ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่า “นวัตกรรม” หรือที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้คำนิยามไว้ว่า สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมนั้น นับเป็นฟันเฟืองที่สำคัญมากในการผลักดันให้ธุรกิจต่าง ๆ ก้าวไปข้างหน้า เนื่องจากวิถีชีวิต พฤติกรรมผู้บริโภค ตลอดจนสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนเราจำเป็นต้องนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหา พัฒนาสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น รวมถึงสร้างความพึงพอใจให้มากขึ้นด้วย อุตสาหกรรมบริการก็เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านอาหาร หรือธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก็ล้วนต้องพึ่งพานวัตกรรมในการดำเนินงานทั้งในส่วนของหน้าร้านและหลังร้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคนี้ที่นักท่องเที่ยวไม่ได้มองหาแค่สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่ต้องการประสบการณ์แปลก ๆ ใหม่ ๆ จากการเดินทางด้วย
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยดุสิตธานี สถาบันการศึกษาชั้นแนวหน้าที่สอนด้านธุรกิจบริการในเครือโรงแรมดุสิตธานี ซึ่งเปิดสอน 3 กลุ่มวิชา หนึ่งในนั้นคือกลุ่มวิชาผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม (Innovative Entrepreneur) จึงได้จัดงานเซ็น MoU ทำความร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า NIA (National Innovation Agency) โดยมี ดร.อรรถเวทย์ พฤกษ์สถาพร รักษาการอธิการบดี วิทยาลัยดุสิตธานี และ คุณปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นผู้แทนลงนามจากทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้วิทยาลัยดุสิตธานีเล็งเห็นว่า ผู้เรียนหลักสูตรปริญญาโทกลุ่มวิชาผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับการบ่มเพาะทักษะและองค์ความรู้เชิงนวัตกรรมจากหน่วยงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมโดยเฉพาะ ซึ่งคงเป็นที่ใดไม่ได้เลย นอกจาก NIA นั่นเอง เพราะ NIA มีภารกิจในการส่งเสริมการสร้างระบบนวัตกรรมแห่งชาติและสร้างโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรม รวมถึงยกระดับทักษะและความสามารถทางนวัตกรรมของกลุ่มเป้าหมายทั้งกลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มผู้ประกอบการ บริษัทขนาดกลางและใหญ่
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยดุสิตธานี กลุ่มวิชาผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม ไม่เพียงมุ่งบ่มเพาะให้ผู้เรียนพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และมีทักษะรอบด้านที่จำเป็นต่อการบริหารธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความเชี่ยวชาญด้านการสร้างนวัตกรรมให้กับธุรกิจด้วย ทั้งด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบการบริการ หรือแม้แต่การใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนากระบวนการการทำงาน อันจะนำไปสู่การเป็นธุรกิจที่ทันสมัยและประสบความสำเร็จ โดยทาง NIA จะคัดสรรผู้ที่มีประสบการณ์จริงจากภาคอุตสาหกรรมมาเป็นอาจารย์ผู้สอน แลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ ตลอดจนเพิ่มโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมอันหลากหลายของ NIA ซึ่งนับเป็นเอกสิทธิ์สำหรับผู้เรียนในกลุ่มวิชานี้เท่านั้น
“การทำธุรกิจทั่วไปอาจประสบความสำเร็จได้ก็จริง แต่ถ้าทำธุรกิจนวัตกรรม จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโต” คุณเต๊ะ-ปริวรรต วงษ์สำราญ ซึ่งเป็นหนึ่งในอาจารย์ผู้สอน กล่าวขณะร่วมการเสวนาหัวข้อ “สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ด้วยแนวคิดนวัตกรรม” ในพิธีลงนามความร่วมมือที่เพิ่งจัดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ “ยกตัวอย่างเช่นเทสล่า แต่ก่อนสู่อีกหลาย ๆ บริษัทระดับโลกไม่ได้ แต่เมื่อมีการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ ก็ทำให้เติบโตได้สูงจนเป็นผู้นำระดับต้น ๆ ของโลก ทั้งนี้นักศึกษาทั้งที่ยังเรียนอยู่หรือสำเร็จการศึกษาไปแล้วสามารถขอทุนสนับสนุนสำหรับผู้ประกอบการจาก NIA ได้ นอกจากนี้ NIA ยังช่วยผลักดันธุรกิจของนักศึกษาออกไปสู่ตลาดทั้งในไทยและต่างประเทศ การเรียนปริญญาโทที่นี่จึงไม่ใช่แค่การเรียนเพียงอย่างเดียว แต่นับเป็นโอกาสอย่างหนึ่งที่นักศึกษาสามารถนำสิ่งสิ่งที่เรียนไปต่อยอด โดยการขอการสนับสนุนจาก NIA ไม่ว่าจะในรูปแบบเงินทุนหรือองค์ความรู้ต่าง ๆ”
นอกจากมีกลุ่มวิชาผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมแล้ว หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยดุสิตธานี ยังมีอีก 2 กลุ่มวิชา ได้แก่ กลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจการบริการ (Hospitality Business Management) และ กลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจอาหาร (Gastronomy Business Management) ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกลุ่มวิชาใด ก็ล้วนบ่มเพาะและผลักดันให้ผู้เรียนมีทักษะและความเชี่ยวชาญอย่างเจาะลึกในด้านนั้นๆ ด้วยการผสานองค์ความรู้และประสบการณ์ทั้งจากอาจารย์ผู้สอนของวิทยาลัยและจากการทำความร่วมมือกับหน่วยงานที่เชี่ยวชาญภายนอก เหมือนเช่นที่วิทยาลัยดุสิตธานีทำความร่วมมือกับ NIA ในครั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคมถึง 2 พฤศจิกายน 2023 ที่ผ่านมา International Center of Excellence in Tourism and Hospitality Education หรือ THE-ICE ได้จัดงาน International Panel of Experts (IPOE) Forum ครั้งที่ 16 ขึ้น ณ สถาบัน William Angliss เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย งาน THE-ICE IPoE Forum 2023 ดังกล่าวได้รวบรวมตัวแทนจากแวดวงการวิจัย การศึกษา และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การบริการ และอีเว้นท์ (TH&E: Tourism, hospitality, and events) โดยมีการพูดคุยในหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงอย่างผู้นำในช่วงเวลาที่ท้าทาย - การค้นหาและการวางกรอบผู้สำเร็จการศึกษาจาก TH&E ที่เปลี่ยนแปลงไปสำหรับศตวรรษที่ 21” ทั้งนี้ วิทยาลัยดุสิตธานี สถาบันการศึกษาชั้นแนวหน้าในเครือโรงรีมดุสิตธานี มี คุณฟราวเกอะ เกอร์เบนส์ อธิการบดี คุณไซม่อน เดวิด ลอยด์ คณบดี และ ผศ.ดร. ไมลา เมดราโน โลเรโต เป็นตัวแทนวิทยาลัยดุสิตธานีเข้าร่วม
คุณไซม่อน เดวิด ลอยด์ และ ผศ.ดร. ไมลา เมดราโน โลเรโต ได้ร่วมกันนำเสนอรายงานเรื่อง "Best Practices in the Integration of Leadership Competencies into Hospitality Education" บทความนี้ได้รับรางวัลให้เป็นหนึ่งในผู้รับโครงการทุนสนับสนุนการวิจัย THE-ICE (RGS) ปี 2023 ซึ่งมี THE-ICE RGS ให้การอำนวยความสะดวกและส่งเสริมการวิจัยของสถาบันสมาชิก อีกทั้งสนับสนุนวัตถุประสงค์ของ THE-ICE ในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาในด้านการท่องเที่ยว การบริการ งานอีเว้นท์ และศิลปะการประกอบอาหาร การนำเสนอนี้ได้เน้นย้ำถึงแนวทางบุกเบิกของวิทยาลัยดุสิตธานี ในการนำเสนอโปรแกรมผู้นำนักศึกษา - Inspiring Hospitality Leadership (IHL) และวิธีการบูรณาการเข้ากับการสอนในชั้นเรียนทุกหลักสูตร
นอกจากนี้วิทยาลัยดุสิตธานียังได้รับรางวัล THE-ICE & HOSCO Award ในฐานะที่เป็นชุมชนศิษย์เก่าซึ่งมีความกระตือรือร้นมากที่สุดในบรรดาเครือข่ายทั่วโลกของ THE-ICE ด้วย
เมื่อไม่นานมานี้ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยดุสิตธานี สถาบันอุดมศึกษาด้านธุรกิจบริการในเครือโรงแรมดุสิตธานี ได้จัดงาน DTC MBA Open House ขึ้น ซึ่งภายในงานมีการทอล์กในหัวข้อ “ดันธุรกิจอาหารและบริการให้โดนใจผู้บริโภควัยต่าง” โดยได้รับเกียรติจาก ลินดา บูรณะชน ผู้จัดการบริหารทั่วไป บริษัท ครัวเจ๊ง้อ กาญจนาภิเษก จำกัด และ พิมพ์ชิน ภัคพัฒน์ชนม์ ผู้บริหาร JW Group และบริษัทในเครือ และผู้บริหารห้องอาหารญี่ปุ่น จูนิชิ (Junichi) มาเป็น guest speaker และดำเนินรายการโดย ดร.วิลาสินี ยนต์วิกัย ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยดุสิตธานี
คุณลินดากล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เพิ่งผ่านไปว่า เป็นบทเรียนที่ทำให้ผู้ดำเนินธุรกิจต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัว อย่างเช่นร้านเจ๊ง้อที่เป็นร้านอาหารสำหรับครอบครัว ก็ต้องปรับเปลี่ยนมาทำอาหารปรุงสำเร็จวางขายริมถนน รวมไปถึงส่งเดลิเวอรี ดังนั้นจึงต้องปรับสูตรเพื่อให้อาหารคลายความร้อนก่อนบรรจุกล่อง เพื่อให้ลูกค้าเมื่อซื้อกลับไปกินบ้าน อาหารจะยังคงมีรสชาติอร่อย กลิ่นหอม อีกทั้งหน้าตายังต้องดูสดใหม่และน่ากิน
“ในเรื่องของลูกค้า ก็ต้องเข้าใจกลุ่มลูกค้าของตนให้ถ่องแท้ อย่างเช่นโต๊ะในร้านที่เป็นโต๊ะกลม เพราะผ่านการวิเคราะห์มาแล้วว่า กลุ่มลูกค้าที่ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุจะชอบนั่งรับประทานแบบเห็นหน้าสมาชิกทั้งโต๊ะ และนอกจากรสชาติอาหารแล้ว ผู้สูงอายุยังเน้นปริมาณ ดังนั้นจะรู้สึกมีความสุขมากกับการที่ได้ห่ออาหารกลับบ้าน เพราะแสดงให้เห็นถึงปริมาณที่เยอะ คุ้มค่า ในขณะเดียวกันลูกค้าของเจ๊ง้อมักมาเป็นครอบครัวใหญ่ จึงต้องใส่ใจสมาชิกต่างวัยด้วย โดยคนรุ่นใหม่จะเน้นบรรยากาศของร้าน มีมุมให้ถ่ายรูป ซึ่งร้านเจ๊ง้อก็พยายามปรับตัวในเรื่องนี้อยู่เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่ม” ผู้จัดการบริหารทั่วไปครัวเจ๊ง้อยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ทุกวันนี้ไม่จำเป็นต้องมีร้านสวยๆ ใหญ่ๆ เท่านั้น เพราะสตรีทฟู้ดก็มาแรงมาก เพราะรัฐบาลให้การสนับสนุนและมิชลินไกด์มีการให้ดาว สะท้อนให้เห็นว่า ความคุ้มค่าสามารถออกมาในรูปแบบของตัวอาหารหรือความรู้สึกพอใจก็ได้
ด้านคุณพิมพ์ชินกล่าวว่า โควิด-19 ทำให้เทรนด์รักสุขภาพมาแรง การให้บริการแบบไร้สัมผัส (touchless) จึงเป็นที่นิยม ในขณะที่ผู้ให้บริการก็ต้องแสดงให้ลูกค้าเห็นว่า ทางร้านเตรียมความพร้อมด้านสุขอนามัยไว้อย่างไร ไม่ว่าจะทำเป็น story-telling ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย โดยทำให้เห็นทั้งหน้าบ้านหลังบ้านว่าสะอาดและปลอดภัยจริงๆ เพื่อให้ลูกค้าสบายใจที่จะใช้บริการ ผู้บริหารห้องอาหารจูนิชิย้ำว่า “เราลงมือทำอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องบอกให้ลูกค้ารับรู้ด้วยว่าเรากำลังทำอะไร” นอกจากนี้โซเชียลมีเดียแต่ละแพลตฟอร์มก็มีคาแรกเตอร์แตกต่างกัน เหมาะกับผู้บริโภคที่วัยแตกต่างกันด้วย จึงต้องใช้แพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับกลุ่มวัยของลูกค้าต่างๆ
“กลุ่มลูกค้าหลักของทางร้านจูนิชิเป็นคนวัย 35 ปีขึ้นไปที่สนใจเรื่องคุณภาพ ปริมาณ และการบริการ อีกกลุ่มคือกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ชอบความสนุก ตื่นเต้น และชอบถ่ายรูป ทางร้านจึงใช้วิธีดึงดูดคนกลุ่มนี้ด้วยการออกเมนูใหม่ๆ ตามฤดูกาล เพื่อให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกถึง ‘ความเป็นคนแรก’ ที่ใช้บริการหรือกินอาหารเมนูนั้นๆ การมีเมนูใหม่ๆ ยังช่วยให้ร้านมีคอนเทนต์ใหม่ๆ นำเสนอตลอดเวลาด้วย รวมทั้งยังจัดร้านจัดจานให้สวยเพื่อให้น่าถ่ายภาพ และลูกค้าอีกกลุ่มที่ละเลยไม่ได้ก็คือนักท่องเที่ยวต่างชาติ ร้านจูนิชิจึงครีเอทเมนูอาหารญี่ปุ่นที่ผสมผสานความเป็นไทยเข้าไปเพื่อเอาใจลูกค้ากลุ่มนี้ เช่น อุด้งต้มยำกุ้ง เป็นต้น”
ปัจจุบันวิทยาลัยดุสิตธานีเปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ครอบคลุมกลุ่มวิชา 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจการบริการ กลุ่มวิชาผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม และกลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจอาหาร โดยมักจัดกิจกรรมเสริมทักษะให้แก่นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปอยู่เสมอ ดังเช่นการจัดทอล์กในครั้งนี้
เมื่อไม่นานมานี้ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยดุสิตธานี สถาบันการศึกษาชั้นแนวหน้าด้านธุรกิจบริการในเครือโรงแรมดุสิตธานี
เมื่อไม่นานมานี้ นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจอาหาร (Gastronomy Business Management) วิทยาลัยดุสิตธานี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนชั้นนำทางด้านธุรกิจบริการในเครือโรงแรมดุสิตธานี ได้จัดงาน ‘เมืองสมุทร. สุดปราการ’ Chef’s Table ขึ้น ณ ห้องมะฮอกกานี ภายในวิทยาลัยดุสิตธานี ถนนศรีนครินทร์
กิจกรรมครั้งนี้ทีมนักศึกษา ป.โท วิทยาลัยดุสิตธานี ได้นำทักษะความรู้จากการเรียนรายวิชา Service Marketing มาจัด Chef Table โดยเซเลบริตี้เชฟ เช่น เชฟเตย-พัดชา กัลยาณมิตร จากรายการ MasterChef เชฟปิง-สุรกิจ เข็มแก้ว และ เชฟเอฟ-พฤทธิพงศ์ ฉันทไกรวัฒน์ ซึ่งเชฟทุกคนต่างก็เป็นนักศึกษา ป.โท วิทยาลัยดุสิตธานี ด้วย ภายในงานได้เปิดจำหน่ายสำรับอาหารในรูปแบบ Fine Dining ให้บุคคลภายนอกจองโต๊ะเพื่อเข้ามาลิ้มรสในบรรยากาศร้านอาหารจริง โดยสำรับอาหารนั้นเป็นการรังสรรค์วัตถุดิบจากกลุ่มผู้ประกอบการในจังหวัดสมุทรปราการให้เป็นเมนูอาหารเลิศรส เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความเป็นสมุทรปราการซึ่งเป็นย่านที่นับว่าเป็นบ้านใกล้เรือนเคียงกับวิทยาลัยดุสิตธานี ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาจากอาจารย์ ดร.นราธิป อ่ำเที่ยงตรง
งานครั้งนี้ไม่เพียงสะท้อนการเรียนรู้ในรูปแบบ Real World Experience ของนักศึกษา แต่ยังส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจในภาพรวมของอุตสาหกรรมและธุรกิจการบริการ ได้รับทราบถึงการเปลี่ยนแปลงไปของการบริการในธุรกิจอาหาร มองเห็นโอกาสและแนวทางในการปรับตัวของธุรกิจอาหารให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและพฤติกรรมผู้บริโภค อีกทั้งช่วยยกระดับวัตถุดิบท้องถิ่นให้มีมูลค่า สร้างแรงบันดาลใจในการต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้ดีมากขึ้นด้วย และแน่นอนว่า นักศึกษาจะเข้าใจกลยุทธ์การตลาดการบริการอย่างถ่องแท้ ทั้งในมิติของศิลปะการประกอบอาหารและการออกแบบการบริการ (Service Design) กระทั่งสามารถนำไปเป็นแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยต่อไปในอนาคต