October 13, 2024

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ย้ำความมุ่งมั่นส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพคน จับมือ ChangeFusion ดึงผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการผลลัพธ์ทางสังคมและการตลาด ร่วมอัปสกิลผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) รุ่นใหม่ ภายใต้โครงการ “พลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม” หรือ Banpu Champions for Change (BC4C) รุ่นที่ 13 มุ่งพัฒนาศักยภาพ SE ให้สามารถสร้างการเติบโตทั้งในด้านรายได้และผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ พร้อมเปิดตัว 7 กิจการเพื่อสังคมที่ผ่านเข้ารอบ Incubation Program ปี 2567

นายรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส-สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ปีนี้โครงการ BC4C ได้รับความสนใจจาก SE ในหลากหลายพื้นที่ภายหลังที่เราได้ลงพื้นที่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมในหลายภูมิภาค ซึ่งตรงกับความตั้งใจของเราตามธีมในปีนี้คือ ‘Impactful Locals, National Boost: ชุมชนแกร่ง ไทยแกร่ง’ ที่ต้องการส่งเสริมให้มี SE หน้าใหม่ที่เข้มแข็งทั่วประเทศ จาก 15 ทีมที่ผ่านเข้ารอบในรอบแรก ทุกทีมมาด้วยแพสชันเต็มเปี่ยม สิ่งที่โครงการฯ ช่วยเพิ่มเติมให้คือการขยายผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาแผนการตลาด รวมถึงเทคนิคการนำเสนอแผนธุรกิจ ซึ่งทักษะเหล่านี้จะทำให้ SE สามารถพัฒนาแนวการทำกิจการของตนเองได้อย่างมีระบบ มีหลักการที่จับต้องได้และใช้ได้จริง เป็นแนวทางพื้นฐานสำหรับนำไปสร้างการเติบโตของกิจการอย่างชัดเจน”

เวิร์กชอปการอัปสกิล SE ใน Incubation Program ของโครงการฯ ในรุ่นที่ 13 ประกอบด้วย

  1. การพัฒนาแผนการจัดการผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โดย นางไฮดี้ เหลิ่ง ผู้จัดการฝ่ายบริหารธุรกิจ สถาบัน ChangeFusion เน้นส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถวิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชนและสังคม อาทิ การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียและกลุ่มเป้าหมายอย่างตรงจุด รวมถึงการวางแบบจำลองผลกระทบ (Impact Model) และตัวชี้วัดที่เหมาะสมสำหรับแต่ละกิจการ
  2. การพัฒนาแผนธุรกิจและแผนการทดสอบตลาด โดย นายภาวินท์ สุทธพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ธุรกิจดิจิทัล ที่มาถ่ายทอดกลยุทธ์นวัตกรรมและการวางแผนธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยผู้บริโภค กลยุทธ์เชิงปฏิบัติการ (Operation Strategy) การหามูลค่าของโครงการ (Value Creation) และวิธีการวัดผลอย่างต่อเนื่อง (Innovation Accounting)
  3. เทคนิคการนำเสนอแผนธุรกิจ หรือ Business Pitching เพื่อเรียนรู้ทักษะการนำเสนอแผนธุรกิจโดยเน้นการนำเสนอทั้งด้านธุรกิจและด้านผลกระทบต่อสังคม โดยมี BC4C Alumni ประกอบด้วย นายนรินทร์ จิตต์ปราณีชัย จาก a-chieve BC4C Alumni รุ่นที่ 1, นายสุรเสกข์ ยุทธิวัฒน์ จาก toolmorrow BC4C Alumni รุ่นที่ 5, และนายบุตรพจน์ พลพิพัฒนพงศ์ จาก ม้งไซเบอร์ BC4C Alumni รุ่นที่ 10 มาแสดงตัวอย่างการนำเสนอและให้คำปรึกษากับผู้เข้าร่วมโครงการฯ

นางสาวจีรพันธุ์-นายชุณวัณ บุญมา สองพี่น้องเจ้าของกิจการเพื่อสังคม “Karen Design” หนึ่งใน SE ที่ผ่านเข้ารอบ 7 ทีมสุดท้าย กล่าวว่า “ที่ผ่านมา Karen Design ไม่สามารถสร้างยอดขายได้มากพอที่จะช่วยเหลือคนในชุมชนเป็นจำนวนมาก การเข้าร่วมเวิร์กชอปการพัฒนาแผนธุรกิจและแผนการทดสอบตลาดทำให้มองเห็นแนวทางที่จะแก้ปัญหานี้ได้ โดยสิ่งที่เรายังไม่ชัดเจนคือการสร้างแบรนด์ การเข้าใจลูกค้า และการสื่อสารไปยังลูกค้า สิ่งที่จะต้องพัฒนาต่อไปในระยะเวลาอันใกล้นี้คือ การระบุและทำความเข้าใจลูกค้าของเรา การเพิ่มความถี่และพัฒนาคอนเทนต์ การเพิ่มช่องทางการขายทางออนไลน์ รวมถึงดึง TikToker ชาวกะเหรี่ยงร่วมกระตุ้นยอดขาย เมื่อมียอดขายมากขึ้น เราก็จะช่วยเหลือชาวบ้านได้มากขึ้น และยังเป็นการขยายเครือข่ายคนรุ่นใหม่ที่จะร่วมอนุรักษ์ผ้าทอพื้นถิ่นในอนาคต”

ด้าน นายกิตติเดช-นายธันวา เทศแย้ม สองพี่น้องเจ้าของกิจการเพื่อสังคม “คนทะเลอีกหนึ่ง SE ที่ผ่านเข้ารอบ 7 ทีมสุดท้าย กล่าวว่า “หลังได้เข้าร่วมเวิร์กชอปการพัฒนาแผนการจัดการผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ทำให้ คนทะเล เห็นภาพการสร้างอิมแพคต่อสังคมที่สามารถขยายได้กว้างขึ้น เช่น การเพิ่มรายได้ให้คนในชุมชนผ่านการรับซื้ออาหารทะเลแปรรูปเพื่อนำมาใส่บรรจุภัณฑ์สวยงามและจำหน่ายเป็นของฝากให้กับนักท่องเที่ยว รวมถึงการขยายกลุ่มผู้นำเที่ยวทริปท่องเที่ยววิถีชุมชน โดยเราจะจัดอบรมให้ความรู้และทำสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวให้ นอกจากนี้ ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล เราจะนำกำไรส่วนหนึ่งจากทริปท่องเที่ยวฯ มาเป็นเงินทุนในการเพิ่มจำนวน ‘บ้านปลา’ หรือ ‘ซั้งกอ’ แหล่งอาศัยของสัตว์น้ำและแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็ก”

สำหรับ 7 กิจการเพื่อสังคมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย (โดยไม่เรียงลำดับคะแนน) ใน Incubation Program ได้นำเสนอโซลูชันแก้ปัญหาสังคมที่ครอบคลุมหลายมิติสำคัญ ดังนี้

  • ชันโรง: อนุรักษ์ป่าชายเลน จ.กระบี่ สร้างมูลค่าเพิ่มผึ้งจิ๋ว “ชันโรง” สู่การฟื้นฟูป่าของชุมชน การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากชนิด และการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
  • คนทะเล: อนุรักษ์อ่าวทุ่งน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ ผนึกชุมชนขยายเครือข่ายประมงยั่งยืน สู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่สร้างรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการท่องเที่ยว
  • Refield Lab: ออกแบบพื้นที่สีเขียวด้วยภูมิสถาปัตย์ สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย สู่การวางแนวทางพัฒนาพื้นที่ด้วย Nature-Based Solutions คืนสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์สู่ชุมชน
  • Zeefedz: ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากธุรกิจบ่อเลี้ยงกุ้ง ด้วย “นวัตกรรมอาหารเสริมชีวภาพ” ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ ไร้สารเคมีตกค้าง สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร
  • Karen Design: แก้ปัญหาความยากจนของชนเผ่ากะเหรี่ยงในพื้นที่แม่ฮ่องสอน สร้างรายได้เสริมชุมชนด้วยงานคราฟต์ “ผ้าทอมือ-โคมไฟจากเปลือกข้าวโพด”
  • CHICK VILLAGE: คอมมูนิตี้ของคนเลี้ยงไก่ ที่ส่งเสริมให้ชุมชนมีรายได้ที่สม่ำเสมอ ลดภาระหนี้สินครัวเรือน ผ่านการอัปสกิลเลี้ยงไก่ไข่เพื่อจำหน่ายและการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
  • สำนักพิมพ์ผีเสื้อปีกบาง: ติดปีกความฝัน “ผู้พิการไทย” สู่เส้นทาง “นักเขียน” เปิดพื้นที่แห่งโอกาสที่พร้อมเปิดให้คนพิการได้แสดงศักยภาพและสร้างสรรค์ผลงานเขียน ต่อยอดสู่สินค้าที่ระลึกต่าง ๆ ในอนาคต

ร่วมติดตามความเคลื่อนไหวของกิจกรรม ตลอดจนร่วมลุ้นกับการประกาศผลผู้ชนะ Incubation Programภายใต้โครงการ Banpu Campions for Change ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก www.facebook.com/banpuchampions

มาปลดล็อกความเป็นไปได้ที่ไม่สิ้นสุดของ Net-Zero ไปกับเรา

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ เผยผลประกอบการ ไตรมาส 1 ปี 2567 มีรายได้จากการขายรวม 1,088 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 38,810 ล้านบาท) กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) รวม 250 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 8,924 ล้านบาท) และกำไรสุทธิ 43.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,552 ล้านบาท) ในช่วงที่ผ่านมาแม้ต้องเผชิญกับความผันผวนของราคาพลังงานในตลาดโลก บริษัทฯ ยังคงบริหารจัดการธุรกิจและต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างกระแส  เงินสดได้อย่างต่อเนื่อง ด้านธุรกิจก๊าซธรรมชาติ พร้อมเดินหน้าสู่การบรรลุเป้าหมาย Net Zero เต็มพิกัด โดยมีโครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) ในสหรัฐอเมริกาที่เตรียมดำเนินการในปีนี้ ขณะที่กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน โรงงานผลิตแบตเตอรี่ในไทยได้เริ่มส่งมอบแบตเตอรี่ให้กับลูกค้าในประเทศไทยแล้ว

นายสินนท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในไตรมาส 1   ปี 2567 บริษัทฯ ยังคงมุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและบริหารจัดการต้นทุนอย่างรัดกุม ยกระดับ  การดำเนินงานของทุกกลุ่มธุรกิจใน 9 ประเทศ และเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อคงความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มธุรกิจแหล่งพลังงานและผลิตพลังงาน มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนเพื่อตอบสนองต่อภาวะราคาพลังงานที่ผันผวน สำหรับกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน มีความคืบหน้าของโรงงานประกอบแบตเตอรี่ในประเทศไทยที่ได้เริ่มส่งมอบแบตเตอรี่ชุดแรกแล้ว นอกจากนั้น เรายังมุ่งบริหารพอร์ตโฟลิโอให้สอดคล้องไปกับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านการจัดสรรงบประมาณการลงทุนอย่างเหมาะสมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน”

สำหรับผลการดำเนินงานของ 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ในไตรมาส 1 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

กลุ่มธุรกิจแหล่งพลังงาน ด้านธุรกิจเหมือง บริษัทฯ เร่งดำเนินมาตรการต่าง ๆ ทั้งการควบคุมต้นทุนการผลิต การเสริมประสิทธิภาพในการผลิตและการขนส่ง ที่ช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรและลดสิ่งเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต และดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อให้ได้คุณภาพของสินค้าตรงตามความต้องการของลูกค้า ทำให้ยังคงสร้างกระแสเงินสดได้อย่างแข็งแกร่ง ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัทฯ ยังคงใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากราคาก๊าซธรรมชาติที่มีความผันผวน ในส่วนโครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) ในสหรัฐอเมริกา เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ใน Scope 1 และ 2 ในปี 2568 โครงการแรก “Barnett Zero” ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ขณะที่โครงการที่สอง “Cotton Cove” ตั้งเป้าเริ่มดำเนินการภายในปี 2567 นี้ โดยแต่ละโครงการมีอัตราการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 210,000 และ 45,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปีตามลำดับ

กลุ่มธุรกิจผลิตพลังงาน สำหรับธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน มีผลการดำเนินงานตามเป้าและคงประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าที่ดีต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยบวกจากการเติบโตของความต้องการการใช้ไฟฟ้าในทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยเฉพาะจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่มีเสถียรภาพและสร้างความมั่นคงในระบบการจ่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับความต้องการในช่วงที่สภาพภูมิอากาศมีความผันผวน อีกทั้งยังมีความเติบโตของการใช้ AI และ ธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศต่าง ๆ สำหรับธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม และออสเตรเลีย ยังคงรายงานผลการดำเนินงานที่ดี สร้างกระแสเงินสดอย่างสม่ำเสมอ แม้ในไตรมาสนี้จะเผชิญกับสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล

กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน มีการเติบโตแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง โดยการมุ่งขยายฐานลูกค้าและการลงทุนร่วมกับพันธมิตรใหม่ ๆ  ในธุรกิจแบตเตอรี่และระบบกักเก็บพลังงาน (Battery & Energy Storage System Solutions: BESS) โรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนภายใต้ความร่วมมือระหว่าง บ้านปู เน็กซ์ และ เอส โวลต์ เอเนอร์จี้ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ และส่งมอบแบตเตอรี่ให้กับลูกค้าในประเทศไทยมากกว่า 20,000 ชุด โดยมีเป้าหมายการผลิตรวม 60,000 ชุดต่อปี พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือจัดตั้งโรงงานและพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการกักเก็บพลังงาน เซลล์แบตเตอรี่ และการรีไซเคิลแบตเตอรี่ในขณะที่โรงงานประกอบแบตเตอรี่ดีพี เน็กซ์ ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของบ้านปู เน็กซ์ และดูราเพาเวอร์ สามารถส่งมอบแบตเตอรี่ชุดแรกให้กับเชิดชัยมอเตอร์เซลส์เพื่อนำไปใช้กับรถบัสไฟฟ้าแล้วเช่นกัน โดยมีเป้ากำลังการผลิตรวมที่ 1 กิกะวัตต์ชั่วโมง นอกจากนี้ ในไตรมาสนี้ยังมีการเปิดตัวโครงการ ‘Infinite Cafe Powered by Banpu NEXT’ เฟสที่สอง ที่จามจุรีสแควร์ ในรูปแบบป๊อปอัพคาเฟ่ที่มีระบบโซลาร์รูฟท๊อปผลิตไฟฟ้าพร้อมแบตเตอรี่กักเก็บไฟฟ้าในตัว ซึ่งเป็นการนำเสนอโซลูชันพลังงานสะอาดที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของผู้คน เพื่อขยายสู่กลุ่มลูกค้าธุรกิจบริการต่าง ๆ ในส่วนโครงการบริหารจัดการระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลาง (District Cooling System) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ โซนซี คาดว่าจะเปิดดำเนินการเต็มรูปแบบในไตรมาส 4 ปีนี้

จากความโดดเด่นในการบริหารจัดการและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในช่วงเวลาที่ผ่านมา ส่งผลให้บ้านปูได้รับ  3 รางวัลจากงาน Employee Experience Awards 2024 ซึ่งจัดโดย Human Resources Online ประเทศสิงคโปร์ ในประเภท Best Management Training Programme (ระดับ Silver) ประเภท Best Holistic Leadership Development Strategy (ระดับ Silver) และประเภท Best Executive Coaching Programme (ระดับ Bronze)สะท้อนความมุ่งมั่นของบ้านปูในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning Organization)  และการตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรบุคคลที่เป็นสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดของบริษัทฯ

“บ้านปูยังคงสร้างการเติบโตของพอร์ตโฟลิโอพลังงาน โดยมุ่งสานต่อโร้ดแม็พภารกิจการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานที่ยั่งยืน (Sustainable Energy Transition) สิ่งที่ผมให้ความสำคัญ คือการสร้างกระแสเงินสดให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น จากการดำเนินงานที่เต็มประสิทธิภาพของสินทรัพย์ต่าง ๆ ในทุกกลุ่มธุรกิจของบริษัทฯ โดยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและ AI เข้ามาสนับสนุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมการต่อยอดโอกาสเพิ่มรายได้จากการเลือกลงทุนที่จะให้ผลตอบแทนสูง โดยผสานความแข็งแกร่งทั้งในธุรกิจที่มีอยู่เดิมและธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพในการเติบโตไม่ว่าจะภาคพลังงานหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันก็เร่งผลักดันการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการดำเนินธุรกิจเพื่อร่วมขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำ

ผมเชื่อว่าการสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องในทุกมิติของบ้านปู ควบคู่ไปกับการมุ่งบรรลุเป้าด้านความยั่งยืนทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการในทุกกระบวนการทางธุรกิจ จะสร้างคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มได้อย่างแท้จริง” นายสินนท์ กล่าวปิดท้าย

เรทติ้ง A+ เสนอขายผู้ลงทุนทั่วไป ระหว่างวันที่ 7 9 พฤษภาคม 2567 ผ่าน 6 สถาบันการเงินชั้นนำ

ชูไอเดีย “ชุมชนแกร่ง ไทยแกร่ง” รุดปักหมุด “เชียงใหม่” ที่แรก!!

X

Right Click

No right click