December 23, 2024

บริติช เคานซิล ขอเชิญบุคลากรทางการศึกษา ร่วมพัฒนาศักยภาพการสอนภาษาอังกฤษ ในงานประชุมวิชาการออนไลน์ ASEAN Teaching English Online Conference 2024 ระหว่างวันที่ 10 - 30 ตุลาคม 2567 โอกาสพิเศษสำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษและบุคลากรทางการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน ในการพัฒนาทักษะการสอนและเรียนรู้ที่จะเข้าใจในตัวนักเรียนให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา พร้อมรับความรู้เชิงลึกและแนวทางปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ทันสมัยในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (ELT)  

งานนี้เปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาในประเทศไทยร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรชั้นนำจากทั่วภูมิภาคอาเซียนและผู้เชี่ยวชาญด้าน ELT ระดับนานาชาติ  พร้อมเลือกเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์แบบอินเทอร์แอคทีฟได้มากกว่า 16 ชั่วโมง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย รับเคล็ดลับที่นำไปใช้ได้จริง  อีกทั้งยังได้อัปเดตเทรนด์ล่าสุดของ ELT และรับฟังมุมมองอันทรงคุณค่าจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิธีการทำความเข้าใจและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น  

มร.แดนนี่ ไวท์เฮด ผู้อำนวยการ บริติช เคานซิล ประเทศไทย กล่าวว่า “ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษไม่เพียงแต่ช่วยพัฒนาตนเองและส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพ แต่ยังเปิดโอกาสในการเข้าถึงแนวคิด วัฒนธรรม และความรู้จากทั่วโลกอีกด้วย งานประชุม ASEAN TeachingEnglish Online Conference นี้ ถือเป็นเวทีสำคัญในการเชื่อมโยงคุณครูสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยให้ได้พบกับผู้เชี่ยวชาญชั้นนำจากอาเซียนและสหราชอาณาจักร เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับวิธีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเข้าไปในวิธีการสอน รวมถึงสื่อการสอน แหล่งข้อมูลต่างๆ และเครือข่าย TeachingEnglish ของบริติช เคานซิล ที่รวบรวมคุณครูภาษาอังกฤษจากทั่วโลก ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เยาวชนในประเทศไทยได้รับการศึกษาภาษาอังกฤษที่ดีที่สุด”  

การประชุมปีนี้จัดขึ้นธีม Understanding Our Learners โดยวิทยากรจะเจาะลึกถึงประเด็นสำคัญ อาทิ แรงจูงใจ พฤติกรรม และทักษะการปรับตัวของผู้เรียน พร้อมแบ่งปันกลยุทธ์ในการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงบวก รวมถึงเปิดมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับความเท่าเทียมในการเข้าถึงการศึกษา และอนาคตของเทคโนโลยีการศึกษา ผ่านหัวข้อเกี่ยวกับ AI และ EdTech เสริมความรู้ความเข้าใจในด้านสำคัญๆ ของการสอนภาษาอังกฤษอย่างรอบด้าน โดยคณะผู้เชี่ยวชาญจะมาแบ่งปันเทคนิคที่มีประสิทธิภาพในการสนับสนุนผู้เรียน ยกระดับการมีส่วนร่วม และผลสำเร็จในการเรียนรู้ ผ่านแนวทางปฏิบัติแบบครอบคลุมพร้อมเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และค้นพบแนวทางในการทำความเข้าใจผู้เรียนจากผู้เชี่ยวชาญด้าน ELT ที่ได้รับรางวัล  

สำหรับไฮไลต์ของการประชุมในปีนี้ คือเสวนาพิเศษในหัวข้อ “All Ears for Change: Transformative Practices in Exploratory Action Research (EAR)” ในวันที่ 10 ตุลาคม 2567 ซึ่งผู้เข้าร่วมจะได้รู้จักกับแนวคิดหลักโครงการพัฒนาทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียน หรือ Exploratory Action Research (EAR) และการนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาทางการศึกษา รับฟังเรื่องราวความสำเร็จจากชีวิตจริง และเรียนรู้วิธีการในการริเริ่มวางแผนทำโครงการ EAR ให้เหมาะสมกับรูปแบบและสไตล์การสอนของตนเอง ตลอดจนกลยุทธ์ที่นำไปใช้ได้จริง เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการนำแนวปฏิบัติใหม่ ๆ นี้ไปใช้ในชั้นเรียนได้จริง โดยมีผู้ร่วมเสวนาผู้ทรงคุณวุฒิในประเทศไทยซึ่งเคยเข้าร่วมโครงการ EAR มาก่อน ได้แก่ จิตติมา ดวงมณี คุณครูสอนภาษาอังกฤษ โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ จังหวัดนครราชสีมา, พัชรินทร์ กรรณา คุณครูสอนภาษาอังกฤษ โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย, ธัญญาศิริ สิทธิรักษ์ คุณครูสอนภาษาอังกฤษ โรงเรียนหนองวัวซอพิทยาคม จังหวัดอุดรธานี และดำเกิง มุ่งธัญญา คุณครูสอนภาษาอังกฤษชั้นมัธยมจากกรุงเทพฯ  

สำหรับงานประชุมเมื่อปีที่แล้วมีครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมกว่า 15,000 คน จาก ทั่วภูมิภาคอาเซียน รวมถึงครูไทยกว่า 700 คน โดยผู้ร่วมงานทุกคนได้รับฟังมุมมองต่างๆ เกี่ยวกับ นวัตกรรมการสอนภาษา การพัฒนาหลักสูตร การส่งเสริมบทบาทของครู การสร้างสภาพแวดล้อม การเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมถึงประเด็นสำคัญอย่างความแตกต่าง ความเท่าเทียม และความมีส่วนร่วม (EDI) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs

นายวัชชระ ชินเศรษฐวงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษไทย กล่าวถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษว่า ทิศทางของหลายประเทศทั่วโลกขณะนี้ มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ทั้งในเรื่องการลดการใช้พลังงาน การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการเกิดของเสียจากการผลิต รวมถึงสนับสนุนการใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ กระดาษจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง เพราะเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้และนำมารีไซเคิลใช้ใหม่ได้ ทำให้หลายธุรกิจและอุตสาหกรรมเริ่มกลับมาใช้กระดาษเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์มากขึ้น ซึ่งกระดาษในวันนี้ได้ถูกพัฒนาด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้มีทั้งความคงทน แข็งแรง ตอบสนองต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมได้ในหลายรูปแบบ แนวโน้มดังกล่าวส่งผลให้อุตสาหกรรมกระดาษเริ่มกลับมาเติบโตอีกครั้ง หลังได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล

นอกจากนั้น อุตสาหกรรมกระดาษยังได้รับผลบวกจากการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มกระดาษคราฟท์ ที่มีสัดส่วนการผลิตกว่า 80% และใช้วัตถุดิบที่ได้จากการรีไซเคิลกระดาษปีละหลายล้านตันได้รับผลดีตามไปด้วย ซึ่งภูมิภาคเอเชียยังคงเป็นกลุ่มผู้บริโภคและผู้ผลิตอันดับต้นของโลก โดยเฉพาะอาเซียนที่เป็นฐานการผลิตของหลายอุตสาหกรรม ทำให้ไทยกลายเป็น HUB และเป็นศูนย์กลางของอาเซียนที่หลายประเทศให้ความสำคัญ รวมถึงผู้อยู่ในอุตสาหกรรมกระดาษจากทั่วโลก

งาน ASEAN Paper Bangkok 2023 ในครั้งนี้ มีความสำคัญต่ออนาคตของอุตสาหกรรมกระดาษไทยและโลกเป็นอย่างมาก นอกจากจะเป็นงานฯ ที่เป็นการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ เจรจาธุรกิจการค้าร่วมกันแล้ว ยังมีกิจกรรมที่ส่งเสริมความร่วมมือ พร้อมกำหนดแนวโน้มทิศทางของอุตสาหกรรมกระดาษในอนาคตร่วมกันอีกด้วย

นายพรรธระพี ชินะโชติ ประธานกรรมการร่วม อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กล่าวถึงการจัดงาน ASEAN Paper Bangkok 2023 ว่า อาเซียนมีประชากรมากถึง 680 ล้านคนในปี 2565 เป็นตลาดขนาดใหญ่ มีการบริโภคสูง เป็นฐานการผลิตสินค้าสำคัญของโลก โดยมีกระดาษเข้าไปเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหรือเป็นบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการจัดงานฯ ในครั้งนี้จึงดึงดูดความสนใจจากบริษัทชั้นนำจากทั่วโลกให้มารวมกันอยู่ที่ประเทศไทย เพื่อจัดแสดงตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เครื่องจักร โซลูชั่น นวัตกรรมเทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์กระดาษประเภทต่างๆ ที่ครบวงจร

ที่สุดของภูมิภาค โดยแนวคิดในการจัดงานครั้งนี้ คือ “เทคโนโลยีการผลิตกระดาษเพื่อความยั่งยืนและโซลูชั่นสำหรับธุรกิจของอนาคต” (Sustainable Paper Production Technology & Solution for Future Business) ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มและทิศทางของธุรกิจและอุตสาหกรรมของโลก

โดยไฮไลท์ของงานฯ ในครั้งนี้ คือ การเปิดพื้นที่โซนจัดแสดงงานใหม่ในกลุ่มกระดาษลูกฟูกและกระดาษรีไซเคิล (Corrugated and Paper Recycling) ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์กลุ่มใหญ่ของอุตสาหกรรมกระดาษ และในการจัดงานยังได้รับความร่วมมือจากองค์กรธุรกิจสำคัญในอุตสาหกรรมทั้งไทยและนานาชาติ อาทิ Federation of ASEAN Pulp and Paper Industries (FAPPI), The Australasian Pulp and Paper Technical Association (Appita) จากประเทศออสเตรเลีย, Indian Agro & Recycled Paper Mills Association (IARPMA) จากประเทศอินเดีย, Myanmar Pulp And Paper Industry Association (MPPIA) จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์, Vietnam Pulp and Paper Association (VPPA) จากประเทศเวียดนาม, Printing and Packaging Industry Club (FTI) กลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ The Thai Pulp and Paper Industries Association (TPPIA) สมาคมอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษไทย จากประเทศไทย

รวมทั้งยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมายภายในงาน ไม่ว่าจะเป็นการประชุมในหัวข้อ ทิศทางอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษในอนาคต The Future of Tissue and Paper Forum การบรรยายพิเศษเจาะลึกอุตสาหกรรมกระดาษกับ Technical Insights และ Executive Insights The World’s Market Trend of Pulp and Paper Industry ฯลฯ ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้มีบริษัทชั้นนำจากทั่วโลกเข้าร่วมจัดแสดงงานกว่า 200 ราย และคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมชมงานมากกว่า 3,000 ราย จึงอยากเชิญชวนให้ผู้ประกอบการและผู้สนใจในอุตสาหกรรมกระดาษให้เข้ามาเยี่ยมชมงาน ซึ่งจะสามารถนำไปพัฒนา สร้างมูลค่า และต่อยอดธุรกิจได้เป็นอย่างดี

งาน ASEAN Paper Bangkok 2023 เริ่มแล้ววันนี้ - 1 กันยายน 2566 ณ ฮอลล์ 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.aseanpaperbangkok.com

ในเวทีการสัมมนาของงาน CEBIT ASEAN Thailand 2019 ที่จัดขึ้นที่อิมแพ็คฯ เมื่อเร็วๆ นี้ นายอภิชาติ เจิมประไพ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ไซเซล (ไทยแลนด์) จำกัด ได้เข้าร่วมบรรยายให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ภายใต้หัวข้อ “Cloud Network Security Automation & AI” โดยเน้นถึงการที่ไซเซลใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และระบบทำงานที่เป็นอัตโนมัติมาเป็นกลไกสร้างโซลูชั่นเนบูล่าคลาวด์ (Nebula Cloud) ให้เป็นระบบบริหารเครือข่ายผ่านคลาวด์ที่ทำงานเองได้อย่างอัตโนมัติเต็มประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์ มีความปลอดภัยสูง

ทั้งนี้ ไซเซลเป็นหนึ่งใน 7 แบรนด์ในโลกที่มีระบบเกตเวย์วีพีเอ็นที่ผ่านการตรวจสอบจาก Amazon Web Services และ Microsoft Azure

นอกจากนี้ โซลูชั่นจากไซเซลมีความยืดหยุนสูง สามารถขยายจำนวนผู้ใช้งานได้อย่างคล่องตัว และให้ลูกค้าจ่ายค่าบริการเท่าที่ใช้งาน ลูกค้าเอสเอ็มบีสามารถทดลองใช้งานจริงโซลูชั่นคลาวด์ NebulaFlex™Access Point ฟรี! โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตามเงื่อนไข ได้ที่ http://bit.ly/NebulaFlex_TryNow

การประชุมสุดยอด China (Chongqing)-Singapore Connectivity Initiative Financial Summit 2019 ได้จัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมนานาชาติเยวี่ยไหล นครฉงชิ่ง

X

Right Click

No right click