ธุรกิจในยุคปัจจุบันแตกต่างจากที่เคยเป็นมาด้วยอานุภาพของเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น รูปแบบการใช้ชีวิตรูปแบบการทำธุรกิจใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น

บทบาทหลักของสถาบันการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีอย่างเช่น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า ที่มีปรัชญาของสถาบันว่า สร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลง” (Wisdom for Change) มี 3 ภารกิจหลักที่มุ่งเน้น คือ งานด้านการวิจัย การจัดการศึกษา และการให้บริการวิชาการ

ภารกิจเหล่านี้เมื่อลงมาสู่ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ภายใต้การดูแลของ รศ.ดร.อนุกัลยณ์ จีระลักษณกุล รองคณบดีฝ่ายวิชาการ จึงเป็นความท้าทายที่จะต้องจัดการให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ผ่านกลไกทั้งระดับคณะและระดับสถาบัน ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่รอให้สถาบันการศึกษาปรับตัว ทั้งการปรับหลักสูตร การสนองความต้องการของผู้เรียน และตลาดแรงงาน

รศ.ดร.อนุกัลยณ์ เปิดเผยจุดแข็งที่คณะบริหารธุรกิจยังคงต้องรักษาไว้อย่างต่อเนื่อง นั่นคือหลักสูตรที่มีความเข้มข้นเชิงวิชาการและเน้นการถ่ายทอดความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง

วิชาเรียนนักศึกษาต้องเรียนเต็มที่ เนื้อหาวิชาการ หลักคิดต่างๆ อาจารย์ที่มาสอนในวิชาต่างๆ เน้นในเชิงการนำไปใช้ปฏิบัติ ในการทำงาน ในการแก้ปัญหาจริงๆ ของเขาได้ จากประสบการณ์ของอาจารย์ผู้สอนและงานที่อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาทำ นักศึกษานิด้าจะทำงานเยอะมาก ซึ่งก็เป็นกระบวนการเรียนรู้ในแบบของนิด้าเหมือนกัน

เพิ่มความยืดหยุ่น

การปรับตัวเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกทางด้านวิชาการของคณะบริหารธุรกิจ นิด้า มีการปรับตัวมาอย่างต่อเนื่อง และในยุคดิจิทัลนี้รองคณบดีให้แนวทางว่า จะจัดการศึกษาในรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

เนื้อหาวิชาการที่ส่งต่อให้กับนักศึกษายังคงเน้นความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงเช่นเดิม ผ่านการเรียนในลักษณะ Project-based ที่เป็นการนำเอาความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับงานที่ทำได้จริง ตอบโจทย์การเรียนกับการทำงานที่ไม่แยกส่วนจากกัน

กับความต้องการใหม่ๆ เช่นผู้เรียนบางคนไม่ต้องการใช้เวลา 2 ปีเพื่อไปเรียนปริญญาโทอย่างเดียวอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต คณะจะมีการปรับเพิ่มความยืดหยุ่นให้โดยมีการเตรียมกลไกต่างๆ ไว้รองรับ

รศ.ดร.อนุกัลยณ์ อธิบายกลไกที่เตรียมไว้ว่า เราใช้คำว่า Degree กับ Non-degree คือเป็นปริญญากับเป็นเวิร์กช้อป ซึ่งที่เราทำอยู่ จะทำให้สามารถผสมกัน คุณมาเรียนเป็นรายวิชาไป สะสมหน่วยกิต สะสมวิชาเพื่อสามารถไปรับปริญญาได้ถ้าคุณต้องการ คือตอนนี้ยังไม่ต้องการปริญญาแต่ต้องการเรียนเรื่องการเงิน เรียนเรื่องการทำอะไรบางอย่างเพื่อแก้ปัญหาของเขา ก็มาเรียนเป็นหลักสูตรระยะสั้น พอเรียนไปถึงจุดหนึ่งคิดว่ามากพอและอยากได้ปริญญาก็มาลงเรียนเต็มเวลาเพื่อเรียนส่วนที่เหลือให้ครบ โดยเอาส่วนเดิมมาใช้ได้ และได้ปริญญาไป นี่คือเทรนด์ที่จะเกิดขึ้น คือความยืดหยุ่นในเรื่องระยะเวลา

อีกทางหนึ่งก็จะเพิ่มการเรียนออนไลน์เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในด้านเวลาให้กับนักศึกษาเพิ่มขึ้น สร้างความสะดวกให้กับผู้เรียนให้สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาตามที่สะดวก

ในด้านของเนื้อหาวิชาการที่นิด้ามีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว ก็จะเติมหรือบูรณการเนื้อหาที่เป็น Tools ใหม่เพิ่มเข้าไปในวิชาต่าง ๆ เช่น การใช้เครื่องมือจาก Neuroscience ในการเข้าใจถึงพฤติกรรมมนุษย์เพื่อนำมาใช้ในด้านการตลาด หรือการสร้างผู้นำ การนำแนวคิดจาก Design Thinking มาใช้ในการบริหารนวัตกรรมขององค์กร หรือ การประยุกต์ใช้ AI หรือ Blockchain ในการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรในเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลหรือพฤติกรรมลูกค้า หรือ การบริหาร Supply Chain ขององค์กร หรือ แม้กระทั่งการยกระดับการบริการลูกค้า เป็นต้น Tools เหล่านี้ก็จะผนวกเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอนมากขึ้น

อีกจุดเด่นหนึ่งที่นิด้ายังคงรักษาไว้ คือการสอดแทรกประกาศนียบัตรสายวิชาชีพต่างๆ เข้าไปในหลักสูตร เช่น ประกาศนียบัตรทางด้านการเงิน CFA (Chartered Financial Analyst) และ FRM (The Financial Risk Manager) และ ประกาศนียบัตรทางด้าน Business Analytic หรือ Project Management โดยเปิดให้นักศึกษาของคณะสามารถเรียนและสอบรับใบประกาศนียบัตรสะสมเป็นหน่วยกิตในหลักสูตรไปพร้อมกัน

รองคณบดีฝ่ายวิชาการกล่าวเพิ่มเติมว่า ในฐานะที่เป็นคณะบริหารธุรกิจ วิชาพื้นฐานทางด้านธุรกิจยังเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องได้เรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน การตลาด การบริหารจัดการ ภาวะผู้นำ โดยอาจจะมีการปรับย่อวิชาพื้นฐานให้มีความกระชับมากขึ้น เพื่อให้สามารถเพิ่มวิชาใหม่ในหลักสูตรได้มากขึ้น เพิ่มโอกาสให้นักศึกษาเลือกเรียนวิชาที่ตนเองสนใจมากขึ้น

วิชาก็จะสั้นลง นักศึกษามีโอกาสเรียนวิชาอื่นมากขึ้น มีความยืดหยุ่นในการเลือกวิชาในการเลือกเวลาเรียนของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องเรียนตามโปรแกรม ทำให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของเขามากขึ้นรศ.ดร.อนุกัลยณ์สรุป

เพิ่มงานวิจัยคุณภาพ

เครื่องบ่งชี้ความเข้มแข็งทางด้านวิชาการของสถาบันการศึกษาอีกด้านหนึ่งคืองานวิจัย ซึ่งในเรื่องนี้ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ ให้ข้อมูลผลงานวิจัยของคณาจารย์ในคณะว่า ในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมาคณะบริหารธุรกิจ มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ มากที่สุดในสถาบัน และจำนวนการอ้างอิงผลงานวิจัยก็มีจำนวนมากติดอันดับ 1 ใน 3 ของนิด้าเช่นกัน

และเพื่อสนองนนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ต้องการให้นิด้าเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก การยกระดับงานวิจัยให้ดีขึ้นจึงเป็นภารกิจของทั้งสถาบัน โดยคณะบริหารธุรกิจมีกลไกส่งเสริม สนับสนุนให้คณาจารย์สร้างผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพมากขึ้น ผ่านรางวัลต่างๆ ที่คณะจะมอบให้กับผู้ทำวิจัย

รศ.ดร.อนุกัลยณ์ อธิบายว่างานวิจัยที่มีคุณภาพ คือ งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่อยู่ในการจัดอันดับตามระบบ Scimago คือ แบ่งเป็น Q1 Q2 Q3 และ Q4 สำหรับแต่ละสาขาวิชา เช่น การเงิน การจัดการ ความหมายของ Q1 คือ วารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นวารสารที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดและอยู่ในกลุ่ม top 25 เปอร์เซ็นต์ในสาขานั้น การยอมรับในระดับนานาชาติหมายถึงผลงานวิจัยของอาจารย์คนนั้นมีนักวิชาการจากทั่วโลกอ้างอิงและนำไปใช้ต่อ ส่วน Q2 Q3 และ Q4 ก็จะเป็นระดับรองๆ ลงมา คือ Q2 คือกลุ่มวารสารที่อยู่ระหว่าง top 25 กับ top 50 เปอร์เซ็นต์ Q3 คือกลุ่มวารสารที่อยู่ระหว่าง top 50-top 75 และ Q4 คือกลุ่ม 25 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือ

โดยงานวิจัยที่สามารถนำไปตีพิมพ์ในวารสาร Q1 และ Q2 นับว่าได้รับการยอมรับจากนักวิชาการทั่วโลกว่าเป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพ เพราะก่อนที่งานวิจัยนั้นจะสามารถตีพิมพ์ได้ต้องผ่านการยอมรับจากนักวิจัยและอาจารย์ในระดับโลกก่อน ดังนั้นการที่ผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนี้จึงถือว่างานวิจัยได้รับการยอมรับในระดับโลกไปด้วย จึงกลายเป็นเป้าหมายที่คณะบริหารธุรกิจต้องการผลักดันให้ผลงานวิจัยของคณะไปตีพิมพ์ในวารสาร Q 1 และ Q2 เพิ่มขึ้น

นอกจากการมุ่งไปที่งานวิจัยระดับโลกแล้ว คณะบริหารธุรกิจยังตั้งเป้าหมายให้งานวิจัยของคณะสามารถสร้างผลกระทบต่อภายนอกสถาบันในระดับประเทศได้ด้วย คณะเปิดโอกาสให้อาจารย์สามารถทำงานวิจัยที่นำมาใช้ได้จริง ไม่ว่าจะเป็นการไปแก้ปัญหาหรือตอบโจทย์ให้กับองค์กร สังคม หรือประเทศได้ เป็นการเชื่อมโยงงานวิจัยของสถาบันการศึกษากับสังคมภายนอกเข้าด้วยกัน

รศ.ดร.อนุกัลยณ์ ยังเล่าถึงทิศทางงานวิจัยที่นักวิชาการต่างประเทศให้ความสนใจเพิ่มขึ้นคือ งานวิจัยที่สามารถนำเอาบริบทของแต่ละพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยเกี่ยวข้องมาใช้ เพราะในบางครั้งงานวิชาการของประเทศหนึ่งก็ไม่สามารถนำไปใช้กับประเทศอื่นได้ซึ่งเป็นผลจากบริบทของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกัน โดยอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือคิดทฤษฎีใหม่ๆ ขึ้นมา จึงเป็นโอกาสของนักวิชาการในแต่ละพื้นที่สามารถสร้างสรรค์งานวิจัยที่น่าสนใจมากขึ้นได้

มุ่งสู่เวิล์ดคลาส

รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ กล่าวการจะก้าวสู่สถาบันการศึกษาระดับโลก จะต้องเริ่มจากการสร้างความโดดเด่นได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาคก่อน แล้วค่อยขยายไปสู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาระดับโลกต่อไป คล้ายคลึงกับที่สถาบันการศึกษาในแถบเอเชียหลายแห่งทำมาแล้ว

ทั้งนี้การตั้งเป้าหมายสร้างสรรค์งานวิจัยที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Q1 และ Q2 เพิ่มขึ้น จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยยืนยันคุณภาพทางวิชาการและคุณภาพคณาจารย์ของคณะว่าได้รับการยอมรับในระดับสากล ละจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาเพื่อสั่งสมสิ่งเหล่านี้

โดยคณะและสถาบันมีความพร้อมในการสนับสนุนคณาจารย์ให้สามารถสร้างผลงานทางวิชาการที่ดีขึ้นได้โดยมีแผนปรับภาระงานของอาจารย์ในสถาบันใหม่ ให้เกิดความคล่องตัว สอดคล้องกับความถนัดของอาจารย์แต่ละท่านมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้อาจารย์ที่มีความชำนาญในการทำงานวิจัย สามารถสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพได้มากขึ้น และเปิดโอกาสให้อาจารย์ที่เก่งในด้านการสอนมีโอกาสถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาในสถาบันอย่างเต็มที่

ภารกิจการสร้างงานวิชาการของคณะบริหารธุรกิจสู่ระดับโลก เป็นความท้าทายสำหรับบุคลากรในคณะบริหารธุรกิจทุกท่าน และในฐานะสถาบันการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี งานวิจัยจึงเป็นภารกิจแรกๆ ที่ต้องได้รับการสนับสนุน แต่อย่างไรก็ตาม รองคณบดีฝ่ายวิชาการย้ำว่า งานวิจัยที่ทำขึ้นก็ต้องมีการเชื่อมโยงกับภายนอก สามารถสร้างผลกระทบต่อภายนอกสถาบันได้ โดยคณะจะมุ่งเน้นการสร้างสรรค์งานวิชาการที่มีคุณภาพท่ามกลางความท้าทายต่างๆ ที่มีอยู่ เพื่อเป้าหมายก้าวสู่การเป็นสถาบันการศึกษาระดับโลก


เรื่อง : กองบรรณาธิการ

ภาพ : ณัฐพงศ์ เปรุนาวิน

Wharton School และ Stanford ครองอันดับหนึ่งร่วมในการจัดอันดับ QS World University Rankings: Global Full-Time MBA 2020 ประจำปีนี้ โดยบรรดานายจ้างต่างให้คะแนนเกือบเต็มในเกณฑ์ชื่อเสียง ขณะที่ INSEAD, London Business School และ HEC Paris ก็อยู่ใน 10 อันดับแรกด้วยเช่นกัน ซึ่งแสดงให้เห็นการกระจายตัวของสุดยอดหลักสูตร MBA ทั่วโลก การจัดอันดับ QS Global MBA ได้รับการเผยแพร่พร้อมกับการจัดอันดับ Masters in Management, Masters in Finance, Masters in Business Analytics และ Masters in Marketing ของ QS ซึ่งเมื่อรวมกันแล้ว ผลการจัดอันดับเหล่านี้ครอบคลุมหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในหมู่นายจ้างทั่วโลก

QS จัดอันดับโดยประเมินจากสิ่งที่ว่าที่นักศึกษาให้ความสำคัญมากที่สุด โดยมีเกณฑ์วัดหลัก ๆ อยู่ที่การจ้างงาน ความเป็นผู้ประกอบการและความสำเร็จของศิษย์เก่า ผลตอบแทนการลงทุน ความเป็นผู้นำทางความคิด ตลอดจนความหลากหลายของชั้นเรียนและคณะอาจารย์

- สถาบันเจ้าของหลักสูตร MBA เกือบครึ่งหนึ่งใน 100 อันดับแรกล้วนอยู่ในสหรัฐ และใน 10 อันดับแรกอยู่ในสหรัฐถึง 7 แห่ง

- สหราชอาณาจักรมีหลักสูตร MBA ที่ติด 100 อันดับแรกอยู่ 10 แห่ง ขณะที่ฝรั่งเศสมี 6 แห่ง โดยฝรั่งเศสมีสถาบันติด 10 อันดับแรก 2 แห่ง

- INSEAD (อันดับ 3) ซึ่งมีวิทยาเขตอยู่ในสิงคโปร์ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหลักสูตรที่ดีที่สุดในเอเชีย ตามมาด้วย CEIBS ที่เซี่ยงไฮ้ (อันดับ 25) และ National University of Singapore (อันดับ 32) ส่วนอันดับแรกของออสเตรเลียคือ University of Melbourne (อันดับ 26)

รับชมผลการจัดอันดับ QS Global MBA Rankings 2020 ได้ที่https://www.topmba.com/mba-rankings/2020
ดูระเบียบวิธีวิจัยในการจัดอันดับได้ที่https://www.topmba.com/mba-rankings/methodology

อเล็กซ์ ชิสโฮล์ม หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ของ QS กล่าวว่า นอกเหนือจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวหลักสูตรเองแล้ว QS ยังให้ความสำคัญกับชื่อเสียงของสถาบันสอนธุรกิจในทัศนคติของนายจ้างเกือบ 32,000 ราย ตลอดจนนักวิชาการอีกกว่า 36,000 รายทั่วโลกด้วย และท้ายที่สุด เรายังได้ประเมินเส้นทางการศึกษาของศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีราว 30,000 เพื่อหาสถาบันที่พวกเขาสำเร็จการศึกษามาด้วย”

สถาบันที่ครองอันดับหนึ่งในการจัดอันดับหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับปริญญาโทของ QS แยกตามสาขาวิชา ได้แก่

- QS World University Rankings: Masters in Business Analytics 2020 คือ Massachusetts Institute of Technology (Sloan Business School)

- QS World University Rankings: Masters in Finance 2020 คือ Oxford (Said) (อันดับหนึ่งครั้งแรก)

- QS World University Rankings: Masters in Management 2020 คือ HEC Paris

- QS World University Rankings: Masters in Marketing 2020 คือ HEC Paris (อันดับหนึ่งครั้งแรก)


รับชมผลการจัดอันดับหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับปริญญาโททั้งหมดได้ที่:
https://www.topuniversities.com/business-masters-rankings/2020

ดูระเบียบวิธีวิจัยในการจัดอันดับได้ที่: https://www.topuniversities.com/business-masters-rankings/methodology

โลโก้: https://mma.prnewswire.com/media/702459/QS_World_University_Rankings_Logo.jpg 

 

Page 2 of 2
X

Right Click

No right click