December 23, 2024

นักการศึกษาผู้มีชื่อเสียงโดดเด่น นักเคลื่อนไหวทางสังคม ผู้ก่อตั้งสถาบันเทคโนโลยีอุตสาหกรรมกาลิงคะ (KIIT) และสถาบันสังคมศาสตร์กาลิงคะ (KISS) ในเมืองภุพเนศวร ประเทศอินเดีย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโลกสภา (Lok Sabha) จากเขตกันธมาล ดร. อาชยุตา ซามานตา (Dr. Achyuta Samanta) ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวรรณคดีจากมหาวิทยาลัยอุตกาล (Utkal University) เพื่อเชิดชูคุณูปการอย่างสูงในด้านการศึกษาและสังคมสงเคราะห์ โดยนับเป็นปริญญากิตติมศักดิ์ใบที่ 50 ที่มอบให้กับเขา

มหาวิทยาลัยอุตกาล ซึ่งยังเป็นสถาบันที่ดร. ซามานตาเป็นศิษย์เก่า ได้มอบปริญญากิตติมศักดิ์ดังกล่าวนี้ให้กับเขาในพิธีมอบปริญญาบัตรครั้งที่ 52 ในวันที่ 23 ธันวาคม 2565 เขาได้รับปริญญานี้จากอธิการบดีมหาวิทยาลัยและผู้ว่าการรัฐโอฑิศา ศาสตราจารย์กาเนชี ลาล (Prof. Ganeshi Lal) โดยมีผู้เข้าร่วมพิธีประกอบด้วยอดีตประธานศาลฎีกา จัสติซ วี. โกปาลา โกวดา (Justice V. Gopala Gowda), รองอธิการบดีมหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ซาบิตา อาชาร์ยา (Prof. Sabita Acharya) และเลขาธิการใหญ่กรมอุดมศึกษาแห่งรัฐโอฑิศา บิชนูพาดา เศรษฐี (Bishnupada Sethi) เป็นต้น

ในปราศรัยต่อผู้ทรงเกียรติที่เข้าร่วมพิธี ผู้ว่าการรัฐได้กล่าวเป็นพิเศษถึงดร. ซามานตา โดยได้ระบุว่าเขาเป็น 'ตำนานระดับแนวหน้าในพิธีนี้' และบรรยายว่า ดร. ซามานตามีคุณสมบัติที่สำคัญของมนุษย์ อย่างเช่น ความเรียบง่าย ความถ่อมตน ความกตัญญู ความกล้าหาญ ความมานะอุตสาหะ ความเอื้อเฟื้อ ความใจเย็น ความรักสันติ และความดีงาม

ดร. ซามานตาได้แสดงความขอบคุณอย่างสูงสุดต่ออธิการบดีสำหรับเกียรติยศในครั้งนี้ ตลอดจนรองอธิการบดีและคณะกรรมการมหาวิทยาลัย "ทุกท่านตระหนักถึงชีวิตของผมที่ได้อุทิศให้กับการรับใช้ผู้อื่น ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกย่องชีวิต การทำงาน และความสำเร็จของผม ผมได้รับมอบการเชิดชูเกียรติและรางวัลมากมาย อย่างไรก็ดี บางรางวัลมีความพิเศษโดยเฉพาะ อย่างเช่นในครั้งนี้ ผมยินดีอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยอุตกาล ซึ่งเป็นสถาบันที่ผมจบมา ได้มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวรรณคดีนี้ให้แก่ผม ซึ่งเป็นปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ใบที่ 50 สำหรับผมและเป็นจำนวนสูงที่สุดสำหรับชาวอินเดีย ผมขออุทิศรางวัลนี้ให้แก่วีรสตรีของผม คือมารดา รวมถึงความบากบั่นพยายามและการเสียสละทั้งหมดของแม่ พรจากผู้เป็นเจ้าและความปรารถนาดีของผู้คนคือสิ่งที่ช่วยให้ผมมาอยู่ในจุดนี้ ความปรารถนาดีเหล่านั้นยังคงมอบความแข็งแกร่งให้ผมฝันยิ่งขึ้นต่อไปถึงการพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น" ดร.ซามานตากล่าว

ก่อนหน้านี้ไม่นาน ดร.ซามานตาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเบอร์ลา โกลบอล (Birla Global University) และปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเบอร์ฮัมปูร์ (Berhampur University)

สถาบัน Kalinga Institute of Industrial Technology (KIIT) และสถาบัน Kalinga Institute of Social Sciences (KISS) ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบัน UNESCO Mahatma Gandhi Institute of Education for Peace and Sustainable Development (MGIEP) เพื่อจัดหลักสูตรออนไลน์การเรียนรู้ทางอารมณ์เพื่อความเห็นใจและความเมตตาต่อตัวเอง (Self-directed Emotional Learning for Empathy and Kindness หรือ SEEK) สำหรับเจ้าหน้าที่และนักเรียนของ KIIT และ KISS แบบค่อยเป็นค่อยไป

สถาบัน KIIT Deemed-to-be-University และ KISS Deemed-to-be-University เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรก ๆ ของโลกที่ใช้หลักสูตร MGIEP SEEK ซึ่งได้รับการรับรองจากมหาวิทยาลัย University Grants Commission (UGC) ของรัฐบาลอินเดีย

หลักสูตรอิงจากการฝึกอบรม Compassionate Integrity Training ซึ่ง พัฒนาโดยสถาบัน UNESCO MGIEP และ Life University ในสหรัฐ โดยพยายามที่จะสร้างทักษะความฉลาดทางอารมณ์ในศตวรรษที่ 21 และสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของนโยบายการศึกษาแห่งชาติของอินเดีย เพื่อถ่ายทอดการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมเพื่อสร้างพลเมืองโลกที่มีส่วนร่วม โดยหลักสูตรนี้จะใช้เวลาเรียนประมาณ 40 ชั่วโมงและประกอบด้วย 10 ทักษะใน 3 บท

ดร. Anantha Duraiappah ผู้อำนวยการ UNESCO MGIEP, ดร. Achyuta Samanta ผู้ก่อตั้ง KIIT & KISS, คุณ Shri Satya Tripathi อธิการบดีสถาบัน KISS Deemed-to-be-University และตัวแทนจากสถานทูตหลายแห่งในเดลีและสำนักงานสหประชาชาติ (UN) ต่างให้เกียรติเข้าร่วมในพิธีลงนาม

ดร. Anantha Duraiappah กล่าวสุนทรพจน์ว่า "หลักสูตร SEEK มุ่งเน้นการค้นหาตัวเอง การมีความสุขกับตัวเอง และมีเมตตา ผมยินดีต้อนรับความร่วมมือกับ KIIT และ KISS และเฝ้ารอให้เจ้าหน้าที่และนักเรียนของสถาบันได้เรียนรู้ในหลักสูตรที่เน้นความยืดหยุ่นนี้ อีกทั้งยังหวังเป็นอย่างยิ่งว่า พวกเขาจะพบว่าหลักสูตรนี้มีประโยชน์ต่อการปลูกฝังความเห็นอกเห็นใจในตนเองมากขึ้น และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมที่สงบสุขและยั่งยืนมากขึ้น "

ขณะเดียวกัน ดร. Samanta กล่าวว่า "สถาบัน KIIT & KISS ยึดมั่นในพื้นฐานของความเห็นใจ ความเมตตา และมนุษยธรรม เรายินดีที่จะร่วมมือกับ UNESCO MGIEP เพื่อให้นักเรียนและเจ้าหน้าที่ของเรามีทักษะความฉลาดทางอารมณ์ที่ช่วยสร้างความยืดหยุ่นทางอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่มนุษยชาติกำลังก้าวผ่านช่วงเวลาแห่งการทดสอบ"

คุณ Shri Tripathi กล่าวว่า "หลักสูตร SEEK จะนำไปใช้สำหรับคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ 1,000 คนและนักศึกษา 11,000 คนในระยะที่ 1 ซึ่งนักศึกษาใหม่ทุกคนจะต้องเข้าเรียนหลักสูตรนี้เพื่อสะสมหน่วยกิตในปี 2565"

ทั้งนี้ สถาบัน UNESCO MGIEP ได้มุ่งเน้นการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของยูเอ็น (4.7) ในด้านการศึกษาเพื่อสร้างสังคมที่สงบสุขและยั่งยืนทั่วโลก โดยการพัฒนาโครงการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์ สร้างสรรค์การสอนแบบดิจิทัล และส่งเสริมเยาวชน

X

Right Click

No right click