จุดพลิกผัน: เกิดเมืองแห่งแรก เป็นเมืองขนาดที่มีผู้อยู่อาศัยกว่า 50,000 คน ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีไฟจราจร
ภายในปี 2025: 64 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสำรวจที่คาดว่าจุดพลิกผันดังกล่าวจะเกิดขึ้นภายในปีนั้น
เมืองหลายแห่งจะเชื่อมต่อบริการ สาธารณูปโภค และถนนเข้ากับอินเทอร์เน็ต เมืองอัจฉริยะดังกล่าวจะบริหารจัดการพลังงาน การไหลเวียนของวัตถุดิบ ระบบโลจิสติกส์ และการจราจรของตน เมืองหัวก้าวหน้าอย่างเช่น สิงคโปร์และบาร์เซโลนา ต่างก็เปิดให้บริการที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลแบบใหม่หลายอย่างแล้ว เช่น โซลูชั่นหรือการใช้ซอฟต์แวร์ควบคุมทีจอดรถอัจฉริยะ การเก็บขยะอัจฉริยะ และระบบแสงสว่างอัจฉริยะ เป็นต้น เมืองอัจฉริยะยังคงขยายเครือข่ายเทคโนโลยีเซนเซอร์และทำการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลของตนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นแกนหลักสำหรับการเชื่อมต่อโครงการเทคโนโลยีต่างๆ และการเพิ่มบริการในอนาคต บนฐานของการวิเคราะห์ข้อมูลและโมเดลเชิงพยากรณ์ทั้งหลาย
ผลกระทบเชิงบวก
- การใช้ทรัพยากรได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
- ผลิตภาพเพิ่มขึ้น
- ความหนาแน่นมากขึ้น
- เพิ่มคุณภาพชีวิต
- ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม
- เพิ่มช่องทางเข้าถึงทรัพยากรแก่ประชาชนทั่วไป
- ต้นทุนของการให้บริการลดลง
- การใช้ประโยชน์และสภาพของทรัพยากรมีความโปร่งใสมากขึ้น
- อาชญากรรมลดลง
- มีความสามารถในการเคลื่อนย้ายมากขึ้น
- การผลิตและการบริโภคพลังงานแบบกระจายอำนาจและเป็นมิตรต่อสภาพอากาศ
- การกระจายการผลิตสินค้า
- ความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น (ตามผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ)
- มลภาวะลดลง (อากาศ เสียง)
- การเข้าถึงการศึกษามากขึ้น
- ความสามารถในการเข้าถึงตลาดเร็วขึ้น
- มีการจ้างงานมากขึ้น
- รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ฉลาดขึ้น
ผลกระทบเชิงลบ
- การสอดส่องความเป็นส่วนตัว
- ความเสี่ยงต่อการล่มสลายฉับพลัน (ทุกอย่างดับสนิท) ถ้าระบบพลังงานล้มเหลว
- มีความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีบนโลกไซเบอร์
ไม่ชัดเจนหรือเป็นไปได้ทั้งสองทาง
- ผลกระทบต่อวัฒนธรรมและอารมณ์ความรู้สึกของเมือง
- การเปลี่ยนแปลงจริตของคนในเมือง
การเปลี่ยนแปลงในพฤติการณ์
จากรายงานที่ตีพิมพ์ใน The Future Internet บอกว่า : “เมืองซานตันเดร์ (Santander) ในสเปนทางตอนเหนือมีเซนเซอร์เชื่อมต่ออาคาร โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง เครือข่าย และสาธารณูปโภคต่างๆ ถึง 20,000 ตัว เมืองแห่งนี้มีพื้นที่สำหรับการทดลองและตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างๆ เช่น วิธีการปฏิสัมพันธ์ และการบริหารจัดการ (Interaction and Management Protocols) เทคโนโลยีของอุปกรณ์ (Devices Technologies) และบริการสนับสนุน เช่น การค้นหา การจัดการตัวตนหรืออัตลักษณ์ และความปลอดภัย”
ที่มา: “Smart Cities and the Future Internet: Towards Cooperation Frameworks for Open Innovation,” H. Schaffers, N. Komminos, M. Pallot, B. Trousse, M. Nilsson and A. Oliveira, The Future Internet, J. Domingue et al., (eds) , LNCS 6656, 2011, pp. 431-446, HYPERLINK “http://link.springer.com/chapter/10.1007%2F978-3-642-20898-0_31” http://link.springer.com/chapter/10.1007 2F978-3-642-20898-0_31
เรื่อง : วิริญบิดร วัฒนา