November 24, 2024

เนื่องในโอกาสวันแพทย์สากล วันที่ 7 ตุลาคม มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) คณะแพทยศาสตร์ ในเกรนาดา หมู่เกาะเวสต์อินดิส ได้เผยเคล็ดลับเพื่อช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สร้างสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้ดียิ่งขึ้น

การส่งเสริม Work-life balance

ในสาขาที่มีความต้องการสูง เช่น การแพทย์ปฐมภูมิ (Primary care) มักจะมีตารางเวลาที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้แพทย์สามารถจัดการทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องงานได้ง่ายขึ้น “การแพทย์ปฐมภูมิมีความโดดเด่นในเรื่องความยืดหยุ่น” ดร. ลินดา กิร์กิส ศิษย์เก่าของ SGU และแพทย์ปฐมภูมิในรัฐนิวเจอร์ซีย์ กล่าว “ปัจจุบัน แพทย์หลายคนเน้นให้บริการผู้ป่วยนอกเพื่อลดการทำงานช่วงดึกในโรงพยาบาล โดยแต่ละทางเลือก ทั้งการทำงานส่วนตัวหรือภายใต้ระบบโรงพยาบาล มีทั้งข้อดีและความท้าทายที่แตกต่างกัน”

Work-life balance สามารถทำได้ในสาขาวิชาเฉพาะทางอื่น ๆ นอกเหนือจากการแพทย์ปฐมภูมิ แม้ว่าอาจต้องใช้วิธีการที่แตกต่างกัน ความเชี่ยวชาญด้านหัตถการมักต้องใช้เวลาทำงานหลายชั่วโมง โดยส่วนใหญ่ในช่วงเช้า ทำให้แพทย์ในสาขานี้ต้องจัดตารางเวลาอย่างรอบคอบเพื่อแบ่งเวลาสำหรับการทำงานและการพักผ่อนที่บ้าน

เคล็ดลับในการป้องกันภาวะหมดไฟ (burnout)

“กินอาหารที่ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับให้เพียงพอ และอย่าละเลยเวลาสำหรับเพื่อนและครอบครัวเกินความจำเป็น” ดร. เดวิด โธมัส ศิษย์เก่าของ SGU และผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อในการปลูกถ่ายและมะเร็งที่ Moffitt Cancer Center แนะนำ “การหาสมดุลคือกุญแจสำคัญในการยกระดับการทำงานของคุณ”

"แพทย์ที่มี Work-life balance มักมีสุขภาพที่ดี โดยสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจาก SGU ความสมดุลนี้เริ่มต้นตั้งแต่ในมหาวิทยาลัย ซึ่ง ดร. อิเฟอาทู เอ็กวาตูศิษย์เก่าของ SGU และแพทย์ประจำบ้านด้านอายุรศาสตร์ กล่าวว่า ความสามารถในการจัดการความรับผิดชอบที่หลากหลายอย่างเกิดจากประสบการณ์ที่ SGU “การบริหารจัดการเวลาของผมอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ผมประสบความสำเร็จทั้งในโรงเรียนแพทย์และกิจกรรมนอกหลักสูตร’

ดร. นันดิธา กูรูวายะห์ ศิษย์เก่าของ SGU และเป็นแพทย์ประจำบ้านขั้นต้น เน้นย้ำถึงความสำคัญของการวางแผนเอาไว้ล่วงหน้าและการดูแลตนเอง ซึ่งได้อธิบายไว้ว่า “เรายังคงต้องรักษาสมดุลระหว่างการใช้ชีวิตกับการทำงานต่อไป และสิ่งสำคัญคือแผนการที่ดีรวมกับการจัดสรรเวลาในการดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดการหมดไฟ

สิ่งที่แนะนำคนอื่นไว้ ตัวเองก็ต้องทำได้

ตัวแพทย์เองอาจต้องทำตามคำแนะนำของตนเองที่เคยให้ไว้กับผู้ป่วย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ได้รับรู้ถึงผลกระทบจากความเครียดและการหมดไฟดีกว่าบุคคลอื่น ดังนั้นหากแพทย์ใส่ใจเรื่องความสุขทางร่างกายและจิตใจของตนเอง จะสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้ป่วยได้

ดร. การิมา กุปตะ ศิษย์เก่าของ SGU และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา กล่าวว่า “สิ่งสำคัญอันดับแรกคือการให้ความสำคัญและดูแลสภาพจิตใจ เพื่อไม่เกิดภาวะหมดไฟ”

การรักษาสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวในอาชีพแพทย์อาจเป็นเรื่องท้าทาย แต่ก็สามารถเป็นไปได้ นักศึกษาแพทย์ที่กำลังจะเริ่มเรียนไม่ควรท้อแท้เมื่อเผชิญกับอุปสรรคนี้ ซึ่งตัวอย่างที่ดีคือบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จที่สามารถมี Work-life balance ได้ในฐานะแพทย์

AWS มอบทุน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเด็ก โดยมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างสุขภาพและพัฒนาการที่ดีของเด็ก และการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหายากให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถวินิจฉัยและรักษาโรคเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นิโคล จีรูว์ เข้าใจดีถึงความทุกข์ทรมานจากการรอคอยการวินิจฉัยที่แม่นยำ และการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่มาพร้อมกับการวินิจฉัยนั้น เมื่อประมาณ 15 ปีก่อน ลูกสาวของเธอชื่อไลลาแสดงอาการของมะเร็งสมองชนิดที่ผ่าตัดไม่ได้ ในขณะนั้นไลลามีอายุเพียง 15 เดือนเท่านั้น เนื่องจากข้อมูลทางการแพทย์มีไม่เพียงพอ ครอบครัวจีรูว์จึงต้องเผชิญกับความเจ็บปวดเป็นเวลานานถึง 5 ปี ก่อนที่จะสามารถเข้าใจโครงสร้างระดับโมเลกุลของก้อนเนื้องอกในสมองของลูกสาวได้อย่างชัดเจน

“หลังจากเริ่มการรักษาไม่นาน สามีและฉันตระหนักว่ามีทางเลือกในการรักษามะเร็งสมองในเด็กน้อยมาก นอกจากนี้ยังมีการขาดแคลนงบประมาณสำหรับการวิจัยโรคนี้อีกด้วย” นิโคล กล่าว

เพื่อเป็นเกียรติแด่ลูกสาวของเธอ นิโคลได้ก่อตั้งมูลนิธิ Lilabean Foundation for Pediatric Brain Cancer Research เพื่อการวิจัยมะเร็งสมองในเด็กขึ้น มูลนิธิมีพันธกิจหลักในการสนับสนุนทุนวิจัยที่สำคัญเกี่ยวกับมะเร็งสมองในเด็ก และช่วยสร้างความตระหนักรู้ถึงความรุนแรงของโรคร้ายนี้ในหมู่สาธารณชน

ในงาน AWS Summit ที่จัดขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ที่ผ่านมา AWS ได้ประกาศว่าจะมอบเงินทุนสนับสนุนจำนวน 10 ล้านเหรียญสหรัฐให้แก่องค์กรไม่แสวงหากำไร เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากคลาวด์ของ AWS เพื่อสนับสนุนโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนในระดับสากล เงินทุนดังกล่าวจะช่วยให้สามารถเข้าถึงงานวิจัยที่สำคัญสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่เปราะบาง ซึ่งมักประสบปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรและมีขนาดตัวอย่างจำกัด

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกันของกลุ่มสถาบันการแพทย์ โรงพยาบาล และสถาบันต่าง ๆ ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการเร่งรัดการวิจัยและการค้นพบใหม่ ๆ ด้วยการจัดการข้อมูลบนคลาวด์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้นักวิจัยสามารถเข้าใจโครงสร้างพันธุกรรมของโรคได้ดีขึ้น นำไปสู่การวินิจฉัยที่รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น รวมถึงการรักษาเฉพาะบุคคลที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นสำหรับผู้ป่วย

อดัม เรสนิค ผู้อำนวยการศูนย์การค้นพบที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลเด็กฟิลาเดลเฟีย (Children’s Hospital of Philadelphia :CHOP) กล่าวว่า “เรายินดีเป็นอย่างยิ่งกับโครงการที่ AWS ได้เปิดตัว เนื่องจากสอดคล้องกับสถานการณ์ของเราอย่างลงตัว แม้มะเร็งในเด็กจะเป็นโรคหายาก แต่ก็เปิดโอกาสให้เราได้ทดสอบเทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้วยความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาการค้นพบข้อมูลแบบเรียลไทม์และเครือข่ายความร่วมมือ”

AWS ได้สนับสนุนเงินทุนจำนวน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีการบริจาคเงิน 3 ล้านเหรียญสหรัฐให้แก่องค์กรต่าง ๆ 3 แห่ง ดังนี้ โรงพยาบาลเด็กแห่งชาติ (Children's National Hospital) ในวอชิงตัน ดี.ซี., โรงพยาบาลเด็กแนชั่นไวด์ (Nationwide Children's Hospital) ในโคลัมบัส รัฐโอไฮโอ และเครือข่ายมะเร็งสมองเด็ก (Children's Brain Tumor Network) ซึ่งตั้งอยู่ที่ CHOP โดยแต่ละองค์กรจะได้รับเงินบริจาค 1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจขององค์กร มูลนิธิ Lilabean เป็นหนึ่งในองค์กรสมาชิกของเครือข่ายมะเร็งสมองเด็ก (Children’s Brain Tumor Network)

ด้วยโครงการ AWS IMAGINE Grant: Children’s Health Innovation Award ใหม่ที่มีงบประมาณสูงถึง 7 ล้านเหรียญสหรัฐ องค์กรต่าง ๆ จะได้รับการสนับสนุนเพื่อใช้ในโครงการที่เร่งการวิจัยด้านสุขภาพเด็ก ส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กอย่างครบวงจร และ/หรือสนุบสนุนบุคลากรทางการแพทย์และผู้ดูแลเด็ก

นอกเหนือจากมะเร็งในเด็ก เงินทุนนี้จะสนับสนุนการวิจัยโรคต่าง ๆ ในเด็ก ตั้งแต่โรคหัวใจไปจนถึงโรคพันธุกรรม โรคที่พบในเด็กมักไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร และมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการวิจัยโรคเหล่านี้น้อยกว่าโรคอื่นๆ แม้ว่าไลลาจะต้องเผชิญกับผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการรักษาด้วยเคมีบำบัดมาเป็นเวลาหลายปี แต่ในวัย 16 ปีปัจจุบันเธอยังคงมีสุขภาพที่แข็งแรงดี อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่ได้รับโอกาสที่ดีเช่นเดียวกับไลลา

มะเร็งในเด็กเช่นกรณีของไลลานั้นมีสัดส่วนน้อยกว่า 1% ของมะเร็งทั้งหมดที่ได้รับการวินิจฉัยในสหรัฐอเมริกาในแต่ละปี แม้อัตรารอดชีวิต 5 ปีของผู้ป่วยมะเร็งในเด็กในประเทศพัฒนาแล้วจะดีขึ้น แต่ยังมีถึงสองในสามของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งในวัยเด็กที่ต้องประสบกับผลข้างเคียงระยะยาวจากการรักษา

ข้อมูลการศึกษาวิจัยทางการแพทย์สำหรับโรคและการรักษาในเด็กยังคงมีข้อจำกัดอยู่มาก งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาขนาดเล็กที่ดำเนินการในศูนย์เดียว และขาดการสนับสนุนงบประมาณจากภาคเอกชนหรือภาครัฐ ส่งผลให้มีการศึกษาวิจัยการรักษาลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบริษัทยามีแรงจูงใจทางการเงินน้อยในการพัฒนายาสำหรับกลุ่มผู้ป่วยขนาดเล็กเหล่านี้ เด็กป่วยด้วยโรคมะเร็งและโรคหายากมักได้รับการรักษาตามแผนการรักษาที่ดัดแปลงมาจากแนวทางการรักษาสำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับความต้องการของพวกเขา นอกจากนี้ การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมของมะเร็งในเด็กและผู้ใหญ่ยังแตกต่างกัน ซึ่งเพิ่มความซับซ้อนให้กับนักวิจัย ความท้าทายที่แตกต่างกันเหล่านี้ในการวิจัยสำหรับเด็ก จำเป็นต้องมีโซลูชันขั้นสูงเพื่อแก้ไขปัญหา การจัดการข้อมูลในคลาวด์เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญสำหรับการทำวิจัยร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ  การทำงานแบบแยกส่วนและไม่มีการประสานงานกันนั้น ไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
นิโคล กล่าวว่า “ในอดีต นักวิทยาศาสตร์มักทำงานแยกส่วนกันและไม่ได้แบ่งปันข้อมูลสำคัญ เช่น ตัวอย่างเนื้อเยื่อ ผลการวิเคราะห์ลำดับจีโนม และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ แต่ในปัจจุบัน เราจำเป็นต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด แบ่งปันข้อมูล และประสานความร่วมมือในสนามวิจัยเดียวกัน”

สภาพแวดล้อมทดสอบ (sandbox) เป็นพื้นที่ปลอดภัยบนคลาวด์ของ AWS ที่ออกแบบมาเพื่อให้นักวิจัยสามารถจัดการข้อมูลที่ไม่ระบุชื่อและถูกทำให้เป็นข้อมูลนิรนามได้อย่างปลอดภัย โดยยังคงรักษามาตรฐานการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและผู้เข้าร่วมในการวิจัยทางการแพทย์ไว้อย่างเคร่งครัด ด้วยระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย นักวิจัยจึงสามารถดำเนินการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลได้อย่างมั่นใจ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล

นักวิจัยที่โรงพยาบาลเด็กแห่งชาติ Nationwide Children's Hospital คลาวด์เป็นเครื่องมือในการประมวลผลข้อมูลจีโนมิกส์ และแบ่งปันข้อมูลและผลการวินิจฉัยสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเด็กในการศึกษาขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อผู้ป่วยมะเร็งเด็กทั่วสหรัฐอเมริกา หลังจากถูกใช้เพื่อช่วยให้ข้อมูลในการวินิจฉัยที่จะส่งกลับไปยังผู้ให้บริการด้านมะเร็งวิทยาสำหรับแต่ละผู้ป่วยแล้ว ข้อมูลที่ปราศจากการระบุตัวตนจะถูกแบ่งปันอย่างมีประสิทธิภาพผ่านคลาวด์ไปยังฐานข้อมูลมะเร็งเด็กของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ (NCI) ซึ่งนักวิจัยกลุ่มใหญ่สามารถเข้าถึงได้เกือบแบบเรียลไทม์

ดร.เอลเลน มาร์ดิส ผู้อำนวยการของสถาบัน Steve and Cindy Rasmussen Institute for Genomic Medicine จากสถาบัน Abigail Wexner Research Institute ที่โรงพยาบาล Nationwide Children's Hospital กล่าวว่า “สิ่งที่เราปรารถนาอย่างแท้จริงคือการทำให้มะเร็งที่พบได้น้อยกลายเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยขึ้น โดยการให้ข้อมูลที่ครอบคลุมแก่นักวิจัยที่ต้องการค้นคว้าเพื่อค้นพบสิ่งใหม่ ๆ”

ดร.เอลเลน ระบุว่า การแบ่งปันข้อมูลอย่างกว้างขวางในฐานข้อมูลบนคลาวด์ สามารถช่วยให้นักวิจัยสามารถวิเคราะห์ลักษณะทางจีโนมิกส์ของมะเร็งที่พบได้น้อยได้ง่ายขึ้น เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้มักถูกแยกเก็บไว้อย่างแยกส่วน ทำให้นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มอาจไม่มีข้อมูลเพียงพอในการศึกษาลักษณะเหล่านี้ การรวบรวมข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลกลางบนคลาวด์จะดึงดูดความสนใจของนักวิจัยเหล่านั้นให้เข้ามาศึกษาได้มากขึ้น

ดร.เอลเลน กล่าวว่า “ในระยะเวลาอันสั้น ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการค้นพบใหม่ ๆ คือความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลผ่านระบบคลาวด์อย่างรวดเร็วและสะดวก”

การวิจัยทางการแพทย์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ถือเป็นพรมแดนใหม่ที่น่าจับตามอง

การสร้างพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการพัฒนาการรักษาโรคหายากในเด็กให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น AWS มีศักยภาพในการขับเคลื่อนการวิเคราะห์ข้อมูลและแอปพลิเคชันนวัตกรรม ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพการดูแลรักษา เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ และปรับแผนการรักษาให้เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะของแต่ละบุคคล ที่โรงพยาบาลเด็กแห่งชาติ ทีมงานได้นำแอปพลิเคชันที่ใช้ AI มาช่วยในการคัดกรองทารกที่มีภาวะทางพันธุกรรมหายาก โดยแอปพลิเคชันนี้จะประเมินลักษณะใบหน้าของทารกผ่านกล้องสมาร์ทโฟน เพื่อระบุการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในลักษณะใบหน้าได้อย่างรวดเร็วหลังคลอด แอปพลิเคชันดังกล่าวได้รับการทดสอบกับผู้ป่วยในกว่า 30 ประเทศแล้ว และสามารถช่วยคัดกรองเด็กที่อาจไม่สามารถเข้าถึงนักพันธุศาสตร์ในบริเวณใกล้เคียงได้

นอกจากนี้ AI ยังถูกนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองโรคหัวใจจากภาวะหัวใจรูมาติกด้วย โดยช่วยให้การตรวจคลื่นความถี่เสียงสูงแบบพกพามีราคาถูกลง ทำให้ผู้ป่วยที่มีทรัพยากรจำกัดสามารถเข้าถึงการตรวจได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศยูกันดา คาดว่าจะมีการคัดกรองเด็กประมาณ 200,000 คนในปีต่อ ๆ ไป

มาริอุส จอร์จ ลิงกูรารู ศาสตราจารย์ด้านครอบครัวคอนนอร์และประธานด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่โรงพยาบาลเด็กแห่งชาติ กล่าวว่า “ประเด็นความเท่าเทียมด้านสุขภาพเป็นสิ่งที่ผมให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ณ ปัจจุบัน เรามุ่งเน้นการทำงานในสหรัฐอเมริกามากกว่าต่างประเทศ เนื่องจากเมื่อต้องการการตีความภาพและการถ่ายภาพขั้นสูง ทรัพยากรเหล่านั้นมีอยู่มากในประเทศรายได้สูง อย่างไรก็ดี ผมมักแสวงหาวิธีการที่ง่าย ราคาไม่แพง และมีความยืดหยุ่นมากกว่า ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่น ๆ ได้ด้วย”

การรักษามะเร็งแบบเฉพาะบุคคลเป็นอีกหนึ่งสาขาที่ปัจจุบันมีการนำเอา AI มาใช้เพื่อพัฒนาการดูแลสุขภาพสำหรับเด็ก ทีมงานของศาสตราจารย์ลิงกูรารูกำลังร่วมมือกับเพื่อนร่วมงานทั่วสหรัฐอเมริกา เพื่อปรับปรุงและทำให้แผนการรักษาสำหรับเด็กที่เป็นมะเร็งสมองมีความเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น ความก้าวหน้าทางด้านคลาวด์คอมพิวติงและการประยุกต์ใช้ AI เหล่านี้ เป็นสิ่งที่นิโคลหวังว่าจะช่วยพัฒนาแนวทางการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับครอบครัวที่มีสถานการณ์คล้ายคลึงกับครอบครัวของเธอในอนาคต

“ฉันเข้าใจดีว่าตอนที่ครอบครัวได้รับการวินิจฉัยโรคของลูก มันเป็นเรื่องยากลำบากมาก พวกเขาต้องเผชิญกับความกังวลและความไม่แน่นอนมากมาย ดังนั้นฉันอยากให้ลูก ๆ ของทุครอบครัวมีทางเลือกที่เหมาะสมในการรักษา อย่าปล่อยให้พวกเขาต้องยอมรับข้ออ้างที่ไม่ดีพอสำหรับลูกของตัวเองอีกต่อไป สถานการณ์กำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีความก้าวหน้าใหม่ ๆ เกิดขึ้นเรื่อย ๆ ในวงการแพทย์ ฉันหวังว่าครอบครัวเหล่านี้จะได้รับทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับลูกของพวกเขา”

AWS มุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ที่จะสนับสนุนงานสำคัญเพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็ก โครงการด้านการกุศลในครั้งนี้จะเสริมพลังให้แก่องค์กรไม่แสวงหากำไรทั่วโลก ในการนำประโยชน์จากคลาวด์ของ AWS มาใช้ขับเคลื่อนสาเหตุด้านสุขภาพเด็กและเยาวชน

หลังจากที่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS ได้รับการจัดอันดับความยั่งยืนดัชนี DJSI (Dow Jones Sustainability Indices) หรือดัชนีชี้วัดความยั่งยืนของดาวโจนส์ ประจำปี 2566 ให้เป็นที่ 1 ด้านความยั่งยืนของโลก (DJSI WORLD) และกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (DJSI Emerging Markets) เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นเลิศ ผ่านแนวคิด ESG ได้แก่ มิติสิ่งแวดล้อม (Environment) มิติสังคม (Social) และมิติเศรษฐกิจ (Governance)

ในครึ่งปีแรก BDMS ได้พัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมทุกด้าน ทั้ง มิติสิ่งแวดล้อม (Environment) ที่ดำเนินธุรกิจทางการแพทย์คาร์บอนต่ำอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม BDMS Green Healthcare ส่วนมิติสังคม (Social) ได้มีการส่งมอบความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในสังคม ได้แก่ การจัดอบรมกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงการรักษา และมิติเศรษฐกิจ (Governance) ที่มุ่งสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ (BDMS Innovative Healthcare) ผ่านโครงการอบรมเทคนิคนวัตกรรมการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ด้วยเทคนิคใหม่ที่ไม่ตัดกล้ามเนื้อ และการบริการแพทย์ทางไกล เพื่อสุขภาพใจ (BeDee Tele Mental Health) โดยร่วมกับ มูลนิธิเวชดุสิต ฯ ขยายโอกาสในการดูแลสุขภาพ

BDMS ตั้งเป้าครึ่งปีหลัง ในการมุ่งพัฒนาสู่ความยั่งยืนทางการแพทย์ต่อเนื่อง โดยยึด 6 กลยุทธ์หลัก เพื่อส่งมอบการบริการด้านสุขภาพที่ดีต่อประเทศ สังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเดินหน้าสู่การเป็น Healthcare Sustainability ได้แก่ การมุ่งสู่การบริการที่เป็นเลิศ ยกระดับนวัตกรรมทางการแพทย์ มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Net Zero) คืนคุณค่าสู่สังคม ส่งเสริมและสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงการรักษาทุกระดับชั้น และดำเนินธุรกิจภายใต้หลักธรรมาภิบาล

แพทย์หญิง ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหารอาวุโส บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) เปิดเผยถึงกลยุทธ์ทั้ง 6 ด้าน และเป้าหมายสู่การพัฒนาทางการแพทย์อย่างยั่งยืนว่า ต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มของโลก

ที่ผ่านมาเราได้พิสูจน์แล้วว่า BDMS สามารถขับเคลื่อนองค์กรได้ตามกลยุทธ์แห่งความยั่งยืนที่ได้วางไว้ร่วมกันเป็นพันธกิจขององค์กร ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ เราก็เดินหน้าธุรกิจอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากล และสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสีย โดยมีเป้าหมายลดปริมาณคาร์บอนลงมากกว่า 1,800 ตัน ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ให้ครอบคลุม 50% ในปี 2024 และ 100% ในปี 2027 ลดปริมาณของเสียลง 25% อบรมการกู้ชีพขั้นพื้นฐานให้มากกว่า 66,000 ราย ส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาผ่านแอปพลิเคชัน BeDee สร้างนวัตกรรมใหม่ร่วมกับบริษัทสตาร์ทอัพในเครือข่าย โดยมีโครงการนวัตกรรมมากกว่า 400 โครงการ และพัฒนาเครือข่ายโรงพยาบาลสู่ความเป็น Smart Hospital เป็นต้น” พญ. ปรมาภรณ์ กล่าว

ปัจจุบัน กว่าร้อยละ 50 ของโรงพยาบาล และธุรกิจในเครือ BDMS สามารถลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้มากกว่า 10,000 ตันต่อปี ด้วยการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ และการลดปริมาณของเสีย เช่น Upcycling ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียว โครงการอบรมกู้ชีพขั้นพื้นฐานที่บรรลุไปแล้ว 931 คอร์ส มีผู้เข้าร่วมกว่า 61,172 ราย และยังมีการมอบการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพในด้านต่าง ๆ โดยไม่เลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ โดยมีแพทย์ที่ผ่านการอบรมแล้วกว่า 180 ราย ใน 170 โรงพยาบาล

 จากผลการจัดอันดับความยั่งยืนของบริษัทชั้นนำทั่วโลกประจำปี 2566 ของ S&P Global ในดัชนี DJSI (Dow Jones Sustainability Indices) หรือดัชนีชี้วัดความยั่งยืนของดาวโจนส์นั้น บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS ได้รับการจัดอันดับให้เป็นที่ 1 ด้านความยั่งยืนของโลก (DJSI WORLD) และกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (DJSI Emerging Markets) และยังได้คะแนนสูงสุดด้านมิติสังคมในกลุ่มการบริการทางการแพทย์

ดัชนี DJSI นี้ เน้นการประเมินความยั่งยืนของธุรกิจใน 3 ด้าน ได้แก่ การรักษาสิ่งแวดล้อม การดูแลสังคม และการกำกับดูแลบนหลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นหลักดำเนินธุรกิจที่ BDMS ให้ความสำคัญมาโดยตลอด เพื่อส่งมอบบริการทางการแพทย์ตามมาตรฐานสากล ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงการรักษาโดยไม่เลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ ตามกลยุทธ์ขององค์กรที่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่ การสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง (BDMS Innovative Healthcare) การบริการแพทย์ทางไกล เพื่อสุขภาพใจ (BeDee Tele Mental Health) และการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (BDMS Green Healthcare) เป็นต้น

กลยุทธ์ BDMS Innovative Healthcare ที่นับเป็นความสำเร็จด้านนวัตกรรมที่น่าภาคภูมิใจนั้น ได้แก่ การสนับสนุนงานวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ด้วยเทคนิคใหม่ที่ไม่ตัดกล้ามเนื้อ หรือ Direct Anterior Approach Hip Replacement (DAA) วิธีใหม่นี้ช่วยลดระยะเวลาฟื้นตัวของผู้ป่วยได้มากกว่าร้อยละ 50 ทำให้ยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้เข้ารับการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุ

นอกจากนี้ เพื่อต่อยอดความสำเร็จดังกล่าว BDMS ยังจัดตั้งโครงการอบรมเทคนิคนวัตกรรมการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ด้วยเทคนิคใหม่ที่ไม่ตัดกล้ามเนื้อ โดยร่วมกับ มหาวิทยาลัยการแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ โดยมีแพทย์ที่ผ่านการอบรมแล้วกว่า 180 ราย ใน 170 โรงพยาบาล พร้อมทั้งสนับสนุนการเผยแพร่องค์ความรู้นี้ไปสู่เวทีวิชาการในระดับนานาชาติ ทั้งในรูปแบบของบทความวิชาการ การอบรมแพทย์เฉพาะทาง ตลอดจนถ่ายทอดสดการผ่าตัด (Live surgery) ร่วมกับโรงพยาบาลชั้นนำในต่างประเทศ เพื่อตอกย้ำถึงความสามารถในการรักษาพยาบาลของประเทศไทย อันสอดคล้องกับนโยบาย ของชาติในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลาง การรักษาพยาบาลของโลก ปัจจุบันมีผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดจนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติแล้วมากกว่า 750 ราย

สำหรับนวัตกรรมการบริการการแพทย์ทางไกล BDMS ได้พัฒนา BeDee Tele Mental Health เพื่อดูแลสุขภาพใจ โดยร่วมกับมูลนิธิเวชดุสิต ฯ ขยายโอกาสในการดูแลสุขภาพให้กับพนักงานในเครือ ฯ และ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการสุขภาพ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในอุตสาหกรรมบริการการแพทย์ในอนาคต โดยมุ่งหวังสร้างบุคลากรที่มีพลังกาย และพลังใจที่เข้มแข็ง เพื่อสามารถส่งมอบบริการทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตแก่ผู้รับบริการได้อย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรมการแพทย์เพื่อสังคม

และในส่วนของ BDMS Green Healthcare นั้น เป็นการตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการดําเนินงานสุทธิให้เป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2050 หรือ พ.ศ. 2593 (BDMS Net Zero 2050) นอกจากนี้ โครงการ BDMS Green Healthcare ยังเน้นการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งของโรงพยาบาล และธุรกิจในเครือ ฯ ทั้งการจัดการขยะครบวงจรทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นขยะทั่วไป ขยะติดเชื้อ รวมถึงขยะที่ถูกนำไปรีไซเคิล การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสม พร้อมทำงานร่วมกับชุมชน และประชาคมรอบข้างด้วยความรับผิดชอบ ปัจจุบัน มีโรงพยาบาล และธุรกิจในเครือ ฯ ที่ผ่านการประเมินเกณฑ์ BDMS Green Healthcare แล้วกว่า 20 หน่วยงาน

ในปัจจุบัน กว่าร้อยละ 50 ของโรงพยาบาล และธุรกิจในเครือ ฯ สามารถลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 10,000 ตันต่อปี หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้กว่า 50,000 ต้น จากความสำเร็จนี้ BDMS จึงตั้งเป้าหมายการประเมิน BDMS Green healthcare และขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้พลังงาน ทางเลือกในพื้นที่โรงพยาบาล และธุรกิจในเครือ ฯ ให้ครบ 100% พร้อมตั้งเป้าหมายเพิ่มปริมาณขยะทั่วไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลให้มากกว่าร้อยละ 26 ภายในปี 2026

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้น ล้วนเป็นผลมาจากความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนที่พร้อมขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายเดียวกัน BDMS มีพันธกิจสำคัญคือ “ผู้นำบริการด้านสุขภาพที่ยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีบนวิถีแห่งความยั่งยืน” ซึ่งสอดคล้องกับหลักการดำเนินธุรกิจยั่งยืนตามแนวทาง ESG ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล อีกทั้งมุ่งเน้นสร้างประสบการณ์อย่างมีคุณค่าแก่ผู้ใช้บริการด้วยความเป็นเลิศด้านนวัตกรรม โดยลดความเลื่อมล้ำการเข้าถึงการให้บริการด้านสุขภาพได้ด้วยมาตรฐานที่ทัดเทียมระดับสากลตามเจตนารมย์

รายงานดัชนีการใช้คลาวระดับองค์กรของนูทานิคซ์เผยให้เห็นว่า องค์กรในอุตสาหกรรมด้านสาธารณสุขและการแพทย์มีแผนใช้ไฮบริดคลาวด์เพิ่มขึ้น เพื่อตอบรับความต้องการด้านความปลอดภัยของข้อมูลผู้ป่วย และเพื่อให้การทำงานเป็นไปตามกฎระเบียบ

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click