โดยมีทั้งนักวิเคราะห์ ผู้มีอิทธิพลทางความคิด (KOL) และตัวแทนสื่อมวลชนจากหลากหลายอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นโทรคมนาคม อินเทอร์เน็ต และการเงิน รวมกว่า 2,000 คนเข้าร่วม ภายในงานยังได้มีการพูดคุยถึงประเด็นของความร่วมมือในภาคอุตสาหกรรม ในการผ่านช่วงเวลาแห่งความยากลำบาก และสามารถบรรลุผลลัพธ์ที่ได้ประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย เพื่อก้าวเข้าสู่โลกแห่งความอัจฉริยะได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
นายกัว ผิง ประธานกรรมการบริหารหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์เปิดงานในหัวข้อ “หัวเว่ย: หนึ่งปีที่ผ่านมาและอนาคตเบื้องหน้า” โดยเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงประสบการณ์และผลการดำเนินธุรกิจของหัวเว่ยในช่วงปีที่ผ่านมา ระบุว่า “ตลอดช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ภายใต้การปิดกั้นการเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ แต่หัวเว่ยก็ดิ้นรนข้ามผ่านอุปสรรคเหล่านั้นจนอยู่รอดมาได้ และกำลังเพียรพยายามอย่างยิ่งที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า”
หัวเว่ย เป็นผู้มีส่วนช่วยเหลือและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท ด้วยความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่ผู้คน ครัวเรือน และองค์กรต่างๆ เพื่อผลักดันให้โลกก้าวไปข้างหน้า ตลอดช่วงเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ติดตั้งเครือข่ายไปแล้วมากกว่า 1,500 เครือข่าย ในพื้นที่กว่า 170 ประเทศและภูมิภาค รองรับการใช้งานของประชากรมากกว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลก นอกจากนี้ เรายังให้บริการอุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์แก่ผู้บริโภคกว่า 600 ล้านคน ความกดดันของสหรัฐอเมริกาที่ต้องการต่อต้านหัวเว่ยจะไม่เพียงทำส่งผลกระทบต่อหัวเว่ยเท่านั้น แต่จะส่งผลกระทบต่อการใช้งานของผู้บริโภค และส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของหัวเว่ยด้วยเช่นกัน
โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) คือรากฐานของโลกอัจฉริยะ โดยภายในปี พ.ศ. 2568 เศรษฐกิจดิจิทัลจะเป็นตัวแทนภาคอุตสาหกรรมที่มีมูลค่ากว่า 23 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จึงถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพอย่างมาก และนับเป็นส่วนสำคัญที่จะนำไปสู่การก้าวสู่โลกอัจฉริยะที่เปี่ยมไปด้วยโอกาสที่เหนือกว่าความท้าทายอีกมากมาย
หัวเว่ย จะยังคงลงทุนและพัฒนานวัตกรรมสามสาขาหลักในอนาคต ซึ่งครอบคลุมด้านการเชื่อมต่อ ด้านการประมวลผลคอมพิวเตอร์ และด้านอุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์ และจะร่วมมือกับลูกค้า พันธมิตร องค์กรด้านการจัดตั้งมาตรฐานต่างๆ และผู้เล่นอื่นๆ ในอุตสาหกรรมที่มีบทบาทเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทาน การจัดตั้งมาตรฐาน และการแสวงหาบุคลากรที่มีศักยภาพ เพื่อสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือที่เปิดกว้าง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุม และแสวงหาอนาคตร่วมกันต่อไป
นายกัว ผิง ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “ปัจจุบันโลกของเราอยู่ในระบบบูรณาการที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกัน ทิศทางของกระแสโลกาภิวัฒน์ยังไม่มีทีท่าจะเปลี่ยนไปแต่อย่างใด การมีหลายมาตรฐานและมีห่วงโซ่อุปทานที่กระจัดกระจายนั้นไม่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใด แต่จะส่งผลเสียรุนแรงต่ออุตสาหกรรมในภาพรวม ภาคอุตสาหกรรมจึงต้องทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับการคุ้มครองสิทธิของทรัพย์สินทางปัญญา ส่งเสริมการแข่งขันที่เท่าเทียม รักษามาตรฐานระดับโลกที่เป็นหนึ่งเดียว พร้อมสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกันในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก”
งานประชุม Huawei Global Analyst Summit ถูกจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2547 และจัดเป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้ งานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ภายในงานประกอบด้วยการประชุมต่างๆ ในหัวข้อที่หลากหลาย ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เข้าร่วม พูดคุยและแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับทิศทางอุตสาหกรรม เทรนด์เทคโนโลยี และความร่วมมือระดับโลก สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงาน สามารถอ่านต่อได้ที่ https://www.huawei.com/en/press-events/events/has2020