จุดพลิกผัน: มีจำนวนประชากรใช้สมาร์ตโฟนมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรโลก
ภายในปี 2025: 81 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสำรวจคาดว่าจุดพลิกผันนี้จะเกิดขึ้นภายในปีนั้น
ในปี 2012 ทีมงาน Google Inside Search ได้เปิดเผยว่า “ต้องใช้การประมวลผลเพื่อตอบข้อคำถาม (Query) ของ Google Search หนึ่งคำถามมากพอๆ กันกับการประมวลผลที่ทำให้โปรแกรมของยานอพอลโลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นในระหว่างขึ้นบินและอยู่ภาคพื้นดินเลยทีเดียว!” นอกจากนี้สมาร์ตโฟนและแทบเล็ตในปัจจุบันยังมีความสามารถในการประมวลผลมากกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เคยรู้จักก่อนหน้านี้ซึ่งเคยครอบครองพื้นที่ห้องทั้งหมด (ที่ต้องใช้เป็นพื้นที่สำหรับติดตั้งมัน) เสียอีกคาดกันว่ายอดผู้ใช้บริการสมาร์ตโฟนทั่วโลกจะมียอดรวมทั้งสิ้น 3.5 พันล้านคนภายในปี 2019 หรือสามารถเจาะเข้าถึงประชากรโลกประมาณ 59 เปอร์เซ็นต์ แซงยอดของปี 2017 คือ 50 เปอร์เซ็นต์ และมีการเติบโตจากอัตราของปี 2013 ซึ่งเดิมอยู่ที่ระดับ 28 เปอร์เซ็นต์อย่างมาก ตัวอย่างเช่นที่ประเทศเคนยา บริษัท Safaricom ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำของประเทศรายงานว่ายอดขายสมาร์ตโฟนในปี 2014 คือ 67 เปอร์เซ็นต์ ส่วน GSMA พยากรณ์ว่าแอฟริกาจะมีจำนวนผู้ใช้สมาร์ตโฟนเกินกว่า 500 ล้านคนภายในปี 2020
การเปลี่ยนแปลงในส่วนของอุปกรณ์นั้น เกิดขึ้นบ้างแล้วในหลายๆ ประเทศทั่วทุกทวีป (โดยมีเอเชียนำกระแสอยู่ในปัจจุบัน) เพราะมีคนหันมาใช้สมาร์ตโฟนแทนเครื่องพีซีกันมากขึ้น และเมื่อเทคโนโลยีทำให้อุปกรณ์มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ แต่มีความสามารถในการประมวลผลเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้ราคาของเครื่องลดลงด้วย เช่นนี้แล้วการใช้สมาร์ตโฟนจึงมีแต่จะเพิ่มขึ้น
จากการเปิดเผยของ Google พบว่าประเทศในรูปที่ 2 มีการใช้สมาร์ตโฟนสูงกว่าพีซี
ทั้งนี้ ประเทศอย่างสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) มีแนวโน้มที่จะเข้าถึงจุดพลิกผันของการมีประชากรวัยผู้ใหญ่ที่ใช้สมาร์ตโฟนเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์มากที่สุด (รูปที่ 3)
สังคมกำลังมุ่งหน้าสู่การใช้เครื่องจักรที่ทำงานได้เร็วขึ้น เป็นเครื่องจักรที่ช่วยผู้ใช้ให้สามารถปฏิบัติภารกิจที่ยุ่งยากได้ในระหว่างการเดินทาง สิ่งที่เป็นไปได้มากที่สุดคือจำนวนของอุปกรณ์ที่แต่ละคนใช้จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ไม่ใช่เฉพาะการทำหน้าที่ใหม่ๆ เท่านั้น แต่ยังมีความชำนาญในการปฏิบัติงานเฉพาะด้านด้วย
ผลกระทบเชิงบวก
- ประชากรผู้ด้อยโอกาสซึ่งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือด้อยพัฒนามีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจมากขึ้น (“โครงข่ายที่เข้าถึงประชาชนโดยตรง”)
- เข้าถึงการศึกษา บริการด้านการดูแลสุขภาพและบริการของรัฐบาล
- การมีตัวตน
- เข้าถึงทักษะ มีโอกาสได้รับการจ้างงานมากขึ้น ประเภทของงานเปลี่ยนไป
- ขนาดตลาด/การค้าอิเล็กทรอนิกส์ขยายขึ้น
- มีข้อมูลมากขึ้น
- การมีส่วนร่วมของพลเมืองมากขึ้น
- การพัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตย/ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
- “เครือข่ายที่เข้าถึงประชาชนโดยตรง” (Last Mile) จะช่วยให้ความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับการชี้นำในทางที่ผิดและการเกิดภาวะเสียงก้องในห้องแคบนั่นเอง
ผลกระทบเชิงลบ
- มีการชี้นำในทางที่ผิดและเกิดภาวะเสียงก้องให้ห้องแคบ
- การแตกแยกทางการเมือง
- Walled Garden (การให้บริการในสภาพแวดล้อมแบบจำกัด, สำหรับผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น) ไม่อนุญาตให้มีการเข้าถึงอย่างเต็มที่ในบางภูมิภาค/ ประเทศ
ไม่ชัดเจนหรือเป็นไปได้ทั้งสองทาง
- 24/ 7 ออนไลน์ได้ตลอดเวลา ทั้งวันทั้งคืนและ 7 วันในสัปดาห์
- ขาดการแบ่งแยกระหว่างเรื่องธุรกิจกับเรื่องส่วนตัว
- จะอยู่ที่ไหนก็เข้าถึงได้ทุกที่
- ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องจากการผลิตจำนวนมาก
การเปลี่ยนแปลงในพฤติการณ์
ปี 1985 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray-2 คือเครื่องจักรซึ่งทำงานเร็วที่สุดในโลก แต่ไอโฟน 4 ซึ่งออกวางตลาดเดือนมิถุนายน ปี 2010 กลับมีความสามารถในการทำงานเทียบเท่า Cray-2 ปัจจุบันแอปเปิลวอตช์ทำงานเร็วได้เท่ากับไอโฟน 4 สองเครื่องในเวลาแค่ห้าปีให้หลัง และในขณะที่ราคาขายปลีกของสมาร์ตโฟนร่วงลงเหลือไม่ถึง 50 ดอลลาร์ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของมันกลับพุ่งทะยานและเป็นที่ยอมรับในตลาดเกิดใหม่อย่างรวดเร็ว อีกไม่นานคนก็จะมีซูเปอร์คอมพิวเตอร์พกพาอยู่ในกระเป๋ากันแทบทุกคน
ที่มา: HYPERLINK “http://pages.experts-exchange.com/processing-power-compared/” http://pages.experts-exchange.com/processing-power-compared/
เรื่อง : วิริญบิดร วัฒนา