November 23, 2024

มหาวิทยาลัย ซีเอ็มเคแอล (CMKL University) เปิดรับสมัครนักศึกษา หลักสูตรปริญญาโท ภาคภาษาอังกฤษ สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ที่มุ่งเน้นการสร้างบุคคลากรให้มีทักษะของสหวิทยาการ หรือ interdisciplinary ที่ประกอบไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ความรู้ทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ และความชำนาญด้านธุรกิจ ที่จะมายกระดับทุกทักษะในตัวคุณ ให้ “เปลี่ยน” และก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับ Advance Technology ในยุคปัจจุบัน สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2567 ได้ที่เว็บไซต์ https://apply.cmkl.ac.th/ และสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ https://www.tci.cmkl.ac.th/admission 

มหาวิทยาลัย ซีเอ็มเคแอล (CMKL University) เปิดรับสมัครนักศึกษา หลักสูตรปริญญาโท ภาคภาษาอังกฤษ สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างสรรค์ (Master of Science in Technology and Creative Innovation) ที่มุ่งเน้นการสร้างบุคคลากรให้มีทักษะของสหวิทยาการ หรือ interdisciplinary ที่ประกอบไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ความรู้ทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Engineering & Technology Development) และความชำนาญด้านธุรกิจ (Business and Innovation) ที่จะมายกระดับทุกทักษะในตัวคุณ ให้ “เปลี่ยน” และก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับ Advance Technology ในยุคปัจจุบัน

รศ.ดร.สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น อธิการบดีมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL University) เปิดเผยว่า หลักสูตรนี้มุ่งเน้นในการสร้าง Entrepreneur และ Innovator ที่ความชำนาญที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Creative Technology, Business and Entrepreneurship และโอกาสในการทำงาน และความท้าทายใหม่ๆ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของนวตกรรม  Start-Up หรือเข้าทำงานในองค์กรสมัยใหม่ทั้งในไทยและต่างประเทศ พร้อมไปกับการสร้างโอกาสทางธุรกิจ คอนเนคชั่น และความก้าวหน้าในหน้าที่ทางการงาน สามารถขยายจากสายงานจากที่ทำอยู่ ไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยม และให้ค่าตอบแทนที่มากกว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น Creative Technology, Artificial Intelligence (AI), Start-Up Engineering หรือ Business Entrepreneur ไปจนถึงการมี Start-Up หรือ  Innovation Product 

โดยมีอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล ที่ชำนาญการและมีประสบการณ์จากแวดวง Creative Technology, Innovation และ AI อีกทั้งยังมีอาจารย์พิเศษที่จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศ เช่น Carnegie Mellon University, MIT, Bremen University, New York University และอีกมากมาย รวมไปถึงอาจารย์รับเชิญจากอุตสาหกรรมและบริษัทต่างๆ อย่าง KBTG, The Monk Studio, Bangkok Bank เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนั้น

หลักสูตรนี้จะแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหลัก คือ

  1. ความคิดสร้างสรรค์เพื่อใช้ในการออกแบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Creative Design and Technology) ผู้เรียนจะมีโอกาสได้ศึกษา วิชาในเชิงความคิดสร้างสรรค์ ไปพร้อมๆกับเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ อันได้แก่ Design Thinking, Human-centered UI/UX Design, Foundations of Creative Innovation ไปจนถึง Building VR, Mixed Realities, Virtual Production, Storytelling with Data หรือ Game Development เป็นต้น
  2. ความรู้ทางวิศวกรรมและการพัฒนานวตกรรมเทคโนโลยี (Engineering and Technology Development ) เพื่อเข้าใจในเทคโนโลยีและกระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิเช่น Start Up Engineering, Introduction to AI and Machine Learning, Creating Explainable AI หรือ IoT with Arduino and Raspberry Pi เป็นต้น
  3. ความรู้ทางธุรกิจ และ นวตกรรม (Business and Innovation) เพื่อให้สามารถวางแผนโครงสร้างทางธุรกิจ และการเข้าในทิศทางของผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี นำสู่ความสามารถในการผลิตเป็นนวตกรรมจริงๆ เช่น AI for Business, Entrepreneurship and Innovation, Lean Entrepreneurship, Entrepreneurial Financing and Investing, Blockchain, Intellectual Property Law in Media, Entertainment, and Technology, Entrepreneurial Financing and Investing เป็นต้น

หลักสูตร ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างสรรค์ (Master of Science in Technology and Creative Innovation) ใช้ระยะเวลาในการเรียนทั้งหมดเป็นจำนวน 3 เทอม หรือ 1 ปีครึ่ง โดยผู้เรียนจะต้องเรียนวิชาหลักทั้งหมด 4 ใน 5 วิชาและวิชาเลือก เพื่อให้หน่วยกิจมีมากกว่า 108 หน่วยกิจ และต้องทำ Capstone Project ในทุกเทอมจนจบการศึกษา เพื่อให้รับใบปริญญาบัตร  โดยมีค่าใช้จ่ายตลอดทั้งหลักสูตร อยู่ที่ 946,500 บาท โดยผู้เรียนสามารถยื่นขอทุนการศึกษา หรือขอเข้าร่วมโปรเจกต์งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนค่าเรียนได้

นอกจากวิชาที่เรียน ผู้เรียนยังต้องทำ Capstone Project ซึ่งเป็นโปรเจกต์จบ ที่เกี่ยวกับนวตกรรมสร้างสรรค์ (Creative Innovation และยังมีทั้ง Industry Visit, Special Talks, การไปดูงานที่ World Expo Osaka 2025 และอีกมากมาย


รายละเอียดการรับสมัคร:

ช่องทางการสมัคร: https://apply.cmkl.ac.th/ 

กำหนดรับสมัคร: ภายใน 24 มิถุนายน 2567

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.tci.cmkl.ac.th/admission 

มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL) ชวนมาเตรียมความพร้อมและเก็บความรู้สู่ยุค AI ในงาน AI Engineering & Innovation Summit 2023 ระหว่างวันที่ 7-8 ธันวาคม 2566 ที่ ทรู ดิจิทัล พาร์ค (TRUE Digital Park) นำทีมโดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภามหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL University) และ สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์  (AI Engineering Institute  - AIEI)  ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง 6 สถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ครั้งแรกแห่งการพบกันครั้งยิ่งใหญ่ของผู้นำด้าน AI Engineering & Innovation จากสหรัฐอเมริกา และ คณะอาจารย์ ร่วมกับภาครัฐและเอกชน ชั้นนำของประเทศไทย เพื่อหารือ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านนวัตกรรมด้าน AI มากมายเราขอเชิญทุกคนมาร่วมกันพบกับเหล่าผู้เชี่ยวชาญผู้มีความรู้ความสามารถด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และวิศวะคอมพิวเตอร์ รวมถึงผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์จากสถาบันชั้นนำต่าง ๆ ที่จะมามอบความรู้ และพูดคุยในประเด็นที่ล้ำสมัยเกี่ยวกับ AI

ภายในงานประกอบไปด้วย AI ทางด้าน Medicine, Engineering Education, Policy & Governance, Creative & Innovation, Finance & Banking, Future of Start-ups และอื่น ๆ อีกมากมาย ความรู้ที่อัดแน่นทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณตามทันเทรนด์ของ AI และเสริมทักษะความรู้เพื่อธุรกิจของคุณ รวมถึงยังเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้รู้จักงานวิจัยจากนักศึกษาสายวิชา AI และ Innovation จากหลากหลายสถาบัน เพื่อให้คุณได้เชื่อมโยงธุรกิจและพูดคุยกับผู้มีความสามารถตามที่องค์กรคุณต้องการได้

สำหรับ Keynotes Speakers และหัวข้อที่น่าสนใจ พร้อมอัปเดตเทรนด์ AI และหัวข้อ Panel Discussion ดังนี้

Keynotes Speakers และหัวข้อที่น่าสนใจ (หมายเหตุ : ทุกกิจกรรมดำเนินด้วยภาษาอังกฤษ)

  1. AI Application & Social Impact:"Leveraging AI Engineering for Societal Challenges" - Prof. Jose M. F. Moura, Philip L. and Marsha Dowd University Professor, Carnegie Mellon University, IEEE & AAAS Fellow, Former president of IEEE
  2. AI & Cyber-Physical System:“Safety of Intelligent Systems Operating in Uncertain and Interactive Environments” - Dr. Yorie Nakahira, Assistant Professor, Electrical and Computer Engineering, Carnegie Mellon University
  3. AI & International Education:"Shaping the Future of International Education" - Dr. Allan E. Goodman, Chief Executive Officer, Institute of International Education
  4. AI Infrastructure:“Accelerated Computing Architecture / Infrastructure Research” - Assoc. Prof. Tze Meng Low, Associate Research Professor, Electrical and Computer Engineering, Carnegie Mellon University
  5. Global AI & Policy– “Understanding the Emerging Trends and Establishing a Pathway Forward” Pam Dixon, Founder & Executive Director, World Privacy Forum and co-chair of United Nations Statistics Data Governance Committee
  6. AI in Creative Innovation:“Designing Human-AI Symbiosis for Cultivating Wonder, Wisdom, and Wellbeing” - Pat Pataranutaporn, Human-AI Interaction Researcher, MIT Media Lab

AI Trends ที่น่าสนใจ

  • Discover the Latest AI & Engineering Trends
  • AI & Real Practical Applications
  • Networking and Access to Leaders
  • New Partnerships & Collaboration
  • Contribute to Shaping Ethical AI Practices

หัวข้อ Panel Discussion

  • AI in Medicine: "AI's Role in Addressing Healthcare Challenges"
  • AI Engineering Education: "Shaping Responsible AI for Society & Sustainability"
  • AI Policy & Governance: “Global AI Policy and Development”
  • AI Creative & Innovation: “Foster Creativity with the Power of AI”
  • AI in Finance & Banking: “How AI is Shaping Up the Banking & Finance Industry?”
  • AI and the Future of Startups: “Opportunities and Challenges in the Future of Startups”
  • AI for Infrastructure & Industrial Automation: “Scalability and Security in AI-Driven Industrial Automation”

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถลงทะเบียนร่วมงานได้ฟรี https://form.jotform.com/232841624873461   สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://ai-engineering-innovation-summit-2023.aiei.ac.th

“CMKL Tech Summit 2018” สัมมนาใหญ่ด้าน AI ครั้งแรกของประเทศไทย จัดโดย “มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล” อัดแน่นด้วยหัวข้อบรรยายจากภาคเอกชนและภาคการศึกษาระดับโลก เพื่อเตรียมความพร้อมประชาชนและองค์กรรับมือกับการเปลี่ยนแปลง มุ่งนำนวัตกรรมมาขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจในอนาคต

เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล เปิดตัวงานสัมมนาใหญ่ “CMKL Tech Summit 2018” C asean auditorium อาคารไซเบอร์เวิลด์ มีผู้เข้าร่วมงานมากถึง 300 คน โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภามหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL University) กล่าวในพิธีเปิดงานว่า เศรษฐกิจทั่วโลกในอนาคตจะต้องหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น รายงานของสภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum เกี่ยวกับเรื่อง Digital Transformation คาดการณ์ไว้ว่า การปรับตัวสู่ดิจิทัลขององค์กรต่างๆ จะช่วยปลดล็อกมูลค่าทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ทั่วโลกได้มากถึง 100 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3,280 ล้านล้านบาทในช่วง 10 ปี ดังนั้น ทุกคน ทุกองค์กร ไม่ว่าจะองค์กรขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ ต่างจะต้องเผชิญกับความท้าทายในยุค Digital Transformation”

วัตถุประสงค์หลักของการจัดงาน คือ ต้องการยกระดับขีดความสามารถของบุคคลและองค์กร ขจัดปมปัญหา (Pain Point) ต่างๆ ในยุค Digital Transformation โดยการนำเอาปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาปรับใช้ ผ่านจุดแข็งของมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านเทคโนโลยี ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2560 ปัจจุบัน เปิดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และหลักสูตรระยะสั้น (Short Course) ด้านเทคโนโลยี AI, Blockchain, Data Analytics และ Cyber Security มีบุคลากรจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน มหาวิทยาลัยที่เชี่ยวชาญและพัฒนาซอฟต์แวร์ AI และเครือข่ายองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีที่เข้มแข็ง เพื่อเป้าหมายในการสร้างคอมมูนิตี้และเพิ่มความสามารถทางเทคโนโลยีให้แก่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านงานวิจัยและนวัตกรรม นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังมีการจัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาร่วม (Co-R&D) กับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในด้าน AI จึงมีวิสัยทัศน์ที่เห็นถึงการใช้นวัตกรรมด้าน AI ขับเคลื่อนภาคธุรกิจในเซ็กเตอร์ต่างๆ และจัดงานครั้งนี้ขึ้น เพื่อทั้งช่วยสร้างความตระหนักและมอบองค์ความรู้แก่ทุกองค์กร

ภายในงานมีการบรรยายหัวข้อด้าน AI ที่น่าสนใจมากมาย เช่น การเปลี่ยนแปลงเมืองสู่ดิจิทัลด้วย AI การใช้ AI รองรับการก้าวสู่ยุคสังคมผู้สูงอายุ การใช้ AI มาช่วยให้เกิดการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดในภาคธุรกิจ AI สำหรับสมาร์ต ฟาร์มมิ่ง ทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากทั้งภาคเอกชนชั้นนำของไทยในหลากหลายธุรกิจและอุตสาหกรรมที่กำลังให้ความสนใจกับการปรับตัวในยุค Digital Transformation อาทิ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซีบี อบาคัส จำกัด (SCB Abacus) รวมถึงภาคการศึกษาระดับโลกอย่างมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน สหรัฐอเมริกา และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ด้าน ผศ.ดร.สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น อธิการบดีมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL University) กล่าวว่า “วันนี้ AI ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงและสร้างอิทธิพลในบางกลุ่มธุรกิจแล้ว เช่น กลุ่มธนาคาร กลุ่มอีคอมเมิร์ซ กลุ่มโทรคมนาคม แต่พลังของ AI ยังสามารถขยายไปประยุกต์ใช้ได้กับเกือบทุกประเภทธุรกิจ เพราะAI สามารถช่วยเรียนรู้และช่วยทำเรื่องยากๆ บางเรื่องได้ในเวลาอันรวดเร็ว ลดต้นทุนทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายบางส่วนลงได้ ความรู้เกี่ยวกับ AI จะกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับขับเคลื่อนโลกในอนาคต”

ดังนั้น องค์กรทุกระดับจะต้องเผชิญความท้าทายอย่างมากในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ปัญหาโครงสร้างองค์กร รวมถึงการขาดองค์ความรู้และกลยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนพัฒนาองค์กรให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง การสัมมนาครั้งนี้จึงเป็นเบันไดขั้นสำคัญที่จะช่วยให้ทั้งภาคประชาชนและองค์กรได้ติดอาวุธพร้อมรับมือทุกความท้าทาย มุ่งเน้นการนำนวัตกรรมมาพัฒนาสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างมั่งคงและยั่งยืน

X

Right Click

No right click