งนี้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อระดมทุนไปขยายธุรกิจใน CLMV ต่อไป

 

"เพื่อให้ครอบคลุมการบริการใน 3- 5 ปีจากนี้ได้ เราไม่จำเป็นต้องเร่ง เพราะเราเรียนรู้ว่าแต่ละอย่างเร่งไม่ได้ ใจเราเร่ง แต่บางอย่างเร่งไม่ได้"

 

APM Leasingใส่เกียร์ 1 เริ่มเดินหน้า

สมภพเริ่มด้วยข่าวดีของ APM ในลาว ว่าเมื่อวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมา บริษัทหลักทรัพย์ APMLAO Leasing จำกัด ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทำธุรกิจเช่าซื้อใน สปป.ลาว หลังจากยื่นขออนุญาตมาแล้วกว่า 2 ปี เป็นการเติมเต็มภาพ APMLAO ที่เขาเคยเล่าให้ MBA ฟังว่า จะมีด้านการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับใบอนุญาตมาครบ 4 ปีแล้ว และด้านลิสซิ่งที่จะเป็นดาวเด่นในอนาคตของกลุ่มธุรกิจเข้ามาเสริม

สมภพเล่าเบื้องหลังว่ากว่าจะได้ใบอนุญาตมีหน่วยงานที่ร่วมพิจารณาให้ใบอนุญาตหลายหน่วยงาน โดยเริ่มต้นจะปล่อยสินเชื่อได้ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์ก่อนระยะเวลาหนึ่งจึงจะได้รับอนุญาตให้ไปทำธุรกิจในแขวงอื่นๆ ได้ ซึ่งตามแผนงานของ APM ก็จะเป็นช่วงเวลาที่เตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อรองรับการขยายตัวด้วยการผสมผสานทั้งคนในพื้นที่และพนักงานที่มีประสบการณ์จากประเทศไทย

แผนงานที่ APM วางไว้สำหรับธุรกิจลิสซิ่งหลังจากได้รับใบอนุญาตจากกรมคุ้มครองสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งชาติ สปป.ลาว คือภายใน 2 เดือนที่เหลือของปีนี้จะเริ่มปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถเพื่อการพาณิชย์ อุปกรณ์สำนักงาน อุปกรณ์ร้านเสริมสวย และอุปกรณ์ทางการเกษตร

เป้าหมายการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อสมภพบอกว่า “ปี 2018 ก็น่าจะปล่อยเพิ่มเติบโตไม่น้อยกว่าเป็น 100 เปอร์เซ็นต์จากปีนี้ เป้าหมาย 50 ล้านบาท ปีนี้ (2017) น่าจะปล่อย 10-20 ล้านบาท และปีต่อไป 2019 ก็อยู่ 100-200 ล้านบาท ปี 2020 น่าจะอยู่ที่ 500 ล้านบาท เป็นการปล่อยเพิ่มนะ แสดงว่าผมต้องวางแผนทางการเงินทำลิสซิ่ง สุดท้ายลิสซิ่งเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ ทำให้ผลงานของ APMLAO Leasing โดดเด่นในปี 2020 ได้ และมีโอกาสใช้ตลาดทุนในการระดมทุนเพื่อไปขยายในประเทศกัมพูชา และ CLMV”

สมภพมองว่าธุรกิจลิสซิ่งจะเป็นดาวเด่นของ APM ในอนาคต เขาจึงมุ่งมั่นลงลึกถึงรายละเอียด ด้วยการเป็นหนึ่งในกรรมการพิจารณาปล่อยสินเชื่อของบริษัทด้วยตัวเอง “ผมปล่อยลิสซิ่งถ้าปล่อยเสียไปหนึ่งรายสองรายกำไรที่ควรจะได้นี่หายไปเลย เพราะฉะนั้นต้องเข้ม นี่คือหัวใจการทำงานธุรกิจลิสซิ่ง ต้องดูผู้เช่าซื้อให้ถี่ถ้วน เพราะลิสซิ่ง มีตั้งแต่การวางดาวน์ 10-15 เปอร์เซ็นต์และดูความสามารถในการผ่อนชำระ ดูครอบครัว ดูที่บ้าน ไม่ใช่ทำง่าย เช่นรถปิ๊กอัป เดือนนี้จะปล่อย 1-2 คัน รู้ตัวตน รู้พ่อแม่ อย่างนี้ปล่อย เราค่อยๆ เรียนรู้ไป อย่าไปเร่ง”

X

Right Click

No right click