บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ร่วมกับ บริษัท เอสซีจี บิลดิ้ง แอนด์ ลีฟวิ่งแคร์คอนซัลติ้ง จำกัด (BLC) บริษัทที่ปรึกษาในด้านการพัฒนาอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และบริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด (CPAC) ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมการก่อสร้าง ภายใต้ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการพัฒนาอาคารเขียว นวัตกรรมการก่อสร้าง อาคารและฟาร์มประหยัดพลังงาน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน” นำร่อง  3 โครงการสร้างสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้อาคาร  เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

พิธีลงนามความร่วมมือในวันนี้ (22 มีนาคม 2566) เป็นความร่วมมือของทุกฝ่ายที่มีความมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความยั่งยืน โดยร่วมกันกำหนดแนวทางพัฒนาโครงการอาคารเขียวและการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบและการก่อสร้างอาคารและโรงงานในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร เพื่อขอรับรองมาตรฐานอาคารเขียวให้ได้ตามแผนงานที่กำหนด และพัฒนาการก่อสร้างโครงสร้างต่าง ๆ  โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม  เพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ  โดยมี  นายพีรพงศ์ กรินชัย  ผู้บริหารสูงสุด  สายงานวิศวกรรมกลาง  เป็นตัวแทนของซีพีเอฟ ร่วมลงนามกับ นายวชิระชัย คูนำวัฒนา Managing Director บริษัท เอสซีจี บิลดิ้ง แอนด์ ลีฟวิ่งแคร์คอนซัลติ้ง จำกัด และ นายสุรชัย นิ่มละออ President-Green Solution Business  บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด เพื่อยกระดับมาตรฐานการก่อสร้างสู่อาคารประหยัดพลังงาน  มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และสร้างสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้อาคาร  ณ  ห้องบอร์ดรูม  อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์   สีลม

นายพีรพงศ์ กรินชัย ผู้บริหารสูงสุด  สายงานวิศวกรรมกลาง ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า   ซีพีเอฟ ในฐานะผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร  ให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการผลิตที่ทันสมัย ได้มาตรฐานระดับสากล โดยใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม     ซึ่งความร่วมมือระหว่างซีพีเอฟและกลุ่ม SCG เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี  ตอบโจทย์แนวทางการดำเนินธุรกิจของทั้งสองบริษัทที่มุ่งสู่เป้าหมายความยั่งยืน  ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามแนวนโยบายของประเทศไทยและประชาคมโลก ด้วยการร่วมมือกันดำเนินโครงการเพื่อขอรับรองมาตรฐานอาคารเขียว โดยในปีนี้ มีแผนที่จะดำเนินโครงการ 3 โครงการ  ได้แก่  โครงการโรงงานชำแหละและตัดแต่งสุกรศรีสะเกษ ห้องปฏิบัติงานและสำนักงานธุรกิจสัตว์น้ำ สมุทรปราการ   โรงงานผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง สระบุรี  มุ่งเน้นให้เป็นต้นแบบของอาคารประหยัดพลังงาน   ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สร้างสุขภาวะที่ดีของผู้ที่ทำงานในอาคาร เป็นมิตรกับชุมชนและดูแลสิ่งแวดล้อม สอดรับกับเป้าหมายของซีพีเอฟที่มุ่งสู่องค์กรลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net-Zero)ในปี 2050 (พ.ศ. 2593) และมีเป้าหมายใช้พลังงานหมุนเวียน  100 % 

นายวชิระชัย คูนำวัฒนา Managing Director บริษัท เอสซีจี บิลดิ้ง แอนด์ ลีฟวิ่งแคร์คอนซัลติ้ง กล่าวว่า SCG มีเป้าหมายในการส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรต่างๆในการพัฒนาอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะที่ดีของผู้อยู่อาศัย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายการดำเนินธุรกิจของซีพีเอฟ  จากความร่วมมือในครั้งนี้ ทางSCG พร้อมจะนำความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาในการขอรับมาตรฐานอาคารเขียว    เพื่อยกระดับมาตรฐานอาคารที่ลดการใช้พลังงาน สร้างสุขภาวะที่ดีขึ้นต่อผู้ใช้งาน ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อการประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ด้าน นายสุรชัย นิ่มละออ  President-Green Solution Business  บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ CPAC จะนำความเชี่ยวชาญสร้างสรรค์และนำนวัตกรรมโซลูชั่นสำหรับนวัตกรรมการก่อสร้างมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการก่อสร้างใหม่ และซ่อมแซมโครงสร้างอาคารของซีพีเอฟ  เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ และแนวทางการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความยั่งยืน ซึ่งซีพีเอฟให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตที่ทันสมัยได้มาตรฐานระดับสากล โดยใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านการนำนวัตกรรมก่อสร้างเข้ามาช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

หนุนเป็นแหล่งเรียนรู้การผลิตสัตว์ครบวงจรด้วยเทคโนโลยีทันสมัย เพื่อชุมชน-เกษตรกร

นายอภินันท์ เผือกผ่อง ผู้ว่าราชการ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานในพิธีมอบ “โครงการฟาร์มสาธิตการเลี้ยงสุกรขุนและไก่ไข่ระบบปิดอัตโนมัติ (Green Farm)” ที่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ สนับสนุนแก่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช เพื่อยกระดับภาคปศุสัตว์ไทยสู่ 4.0 หนุนศูนย์สมาร์ทฟาร์มของมหาวิทยาลัย และร่วมพัฒนาวิชาการเกษตรสมัยใหม่ ถ่ายทอดสู่นักศึกษา เกษตรกร และผู้สนใจ

 

นายสิริพงศ์ อรุณรัตนา ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการธุรกิจสัตว์บก ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และซีพีเอฟ ร่วมกันขับเคลื่อนและยกระดับภาคปศุสัตว์ของไทยด้วยนวัตกรรมสู่ยุค 4.0 ด้วยการดำเนินโครงการความร่วมมือทางวิชาการ “โครงการฟาร์มสาธิตการเลี้ยงสุกรขุนและไก่ไข่ระบบปิดอัตโนมัติ (Green Farm)” มาตั้งแต่ปี 2562 เพื่อให้เป็นฟาร์มเลี้ยงสัตว์มาตรฐานสากลภายใต้ระบบปิด (EVAP) เป็นฟาร์มรักษ์โลกที่เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานฟาร์มสีเขียว หรือกรีนฟาร์ม สำหรับพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ฝึกทักษะภาคปศุสัตว์ที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย เป็นสถานที่ศึกษาทดลองและวิจัยด้านเทคโนโลยีการเกษตร ของนักศึกษาของสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร รวมถึงส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้แก่คณาจารย์ ตลอดจนการให้บริการทางวิชาการ พร้อมทั้งพัฒนาฟาร์มให้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาเรียนรู้ที่ทันสมัย ของนักศึกษาซึ่งถือเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่สามารถต่อยอดสู่การเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นต่อไป

“โครงการฟาร์มสาธิตฯ ถือเป็นความร่วมมือทางวิชาการและกิจการเพื่อสังคมที่ซีพีเอฟตั้งใจส่งมอบให้กับมหาวิทยาลัย ช่วยผลักดันการพัฒนาทางวิชาการและองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัย สู่บุคลากรให้มีทักษะด้านการผลิตเกษตรอุตสาหกรรมแบบครบวงจร โดยบริษัทสนับสนุนงบประมาณ และผู้เชี่ยวชาญร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้กับบุคลากรและนักศึกษา กระทั่งสามารถนำเทคนิควิชาการไปขับเคลื่อนโครงการได้อย่างยั่งยืน" นายสิริพงศ์ กล่าว

 

นายสมพร เจิมพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ม.วลัยลักษณ์และซีพีเอฟ มีเป้าหมายเดียวกันในการมุ่งพัฒนากำลังคนด้านการเกษตรสมัยใหม่ และพัฒนาภาคเกษตรอุตสาหกรรมของไทย ตลอดระยะเวลาการผนึกกำลังในการดำเนินโครงการฯ มานานกว่า 3 ปี โรงเรือนสาธิตฯสุกรขุนและไก่ไข่ในระบบปิดอัตโนมัติ ภายใต้กระบวนการบริหารจัดการฟาร์มในรูปแบบกรีนฟาร์ม กลายเป็นศูนย์สาธิตและฝึกอบรมด้านปศุสัตว์ให้แก่นักศึกษาที่สามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติงานในฟาร์ม เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ที่พวกเขานำไปเป็นพื้นฐานการทำงาน หรือประกอบอาชีพได้ในอนาคต ขณะเดียวกันยังเป็นการสนับสนุนนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรให้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ที่ได้รับ สู่ชุมชนและเกษตรกร ผ่านกลไกของศูนย์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้การผลิตสัตว์มีคุณภาพ ปลอดภัยเพื่อผู้บริโภค

 

ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า ม.วลัยลักษณ์ มุ่งมั่นผลักดัน “ศูนย์สมาร์ทฟาร์ม” เพื่อพัฒนาฟาร์มมหาวิทยาลัยเดิม ให้เป็นการบริหารฟาร์มโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งด้านพืชสวน พืชไร่ ปศุสัตว์ และประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคปศุสัตว์ ซึ่งมหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากซีพีเอฟ ที่มีความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยีและองค์ความรู้ระดับโลก เข้ามาส่งเสริมและพัฒนาระบบการเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นแหล่งฝึกประสบการณ์แก่นักศึกษา เกษตรกร และผู้สนใจ ให้สามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพ สามารถลดต้นทุน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิต อันเป็นการส่งเสริมความมั่นคงทางอาชีพให้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน พร้อมสนับสนุนสู่การเป็นแหล่งค้นคว้า วิจัยพัฒนาที่ยั่งยืนของเกษตรกรชาวนครศรีธรรมราช และภูมิภาคใกล้เคียง อันจะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีของเกษตรกรอย่างแน่นอน./

บริษัท เชสเตอร์ ฟู้ด จำกัด ธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในกลุ่ม บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ

ซีพีเอฟ เปิดตัวแบรนด์ CP FI-IT (ฟิ-อิต) ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกและโบโลน่าที่ให้โปรตีนสูง ไขมันและโซเดียมลดลง

X

Right Click

No right click