ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร (กลาง) กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ (ซ้าย) ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และ ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต (ขวา) ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมเปิดโครงการสัมมนา “เปิดโลกการค้า เจรจาธุรกิจ พิชิตตลาดส่งออก 2022” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 เมษายน 2565 ซึ่งทั้ง 3 หน่วยงานร่วมสานพลังนำจุดแข็งของแต่ละองค์กรมาบูรณาการความร่วมมือพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs ภาคการเกษตร จากการเป็น Smart Farmers ให้สามารถส่งออกได้ รวมทั้งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โอกาสทางธุรกิจภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) และการค้าขายออนไลน์ผ่าน E-Commerce Platform โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมสัมมนากว่า 80 ราย ณ โรงแรม ทีเค. พาเลซ & คอนเวนชั่น เมื่อเร็วๆ นี้

นางขวัญใจ เตชเสนสกุล (กลาง) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับการปรับตัวของธุรกิจไทยให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน ในงานสัมมนา “ทางรอดธุรกิจไทย ปรับตัวอย่างไรในวิกฤตโลกปัจจุบัน” จัดโดยคณะกรรมการยุโรป สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยมีข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสและแนวทางการปรับตัวทางธุรกิจด้านการค้าและการลงทุนในทวีปยุโรปและเครือรัฐเอกราช โดยมี ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา (ซ้าย) รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการยุโรป สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการสัมมนา ณ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เมื่อเร็วๆ นี้

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และ รศ.ดร.วิชิตา รักธรรม (ขวา) คณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง “ความร่วมมือในการส่งเสริมความรู้และพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจให้กับนักศึกษาและผู้ประกอบการไทย” เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการบริหารจัดการธุรกิจด้วยนวัตกรรมป้อนเข้าสู่ภาคธุรกิจ พร้อมสนับสนุนทั้งความรู้และเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการไทย เพื่อสร้างนักรบเศรษฐกิจไทยในเวทีการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ นอกจากนี้ กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ได้เสวนาและบอกเล่ากลยุทธ์ของ EXIM BANK ในการ “ซ่อม สร้าง เสริม และสานพลัง” สนับสนุนผู้ประกอบการไทย ในงานสัมมนาออนไลน์ “Shift ธุรกิจ คิดต่างอย่าง Next Normal” จัดโดย EXIM BANK ร่วมกับสาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม CMMU ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และนายสิทธิกร ดิเรกสุนทร (ขวา) กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) แถลงข่าวความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK และ บสย. พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ สินเชื่อเอ็กซิมเพื่อซัพพลายเออร์ส่งออก และ สินเชื่อ EXIM Logistics โดยนำ บสย. เข้ามาแทนหลักทรัพย์ค้ำประกันโดยสมบูรณ์และปลดล็อกให้ “บุคคล” สามารถกู้เงินทำธุรกิจเพื่อส่งมอบวัตถุดิบให้ผู้ส่งออก สนับสนุนให้ผู้ประกอบการใน Supply Chain การส่งออกเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อเสริมสภาพคล่องและยกระดับคุณภาพธุรกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ สร้างผู้ผลิตเพื่อผู้ส่งออก ผู้ส่งออก และผู้ให้บริการโลจิสติกส์ตลอดทั้งกระบวนการของธุรกิจส่งออกและที่เกี่ยวเนื่องให้แข็งแกร่งและแข่งขันได้ในระดับสากล เพื่อกระตุ้นการส่งออกของไทยท่ามกลางปัจจัยท้าทายในปัจจุบัน ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้

ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ร่วมลงนามกับนายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และผู้บริหารสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและธนาคารพาณิชย์ รวม 16 แห่ง ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะพิเศษ Soft Loan Extra” วงเงินรวมทุกสถาบันการเงิน 90,000 ล้านบาท โดยมีนางสาวศากุน ลัมพสาระ ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และนางวิเรขา สันตะพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นสักขีพยานผ่านการประชุมออนไลน์ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มลูกหนี้เดิมที่มีสินเชื่อคงค้างตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก. Soft Loan) ที่จะครบกำหนดเวลาการชำระหนี้คืน 2 ปีในปี 2565 ได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่อง โดยมี บสย. เป็นผู้ค้ำประกัน เป็นการช่วย SMEs ลดปัญหาการค้างชำระหนี้ สามารถประคับประคองกิจการและพยุงการจ้างงานได้ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2565

X

Right Click

No right click