January 22, 2025
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 806

Business School of Practical Professional

July 28, 2017 3057

หากเอ่ยชื่อ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ใครหลายคนอาจไม่คุ้นหูเท่าเอ่ยชื่อ “พณิชยการพระนคร”

สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงในการผลิตนักการบัญชีผู้เชี่ยวชาญเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศมาแล้วอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์การศึกษาด้านบัญชีของไทย ซึ่งในปัจจุบันได้เปลี่ยนสถานะหลอมรวมเป็นหนึ่งใน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เรียบร้อยแล้ว

วันนี้เราจะมาฟังว่า ท่ามกลางสภาพสังคม เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปเร็วแบบติดจรวด ในยุค Digital Economy สถาบันอันทรงเกียรติแห่งนี้จะมีนโยบายตลอดจนกลยุทธ์ในการเดินหมากที่ก้าวนำ Business School แห่งอื่นอย่างไร ผศ.วราพันธ์ มุ่งวิชา คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ชี้แจงว่า

“ทุกวันนี้โลกเราเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ทั้งด้วยเหตุที่มาจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลก อย่าง ราคาน้ำมันโลกที่อยู่ๆ ก็ลดราคาลงฮวบฮาบ และเทรนด์เศรษฐกิจโลก ที่พัฒนาไปในทิศทางของ Digital Economy มากขึ้น ทำให้การทำธุรกิจทุกรูปแบบถูกติด Speed ปัจจัยเหล่านี้ย่อมส่งผลให้ ทรัพยากรบุคคลที่แวดวงธุรกิจปัจจุบันต้องการรับเข้าไปทำงานในองค์กร จำเป็นต้องมีคุณสมบัติเด่นในการปรับตัวรับกับความเปลี่ยนแปลงให้ได้อย่างรวดเร็ว และมี

วิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล มองเห็นโอกาสในทุกวิกฤตที่เกิดขึ้น และแปรให้เป็นหนทางในการสร้างประโยชน์ให้กับตัวเอง สังคม ประเทศชาติได้”

ไม่เพียงเท่านั้น หัวเรือใหญ่ของ Business School แห่งนี้ยังมองว่า ยิ่งใกล้เวลาที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่เขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AEC ในปลายปี 2558 นี้ ยิ่งต้องเร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของประเทศแบบเต็มสูบ ซึ่งการพัฒนานี้จะดำเนินไปได้รวดเร็วแค่ไหน ขึ้นอยู่กับคนทำงานในทุกภาคอุตสาหกรรมที่ต้องมีคุณภาพ แม่นทั้งทฤษฎี และเก่งด้านการปฏิบัติ 

“โดยส่วนตัวมองว่าทางเลือกทางรอดที่จะทำให้ประเทศไทยโดดเด่นและยืนหยัดเป็นผู้นำในอาเซียนได้ ไม่ใช่ การผลิตคนที่จะไปเป็นแรงงานในภาคการผลิต งานตรงนี้ให้ไหลไปในประเทศกลุ่ม CLMV ที่เขามีอัตราค่าจ้างแรงงานต่ำกว่าเราดีกว่า ส่วนบ้านเราต้องมั่นคงในจุดยืนว่าจะผลิตคนให้เขาไปเป็นหัวหน้า เป็น Supervisor สร้างการรับรู้ให้บริษัททั้งในและต่างประเทศที่มาตั้งฐานการผลิตในไทยว่าถ้าเขาต้องการคนทำงานในระดับ Practical Worker ให้เขาจ้างคนไทย ซึ่งโอกาสที่เกิดขึ้นตรงนี้ก็จะส่งต่อมายังภารกิจของสถาบันการศึกษาอย่างราชมงคลโดยตรง เพราะกลุ่มบัณฑิตนักปฏิบัติที่เราผลิตออกไป จะสามารถไปเติมเต็มความต้องการ Skill Worker ให้กับทุกธุรกิจได้แน่นอน”

และในฐานะผู้บริหาร Business School ที่ผลิตบัณฑิตผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติ ผศ.วราพันธ์ ได้วางหลักสูตรและแนวทางการเรียนการสอนของสถาบันในแบบที่เธอเชื่อมั่นว่าจะตอบโจทย์ทั้งผู้เรียนและความต้องการของสังคมไทยได้แน่นอน

“เราต้องยอมรับว่า วัตถุดิบหรือนักศึกษาที่ป้อนเข้ามาในสมัยนี้ เขามีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป ชีวิตของเขาคลุกคลีอยู่กับโซเชียล-เน็ตเวิร์ก ทุกวันนี้เขาไม่ได้อ่านหรือ consume เรื่องราวเนื้อหาแบบเดิมๆ แล้ว ข่าวจะมาถึงตัวเขาเร็ว อย่าคิดว่าถ้าเราถามถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน หรือเรื่องราวที่กำลังอยู่ในกระแส แล้วเด็กสมัยนี้จะไม่รู้นะ เพราะโซเชียลเน็ตเวิร์ก ทำให้เขารู้ทุกอย่าง เมื่อเป็นแบบนี้ การเรียนการสอนของเราก็ต้องปรับ อาจารย์จะไปสอนแบบยัดเยียดความรู้ให้เขาไม่ได้อีกแล้ว ต้องกระตุ้นให้เขาได้ใช้ความคิดด้วยการให้เขาออกมา Present ในสิ่งที่เขารู้ และอาจารย์ก็ต้องเปลี่ยนบทบาทไปเป็นผู้ฟัง และผู้รับมากขึ้น ให้ผู้เรียนได้แสดงออกให้มาก แล้วถ้าสิ่งที่เขาแสดงออกมามันไม่ถูกต้อง อาจารย์ค่อยทำหน้าที่ให้ความรู้ทางทฤษฎีเพื่อปรับความรู้ให้เขา เพราะฉะนั้นทุกวันนี้จะให้นโยบายอาจารย์ไปให้ทำการเรียนการสอนในรูปแบบนี้ ซึ่งที่ผ่านมานักศึกษาก็ชอบและทำความเข้าใจกับบทเรียนในวิถีทางที่เขาชอบได้มากขึ้น”

นอกจากนั้น คณบดีของ Business School แห่งนี้ยังวางกลยุทธ์ปรับหลักสูตรให้มีเนื้อหาการทำธุรกิจแบบอาเซียนสอดแทรกมาด้วยในทุกรายวิชา ในทุกระดับทั้งปริญญาตรี โท เอก รวมถึงเพิ่มรายวิชาใหม่ เช่น ASEAN Logistics ไปด้วย ซึ่งปรากฏว่ามีผู้เรียนสนใจเรียนมากมาย โดยนโยบายนี้เกิดขึ้นเพราะ ผศ.วราพันธ์ เล็งเห็นว่า ควรเสริมสร้างทักษะความเป็นอินเตอร์ให้นักศึกษาด้วย เพื่อให้เขาพร้อมก้าวสู่ตลาดแรงงานอาเซียน โดยเฉพาะในวิชาชีพนักบัญชี ที่เป็น 1 ใน 7 อาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรีในประเทศสมาชิกอาเซียนด้วย

ขณะเดียวกัน ในปีการศึกษา 2559 ผศ.วราพันธ์ เผยถึงอีกหนึ่งนวัตกรรมการศึกษา กับการเปิดหลักสูตรต่อเนื่อง ตรี-โท-เอก ทางด้านบริหารธุรกิจ ซึ่งจะรับนักศึกษาเข้ามาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี และเสนอให้เขาเรียนต่อกับเราไปจนจบระดับปริญญาเอก ซึ่งผู้บริหาร Business School ท่านนี้มองว่า การวางหลักสูตรแบบนี้จะช่วยให้เขาประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย แถมตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่ไม่อยากใช้เวลานานมากเกินไปในการศึกษา เพราะรายวิชาที่เรียนสามารถโอนไปเป็นฐานศึกษาต่อในแต่ละระดับได้ทันที ไม่ต้องไปเริ่มเรียนวิชาพื้นฐานใหม่ให้เสียเวลาเลย

Leader Quote

รักในสิ่งที่เราทํา ทําในสิ่งที่เรารัก เราจะทํางานอย่างมีความสุข ธุรกิจการศึกษาจําเป็นต้องใช้เวลาในการบ่มเพาะ เพื่อให้งานวิชาการเติบโต ก้าวหน้า ผู้ที่มาประสานกับเราคือ นักศึกษา สถานประกอบการจะก้าวเติบโตไปพร้อมกัน

 
Last modified on Wednesday, 04 December 2019 05:59
X

Right Click

No right click