ในภาวะของ VUCA world ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาททำให้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดความท้าทายใหม่อยู่ตลอดเวลา Disruptive Technology

DPU X สถาบันเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการและบุคลากรแห่งอนาคต โดย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) ร่วมกับ TIKTOK แพลตฟอร์มวิดีโอด้านบันเทิงยอดฮิต จัดกิจกรรม

ในช่วง 3-5 ปีนับจากนี้ เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) อาจจะยังไม่ได้รับการตอบรับอย่างแพร่หลายในแง่ของการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ ในไทย เทียบเท่ากับต่างประเทศที่วันนี้เดินหน้าไปแล้วหลายช่วงตัว

การเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด มีความสำคัญอย่างมากทั้งต่อการอยู่รอด และความสำเร็จ ในโลกที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างในวันนี้

Capstone Project for Entrepreneur Workshop กิจกรรมที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่สอง เป้าหมายอยู่ที่การ “สร้างและส่งต่อ” พร้อมกับ “ต่อยอด” ความรู้ให้นั้นไปยังสองกลุ่มเป้าหมายหลักได้แก่ อาจารย์ผู้สอน และนักศึกษา โดยในปีนี้จัดขึ้น ณ Makerspace มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU)

กิจกรรมพิเศษครั้งนี้จัดขึ้นสำหรับอาจารย์ DPU  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเป็น Startup University ที่พร้อมก้าวเข้าสู่การสอนในยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ยังได้ร่วมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจด้านต่างๆ จากองค์กรชั้นนำ

ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า ​โครงการ capstone จัดขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้อาจารย์มีความเชี่ยวชาญที่จะเป็น accelerator ในวิชา capstone project โดยที่อาจารย์ที่เข้าร่วมติวเข้มความรู้ในครั้งนี้จะนำไปใช้ Coach กับนักศึกษาปี 3

ในชั้นเรียนปี 1 และ 2 นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการ เทคโนโลยี และ Soft skills เมื่อขึ้นปี 3 เด็กๆ จะต้องมารวมกลุ่มจากเพื่อนต่างคณะ ต่างหลักสูตร เพื่อทำโปรเจ็คร่วมกัน ซึ่งในกระบวนการนี้จำเป็นที่จะต้องมีอาจารย์ที่มีทักษะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญที่จะสามารถดูแลเด็กได้  กิจกรรมในเวิร์คชอปนี้จะเลือกอาจารย์ที่เป็นดรีมทีมขึ้นมาก่อนในชุดแรก จากนั้นมองถึงการขยายไปสู่การพัฒนาอาจารย์ทุกคนในมหาวิทยาลัยต่อไป

นอกจากการเวิร์คชอปเพื่อให้อาจารย์ไปสร้างเด็ก ในอีกมุมหนึ่งอาจารย์ก็ได้รับการ Re-skills โดยคนที่ผ่านกระบวนการนี้จะเป็น New work force ที่สำคัญต่อไปของ DPU  

ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ผู้อำนวยการสถาบัน DPU X แห่งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า อาจารย์แต่ละท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คชอปจะมาจากทุกคณะ เช่น ศิลปกรรม วิศวกรรม บริหาร ท่องเที่ยว นิเทศน์ โดยเป็นบุคคลที่เปิดรับและ อยากทดลองทำอะไรใหม่ ๆ

สิ่งที่สนใจเป็นเรื่อง  mind set กระบวนการความคิดมากกว่า เทคโนโลยีเป็นแค่เครื่องมือในการใช้งาน แต่หลักคิดในความเป็นมนุษย์ ในความเป็นผู้เชี่ยวชาญในงานกับเครื่องมือใหม่ ๆ ควรจะเป็นอย่างไร เราจะพัฒนามันอย่างไรเพื่อให้เราใช้ศักยภาพ จุดประสงค์หลักของ Capstone วัดได้ที่นักศึกษา แม้ไม่คาดหวังว่าเด็กทุกคนต้องได้ แค่ให้ส่วนใหญ่รับรู้และเข้าใจในแนวคิดนี้ในเชิงลึก ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ แล้วจะเห็นผล ค่อยๆ สะสมไปเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมระหว่างอาจารย์กับเด็ก

ดร. รชฏ ขำบุญ รองคณบดีสายงานวิชาการ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี เปิดเผยว่า ทักษะความรู้ที่ได้เข้าร่วมในโครงการนี้เกิดข้อดีในสองส่วนด้วยกัน ส่วนแรกนักศึกษาสามารถสร้างธุรกิจใหม่ได้ กับ สอง การปรับมุมมองคิดที่จะปรับธุรกิจเดิมๆ แล้ว สร้างสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น

ไม่ใช่เด็กทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ที่จบไปแล้วจะไปเป็นสตาร์ทอัพ ส่วนหนึ่งอาจต้องการทำงานในบริษัทใหญ่ซึ่งก็ต้องมีความรู้ด้านการสร้างนวัตกรรมหรือคิดปรับปรุงช่วยประโยชน์ให้องค์กร เพราะไม่ว่าจะเป็นสตาร์ทอัพ หรือทำงานในองค์กร หลักการเดียวกัน คือ การเข้าใจลูกค้า หาความต้องการของลูกค้าแล้วสนองตอบให้ได้มากที่สุด

ในกิจกรรมเวิร์คชอปสองวันเป็นการอบรมที่พยายามนำเสนอเครื่องมือที่หลากหลายที่จะเอาไปใช้ในการค้นหาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

“ผมสอนในระดับปริญญาโท ก็ได้เอาประสบการณ์จากการอบรมไปสอน โดยให้นักศึกษา ให้จับกลุ่มสามคน เช่น วิศวะ การตลาด บัญชี แล้วไปทำธุรกิจอาหารเสริม ผลปรากฏว่าได้กำไรเป็นสิบๆ ล้านเมื่อปีที่แล้ว”

ผศ.ณธกร อุไรรัตน์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์​ หนึ่งในผู้ร่วมกิจกรรมเวิร์คชอป Capstone Project เปิดเผยว่า  After school hub เป็นผลงานที่นำเสนอภายใต้การเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้   เริ่มจากมองปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองและคนใกล้ตัว รวมถึงการได้ไปสอบถามกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นคนพ่อแม่วัยทำงานทำให้พบว่า การเดินทางไปรับลูกวัยประถมศึกษาหลังเลิกเรียนไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ อีกต่อไป

“โรงเรียนเลิกเวลาบ่ายสามโมง การจะเดินทางไปรับที่ต้องฝ่าจราจรติดขัดทำให้หลายๆ ครั้งไปไม่ทันกับเวลาที่ได้นัดหมายเอาไว้ คลาดกัน และทำให้ต้องวนรถหลายต่อหลายครั้ง ทำให้เริ่มมาคิดถึงแนวทางแก้ปัญหา

ไอเดียที่ทางทีมเรานำเสนอว่าควรจะทำศูนย์​รับดูแลเด็กหลังเลิกเรียนเพื่อรอจนกว่าผู้ปกครองจะมารับในตอนเย็นหรือค่ำไปแล้ว นอกจากเป็นจุดศูนย์รวมของเด็กหลังเลิกเรียนแล้ว ยังมีกิจกรรมต่างๆ เสริมด้วย เช่น สอนการบ้าน อาหารเย็น พ่อแม่เลิกสองทุ่มก็มารับได้”

โดยข้อดีของกิจกรรมนี้ อาจารย์ผู้สอนเอาโปรเซสการสอนนี้ไปปรับใช้กับการสอนจริงในคลาสกับนักศึกษาแม้ในตอนที่เรียนก็ได้เรียนรู้จากของจริงซึ่งได้ผลมากกว่าการเลคเชอร์เพียงอย่างเดียว ที่สำคัญในบางไอเดียที่นำเสนออาจพัฒนาเป็นธุรกิจจริงได้ในอนาคตของจริง

เราเริ่มรู้แล้วถึงวิธีคิด และการพัฒนาเป็นธุรกิจ ต่อไปจะเอาตรงนี้ไปพัฒนาเป็นสคริปในการสอน เปลี่ยนบทบาทจากอาจารย์ เป็นโค้ช ซึ่งจะเกิดประโยชน์ได้มากกว่าสำหรับนักศึกษา  

ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ ทวยเจริญ รองคณบดีฝ่ายวิชาการวิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์​(CITE) เปิดเผยว่า ทางกลุ่มได้นำเสนอโปรเจ็คเว็บสอนภาษาไทยสำหรับนักศึกษากัมพูชา เนื่องจากมองว่ามีความต้องการของแรงงานกัมพูชาที่เข้ามาในไทยต้องการเรียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

“ก่อนจะทำโมเดล เห็นแล้วว่ามีเว็บไซต์สอนภาษาต่างประเทศเยอะมาก แต่ไม่มีภาษากัมพูชา ซึ่งจากการสอบถามชาวกัมพูชาที่มาทำงานในไทยก็พบว่ามีปัญหาเรื่องการสื่อสาร อยากมาทำงานในไทย ก็ลำบากเพราะไม่รู้ภาษาไทย   เมื่อมาทำงาน และเรียนในไทย ก็หาที่เรียนลำบาก ทำให้ทางกลุ่มเราคิดที่จะทำโมเดลการเรียนออนไลน์ขึ้นมา ทั้งการเรียนเป็นกลุ่ม ไลฟ์สอนสดโดยนัดเวลาเรียน”

จากปีแรกที่ได้เข้าร่วมเวิร์คชอป Capstone จนถึงปีนี้ ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ บอกว่า ได้นับโมเดลวิธีคิดและการโค้ชไปใช้กับนักศึกษามาแล้วในปีที่ผ่านมา ทั้งการสอดแทรกมุมมองความเป็นผู้ประกอบการ การให้นักศึกษาได้ฝึกเขียนแผนธุรกิจ (Business Canvas) รวมถึงการเชิญผู้รู้จากในประเทศและต่างประเทศมาถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ ทำให้ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

“ในช่วงแรกที่เด็กๆ คิดหัวข้อโปรเจ็คจะเลือกจากสิ่งที่อยากทำ หรือไม่ก็เว็บขายของ  แต่มาวันนี้วิธีคิดเปลี่ยนไป เริ่มคิดจากลูกค้าว่ามีปัญหาอะไร แล้วไปช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง ตัวอย่างในปีที่แล้วนักศึกษาเสนอ โปรเจ็ค คนขายหอย มาจากที่บ้านทำธุรกิจฟาร์มหอย แต่ก็เจอปัญหาไม่สามารถจัดการการเงิน ปัญหาพ่อค้าคนกลาง จึงได้พัฒนาแอพพลิเคชันมาเป็นตัวกลางในการแก้ปัญหา” ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ กล่าว

ด้าน ชิน วังแก้วหิรัญ ผู้บริหารจาก Vonder chatbot หนึ่งในเมนเทอร์ที่เข้าร่วมถ่ายทอดประสบการณ์การทำธุรกิจสตาร์ทอัพใน Capstone Project กล่าวว่า Vonder เป็นสตาร์ทอัพที่ทำทางด้านการศึกษา โดยพัฒนาการเรียนรู้ในนรูปแบบของเกม เมื่อกดเข้าไป เลือกวิชาที่อยากเรียน ซึ่งมีวิชาที่เรียน ได้แก่ อังกฤษ ประวัติศาสตร์ ​วิทยาศาสตร์ (เคมี ฟิสิกส์) ที่เน้นการประสบการเรียนรู้ในแบบ Interactive

จนถึงวันนี้ Vonder ทำธุรกิจมาแล้วปีเศษ ประสบการณ์จากการทำธุรกิจทำให้เรียนรู้ว่า บิสิเนสโมเดล และการหารายได้เป็นเรื่องสำคัญ​ ในปีแรกๆ ทำเฉพาะเกมการเรียนรู้ในกลุ่มนักเรียนแม้จะเป็นโปรดักท์ที่น่าสนใจและสร้างการเรียนรู้ได้ดี แต่ในด้านรายได้กลับไม่เป็นเช่นนั้น ทำให้เริ่มมองหาโอกาสใหม่ๆ ซึ่งก็พบว่า HR ในแต่ละองค์กรที่วันนี้นำโปรดักส์ของ Vonder เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้กับพนักงานซึ่งตลาดตรงนี้ก็เริ่มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

“สิ่งที่นำมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในครั้งนี้อยากชี้ให้เห็นว่า ความล้มเหลวไม่ใช่เรื่องน่ากลัวเสมอไป ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นได้ง่ายที่สุด และใหญ่ที่สุดคืออารมณ์ของตัวเอง ต้องรู้จักบริหารจัดการอารมณ์ในสถานการณ์ที่เจอให้ได้ รวมทั้งเรื่องของเงินทุน อย่าประมาท

การทำธุรกิจสมัยนี้ เริ่มต้นมีแค่คอมพิวเตอร์​ และทีมอีกสองคนก็เพียงพอ เมื่อเทียบกับการลงทุนเริ่มต้นธุรกิจที่ต้องมีสเกลที่ใหญ่กว่านี้มาก อย่างไรก็ดี ขอแค่มีความพร้อม และไม่ประมาทในการประเมินต้นทุน เชื่อว่าอย่างไรก็ได้อะไรที่ล้ำค่ากลับไป แม้ไม่เป็นตัวเงิน แต่ก็ได้ประสบการณ์ในการทำธุรกิจ”

จากภาพรวมของปีนี้ "Capstone Business Project" นับเป็นอีกโมเดลการเรียนรู้ที่สำคัญในโลกยุคปัจจุบันที่ให้มุ่งเน้นพัฒนาทักษะแห่งอนาคตให้กับบุคลากรและนักศึกษา DPU ในการมีมุมมองความคิดการเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงการทำ Startup ให้ประสบความสำเร็จอย่างมืออาชีพ ชี้วัดจากปีที่ผ่านมา DPU  ส่งนักศึกษาเข้าแข่ง startup Thailand เป็นปีแรกจำนวน 10 ทีม สามารถทะลุ เข้ารอบ 4 ทีม ที่สุดคว้ารางวัลที่ 2 ของภูมิภาคได้เป็นผลสำเร็จ

“แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดไอเดียธุรกิจนี้คือคุณปู่กับคุณย่าค่ะ ซึ่งหนูไม่มีโอกาสได้ทดแทนบุญคุณพวกท่านแล้วจึงอยากส่งมอบความปราถนาดีนี้ผ่านการเพิ่มคุณค่าให้แก่สังคมผู้สูงวัยค่ะ” น.ส.กัลยรัตน์ พิกุลน้อย (พลอย) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (College of Innovative Business and Accountancy: CIBA) หลักสูตรบัญชี  มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  หนึ่งในสมาชิกทีม JElder  เผยถึง แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดไอเดียธุรกิจเพื่อสังคม ( SE: social enterprise ) ซึ่งเป็น Market Place ที่ใช้งานง่ายสำหรับผู้สูงอายุโดยมีวิธีการขายเป็น Group buy ซึ่งผู้สูงอายุสามารถเพลิดเพลินกับการขายสินค้าอุปโภค บริโภค รวมถึงการจัด Event ต่างๆได้ใน Platform นี้ โดยไอเดียธุรกิจนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขัน Startup Thailand League 2019 ที่สนามแข่งขันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีโคราช จังหวัดนครราชสีมา และเตรียมความพร้อมลงสนามรอบ Final Pitching Demo Day

น้องพลอยเล่าว่า ไอเดียธุรกิจนี้ ได้ร่วมระดมความคิดสร้างสรรค์กับเพื่อนๆอีก 3 คนในทีม JElder  มีด้วยประกอบด้วย  น.ส.กัญญารัตน์ ชาญประโคน คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม หลักสูตรการท่องเที่ยว  น.ส.อนุตตรีย์ เชิดครบุรี คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม หลักสูตร การโรงแรม และ น.ส. อานิต้า แสงโรจน์

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาการโรงแรม โดยเริ่มเริ่มแรกได้นำเสนอไอเดียธุรกิจนี้ผ่านโครงการนพรัตน์ทองคำซึ่งเป็นโครงการสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ผู้ที่มีคุณสมบัติแก้ว 9 ประการ ขณะนั้นได้รับรางวัลนวัตกรรมชมเชยจากผลงาน จุดนี้จึงเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจที่ทำให้พัฒนาตนเองและสร้าง Platform ธุรกิจให้มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

การเรียนที่ CIBA มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนให้กับนักศึกษา ทำให้สร้าง J E I d e r ให้ประสบความสำเร็จได้ โดย DPU X จะสอนการ Pitching เสนอไอเดียอย่างไรให้เข้าเป้าหรือประสบความสำเร็จได้ มีทีมงานให้คำปรึกษาแนะแนวทางในการสร้างสรรค์ไอเดียธุรกิจเสมอ น้องพลอยกล่าว

  

ดร.ศิริเดช คำสุพรหม คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (College of Innovative Business and Accountancy: CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวย้ำว่า มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เราปลูกฝังทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้นักศึกษาตั้งแต่เริ่มเรียนชั้นปี 1 ในทุกสาขาวิชา ผ่านวิชาในกลุ่ม DPU CORE  (ดียู คอร์) เมื่อขึ้นชั้นปีที่ 3 ในรายวิชาที่เรียกว่า Capstone Projects นักศึกษาจะทำงานเป็นทีม สมาชิกในทีมมาจากต่างสาขาและต่างคณะ เพื่อให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์  ออกไอเดียและสร้างสรรค์ชิ้นงาน หัวข้อโครงการอาจเกิดจากนักศึกษาเอง หรือจากสถานประกอบการและพันธมิตรในเครือข่ายของมหาวิทยาลัย และยังได้จัดตั้งสถาบัน DPU X (ดีพียู เอ็กซ์) เพื่อทำหน้าที่บ่มเพาะทีมนักศึกษาเหล่านี้ต่อในโครงการ DPU Startup Bootcamp เพื่อปั้นไอเดียให้เป็นจริงได้

นักศึกษาเราต้องผ่านเวทีประกวดแนวคิดธุกิจ CIBA MINI CAPSTONE ซึ่งเป็นการจัดแสดงแนวคิดธุรกิจยุค Thailand 4.0 ให้จับกลุ่มทำงานเป็นทีมหลากหลายคณะนำเสนอแผนธุรกิจผ่านโครงการ MINI CAPSTONE โดยมีการประกวด Final Pitching  และ Showcase ซึ่งจะจัดทุกปีเพื่อให้นักศึกษาได้มีเวทีนำเสนอผลงาน ดร.ศิริเดช กล่าวในตอนท้าย

X

Right Click

No right click