December 22, 2024

ทรู คอร์ปอเรชั่น ภายใต้เป้าหมายต้องการอยู่คู่การศึกษาไทย ล่าสุดเผยอีกหนึ่งโครงการ คือ CONNEXT ED ที่ทรู เป็นหนึ่งใน 12 องค์กรเอกชน ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี ภายใต้ความร่วมมือ 3 ภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน สานต่อความมุ่งมั่นในการเป็นเทคคอมปานีไทย นำศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มาร่วมสนับสนุนการศึกษา ดูแลโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดีของทรู 1,101 แห่ง ครอบคลุม 70 จังหวัดทั่วประเทศ สร้างผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ICT Talent) กว่า 80 คน พร้อมด้วยผู้นำรุ่นใหม่ (School Partner) อีก 250 คน ที่พร้อมเคียงบ่าเคียงไหล่ ทำงานร่วมกับผู้บริหาร ครู นักเรียน และชุมชน เพื่อวางแผนพัฒนาโรงเรียนให้เกิดขึ้นจริงอย่างยั่งยืน

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น และประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี กล่าวว่า “โลกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราจำเป็นต้องปรับตัวให้ทัน รวมถึงด้านการศึกษา ที่ไม่ใช่มุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้เพียงแค่ “จำให้ได้ สอบให้ผ่าน ทำการบ้านให้เสร็จ” แต่ควรเป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติและลงมือทำเพื่อให้ได้ประสบการณ์จริง โดยบทบาทของครู จะกลายเป็นโค้ชออกแบบการสอนให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนประสบการณ์และสนุกไปกับการเรียนที่ให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ซึ่งแม้ประเทศของเราอาจจะยังไม่มีพิพิธภัณฑ์ที่ครอบคลุมด้านต่างๆ มากมาย ให้เด็กได้เลือกเรียนตามความสนใจ แต่ถ้าภาคเอกชน สามารถทำให้มีศูนย์ Learning Center เกิดขึ้น และปรับหลักสูตรร่วมกับภาคการศึกษา ก็จะทำให้องค์ความรู้จากภาคเอกชนเชื่อมโยงเข้าไปพัฒนาระบบทรัพยากรมนุษย์ได้”

ดึงศักยภาพทรู บุกเบิกโครงการ ร่วมพลิกโฉมการศึกษาไทย

ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อร่วมขับเคลื่อนภารกิจยกระดับการศึกษาไทย ผ่านความร่วมมือมูลนิธิฯ ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นโมเดลต้นแบบให้ภาครัฐและองค์กรเอกชนอื่นๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชนไทยยุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น นำร่องสร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (Learning Center) ตั้งแต่ปี 2560 เพื่อสร้างระบบนิเวศและเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อีกทั้งสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยจากเดิมมี 9 แห่ง ขยายเพิ่มขึ้นเป็น 20 แห่งทั่วประเทศ หรือโครงการผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ICT Talent) ที่ทำหน้าที่ผลักดันให้ครูและนักเรียนใช้สื่อไอซีทีอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์สูงสุด

 

นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “ทรู คอร์ปอเรชั่น พร้อมให้การสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี สอดคล้องตามแนวทาง 5 ยุทธศาสตร์หลักมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ 5 (Digital Infrastructures) นำโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล รวมถึงความเชี่ยวชาญด้านไอซีทีและเทคโนโลยีที่มีอยู่ของทรู เข้าไปร่วมสนับสนุนภาคการศึกษา แต่ขณะเดียวกัน ต้องปลูกฝังเยาวชนเรื่องการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งในทุกด้าน ดังนั้นการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเรื่องการใช้เทคโนโลยีและ AI อย่างมีจริยธรรม มีความรับผิดชอบ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง”

ส่อง ร.ร.บ้านตำหรุ (วิงประชาสงเคราะห์) จ.ประจวบฯ สู่โรงเรียนต้นแบบคอนเน็กซ์อีดี

หนึ่งในโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดีต้นแบบ คือ โรงเรียนบ้านตำหรุ (วิงประชาสงเคราะห์) จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของทรู นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างโมเดลโรงเรียนที่สะท้อนให้เห็นชัดถึงการทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็งระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา คุณครู นักเรียน ICT Talent และ School Partner ที่สามารถนำแนวทางยุทธศาสตร์ 5 หลัก ไปประยุกต์ใช้จนเกิดผลและสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม

1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การเปิดเผยข้อมูลสถานศึกษาสู่สาธารณะ (Transparency) นำระบบ School Management System (SMS) มาใช้ พร้อมกรอกข้อมูล และตรวจสอบข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเรียนรู้จุดอ่อนจุดแข็ง มาวางแผนพัฒนาโรงเรียนต่อไป

2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 : กลไกตลาดและวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม (Market Mechanisms) โรงเรียนแห่งนี้ทำงานร่วมกับชุมชนอย่างเข้มแข็ง องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้การสนับสนุน เช่น คอมพิวเตอร์ งบประมาณ และองค์ความรู้จากชาวบ้าน มีกรรมการสถานศึกษาร่วมติดตามในทุกด้าน รวมถึงมี SP ร่วมคิดพัฒนา ทำงานกันอย่างใกล้ชิด

3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน (High Quality Principals & Teachers) ICT Talent ผลักดันให้ครูมีทักษะดิจิทัล และผลักดันครูทุกคนมี Blog ของตนเองในเว็บไซต์โรงเรียน เพื่ออัปโหลดคลิปวิดีโอ สื่อการสอน และกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าไปทบทวนบทเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ผู้ปกครองยังสามารถเข้ามาดูบรรยากาศในห้องเรียนของบุตรหลานได้ด้วย ครูบางส่วน สามารถใช้ AI ทำสื่อการสอนให้เด็กๆ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดทักษะการใช้อุปกรณ์บอร์ด Micro:bit มาสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เป็นต้น ล่าสุด โรงเรียนได้รับการประเมินจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ให้เป็นโรงเรียน Digital Platform ต้นแบบ นอกจากนี้ ICT Talent ยังทำงานร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ ICT Talent ภาครัฐ อบรมให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีแก่บุคลากรการศึกษาในพื้นที่อีกด้วย

4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 : เด็กเป็นศูนย์กลาง เสริมสร้างคุณธรรมและความมั่นใจ (Child Centric & Curriculum) จัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เด็กนักเรียนสามารถนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการเรียนรู้ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันระดับประเทศ เช่น นำ AI มาใช้ในการแต่งและเล่านิทาน ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งกำลังมีแผนนำห้องสมุดมาปรับเป็นศูนย์ Learning Center โดยสามารถระดมทุนและจัดหางบประมาณได้ด้วยตนเองจากการจัดกิจกรรมฟุตบอล ผ่านความร่วมแรงร่วมใจกับคนในชุมชน

5. ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของสถานศึกษา (Digital Infrastructures) เข้าถึงสื่ออุปกรณ์การเรียนรู้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เด็กนักเรียนมีห้องคอมพิวเตอร์ ห้องวิทยาศาสตร์ และห้องออกอากาศ เพื่อการเรียนรู้และอัปเดตข่าวสารของโรงเรียน

นางบุษบา มณีวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตำหรุ (วิงประชาสงเคราะห์) จ.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า “โรงเรียนบ้านตำหรุ (วิงประชาสงเคราะห์) พัฒนาในทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยนำ 5 ยุทธศาสตร์หลักของคอนเน็กซ์อีดีมาปรับใช้ และที่สำคัญมี ICT Talent และ School Partner จากทรู ที่เปรียบเสมือนเพื่อนคู่คิด ทำให้โรงเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านบวกในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของครูและนักเรียน รวมถึงการสนับสนุนที่เข้มแข็งจากชุมชน ทั้งนี้ เชื่อว่ากระบวนการเรียนรู้ที่ได้จากการเป็นโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดี จะช่วยส่งเสริมระบบการศึกษาของโรงเรียนอย่างแน่นอน”

กรุงเทพฯ/ 27 ตุลาคม 2564 - หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสมาร์ทดีไวซ์ ประกาศเปิดตัวโครงการ Huawei ICT Competition 2021 - 2022 อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ภายใต้ธีม “Connection, Glory, Future” ซึ่งเริ่มขึ้นพร้อมกันในกว่า 50 ประเทศทั่วโลก เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรไอซีทีให้แข็งแกร่งและยั่งยืนยิ่งขึ้น

 โครงการ Huawei ICT Competition ซึ่งริเริ่มขึ้นในปี 2558 เป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถของนิสิตนักศึกษาด้านไอซีทีทั่วโลก เพื่อคัดสรรและบ่มเพาะผู้ที่มีความสามารถในด้านดังกล่าว และจัดคอร์สฝึกอบรมระดับโลกรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล โดยจัดขึ้นร่วมกับหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ (Huawei ICT Academy) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับองค์กร เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญคุณภาพสูง

ทางด้านไอซีทีให้มีจำนวนมากขึ้น การแข่งขันด้านไอซีทีนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมได้มีร่วมประลองทักษะในการแข่งขันชั้นนำ พัฒนาความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ตลอดจนพัฒนาต่อยอดความรู้เพื่อเตรียมตัวเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรไอซีที กิจกรรม Huawei ICT Competition ยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “เมล็ดพันธุ์แห่งอนาคต (Seeds for the Future)” ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อสังคมของหัวเว่ย ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านไอซีทีในประเทศ และเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างประเทศและวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน

 การแข่งขัน Huawei ICT Competition 2021-2022 ในประเทศไทย ประกอบด้วยการแข่งขันหลายรอบ โดยนิสิตนักศึกษาที่มีความสนใจและมีพื้นฐานด้านไอซีที สามารถรวมกลุ่มและลงทะเบียนสมัครเป็นทีม ๆ ละ 3 คน และเริ่มศึกษาด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างเทคโนโลยีด้านเน็ตเวิร์ก เช่น ดาต้าคอม หรือเทคโนโลยีด้านคลาวด์ เช่น คลาวด์ เซอร์วิส กิจกรรมทั้งหมดจะจัดขึ้นตามมาตรการป้องกันโควิด-19 ทีมที่ชนะจะมีโอกาสลุ้นรับรางวัลสุดพิเศษ รวมถึงทริปเดินทางเพื่อพัฒนาความรู้ด้านไอซีที เก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านวัฒนธรรม ตลอดจนถึงโอกาสในการทำงานที่หัวเว่ย

 

         หมายเหตุ: ตารางข้างต้นเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น และอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ

นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวว่า “Huawei ICT Competition ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6 นี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีในการเฟ้นหาพันธมิตรรุ่นใหม่ ๆ ที่สามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัลของประเทศในอนาคต ประเทศไทยได้กลายเป็นผู้นำในการเปิดให้บริการ 5G ในภูมิภาคอาเซียน และแรง

หนุนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาทางด้านดิจิทัลก็คือรากฐานด้านบุคลากรที่แข็งแกร่ง หัวเว่ยได้ตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรดิจิทัลอย่างต่อเนื่องผ่านแพลตฟอร์มความร่วมมือและโครงการต่าง ๆ อย่างเช่นโครงการนี้ ในขณะที่ไอซีทีได้เติบโตไปสู่ทุกอุตสาหกรรมและกลายเป็นกุญแจดอกสำคัญในการพัฒนาและสร้างความก้าวหน้าทางสังคม”

 นอกเหนือจากการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่โดดเด่นของบุคลากรด้านดิจิทัลในเวทีระดับโลกแล้ว โครงการ Huawei ICT Competition ยังเป็นโอกาสในการตอกย้ำคำมั่นที่จะทำให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นอีกด้วย หัวเว่ย ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก ร่วมเดินหน้าสำรวจแนวทางการพัฒนาใหม่ ๆ และมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมเทคโนโลยีไอซีที พัฒนาบุคลากร และลดช่องว่างด้านความขาดแคลนบุคลากรในสาขานี้ นอกจากนี้ บริษัทยังเดินกลยุทธ์ในการร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างเวทีที่เปิดกว้างและสร้างโอกาสใหม่ ๆ อย่างมั่นคง ซึ่งท้ายที่สุดจะสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่ทุกคน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อสร้างโลกอัจฉริยะที่เชื่อมต่อถึงกันอย่างสมบูรณ์แบบ

 นิสิตนักศึกษาที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://e.huawei.com/en/talent/#/news/details?consultationId=1483 และลงทะเบียนได้ที่นี่

 

-จบ-

หัวเว่ยจัดงานประชุมสุดยอด Huawei Global Analyst Summit (HAS) ครั้งที่ 17 ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ที่เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน

1. บทนำ ในยุคเทคโนโลยี 5G ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงกว่า 4G ถึง 10 เท่าเป็นอย่างต่ำ โดยจะใช้แถบความกว้างของความถี่ในระดับ 50 - 100 MHz ซึ่งจะทำให้หุ่นยนต์และมนุษย์ทำงานร่วมกันในโรงงาน และในโรงงานจะทำหน้าที่เหมือนวง ดนตรีที่เล่นเพลงเดียวกันอย่างไพเราะด้วยเครื่องดนตรีที่หลากหลาย นอกจากนี้หุ่นยนต์จะเชื่อมต่อเข้ากับระบบคลาวด์ (Cloud robotics) ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อความปลอดภัยและสั่งการควบคุมกระบวนการ ซึ่ง 5G ไม่ได้มีการก้าวกระโดดแค่เรื่องความเร็ว   แต่จะมีการเพิ่มจำนวนเครือข่ายที่สามารถเชื่อมต่อกันได้มากขึ้นและ สามารถรองรับการใช้งานผ่านอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ได้ถึงล้านล้านชิ้น อุปกรณ์ทั่วโลกซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน 5G ที่มีการวางไว้แล้ว

ทั้งนี้การวิเคราะห์และการคาดการณ์จากสำนักวิจัยหลายสำนักสามารถสรุปได้ว่า อุตสาหกรรมสื่อและโทรคมนาคมจะถูกพลิกโฉมอย่างที่ไม่เหลือรูปแบบเดิมๆ ประมาณช่วงปี 2023-2025 (หลังจากการประกอบร่างของ AI และ Big data สำเร็จ) ตามมาด้วยอุตสาหกรรมการเงินการธนาคารและค้าปลีกในช่วงปี  2025  (หลังจากการประกอบร่างระหว่าง AI, Big data และ Blockchain สำเร็จ) ไปจนถึงอุตสาหกรรมพลังงานในปี  2030  (หลังจากการประกอบร่างระหว่าง  AI,  Big data, Blockchain และ Energy storage สำเร็จ)  ซึ่งหลังจากปี  2030  จะเป็นภาพจริงของการอพยพจากอุตสาหกรรมเก่าเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) อย่างสมบูรณ์แบบ

การให้บริการ Mobile broadband กำลังก้าวไปสู่ระบบ 5G โดยมีแผนที่จะวางโครงข่ายครั้งแรกในหลายประเทศไม่เกินปีนี้ (ปี 2018) ซึ่งถือได้ว่าเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ถึง 2 ปี ทั้งนี้เป็นผลมาจากการแข่งขันที่รุนแรง ในความพยายามที่จะผลักดันให้การบริการ Mobile broadband ที่สามารถให้บริการ Digital platform ในทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก

ความต้องการเพิ่มความเร็วเครือข่ายในระดับ Gbps และการมีแอพพลิเคชั่นที่ หลากหลาย ส่งผลทำให้ 5G มีผลกระทบต่อบทบาทและขอบเขตของการให้บริการ โทรคมนาคมอย่างมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาในการให้บริการทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การเงินการธนาคาร, ประกันภัย, การขนส่ง, ค้าปลีก บันเทิง ไปจนถึง พลังงาน

เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้กลายเป็นเครื่องมือหลักของการเข้าถึงการเชื่อมต่อระหว่างคนด้วยกันเอง   และระหว่างคนกับอุปกรณ์หรือเครื่องจักร   และจะส่งผลกระทบต่อทุกสิ่งทุกอย่างบนอินเทอร์เน็ต ไปจนถึงระบบเมืองอัจฉริยะด้วยการเชื่อมโยงของ Internet of Things  (IoT), รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง,  หุ่นยนต์,  Virtual Reality (VR), Big Data เป็นต้น โดยจุดเด่นของ 5G ที่สำคัญได้แก่

(1) เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5G จะกลายเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงเครือข่ายสำหรับเชื่อมต่อระหว่างคนด้วยกันเอง และระหว่างคนกับอุปกรณ์หรือเครื่องจักร โดยเครือข่ายเหล่านี้จำเป็นจะต้องพัฒนาปรับปรุงเครือข่าย ทั้งในแง่ของคุณภาพ ความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัย

(2) 5G  จะผลักดันให้วิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ตมุ่งเน้นไปที่พื้นฐานสำคัญ 2 ประการ นั่นคือความจุเครือข่าย (ความเร็วในการส่งข้อมูล) และความสามารถในการเชื่อมต่อที่หนาแน่น เพื่อลดปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นคอขวดจากการเพิ่ม ขึ้นของ real-time videos

(3)  ความสามารถในการรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วของ  5G  ในระดับ  Gbps  จะทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันในเมืองอัจฉริยะทำได้แบบ real time ส่งผลให้สภาพแวดล้อมภายในเมืองมีประสิทธิภาพในการบริหาร ทรัพยากรมากขึ้น  เช่น  การควบคุมจราจร  จะพัฒนาได้มากเมื่อสามารถวิเคราะห์ สภาพถนนได้แบบ real time โดยการใช้กล้อง IP ที่ชาญฉลาด

(4) การสำรวจของอีริคสันพบว่าร้อยละ 95 ของผู้นำด้านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เชื่อว่า 5G จะเข้ามาช่วยสนับสนุนการใช้ข้อมูลปริมาณมหาศาลจากอุปกรณ์ IoT ซึ่งผลสำรวจยังกล่าวถึงการนำ 5G มาใช้ โดยร้อยละ 64 จะใช้เครือข่ายโทรศัพท์ เคลื่อนที่ในการส่งผ่านข้อมูลไปยังอุปกรณ์ต่างๆ โดยใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนการเชื่อมต่อ WiFi, ร้อยละ 38 ใช้ดำเนินการด้านสุขภาพ เช่น บริษัท เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสามารถใช้อุปกรณ์  IoT ในการเชื่อมต่อ 5G เพื่อตรวจสอบผู้ป่วยที่กำลังฟื้นตัวจากการรักษา, ร้อยละ 36 ใช้ในการควบคุมระยะไกลแบบ real time เช่น  บริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติใช้การเชื่อมต่อ 5G เพื่อสำรวจและ ตรวจสอบความพร้อมและความผิดปกติของระบบต่างๆ

สำหรับมุมมองของโนเกียเชื่อว่าเครือข่าย 5G จะทำให้ผู้ใช้งานระบบเสมือนจริง สามารถทำงานร่วมกันได้ราวกับว่าอยู่ใกล้กัน ซึ่งอาจจะดูเหมือนวิดีโอเกมยุคใหม่ และการทำงานร่วมกันจากระยะไกลโดย 5G จะทำให้เกิดความเป็นไปได้ใน การนำระบบอัตโนมัติมาใช้กับทุกสิ่งทุกอย่าง โดย 5G จะสร้างแพลตฟอร์มเพื่อ บริหารจัดการด้วยการเชื่อมโยงสู่ Cloud robotics

Facebook ประกาศว่าโครงการ Telecom Infra Project เป็นความคิดริเริ่มในการออกแบบเพื่อปรับปรุงโครงสร้างเครือข่ายโทรคมนาคมใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับ ความต้องการใช้งานข้อมูลที่มีเพิ่มขึ้นของโลก อีกทั้งบริษัทเครือข่ายทางสังคม (Social media)ได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และผู้จำหน่ายอุปกรณ์ เช่น Nokia, Intel และ Deutsche Telekom เพื่อให้สามารถดำเนินการรับมือกับการใช้งานข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นระบบ VR และการ ดูวิดีโอออนไลน์ เป็นต้น

หนึ่งในจุดเด่นของ 5G คือความสามารถในการลดความหน่วงเวลาได้อย่างมาก (Ultra-low latency) เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับรถยนต์ได้อย่างต่อเนื่องแบบ Real time ซึ่งสามารถพัฒนาความปลอดภัยของยานพาหนะได้อย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้น ความหน่วงเวลาที่ต่ำของ 5G จะช่วยให้เครือข่ายหุ่นยนต์สามารถดำเนินงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้

นอกจากนี้เทคโนโลยีเครือข่าย 5G ยังเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จสำหรับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ยุคใหม่ ที่มีการควบคุมแบบไร้สายมากกว่าการสื่อสารแบบมีสายและการจัดเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์ (Cloud robotics) ด้วยความสามารถเหล่านี้  ทำให้หุ่นยนต์สามารถถูกควบคุมการเคลื่อนที่ ได้อย่างแม่นยำและ real time มากที่สุด และสามารถเชื่อมได้กับทั้งคน เครื่องจักร อุปกรณ์ทั้งในประเทศและทั่วโลก

ความท้าทายที่สำคัญของผู้ให้บริการเครือข่าย 5G ในอนาคต ได้แก่ มาตรฐาน การให้บริการ การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งความ ท้าทายของเทคโนโลยีเครือข่าย 5G จะต้องมุ่งเน้นการเชื่อมต่อของสังคมดิจิทัล (Digital Society) ในอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยมีปัจจัยสำคัญประกอบด้วย

  • ระบบเครือข่ายที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นทำให้เครือข่ายเคลื่อนที่และอุปกรณ์ สามารถเชื่อมต่อได้ง่ายขึ้น ซึ่งในอดีตที่ผู้ให้บริการต้องพบกับข้อจำกัดต่างๆ
  • สามารถเชื่อมต่อองค์ความรู้ที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเติบโตของอินเทอร์เน็ต การให้บริการคลาวด์ และการวิเคราะห์ Big Data
  • การขับเคลื่อนนวัตกรรม 5G โดยการเปลี่ยนผ่านและหลอมรวมทางเทคโนโลยี (Technology convergence)และโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT จะผลักดันให้เกิดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการในทุกอุตสาหกรรม

ในอนาคตข้างหน้า 5G จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในการใช้ ในชีวิตประจำวัน การทำงาน และบันเทิง ซึ่งถือว่าเทคโนโลยี 5G จะเป็นหนึ่งในผู้เปลี่ยนเกมการให้บริการและ Business model ในอุตสาหกรรมทุกอุตสาหกรรมและ ทุก Digital platform และแน่นอนความเสี่ยงด้านไซเบอร์ก็จะทวีคูณขึ้นเป็นเงาตาม ตัวด้วยความเร็วในระดับ 5G เช่นกัน

มีการคาดการณ์จากนักอนาคตศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ไว้ว่า TV ในอนาคต อาจจะเป็นเพียงพลาสติกใสบางๆ และในที่สุดจะเป็นภาพลอยขึ้นมาแบบสามมิติ ด้วย content ที่ผลิตผ่าน social media ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นภายใน 10 ปีจากนี้

อย่างไรก็ตามรูปแบบอนาคตของ TV ณ ขณะนี้ยังเป็นการต่อสู้ระหว่าง 5G และ social media เช่น Facebook, Google, Youtube และ social media อื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็นความสั่นสะเทือนวงการ TV ดั้งเดิมเป็นอย่างมาก

หลังจากการวางเคเบิ้ลไฟเบอร์ออฟติกใต้น้ำ (submarine optical cable) ตั้งแต่ปี 2000 ที่มีการแข่งขันกันกันสูงมากจนทำให้โลกถูกเชื่อมโยงด้วยทางด่วนข้อมูลใต้น้ำอย่างสมบูรณ์ จึงเป็นผลทำให้ราคาค่าเชื่อมโยงผ่านเคเบิ้ลใต้น้ำมีราคาถูกกว่า การเชื่อมโยงด้วยดาวเทียม และยังมีความเร็วสูงกว่าการส่งข้อมูลด้วยดาวเทียมอีกด้วย ผลกระทบดังกล่าวจึงทำให้ระบบ Mobile broadband มีต้นทุนในการส่ง content ถูกกว่าด้วยการส่ง content ผ่านระบบดาวเทียมเป็นอันมาก ยิ่งไปกว่านั้น ขีดความสามารถของโครงข่าย Mobile broadband มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด พร้อมทั้งการเข้าถึงของประชากรโลกมีความง่ายดายด้วย smart devices ที่มีราคาที่ ทุกคนสามารถหาซื้อได้ โดย GSMA คาดการณ์ว่ากว่า 70% ของประชากรโลกจะมี smartphone ใช้ภายในปี 2020 (ณ ขณะนี้ปี 2018 มีถึง 66%)

การให้บริการ Mobile broadband 5G ทำให้ผู้ให้บริการโครงข่าย (Network operators) จะต้องหาวิธีการรับมือกับปริมาณข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการใช้งานของ เทคโนโลยีไร้สายยุคใหม่ ที่มีการใช้งานเครือข่ายที่หนาแน่นมาก โดยขณะนี้ AT&T ได้ทดลองการให้บริการเครือข่าย 5G เพื่อแพร่ภาพโทรทัศน์ที่มีชื่อ โครงการว่า DirecTV Now  ซึ่งให้บริการวิดีโอออนดีมานด์ (VDO on demand) ในรูปแบบสตีมมิ่ง และได้เริ่มทดลองแพร่ภาพในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2017 ใน เมืองออสติน รัฐเท็กซัส  ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว

AT&T ทำการทดลองแพร่ภาพสตรีมมิ่งเป็นครั้งแรกผ่านโครงข่าย 5G โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อ "ทำให้เครือข่าย 5G สามารถให้บริการแทนระบบสายเคเบิ้ล" ซึ่งขีดความสามารถตามมาตรฐานของเทคโนโลยี 5G ได้ถูกกำหนดไว้โดย สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)  เพื่อสามารถรองรับการใช้งานรับส่ง ข้อมูลปริมาณมากๆ เช่น วิดีโอ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพแบบ real time อีกทั้งยัง สามารถรองรับการให้บริการด้านบันเทิงในรูปแบบต่างๆ ในอนาคตได้อีกด้วย

ซึ่งการให้บริการเช่นนี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการอวสานของ “เคเบิ้ลทีวี” ที่ กำลังจะมาถึงเร็วๆนี้ ด้วยบริการเครือข่ายไร้สาย 5G ที่มีราคาถูกกว่า,   มีประสิทธิภาพดีกว่าและเข้าถึงผู้ชมได้ง่ายกว่าด้วย smartphone ที่มีขีดความ สามารถสูงและราคาถูก

5G ถือเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายไร้ที่มีเป้าหมายให้สามารถบริการด้วยความเร็วที่ สูงกว่าเครือข่าย 4G ถึง 100 เท่า โดยสามารถดาวน์โหลดด้วยความเร็วถึง 14 Gbps ซึ่งหากเทียบกับความเร็วสูงสุดที่ AT&T ให้บริการบนเครือข่าย 4G ใน ประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ ณ ขณะนี้ ที่มีความเร็วสูงสุดในการดาวน์โหลดอยู่ที่ 14 Mbps เท่านั้น

ผู้ให้บริการโครงข่าย (Network operators) หลายรายในสหรัฐฯ ต่างมุ่งผลักดัน เพื่อการให้บริการแห่งอนาคต ไม่ว่าจะเป็น Verizon Wireless, AT&T, Sprint และ T-Mobile ต่างก็เริ่มมีการทดสอบการให้บริการเครือข่าย 5G กันไปบ้างแล้ว ซึ่งใน ปี 2017 ที่ผ่านมาเป็นปีแห่งการทดสอบเครือข่าย 5G ในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่ง จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการภายในปี   2018

อย่างไรก็ตามในขณะที่ผู้ให้บริการโครงข่าย 5G (Network operators) พยายาม แย่งชิงเพื่อที่จะเป็นเจ้าแห่งอุตสาหกรรม TV แต่ Facebook ก็ได้ประกาศไปแล้วว่า กำลังจะเริ่มให้บริการแพร่ภาพแบบสตรีมมิ่ง (Streaming videos) ผ่านแพลตฟอร์ม หลักของ Facebook โดยสามารถแสดงผลบนจอ TV แบบปกติโดยผ่านอุปกรณ์ เช่น Apple TV หรือ Google Chrome-cast ซึ่งการให้บริการดังกล่าวจะทำให้ สามารถรับชม Facebook videos บนจอขนาดใหญ่ได้ ซึ่งจะทำให้ social media เพิ่มความสามารถในการให้บริการเสมือนเป็นสถานีโทรทัศน์

นับจากนี้ไปสงครามชิงดำเพื่อยึด Landscape ใหม่ของ TV คงจะระอุอย่างยิ่ง ซึ่งคงเป็นเรื่องที่ยากในการคาดการณ์ว่าจะจบลงในรูปแบบใด

 


บทความ โดย : พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)


สามารถรับชมคลิปวิดีโอ หัวข้อ “Next-Gen. Leaders & Next-Gen. Mobile Tech” โดย พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กสทช. จากงาน Thailand MBA Forum 2018 ได้ที่นี่

 

 

 

 

X

Right Click

No right click