กุ้ยหลิน แบงก์ (Guilin Bank) ธนาคารท้องถิ่นในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน รุกดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อผลักดันความร่วมมือทางการเงินข้ามพรมแดนระหว่างจีนกับอาเซียน โดยเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการช่วยให้กว่างซีก้าวขึ้นเป็นที่ราบสูงแห่งใหม่ของจีนที่รองรับการค้าและความร่วมมือกับอาเซียน
เป็นที่ทราบว่า กุ้ยหลิน แบงก์ มุ่งมั่นทุ่มเทให้กับการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรในระดับสูง ตลอดจนเสริมสร้าง "ความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์" ที่แข็งแกร่ง และใช้ความคิดริเริ่มในการบูรณาการเข้ากับรูปแบบการพัฒนาใหม่ของภูมิภาค
ในปีที่ผ่านมา ทางธนาคารได้ดำเนินการวิเคราะห์และวิจัยเชิงคาดการณ์เกี่ยวกับอนาคตของความร่วมมือทางอุตสาหกรรมระหว่างจีนกับอาเซียน และสร้างโครงสร้างองค์กรที่โดดเด่นซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาธุรกิจของอาเซียน
ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ในช่วงสามปีที่ผ่านมา ทางธนาคารได้ให้สินเชื่อมากกว่า 1.051 แสนล้านหยวนแก่โครงการสำคัญ ๆ ภายใต้ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative หรือ BRI) โดยมีปริมาณรายได้และรายจ่ายข้ามพรมแดนเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ ปริมาณการชำระบัญชีข้ามพรมแดนกับสมาชิกอาเซียนและสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 40% ของรายได้และรายจ่ายข้ามพรมแดนทั้งหมดของธนาคาร
คุณอู่ ตง (Wu Dong) ประธานของกุ้ยหลิน แบงก์ กล่าวว่า ทางธนาคารดำเนินมาตรการที่แข็งแกร่งมั่นคงเพื่อเร่งการลงทุนและอำนวยความสะดวกทางการเงิน ส่งเสริมการปฏิรูปอุตสาหกรรมเฉพาะทาง และเสริมสร้างความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างประเทศ ด้วยการให้ความสำคัญกับการยกระดับช่องทาง นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาความร่วมมือ ท่ามกลางความพยายามที่กว้างขึ้นเพื่อรองรับความร่วมมือทางอุตสาหกรรมจีน-อาเซียนได้ดียิ่งขึ้น
ปีนี้เป็นวาระครบรอบ 10 ปีของข้อเสนอในการสร้างประชาคมจีน-อาเซียนที่มีอนาคตร่วมกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น และข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ตลอดจนครบรอบ 20 ปีของงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน (China-ASEAN Expo) และการประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนจีน-อาเซียน (China-ASEAN Business and Investment Summit)
การเปิดกว้างได้กลายเป็น "ขุมพลัง" ที่สำคัญสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของกว่างซี และทางธนาคารจะยกระดับการสนับสนุนทางการเงินให้แก่กว่างซี เพื่อกำหนดรูปแบบการพัฒนาใหม่
คุณอู่ระบุว่า ในอนาคต กุ้ยหลิน แบงก์ จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติมสำหรับความร่วมมือจีน-อาเซียน โดยเน้นไปที่ด้านต่าง ๆ เช่น ความร่วมมือทางอุตสาหกรรม การค้าข้ามพรมแดน การลงทุนและการเงินข้ามพรมแดน และการใช้เงินหยวนข้ามพรมแดน เป็นต้น
เมืองหวายอัน (Huai'an city) ในมณฑลเจียงซู ทางตะวันออกของจีน
บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมการประชุมว่าด้วยการสนับสนุนเงินหยวนเป็นสกุลเงินสากลเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีนำร่องเมื่อวันพุธที่ผ่านมา กล่าวว่า การสนับสนุนเงินหยวนเป็นสกุลเงินสากลได้ก้าวหน้าไปอีกขั้น