January 22, 2025

ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ การแข่งขันในแวดวงธุรกิจเข้มข้นขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทุกการเคลื่อนไหว ล้วนเป็นโอกาสในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาด เปรียบได้กับในสนามแข่งรถยนต์ ที่มีความท้าทาย ทั้งสภาพอากาศ ทางตรง และทางโค้ง ซึ่งคนขับ คือ ผู้นำองค์กร ที่จะต้องขับรถแข่ง โดยตระหนักว่าสนามแข่งเป็นอย่างไร และต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อให้ถึงเส้นชัยเร็วที่สุด บางองค์กรมีผู้นำ ที่แข็งแกร่ง พร้อมฟันเฟืองที่ใช่ ก็ทะยานแซงทุกโค้ง หรือบางองค์กรเผลอผ่อนคันเร่งเพียงเสี้ยววิก็ถูกคู่แข่ง แซงทิ้งห่างไม่เห็นฝุ่นได้อย่างง่ายดาย

SEAC (ซีแอค) จัดงาน “Racing Towards Excellence, Achieving Outstanding Outcomes ทะยานสู่ความสำเร็จ ด้วยสมรรถนะที่ก้าวเกินขีดจำกัด” ในธีมการแข่งขันรถสูตร 1 (Formula 1 หรือ F1) พาผู้เข้าร่วมเรียนรู้ เสริมสมรรถนะให้สองฟันเฟืองสำคัญอย่าง ‘Mindset - วิธีคิด’ และ ‘Leadership - ภาวะผู้นำ’ โดยมี 2 สถาบันพัฒนาคนและองค์กรระดับโลกอย่าง “The Arbinger Institute” ผู้สร้างหลักสูตรเสริมสร้างวิธีคิด Outward Mindset และ “Blanchard” สถาบันพัฒนาภาวะผู้นำให้แก่องค์กรทั่วโลก มาแบ่งปันแนวทางขับเคลื่อนบุคลากรในองค์กรให้ทั้งเร็ว แรง แซงได้ทุกโค้ง ที่ค้นพบจากการให้คำปรึกษาแก่องค์กรทั่วโลก เติมเชื้อเพลิงชั้นเลิศให้ผู้นำที่เข้าร่วม มุ่งสู่ความสำเร็จ ภายใต้การแข่งขันที่ดุเดือดในยุคนี้ นอกจากนี้ยังได้รับฟังเสวนาวิถีแห่งการนำไปใช้ จากองค์กรที่ทรานฟอร์มได้สำเร็จ ผ่านประสบการณ์ของผู้นำการขับเคลื่อนตัวจริง

Mindset จุดสตาร์ทสู่การเปลี่ยนแปลงองค์กรที่ยั่งยืน

Mr. Michael J. Merchant, Senior Executive Consultant จาก The Arbinger Institute ได้อธิบายถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ยั่งยืนเริ่มต้นจาก Mindset ว่า “วิธีคิด หรือ Mindset เปรียบเสมือนเลนส์ที่เราใช้ในการมองโลก และตัดสินสิ่งต่างๆ เป็นตัวขับเคลื่อนพฤติกรรม ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ยั่งยืน จากงานวิจัยพบว่า บริษัทที่เปลี่ยน Mindset ก่อนพฤติกรรม จะได้รับผลลัพธ์ดีกว่าถึง 4 เท่า โดยแบ่ง Mindset ได้ 2 ประเภท คือ ได้แก่ Inward Mindset: การมองโลกผ่านเลนส์ที่มีเป้าหมายของตนเองเป็นหลัก มองคนอื่นเป็นเพียงวัตถุ พาหนะ และอุปสรรค เป็นแค่เครื่องมือที่อาจช่วยให้ตนเองประสบความสำเร็จ และ Outward Mindset: การมองเห็นเป้าหมาย ปัญหาและความต้องการของคนอื่นสำคัญ ไม่แพ้เป้าหมาย และความต้องการของตัวเอง

คนหนึ่งคนสามารถมีทั้ง Inward Mindset และ Outward Mindset ได้ ขึ้นอยู่กับว่าจะตอบโต้ และปฏิบัติกับสถานการณ์นั้นอย่างไร การทำงานด้วย Inward Mindset จะทำงานแบบตัวใครตัวมัน ไม่แคร์ว่าอีกคนจะมีปัญหา และเป้าหมายอย่างไร ส่วน Outward Mindset จะทำงานแบบประสานงานกับคนอื่น ไม่กล่าวโทษกัน ปรับพฤติกรรม ของตนเอง เพื่อช่วยกันทำงานให้ราบรื่น มองเห็นเป้าหมายใหญ่ร่วมกัน และมุ่งมั่นพาองค์กรไปยังเป้าหมายนั้นให้ได้

โดยมีเครื่องมือที่เรียกว่า S.A.M. ซึ่งหมายถึง 1.See Others คือ เข้าใจเป้าหมาย อุปสรรค และความท้าทายของผู้อื่น 2. Adjust Efforts กลับมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองเพื่อช่วยเหลือให้เขาบรรลุเป้าหมาย 3. Measure Impact ประเมินว่าความพยายามของเราเกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น และไม่สูญเปล่า

ทั้งนี้ การสร้าง Outward Mindset ให้เป็นวัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างยั่งยืน เป็นการเดินทางที่ไม่มีวันจบสิ้น โดยต้องเริ่มจากผู้นำองค์กร ที่เป็นตัวอย่างที่ดี ผลักดันวัฒนธรรมองค์กรที่ผู้คนมี Outward Mindset โดยปรับใช้ ในสิ่งง่ายๆ ที่เคยทำอยู่แล้ว อย่างการนำหลัก S.A.M. เข้าไปใช้ในงานประชุมต่างๆ เพื่อให้เกิดการนำ Outward Mindset ไปปรับใช้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง ต้องอาศัย Self-Awareness การตระหนักรู้ในตัวเอง, Accountability การรับผิดชอบต่อเป้าหมาย และ Collaboration การทำงานร่วมกันจากพนักงานแต่ละคน ซึ่งถ้าทุกคนในองค์กร มี Outward Mindset เข้าใจความต้องการซึ่งกันและกัน เข้าใจเป้าหมายขององค์กรร่วมกัน และทำงานร่วมกัน องค์กรก็จะบรรลุผลลัพธ์ที่ตั้งไว้ได้แบบทวีคูณ

ภาวะผู้นำที่ดีขับเคลื่อนองค์กรไปถึงเส้นชัยได้อย่างไร

ด้าน Mr. Scott Blanchard, President จาก Blanchard ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Leadership ว่า “ภาวะผู้นำ หรือ Leadership ไม่ใช่สิ่งที่ผู้นำปฏิบัติต่อคน แต่คือสิ่งที่ผู้นำทำร่วมกับคน ผู้นำต้องไม่หยุดเรียนรู้ ปรับปรุง และพัฒนา ตามสถานการณ์ที่แตกต่างกัน โดย 6 หัวใจสำคัญของการเป็นสุดยอดผู้นำ มีดังนี้

1. ผู้นำย่อมเป็นพันธมิตร (Leadership is a partnership) อย่างที่กล่าวว่า ภาวะผู้นำนั้นคือการปฏิบัติตัวร่วมกับคนที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในฐานะผู้ที่จะเดินทางพิชิตเส้นชัยไปด้วยกัน เพราะผู้นำไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ ดังนั้น ต้องสร้างการมีส่วนร่วมในการทำงานก่อน

2. ผู้นำต้องรู้จักจับถูก (Catching people doing things right) เรียนรู้ความสามารถของลูกน้อง วางตัวคนทำงานให้เหมาะสมกับงาน คือทักษะหนึ่งของคนเป็นผู้นำ นอกจากจะได้ผลลัพธ์ของงานที่ดีแล้ว ยังเป็นการสร้างแรงใจให้กับพนักงาน สร้างความเชื่อใจระหว่างคนในทีม โดยมีพื้นที่ให้สามารถผิดพลาด เรียนรู้และพัฒนาให้ดีขึ้น

3. ผู้นำใช้ความรักขับเคลื่อนทีม (Love and Support) จากผลวิจัยบอกว่า หากพนักงานรู้สึกไม่ดีต่อหัวหน้า โดนตำหนิบ่อย ก็มักจะใช้พลังงานไปกับการต่อต้านและคิดลบในหัว มากกว่าการทำงานให้ได้ผลดี ฉะนั้นการเป็นหัวหน้าจึงมาพร้อมกับหน้าที่ในการเป็นที่รักของลูกน้อง เพื่อให้ความสัมพันธ์ที่ดีสร้างการทำงานที่ดีขึ้นมา

4. ผู้นำจะอยู่เคียงข้างเสมอ (Connection and Learning) ผู้นำที่สร้างความเชื่อใจว่าจะอยู่เคียงข้าง คอยผลักดัน และช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหาอยู่ตลอด ทำให้คนเกิดความไว้ใจ และสามารถโฟกัสกับภาระงานของตัวเองได้เต็มที่ มากกว่าผู้นำที่ปล่อยให้ลูกน้องเผชิญปัญหาลำพัง

5. ผู้นำต้องรู้จักปรับตัว (Adaptability) การเข้าใจคนในทีม ทั้งด้านทัศนคติ ไลฟ์สไตล์ ก็เป็นหนึ่งในทักษะที่ควรมี เพื่อให้ปรับตัวและเข้าใจวิธีการผลักดันลูกน้องได้อย่างตรงจุด

6. เส้นทางสู่การเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมไม่มีเส้นชัย (Journey Never Ends) การเข้าใจเรื่องนี้จะทำให้ผู้นำสามารถพัฒนาตนเองไปได้เรื่อย ๆ โดยเรียนรู้และก้าวข้ามขีดจำกัดของตน เพื่อพาทีมหรือองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างเต็มกำลัง จนกว่าจะออกจากตำแหน่งไปด้วยตนเอง

“การเป็นผู้นำที่ดี ไม่ใช่การเป็นคนที่เก่งทุกเรื่อง หรือสามารถตัดสินใจได้ทุกเรื่อง แต่คือคนที่เข้าใจธรรมชาติของการทำงานเป็นทีม โดยอาศัยความเชื่อใจเป็นจุดเริ่มต้น สร้างบรรยากาศการทำงานให้ดีจนทุกคนในทีมคิดว่าสามารถพึ่งพากันได้ ซึ่งนี่อาจเป็นงานที่ยาก และทำให้ท้อได้ง่ายเช่นกัน บริษัทจึงจำเป็นต้องให้มีการอบรมผู้นำ เพื่อเตรียมความพร้อมให้คนที่เหมาะสมรับหน้าที่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”

นอกจากสองหัวข้อเสวนาน่าสนใจ ภายในงานยังมีช่วง “Mindset & Leadership Organization Check-up” นำความรู้จากการฟังบรรยายมาเชื่อมโยงกับบริบทองค์กรไทย โดยคุณบุญชัย พงศ์รุ่งทรัพย์ ที่ปรึกษาอาวุโส จากซีแอค (SEAC) และกิจกรรม “Explore 2 Competencies: Mindset x Leadership” เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้สัมผัสการเรียนรู้ที่จะเสริมสร้างให้องค์กรแข็งแกร่งทั้งสมรรถนะ และเป็นผู้นำการขับเคลื่อน ในมินิเวิร์กชอป Outward Mindset นำโดยคุณกรินทร์ โปสาภิวัฒน์ ที่ปรึกษาอาวุโสและเทรนเนอร์ จากซีแอค (SEAC) และมินิเวิร์กชอป Leadership นำโดยคุณชาย อินทรกำแหง ที่ปรึกษาอาวุโสและเทรนเนอร์ จาก SEAC (ซีแอค) แบ่งปันเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี ซึ่งต้องมีการรับฟัง และเข้าใจคนรอบข้าง เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันต่อไปได้อย่างราบรื่นและแข็งแกร่ง ก่อนจะปิดท้ายด้วยช่วง “Story from the Podium” ที่ได้รับเกียรติจากคุณภัทรกร รังษีวงศ์, Analyst, Enterprise Transformation, PTTEP และ Mr. Janil Jose Samson, Group Director of Organizational Capability, Minor Hotels มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การปรับใช้และถ่ายทอด Mindset และ Leadership ให้กับผู้บริหารและคนในองค์กร

คุณภัทรกร กล่าวว่า “PTTEP ได้ทำ Transformation เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคหลังโควิด-19 เราตระหนักว่ารากฐานสำคัญของการเปลี่ยนแปลงคือ การปรับ Mindset ให้พร้อมรับมือปัญหา และความท้าทายต่างๆ ผู้บริหารจึงร่วมกับ SEAC ออกแบบพัฒนาหลักสูตร Outward Mindset สำหรับองค์กรของเราขึ้นมา โดยกลุ่มแรกที่ได้เข้าศึกษาก็คือผู้บริหารระดับสูงก่อน แล้วจึงไล่ลงมายังระดับปฏิบัติการ

Outward Mindset ไม่ใช่การปรับทัศนคติ แต่เป็นการยกระดับทัศนคติ ให้ทำงานอย่างมีความสุข และเกิดผลลัพธ์ ที่แตกต่างออกไป การเรียนตลอดหลักสูตรนี้ ทำให้พนักงานส่วนใหญ่เข้าใจวิธีคิดของตนและคนรอบข้างมากขึ้น สามารถแก้ปัญหาด้านความสัมพันธ์และการทำงานให้ราบรื่นขึ้น โดยจากผลลัพธ์ดังกล่าว PTTEP ก็วางแผนจะให้พนักงาน ในสาขาต่างประเทศได้เข้ารับการอบรมด้วยเช่นกัน”

ด้าน Mr. Janil เผยว่า “บริษัทไมเนอร์ฯ เริ่มเรียนหลักสูตร Servant Leadership กับ SEAC (ซีแอค) เมื่อปี ค.ศ. 2017 ภายในองค์กรเราจัดให้มีการ Coaching โดยผู้นำแต่ละทีม อาจจะเป็นการสนทนาที่ยาวนาน หรือสั้น สิ่งสำคัญคือ คุณภาพของการสนทนา และการเลือกบทสนทนาที่เหมาะสม เข้าใจบริบทของพนักงานแต่ละคน และ ในส่วนของการพัฒนาผู้นำ ผู้นำส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไร อาจจะเพราะมีอีโก้ ผู้นำทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะให้ฟีดแบค และรับฟัง ฟีดแบคไปพร้อมกัน โดยมีสิ่งสำคัญคือ Fit for Purpose คือ การเข้าใจคน เข้าใจสถานการณ์ที่แตกต่างกัน และบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้”

 

หลักสูตรเวิลด์คลาส ติดอาวุธผู้นำองค์กร เตรียมรับความพลิกผันในโลกธุรกิจหลังยุคโควิด-19

 

แม้สถานการณ์เศรษฐกิจไทยกลับมาขยายตัวเล็กน้อยในไตรมาสแรกของปีจากการคลายมาตรการต่างๆ ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น จนเกิดเป็นอัตราเร่งให้เกิดอาชีพใหม่ๆ สูงขึ้น ผลที่ตามมาคือ ปัญหาช่องว่าง Skill Gap ที่นับวันจะขยายกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากอัตราการว่างงานของเด็กรุ่นใหม่ที่มากขึ้น มีจำนวน 2.6 แสนคน เพิ่มสูงขึ้น 5.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนถึงปัญหาของตลาดแรงงานเด็กรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญที่จะเป็นแรงงานมีฝีมือในอนาคต

 

SEAC (ซีแอค) เดินหน้าเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่าน YourNextU by SEAC สังคมการเรียนรู้คุณภาพ หลักสูตรส่งตรงจากสถาบันระดับโลก พร้อมตอบทุกความต้องการของผู้เรียนทุกช่วงวัย ร่วมกับ Code School Finland สถาบันชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญในการสอนและพัฒนาทักษะแห่งอนาคต จากประเทศฟินแลนด์ เปิดตัวโครงการนำร่องพัฒนาการสอนของครูด้วยหลักสูตรจาก Code School Finland ใน 12 โรงเรียนต้นแบบระดับแนวหน้าทั่วประเทศไทย

แม้สถานการณ์ในประเทศไทยจะกำลังก้าวเข้าสู่ช่วงผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ แต่ผลกระทบที่ทำให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกับวิถีการทำงาน ความคิด ความคาดหวังของพนักงานที่มีต่อหัวหน้างาน และบริษัท ซึ่งจะกลายเป็น ความท้าทายใหม่ให้กับผู้นำในการปรับรูปแบบวิธีการบริหารลูกน้องในทีม เพราะจากข้อมูลผลสำรวจพบว่า เมื่อโควิดเริ่มคลี่คลาย เศรษฐกิจเริ่มฟื้น ความกดดันและความคาดหวังของคนทำงานที่เปลี่ยนไปทำให้เกิดปรากฎการณ์การลาออกของพนักงานมหาศาล ที่เรียกว่า “The Great Resignation” ดังกรณีศึกษาซึ่งมีผลต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสำหรับประเทศไทย ยังคงเป็นคำถามว่า “The Great Resignation” จะส่งผลต่อประเทศหรือไม่ แล้วองค์กร บริษัท หรือ หัวหน้าทีม ต้องปรับตัวอย่างไร เพื่อรักษาพนักงานที่มีศักยภาพ ให้ยังอยากจับมือและเดินไปพร้อมกับองค์กร ก่อนที่จะสายเกินเยียวยา

 

คุณนิภัทรา ตั้งพจน์ทวีผล ผู้อำนวยการผลิตภัณฑ์ YourNextU by SEAC (เอสอีเอซี) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน มาร่วมถอดรหัสว่า องค์กรและหัวหน้าต้องบริหารอย่างไรถึง “ได้ใจ” และ “ได้งาน” ทีมงาน ตามแบบฉบับองค์กรยุคใหม่ ซึ่งต้องเผชิญกับโจทย์ความท้าทายใหม่จากกระแสการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว แล้วผู้นำในโลกวันนี้ต้องปรับตัวอย่างไร? แต่เดิมเราจะรู้ว่าการเป็นผู้นำมักจะอยู่ในจุดที่ถูกคาดหวังให้เป็นคนกำหนดทิศทางและให้คำตอบในปัญหาและสถานการณ์ท้าทายต่างๆ แต่ปัจจุบันความเร็วของการเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ทำให้ผู้นำไม่สามารถใช้ชุดทักษะและประสบการณ์ที่มีอยู่เดิมและไม่ได้มีทุกคำตอบเมื่อต้องเผชิญกับการทำงานที่เต็มไปด้วยความไม่รู้ได้ ผู้นำในยุควันข้างหน้าจึงต้องปรับมุมมอง (Mindset) และความเชื่อเกี่ยวกับรูปแบบการนำทีมที่เคยใช้ได้ผลสำเร็จในอดีต และมุ่งเน้นการลับคมทักษะการนำทีมแบบใหม่ โดยเน้นใช้ทักษะการฟังและการสร้างบทสนทนาที่เน้นให้ทีมงานมีส่วนร่วม (Engage) และสร้างความมั่นใจและแรงบันดาลใจ (Motivation) ให้ทีมงานมองข้ามข้อจำกัดและกล้าทดลองสิ่งใหม่ๆ รวมถึงกระตุ้นให้ทีมงานหมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและต่อยอด จากข้อผิดพลาดอย่างสม่ำเสมอ จุดที่จะทำให้ผู้นำยุคข้างหน้าสร้างผลลัพธ์ที่แตกต่างได้ คือต้องไม่เน้นเฉพาะความเก่งในงาน (Hard Skills) เท่านั้น แต่ต้องเป็นผู้นำที่เปิดใจในการปรับตัวและพัฒนารอบด้านให้เก่งในการนำคน รวมถึง Soft Skills ต่างๆ ด้วย การอัพสกิลทักษะภาวะผู้นำในยุคข้างหน้าจะเน้นการสร้างผู้นำแบบที่เรียกว่า “The New Age Leadership” คือ ผู้นำที่กล้ายอมรับว่า เราไม่ได้รู้ทุกเรื่อง เปิดกว้างรับฟังมุมมองความคิดเห็นของทุกคนในทีม และเป็นผู้นำที่เน้นเรื่องการสร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วมและสร้างแรงขับเพื่อชวนคนในทีมให้กล้าออกไปหาคำตอบในสิ่งที่เราไม่รู้ไปด้วยกัน

หากกล่าวถึง Leadership เป็นเรื่องของภาวะผู้นำที่สามารถสร้างให้เกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับตำแหน่ง โดยไม่จำกัดว่า จะต้องเป็นชื่อตำแหน่งงานระบุไว้ใช้เจนว่าเป็น หัวหน้างาน หรือผู้บริหารเท่านั้น แต่ทุกคนสามารถมีทักษะในเรื่องของภาวะผู้นำได้ทั้งสิ้น คนที่มีทักษะเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่ดีอยู่ในตัว โดยพื้นฐานจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้ได้ผลลัพท์ที่แตกต่าง ทั้งที่ขับเคลื่อนด้วยตนเองและที่ขับเคลื่อนผ่านการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการก้าวหน้าทางอาชีพการงานได้มากกว่า โดย SEAC แนะ 3 เทคนิคเพื่อให้พร้อมก้าวสู่การเป็นสุดยอดผู้นำยุคโลกเปลี่ยน “The New Age Leadership” ประกอบด้วย 1. สร้างบรรยากาศและบทสนทนาที่เน้นการมีส่วนร่วมของทีม 2. เน้นการใส่ใจและการทำความเข้าใจทีมงานเพื่อปรับสไตล์การนำให้เข้ากับบริบท ที่เปลี่ยนไป 3. สร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ยืดหยุ่นและคล่องตัวผ่านการทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง (lead by example)

นอกจากนี้ SEAC ยังได้เชิญชวนผู้นำองค์กรยุคใหม่ ที่ไม่เพียงสามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสในการเป็นผู้นำตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ แต่ยังสร้างองค์กรที่มีพนักงานเลือดใหม่ที่พร้อมเผชิญวิกฤติและสร้างโอกาสเติบโตก้าวกระโดดสวนกระแสอย่าง คุณวุฒิชัย น้ำใจประเสริฐ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ LINE MAN Wongnai ซึ่งได้มาร่วมแบ่งปันมุมมองและถอดรหัสความหมายของคำว่า ‘ภาวะผู้นำยุคใหม่ (The New Age Leadership)’ ที่สามารถสร้างรากฐานให้องค์กรเข้มแข็งผ่านการทำงาน ที่ไม่เพียงเน้นผลลัพธ์ แต่ได้ใจพนักงานเพื่อสร้างแรงขับในการทำสิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

สร้างบรรยากาศและบทสนทนาที่เน้นการมีส่วนร่วมของทีม

ในการบริหารทีมทำงานวันนี้ ซึ่งผู้บริหารไม่อาจมีคำตอบให้ได้กับทุกเรื่อง จึงจำเป็นต้องใช้ ‘ทีม’ เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันมากขึ้น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สูงขึ้น สิ่งสำคัญสำหรับผู้นำคือ ต้องอัพสกิลโดยเน้นเรื่องของการฟังและการสร้างบทสนทนาที่กระตุ้นให้ทีมงานมองเห็นภาพความสำเร็จและเห็นความหมายของการทำสิ่งนี้ โดยอันดับแรกต้องเชื่อมโยงเป้าหมายภาพใหญ่กับคุณค่า (Value) ของสิ่งที่เป็นความสำคัญในระดับทีมงานและในระดับบุคคลเพื่อสร้างแรงขับเคลื่อน (Motivation) อันดับสองคือต้องสร้างบทสนทนา ที่เน้นตั้งคำถามไปที่ความเป็นไปได้ข้างหน้ามากกว่ากล่าวตำหนิหรือบ่นเกี่ยวกับความผิดพลาดหรือข้อจำกัดในอดีต เพื่อชวนให้เห็นโอกาสใหม่ๆ และอันดับสามคือการเน้นชวนคุยให้ทีมงานร่วมกันคิดหาคำตอบและออกไปทดลองมากกว่าเน้นให้คำตอบในสิ่งที่หัวหน้ามองว่าอยากให้ทำ ซึ่ง คุณวุฒิชัย กล่าวเสริมว่า “พูดถึงวัฒนธรรมองค์กรและบรรยากาศภายในองค์กรของ LINE MAN Wongnai ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่พาเรามาถึงความสำเร็จในวันนี้ กล่าวคือ เราใช้การสื่อสารพูดคุยกันเยอะ พี่ๆ ก็เคารพรับฟัง น้องๆ ทุกคนกล้าเดินมาคุยเสนอไอเดียกับพี่ๆ ว่าอยากทดลองทำอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ ส่วนใหญ่ไม่มีขั้นตอนมากมาย คุยกันแล้วเราก็บอกว่า งั้นลองเลย น้องก็ทำเลย สิ่งหนึ่งที่พนักงานทุกคนมีเหมือนกันคือ Passion มีใจรัก ทุ่มเทให้กับงาน และพร้อมที่จะรวมพลัง ด้วยการเปิดกว้างเรื่องความคิด ไม่มีผิดไม่มีถูก เพราะพร้อมที่จะ Learning by Doing ไปด้วยกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี ถ้าเราล้ม เราก็จะรีบลุกขึ้นตั้งหลัก เรียนรู้และเริ่มทำใหม่ ซึ่งการที่เราคุยกันบ่อยๆ ช่วยทำให้สิ่งที่ทำง่ายขึ้น แต่อย่างตอนนี้ที่ต้อง Work From Home เราก็เน้นแชทหากัน โทรหากัน เพื่อนำเสนอไอเดียแบบเร่งด่วน ถ้ามีคนใหม่เข้ามาช่วงนี้ สิ่งสำคัญเราต้องพูดคุยงานกับพนักงานใหม่ ให้มาก ทั้งพูดคุยแนะนำเพื่อนร่วมงาน เพื่อให้พนักงานใหม่อุ่นใจมากขึ้น โดยเราต้องค่อยเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างคนใหม่กับ คนเก่าตลอดเวลา”

หมดยุค One-Size-Fit-All ผู้นำยุคใหม่ต้องอ่านทีมให้ออก “ใส่ใจ” และ “เข้าใจ”

SEAC ในฐานะผู้นำด้านการพัฒนาผู้บริหารและบุคลากรในองค์กรมาตลอด 30 ปี เราพบว่า การบริหารทีมทำงานเพื่อขับเคลื่อนองค์กรแบบเป็นหนึ่งเดียว ผู้นำจะขับเคลื่อนผลลัพธ์ได้ต้องใช้ทักษะในสามด้านคือ ทักษะด้านการคิด (Head) ซึ่งเป็นเรื่องของมุมมองและ การกำหนดทิศทาง อีกส่วนคือ เรื่องของการสร้างขวัญและกำลังใจ (Heart) และเรื่องของการขับเคลื่อนและพัฒนาให้ทีมงานสามารถ ลองมือทำ (Hand) ไปพร้อมกัน ซึ่งบริบทการทำงานที่เปลี่ยนไปทำให้ทีมงานเราอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน หลายคนต้องปรับตัวมาก ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ หลายคนเกิดความเครียดรู้สึกถึงความไม่แน่นอนในสิ่งที่ทำอยู่ บางคนปรับตัวไม่ได้ เกิดสภาวะจิตตก หรือ Burn Out เมื่อทีมงานแต่ละคนอยู่ในสถานการณ์ต่างกัน ต้องรับผิดชอบงานที่ต่างกัน ประเด็นสำคัญคือ การเป็นผู้นำยุคนี้ต้องอ่านลูกน้องให้ออก และปรับรูปแบบที่ใช้ตามแต่สถานการณ์ อย่าใช้รูปแบบของ One-Size-Fit-All เพราะสิ่งที่เราทำ ที่เราให้อาจไม่ตรงกับสิ่งที่ลูกน้องเรากำลังต้องการก็ได้ ดังนั้น การเป็นผู้นำในยุคนี้แทนที่จะเน้นที่สไตล์การนำที่เราเคยใช้ได้ผลดี อาจต้องเน้นการ “ใส่ใจ” และ “ทำความเข้าใจ” ในสิ่งที่ทีมงานต้องการการสนับสนุนจากเราบทโจทย์งานและสถานการณ์ของเค้า ที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงมากกว่าเพื่อปรับสไตล์และวิธีการให้เหมาะกับแต่ละช่วง

ซึ่ง คุณวุฒิชัย กล่าวเสริมว่า “ที่ LINE MAN Wongnai เน้นมากเรื่อง Caring & Listening อย่างตอนช่วงโควิด ทางผู้บริหารและ ทีม People ก็คอยดูว่าพนักงานเราต้องการอะไร ต้อง Work From Home ก็มีการส่งอุปกรณ์การทำงานมาให้ที่บ้าน บางครั้งก็มีส่งการ์ดส่งขนม เพื่อให้กำลังใจ ซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่สะท้อนให้เห็นถึงความใส่ใจ ที่ทั้งทีม People และพี่ทุกคนพยายามฟังเสียงว่า น้องกำลังอยากได้อะไร กำลังเจอสิ่งที่ยากตรงไหน ซึ่งพนักงานก็รู้สึกได้ พอคนรู้สึกได้ถึงความใส่ใจ ผลลัพธ์ก็สะท้อนกลับมาเป็นพลัง ในการทำงาน เป็น Passion ที่สะท้อนออกมาผ่านการแก้ปัญหาต่างๆ ”

เป็นผู้นำต้องทำก่อน! สร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ผ่านการทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง (Lead by Example)

กระจกสะท้อนที่ดีที่สุดของ Brand และคนในองค์กรของวัฒนธรรมขององค์กร ซึ่งในยุคแห่งกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนแนวทางการปฏิบัติในตำราต่างๆ ตามไม่ทัน ทำให้วัฒนธรรมการทำงานที่แข็งแรงที่คนในองค์กรพร้อมปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่น ที่จะลองทำสิ่งใหม่ถือเป็นอาวุธสำคัญของหลายๆ องค์กรที่ต้องเร่งสร้าง ซึ่งแน่นอนที่สุด จุดยากของเรื่องนี้คือการที่ผู้นำจะต้องเริ่มก่อน ต้องเริ่มจากปรับวิธีคิดและสร้างความเชื่อใหม่กับตัวเองก่อน จากนั้นจึงทำแบบอย่าง (Role Model) และทำอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง เราสามารถสร้างความเชื่อนี้ ให้กับทีมงานของเราในการทำงานรูปแบบใหม่ได้ คุณวุฒิชัย กล่าวเสริมว่า “อย่าง LINE MAN Wongnai ที่ทุกคนจึงจำเป็นต้องมองเห็นภาพเดียวกัน สิ่งที่พยายามทำคือพี่ๆ เริ่มก่อน ตัวอย่างที่ทำกันแล้วได้ผล คือ การ VDO Conference ที่เราอยากให้คนเปิดกล้องคุยกัน ทางหัวหน้าหรือผู้บริหารทุกคนจะเปิดกล้องเพื่อสร้างตัวอย่างที่ดีให้กับน้องๆ และพนักงานทุกคน เมื่อเปิดกล้องเราจะรู้ว่าทุกคนเข้าใจหรือมีปฏิกิริยาต่อเรื่องบางเรื่องอย่างไร ซึ่งน้องในทีมเข้าใจ และเริ่มทำตาม จนผู้บริหารระดับ C-level สามารถที่จะ Interactive และ Engagement ระหว่างประชุมได้มากขึ้น ทำให้เราเข้าใจกันเร็วขึ้น อย่างการที่เราเน้นการโทรคุยเร็วๆ เวลามีไอเดียอะไรแล้วอยากลองเลย เราก็ทำสิ่งนี้และเป็นการตั้งบรรทัดฐานนี้กับทีมงานเหมือนกันว่าสามารถทำแบบนี้ได้ ไม่ต้องรอมาคุยกันตอนประชุมแบบเป็นทางการเท่านั้น อีกสิ่งที่สำคัญ คือ เราทุกคนต้องไว้วางใจทีมและองค์กร ทั้งหัวหน้าและลูกน้อง เราถึงจะก้าวไปพร้อมกันสู่การเติบโตกับบริบทที่สำคัญขององค์กร”

 

ดังนั้น คีย์เวิร์ดสำคัญที่ผู้นำองค์กรยุคใหม่ที่ต้องรู้และเร่งปรับตัวเอง เพื่อสร้างทีมให้แข็งแกร่งและขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ การปรับความคิด (Mindset) สร้างการสื่อสารที่ชัดเจน เน้นการมีส่วนร่วม (Engaged Communication) พร้อมทั้งใส่ใจในการทำความเข้าใจกับทีมงาน (Listening & Caring) เพื่อปรับวิธีการนำและสร้างความเชื่อมั่นให้ทีมและองค์กร รวมถึงสร้างพฤติกรรมที่ดีเป็นแบบอย่าง (Lead by Example) เพื่อปลูกฝังวิถีการทำงานแบบใหม่เพื่อให้ทีมงานและองค์กรพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงและโอกาสที่จะเข้ามาถึง

 พบกับหลักสูตร Redefining The New Age Leadership สำหรับผู้บริหาร ผู้นำองค์กร หัวหน้าทีมทุกระดับที่กำลังมองหาตัวช่วย ในการบริหารงานให้ได้ผล บริหารคนให้ได้ใจ ในโลกการบริหารที่เต็มไปด้วยความไม่รู้ แถมต้องทำงานไกลกัน YourNextU by SEAC ได้รวบรวมทั้งความรู้ทักษะ และเคล็ดลับในการบริหารทีม อาทิ การพัฒนาบริหารทีม (E3s Leader Series – Engage Empower Execute) วิธีคิดเพื่อการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Outward Mindset) และหลักสูตรพัฒนาทักษะอื่นๆ ทั้ง Hard Skills และ Soft Skills ที่จำเป็นต่อโลกทำงานปัจจุบันและในอนาคต ไม่ว่าสถานการณ์จะท้าทายเท่าไหร่ จะอยู่ไกลกันแค่ไหน ก็รับมือได้เป็นอย่างดีแน่นอน

X

Right Click

No right click