สับสนกันทั้งประเทศกับโครงการแจกเงินดิจิตัลคนละ 10,000 บาทของรัฐบาล
และความสับสนเลยกลายเป็นความกังวลของหลายฝ่าย ทั้งอดีตผู้ว่าแบงก์ชาติและนักเศรษฐศาสตร์สำคัญๆ ก็ออกมาต่อต้าน โดยเกรงว่าจะได้ไม่คุ้มเสีย เกิด Moral Hazard และการก่อหนี้มาแจกจะกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาคของประเทศในระยะยาว
ส่วนนักเทคนิคก็พากันสงสัยในรายละเอียดของบล็อกเชนว่าไส้ในจะเป็นอย่างไร จะใช้จ่ายกันได้ทันใจหรือไม่ และจะมีช่องโหว่ให้ถูกแฮกหรือเปล่า ฯลฯ
สับสนเพราะ รัฐบาลงึมงำ ไม่ยอมบอกความจริงทั้งหมด
เช่นว่า บล็อกเชนวงนี้จะเป็นวงปิดหรือวงเปิด ถ้าเป็นวงปิด ใครจะเป็นเจ้าของและเป็นผู้ดำเนินการ...รัฐบาล หรือ แบงก์ชาติ หรือเป็น Joint Venture กับเอกชน?
ต่อไปรัฐบาลจะใช้บล็อกเชนและวอลเล็ตของโครงการนี้กับเรื่องอื่นอีกหรือไม่ เช่น ขอให้ราษฎรนำเงินบาทที่มีอยู่ในบัญชีธนาคารมาแลกเป็นเงินดิจิตัล (Bath Token) ให้หมด แล้วจ่ายดอกเบี้ยให้ผ่านวอลเล็ตเลยหรือไม่ และถ้าจะถอนเป็นเงินสดจะถอนที่ไหน/อย่างไร? หรือจะจัดเก็บภาษีโดยตรงโดยอ้อมผ่านวอลเล็ตเลยหรือไม่? หรือจะใส่โปรแกรม (smart contract) ต่างๆ เพื่อสร้างเงื่อนไขให้วอลเล็ตเหล่านั้น ทำอะไรได้ หรือทำอะไรไม่ได้ ในอนาคต หรือไม่/อย่างไร ฯลฯ
ยังมีความกังวลและข้อสงสัยในใจอีกมาก ที่รัฐบาลตอบไม่ได้ หรืออาจจะอุบไว้ ไม่ยอมตอบ
ผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก
ไม่ใช่แค่เรื่องรัฐบาลแจกเงิน แต่มันเป็นเรื่องที่จะสามารถเปลี่ยนโครงสร้างทางการเงินของประเทศได้เลย และจะเพิ่มอำนาจในการควบคุมให้กับรัฐบาลอีกมหาศาล
อย่างแรกคือเงินดิจิตัลแบบใหม่นี้ ไม่เหมือนเงินดิจิตัลแบบเดิมที่เราใช้กันอยู่ผ่านแอ็ปธนาคารต่างๆ
เงินดิจิตัลใหม่นี้ (ของเรียกว่า Bath Token ไปพลางก่อน) มันถูกสร้างขึ้นโดยมีซอฟท์แวร์ที่เรียกว่า “บล็อกเชน” เป็นตัวบันทึกบัญชีใช้จ่ายของเงิน ทุกๆ ธุรกรรม และสามารถเรียกดูย้อนหลังได้ทุกธุรกรรมโดยผ่านอินเทอร์เน็ต
ไม่เหมือนกับเงินดิจิตัลแบบเดิมที่เวลาใช้จ่ายและรับเงิน (โอนไปเข้าบัญชีของคนอื่นหรือรับจากบัญชีของคนอื่น) ธนาคารพาณิชย์จะเป็นผู้บันทึกบัญชีให้เรา (และจะตัดหรือเพิ่มยอดเงินในบัญชีของเราตามจำนวนนั้น) และในที่สุดทุกธนาคารก็จะไปเคลียร์กันที่แบงก์ชาติทุกวัน
ดังนั้นเงินดิจิตัลใหม่นี้ เมื่อใช้จ่ายกัน ก็จะเป็นการใช้จ่ายโดยตรงกันเอง ระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอน โดยไม่ต้องผ่านแบงก์
เช่น เมื่อเราไปซื้อของจาก 7-11 เราก็จะโอน Bath Token จากวอลเล็ตของเราไปเข้าวอลเล็ตของร้านโดยตรงได้เลย
เห็นไหมครับว่า ธนาคารพาณิชย์หายไปจากระบบใหม่นี้ทันที!
จะเป็นยังไงต่อ ถ้าในอนาคต รัฐบาล (ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้ดำเนินการบล็อกเชนวงนี้) สามารถจ่ายดอกเบี้ยโดยตรงให้กับเงินดิจิตัลที่ค้างอยู่ในวอลเล็ต และเงินในธนาคารที่พวกเรานำไปแลกเป็นเงินดิจิตัลใหม่แล้วค้างไว้ในวอลเล็ตของเรา
หรืออีกขั้นหนึ่ง ถ้ารัฐบาลประกาศให้เจ้าของวอลเล็ตยื่นเรื่องเข้ามาขอกู้เงินโดยตรงกับรัฐบาล โดยเมื่อรัฐบาลประเมินแล้วเห็นว่าเครดิตมั่นคง ก็จะเดบิตเงินตรงเข้าวอลเลตให้เลย และคอยตัดจ่ายเงินต้นบางส่วนกลับเข้าวอลเล็ตของรัฐบาลทุกสิ้นเดือนพร้อมดอกเบี้ยจ่าย ตามเทอมที่ตกลงกันไว้
นั่นเท่ากับอุตสาหกรรมการเงินย่อมต้องเปลี่ยนแปลงไปสิ้นเชิง
ข้อที่สองคือ เงินดิจิตัลใหม่นี้ มันสามารถโปรแกรม ให้ทำโน่นทำนี่ หรือห้ามโน่นห้ามนี่ได้ด้วย โดยใช้ smart contract (ในทางเทคนิคคือเป็นโค้ดคำสั่งที่เพิ่งเข้าไปในบล็อกเชน)
เช่น โปรแกรมให้เจ้าของวอลเล็ตที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ ไม่สามารถโอนเงินจากวอลเล็ตดังกล่าว ไปซื้อเหล้าบุหรี่ ซื้อปืนหรือลูกกระสุน หรือเข้าผับบาร์ เป็นต้น
รัฐบาลยังสามารถโปรแกรมให้เจ้าของวอลเล็ตจ่ายภาษีเงินได้หรือหัก ณ ที่จ่าย ทันทีหรือตอนสิ้นปีโดยไม่ชักช้า หรือหักภาษี VAT จากวอลเล็ตของร้านค้าโดยไม่ต้องรอยื่นตอนสิ้นเดือน
ทั้งหมดนี้โดยผ่านการสร้างคำสั่งให้หักจากวอลเล็ตโดยตรง ทำให้ค่าโสหุ้ยในการเก็บภาษีของรัฐบาลลดลง และเก็บได้ทรงประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็จะทำให้กรมสรรพากรต้องลดจำนวนเจ้าหน้าที่ลงแยะเหมือนกัน
อำนาจใหม่ของรัฐบาลแบบนี้ มันอนุญาตให้รัฐบาลควบคุมสอดส่องพฤติกรรมของราษฎรได้โดยผ่านเงินและการใช้จ่ายเงิน ถึงขั้น ถ้าจะอายัดบัญชีใครก็ทำได้เลย หรือถ้าจะประกาศใช้แต้มศีลธรรมแบบจีน ก็ทำได้ ซึ่งถ้าออกแบบด้วยความหละหลวมแล้ว ก็จะเกิดผลเสียต่อเสรีภาพและความเป็นส่วนตัวของราษฎรอย่างมาก
ทว่า บล็อกเชนก็มีข้อดีแยะ
อย่างน้อยมันก็จะทำให้มูลค่าแฝงต่างๆ ที่แฝงตัวอยู่ในระบบเศรษฐกิจและสังคมไทย เปิดเผยตัวออกมา จับต้องได้ และนำมาเพิ่มความมั่งคั่งให้กับเจ้าของได้
เช่นโครงการ Soft Power ของรัฐบาลนั้น ถ้าเห็นว่าใครหรือชุมชนไหนมีดี ก็สามารถนำมาสร้าง Economic Model บนบล็อกเชนได้เลย แล้วให้นำมูลค่าแฝงที่คิดว่ามีเหล่านั้น (เช่นชื่อเสียง ลิขสิทธิ สิทธิบัตร ฯลฯ) มาแปลงเป็น Token (เรียกว่า “NFT” หรือ Non Fungible Token) ขายให้กับนักลงทุนที่เห็นคุณค่าได้ทันทีเลย เป็นต้น
ผมเห็นว่าเงินดิจิตัลแบบใหม่ (ทั่วโลกเขาเรียกว่า CBDC หรือ Central Bank Digital Currency) เป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ถ้าไม่เกิดวันนี้ อีกไม่นานก็ต้องเกิด
ถ้าดูจากบล็อกของ IMF และอ่านรายงานการประชุม G-20 ครั้งล่าสุดที่เปิดเผยมาแล้ว เราเห็นแล้วว่ารัฐบาลเกือบทั่วโลกเตรียมตัวไปสู่เงินดิจิตัลแบบใหม่นี้แล้ว แม้รายงานจะไม่บอกแบบโต้งๆ แต่ก็พอเดาได้
SWIFT เอง ก็หันมาทดลองใช้ระบบบล็อกเชนและ Token ในการโอนเงินระหว่างประเทศในเครือข่ายธนาคารทั่วโลกไปแล้วด้วย
ถ้าเดินตาม Road Map ของการประชุม G-20 ครั้งล่าสุดที่อินเดียเมื่อเดือนที่แล้ว พบว่าประเทศยักษ์ใหญ่ต้องการให้สร้าง DPI หรือ Digital Platform Infrastructure เสียก่อน โดยทำสามขั้นตอน
หนึ่งคือ Digital IDs ที่รัฐบาลจะต้องจูงใจให้ราษฎรแจ้งข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับตัวเองให้อยู่ในรูปดิจิตัล
ขั้นต่อไปคือสร้างแพล็ทฟอร์มให้ทุกคนสามารถแชร์ข้อมูลส่วนตัวกันได้โดยปลอดภัยและคำนึงถึงสิทธิความเป็นส่วนตัว
สามคือความเร็วของธุรกรรม (ซึ่งข้อนี้บล็อกเชนมีข้อจำกัดอยู่มาก)
ผมไม่แน่ใจว่าคนของรัฐบาลได้ศึกษาไกด์ไลน์นี้ด้วยหรือไม่?
ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
9 ตุลาคม 2566
ดิจิทัล เวนเจอร์ส บริษัทในเครือด้านการลงทุนและการค้นคว้านวัตกรรมการเงิน ของธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศเพิ่มงบลงทุนในหน่วยงานทุนองค์กร หรือ Corporate Venture Capital อีก 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้มีขนาดเงินลงทุนใหญ่ที่สุดในประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
โดยดร. อารักษ์ สุธีวงศ์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Financial Officer and Chief Strategy Officer ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ธนาคารฯ ประสบความสำเร็จในด้านการลงทุน รวมทั้งการร่วมเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับเวนเจอร์แคปปิตอลและสตาร์ทอัพต่างๆ ทำให้ธนาคารฯ สามารถเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีชั้นสูง (Deep Technology) โดยในปัจจุบันธนาคารไทยพาณิชย์ได้มีเครือข่ายพันธมิตรกับสตาร์ทอัพ ทั่วโลกกว่า 800 ราย และเวนเจอร์แคปปิตอลในต่างประเทศอีกกว่า 60 ราย จาก 29 ประเทศทั่วโลก ทำให้ ธนาคารฯ สามารถเข้าถึง และเรียนรู้นวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดจากกิจการที่ได้เข้าไปลงทุน อาทิ บล็อคเชน ควอนตัมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งการทำงานขององค์กรธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไป และจากความสำเร็จที่ผ่านมา ธนาคารไทยพาณิชย์จึงมีความมั่นใจที่จะเพิ่มเงินลงทุนอีก 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1,750 ล้านบาท รวมเป็นเงินลงทุนตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 3,000 ล้านบาท
ดร.อารักษ์ เปิดเผยว่า เงินทุน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐก้อนแรก นั้นเปรียบเหมือนกับเงินที่ใช้กับการเรียนรู้ด้านการลงทุน ทั้งผ่านเวนเจอร์แคปปิตอล และการมองหาผลตอบแทนจากการลงทุนซึ่งวันนี้เริ่มเห็นศักยภาพการลงทุนในสตาร์ทอัพโดยตรง ดังนั้นเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นจะเน้นไปที่การลงทุนตรงกับสตาร์ทอัพที่น่าสนใจเพิ่มขึ้น แต่ยังคงรักษาเป้าหมายการมองหานวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ให้กับองค์กรไว้อยู่ด้วย
ทางด้านพลภัทร อัครปรีดี กรรมการผู้จัดการ หน่วยงานทุนองค์กร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวเสริมว่า ในการเพิ่มงบลงทุนในครั้งนี้ ดิจิทัล เวนเจอร์สจะมุ่งเฟ้นหาบริษัทสตาร์ทอัพและเวนเจอร์แคปปิตอลจากทั่วโลกที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีหลักที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจ และสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ ของธนาคาร เพื่อประโยชน์แก่ลูกค้าองค์กรและลูกค้าทั่วไปของธนาคาร
ดร. อารักษ์ เปิดเผยว่า นโยบายการลงทุนจะมุ่งเน้นในผลิตภัณฑ์และบริการ และเทคโนโลยีชั้นสูง อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) บล็อกเชน ความปลอดภัยบนไซเบอร์ (Cybersecurity) กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล (Big Data / Data Analysis) และอื่นๆ ที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดให้กับบริการต่างๆ ของธนาคาร การเพิ่มเงินลงทุนเชิงกลยุทธ์ในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในการเพิ่มศักยภาพในการเฟ้นหาและเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้กับธนาคาร เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินให้แก่ลูกค้าในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้กลยุทธ์นี้ยังสอดคล้องกับกลยุทธ์ Going Upside Down หรือตีลังกากลับหัว ที่จะทำให้ธนาคารมีศักยภาพด้านดิจิทัล และมีโมเดลการทำงานที่เหมาะสมกับความท้าทายของโลกดิจิทัลในอนาคต สามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคการเงินการธนาคาร เศรษฐกิจในภาพรวม และการพัฒนาสังคมของประเทศไทยให้ก้าวทันโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ดิจิทัล เวนเจอร์ส ได้ลงทุนเชิงกลยุทธ์ทั้งในเทคสตาร์ทอัพโดยตรง และลงทุนในเวนเจอร์ส แคปปิตอล ได้แก่