BPS ตั้งเป้ารายได้ปีนี้ โตไม่ต่ำกว่า 20% เล็งขยายธุรกิจ Solar rooftop และไฟเบอร์ออพติกเพื่อการสื่อสารเพิ่มรายได้และมาร์จิ้ พร้อมหาพันธมิตรเสริมความแข็งแกร่งต่อยอดนวัตกรรม SMART HOME

นายสุรพงษ์ สาเรชพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีพีเอส เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ BPS ผู้จำหน่ายอุปกรณ์เชื่อมต่อไฟฟ้าภายในอาคาร สินค้าเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง อุปกรณ์โซลาร์เซล บริการจัดหา ออกแบบ ติดตั้ง โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลแบบติดตั้งบนหลังคา ระบบควบคุมการจ่ายไฟฟ้า โครงข่ายไฟเบอร์ออพติกเพื่อการสื่อสาร และผลิตภัณฑ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกภายในที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์เปิดเผยว่าบริษัทคาดว่ารายได้ปีนี้จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% โดยมีแผนที่จะขยายธุรกิจการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาสำหรับลูกค้าอสังหาริมทรัพย์แนวราบ และ โรงงาน รวมถึงองค์กรภาคเอกชน โดยตั้งเป้าติดตั้งและผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 30 เมกะวัตต์

นอกจากนี้จะนำเสนอนวัตกรรม Green Home Solutions เพื่อตอบสนองความต้องการและตอบโจทย์เทรนอสังหาริมทรัพย์ยุคใหม่ ที่พร้อมอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้อยู่อาศัยในทุกๆด้าน เช่น อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง บ้านประหยัดพลังงาน ซึ่ง BPS จะเป็นศูนย์ให้บริการแบบ One Stop Service ด้วยการให้บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง พร้อมจำหน่ายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะตลาดบ้านมือสอง และกลุ่มประชากรผู้สูงอายุที่ต้องการปรับปรุงที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับการใช้งานในปัจจุบ้น พร้อมทั้งมองถึงการขยายโอกาส ให้สอดคล้องกับแนวคิด SMART HOME เช่น การติดตั้งโรงรถ (Garage Roof) พร้อมระบบ Solar Roof-Top การติดตั้งระบบระบายอากาศ (Airflow) และการติดตั้งเครื่องชาร์จไฟฟ้า (EV Charger) ในอนาคตอีกด้วย

“บริษัทตั้งเป้าโตไม่ต่ำกว่า 20% จากปีก่อน ด้วยการขยายธุรกิจติดตั้ง Solar Rooftop ซึ่งเป็นธุรกิจที่โอกาสเติบโตและมีรายได้เข้ามาเพิ่มมากขึ้น และเริ่มรับรู้รายได้อย่างมีนัยสำคัญในปีนี้ ส่วนการนำเสนอนวัตกรรม Green Home Solutions นั้น เป็นธุรกิจที่มีมาร์จิ้นสูง ตามความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า น่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้บริษัทเติบโตตามเป้าหมาย” นายสรุพงษ์ กล่าว

สำหรับผลประกอบการ ปี 2566 บริษัทมีรายได้ 738.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.64% จากปีก่อนที่มีรายได้ 679.96 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 20 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีก่อนที่มีรายได้ 20.5 ล้านบาท โดยมีรายได้หลัก 87% เป็นงานจัดหาและจัดจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าภายในอาคาร รวมถึง อุปกรณ์เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเช่น กล้องวงจรปิด เครื่องระบายอากาศ โดยที่ลูกค้าส่วนใหญ่ ได้แก่กลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง และกลุ่มผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ พร้อมบริการแบบ One Stop Service โดยได้มีการพัฒนารูปแบบสินค้าเป็น Kitting Box ที่เหลือ 13% เป็นรายได้จากการให้บริการจัดหา ออกแบบ ติดตั้ง สำหรับโครงการพลังงานโซลาร์ และโครงการบริการอื่นๆ

วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยวิชาเอกการสื่อสารเพื่อเศรษฐศาสตร์ จัดงาน “Econ-Commu 2023: The Innovation fun(d) day” เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 25566 ที่ผ่านมา ณ หอดนตรีและการแสดงอโศกมนตรี 1 ชั้น 4 อาคารนวัตกรรม: ศาสตราจารย์ดร.สาโรช บัวศรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ที่สามารถเข้าถึงได้ ให้คนรุ่นใหม่ คนทั่วไป ที่ติดตามเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจสมัยใหม่ ได้เข้าถึงสารที่ง่ายขึ้นด้วยศาสตร์แห่งการสื่อสารและนวัตกรรม

โดยครั้งนี้จัดขึ้นด้วยพลังของนิสิตในวิชาเอกสื่อสารเพื่อเศรษฐศาสตร์ที่ ที่ได้ใช้พื้นที่ของกิจกรรมบริการวิชาการนี้เป็นโอกาสในการฝึกฝนการทำงานในสนามจริง โดยแบ่งเป็น 5 ส่วนงาน ได้แก่

 

1.) Fun(d)amental ที่เป็นการเข้าใจหลักการและที่มาของการสื่อสารเพื่อเศรษฐศาสตร์ โดย ผศ.ดร.นพดล อินทร์จันทร์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม และ ผศ.ดร.อดุลย์ ศุภนัท คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ร่วมเปิดงานและได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ในการพัฒนานิสิตจากการให้นิสิตได้ทำงานจริง ๆ กับมืออาชีพ การเชื่อมต่อองค์ความรู้จาก 2 ศาสตร์ คือ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร เพื่อสร้างบุคลากรเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ

 

2.) Fun(d) Innovation ที่เป็นการอัพเดทนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางเศรษฐกิจ โดย ตัวแทนจาก 3 หน่วยงาน ได้แก่ คุณจารุชา คูสมิทธิ์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) คุณภคณัฐ ทาริยะวงศ์ บรรณาธิการ เพจ Future Trends และ คุณวนะชัย รัศมีพลังสันติ Ocean Sky Network (Mandala AI) ซึ่งจากการเสวนา ทั้ง 3 ท่านมีความเห็นในทิศทางเดียวกันว่า การเข้ามาของ AI จะทำให้มนุษย์ทำงานได้มีประสิทธิภาพและง่ายขึ้น แต่ AI ยังไม่สามารถทดแทนการทำงานของมนุษย์ได้ สิ่งที่คนทำงานรุ่นใหม่ต้องปรับตัว คือการใช้เทคโนโลยีให้เป็น นอกจากนี้ ความสามารถในการสื่อสารยังจำเป็นต่อการทำงานทุกองค์กร

 

3.) Fun(d) Talk ว่าด้วยการแปลงข้อมูลเศรษฐศาสตร์ให้เข้าถึงได้จากผู้มีประสบการณ์ที่หลากหลาย ได้แก่ คุณสุพริศร์ สุวรรณิก หัวหน้ากลุ่มงานวิจัย สถาบันวิจัยป๋วย อึ๊งภากรณ์ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัย สถาบันวิจัยป๋วย อึ๊งภากรณ์ (PIER) ธนาคารแห่งประเทศไทย กับหัวข้อ “เศรษฐศาสตร์: เข้าใจไม่ยากอย่างที่คิด” คุณศิรัถยา อิศรภักดี Founder WEALTH ME UP, Host THE STANDARD WEALTH ในหัวข้อ “เศรษฐสื่อ” และ คุณศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนา นักแสดงและประธานกรรมการบริหาร สังกัด IDOL idol Factory ในหัวข้อ “เศรษฐศาสตร์กับการจัดการความบันเทิงเพื่อคนรุ่นใหม่”

4.) Fun(d) Fair เป็นฐานกิจกรรมที่หน่วยงานภาคีมาร่วมให้ความรู้ และสร้างพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนกับนิสิต ผู้ร่วมงาน จำนวน 6 ฐานกิจกรรม ได้แก่ บูธธนาคารแห่งประเทศไทย บูธธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บูธ Future Skill บูธ Mandala AI บูธ BeTask และบูธวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม/การสื่อสารเพื่อเศรษฐศาสตร์

5.) Fun(d) Game กิจกรรมสนุกสาน โดย นิสิตการสื่อสารเพื่อเศรษฐศาสตร์

 

ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับบุคคลภายนอกและต่อยอดความรู้ให้กับนิสิตวิชาเอกการสื่อสารเพื่อเศรษฐศาสตร์ ได้ฝึกฝนประสบการณ์ในการทำงานจริงร่วมกับองค์กรภายนอกอย่างมืออาชีพ และความรู้จากผู้มีประสบการณ์ที่ได้มาถ่ายทอดเรื่องราวของเศรษฐศาสตร์ในโลกของการทำงานจริง ให้นิสิตและผู้ที่สนใจเข้าฟัง ได้เตรียมความพร้อมต่อไปในอนาคตของการทำงาน

ติสต์แตกเป็นคำเปรียบเปรยคนที่เชื่อมั่นในตัวเองสูงจนเกินพอดี ว่าเป็นเสมือนศิลปินที่มีโลกส่วนตัวสูง หรือคนที่มีจิตวิญญาณศิลปินสูงจนไม่สนใจสิ่งอื่นรอบข้าง โดยเฉพาะเรื่องธุรกิจและเงินๆ ทองๆ

X

Right Click

No right click