December 22, 2024

Coursera Inc. (NYSE: COUR) แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ชั้นนำ ประกาศเปิดตัวเส้นทางการศึกษาระดับปริญญาแบบใหม่, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ 8 หลักสูตร, ใบรับรองความรู้ด้าน GenAI 20 หลักสูตร รวมไปถึงความเชี่ยวชาญพิเศษและเครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วย AI ในงาน Coursera Connect ประจำปี 2024 ซึ่งจัดขึ้นในกรุงเทพฯ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2568 การพัฒนาในครั้งนี้สนับสนุนนโยบายเกี่ยวกับ AI ของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (MHESI) ของประเทศไทย โดยส่งเสริม 'การศึกษา 6.0' ผลักดันให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ บูรณาการเทคโนโลยีขั้นสูงและถ่ายทอดทักษะที่สำคัญ เพื่อเตรียมนักศึกษาให้พร้อมสำหรับความต้องการของยุคดิจิทัล

Coursera ยังได้ต้อนรับพันธมิตรมหาวิทยาลัยชื่อดัง 4 รายอย่างเป็นทางการ อาทิ Saïd Business School - มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และ IMD Business School รวมไปถึงบริษัทชั้นนำของอุตสาหกรรม 5 บริษัท ได้แก่ Airbus Beyond, Amazon และ Xbox การร่วมมือกันในครั้งนี้จะทำให้ผู้เรียนในไทยสามารถเข้าถึงเนื้อหาคุณภาพสูงที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

 

คุณรากาฟ กุปตา กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Coursera กล่าวว่า “วิสัยทัศน์ของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคของเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น มุ่งเน้นไปที่การสร้างแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลและปลูกฝังแนวคิดการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต Coursera มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนวิสัยทัศน์นี้โดยมอบทักษะที่จำเป็น เครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วย AI ประกาศนียบัตรและใบรับรองที่เป็นที่ยอมรับระดับโลกซึ่งจำเป็นต่อการเติบโตในตลาดงานที่มีการแข่งขันสูงให้แก่ผู้เรียนและสถาบันต่าง ๆ โดยเป้าหมายของเราคือการส่งเสริมบุคลากรที่มีความสามารถเพื่อร่วมพัฒนาและกำหนดทิศทางอนาคตด้านดิจิทัลของประเทศไทย”

โดยประกาศใหม่จาก Coursera ในประเทศไทย ประกอบไปด้วย:

● เส้นทางการเรียนปริญญาหลักสูตรใหม่จาก University of London (UoL): โปรแกรม International Foundation Programme (IFP) ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์จะช่วยมอบทักษะพื้นฐานในวิชาคณิตศาสตร์ สถิติ และการเขียนโปรแกรม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคน ไม่ว่าจะมีประสบการณ์การศึกษาหรือการทำงานมาก่อนหรือไม่ก็ตาม และเมื่อเรียนจบแล้วสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีแบบออนไลน์ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์จาก University of London ได้โดยตรง

● ประกาศนียบัตรวิชาชีพใหม่ 8 หลักสูตร ที่จะช่วยให้ผู้เรียนชาวไทยเรียนรู้หรือต่อยอดในสายอาชีพที่มีความต้องการสูง: ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับนักวิเคราะห์ค่าตอบแทนและสวัสดิการ จาก ADP ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้าน Payroll จาก ADP ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับจูเนียร์ จาก Amazon ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพด้านวิศวกรรมข้อมูล จาก DeepLearning.AI และ AWS ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพด้านการออกแบบเกม จาก Epic Games ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับนักพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือ iOS และ Android จาก IBM ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับ Program Manager จาก IBM ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับนักประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร จาก Microsoft ● ใบรับรองวิชาชีพระดับเริ่มต้น 6 หลักสูตรจาก Google ได้แก่ Google Cybersecurity, Google Data Analytics, Google Digital Marketing & E-commerce, Google IT Support, Google Project Management และ Google UX Design โดยหลักสูตรทั้งหมดได้รับการพัฒนาด้วยการอัปเดตจาก GenAI พร้อมมอบการฝึกอบรมด้าน AI ที่สามารถนำไปใช้ได้ได้จริงจากผู้เชี่ยวชาญของ Google

● หลักสูตรความเชี่ยวชาญเฉพาะทางแบบใหม่จาก IBM และ Microsoft มอบทักษะ GenAI ที่ถูกปรับให้เหมาะสมกับบทบาทของแต่ละอาชีพ ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำ AI มาใช้ในการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้:

○ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของ IBM ครอบคลุมอาชีพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นักวิเคราะห์ BI, ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์, นักวิทยาศาสตร์ทางข้อมูล, การบริหารทรัพยากรมนุษย์, ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยจะเน้นที่การใช้ศักยภาพของ GenAI ในหน้าที่งานต่าง ๆ

○ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้าน Copilot ของ Microsoft ที่จะสอนการผสมผสาน AI ให้เข้ากับงานประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพด้วยหลักสูตรต่างๆ เช่น Microsoft Copilot สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล, การตลาด, การขาย และการพัฒนาซอฟต์แวร์ ● การพัฒนาของ Coursera Coach ที่ใช้ AI เพื่อมอบประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นส่วนตัวและโต้ตอบได้มากขึ้น ช่วยเพิ่มผลลัพธ์การเรียนรู้ได้ดียิ่งกว่าเดิม:

○ ระหว่างนักเรียนและครูในประเทศไทย โดย Coach จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเสมือน โดยให้คำแนะนำส่วนบุคคล คำตอบ และสรุปวิดีโอบรรยายเป็นภาษาท้องถิ่น

○ Coach for career guidance: ภายในสิ้นปี Coach จะช่วยให้ผู้เรียนสำรวจเส้นทางอาชีพและระบุทักษะที่สามารถถ่ายทอดได้ไปยังเส้นทางการเรียนรู้หรืออาชีพอื่นได้ พร้อมทั้งแนะนำเส้นทางการเรียนรู้ที่ปรับแต่งตามประสบการณ์และเป้าหมายของผู้เรียน

○ Coach for interactive instruction: ปัจจุบันผู้สอนสามารถใช้ Coach เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ที่สมจริง โดยเริ่มจากบทสนทนาแบบ Socratic หรือการเรียนรู้ด้วยการตั้งคำถามด้วยการโต้ตอบแบบข้อความ ผู้สอนสามารถระบุวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ สไตล์การสอน และเกณฑ์การประเมินได้ ผ่านการใช้แนวทางการสอนและเนื้อหาหลักสูตรที่ดีที่สุดของ Coursera โดยมี Google Gemini เป็นโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ตัวแรกที่ขับเคลื่อนฟีเจอร์นี้\

● เพิ่มหลักสูตรเนื้อหาภาษาไทยถึงสองเท่า: ปัจจุบันมีหลักสูตรที่แปลเป็นภาษาไทยกว่า 4,700 หลักสูตร สำหรับผู้เรียนรายบุคคลและภายในองค์กร โดยจำนวนหลักสูตรภาษาไทยเพิ่มขึ้นจาก 2,000 หลักสูตรเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว

● ความร่วมมือใหม่ครั้งใหม่กับ PWC ประเทศไทย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ธนาคารกสิกรไทย, บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ และเซ็นทรัล รีเทล

คุณวรวัจน์ สุวคนธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด มหาชน เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนา “ทักษะการเรียนรู้” สำหรับทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับทักษะของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ผ่านแพลตฟอร์ม Coursera ตั้งแต่ปี 2561 ธนาคารไทยพาณิชย์ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ Coursera เพื่อสร้างหลักสูตรภาษาไทย ขยายโอกาสการเรียนรู้ให้กว้างไกลออกไปนอกแพลตฟอร์ม และยกระดับการศึกษาในประเทศไทยผ่านโครงการ CSR ซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้เรียนกว่า 4,000 คน และเร็วๆ นี้ SCB Academy จะเปิดตัวโปรแกรมการเรียนรู้แบบครอบคลุมทั่วประเทศ โดยผสมผสานเวิร์กช็อปแบบโต้ตอบและจัดกิจกรรมในสถานที่จริงตามหลักสูตร “Learning How to Learn” ของ Coursera ซึ่งมุ่งเน้นการเสริมทักษะที่จำเป็นให้กับผู้สอน นอกจากนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ยังมีแผนที่จะร่วมมือกับดร. บาร์บารา โอ๊คลีย์ เพื่อแปลหลักสูตร “Accelerate Your Learning with ChatGPT” เป็นภาษาไทยภายในปี 2568 โดยใช้ประโยชน์จาก AI เชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการศึกษาของไทย

“เอ็ดดูพลอยส์” (EduPLOYS) ผู้ให้บริการด้านนวัตกรรมบอร์ดเกมเพื่อเสริมทักษะและความรู้ อย่างครบ วงจร ชู “เอแม็ท” (A-MATH) เกมต่อเลขคำนวณคณิตศาสตร์, “ครอสเวิร์ดเกม” เกมต่อศัพท์ภาษาอังกฤษ และ “คำคม” เกมต่อศัพท์ภาษาไทย สินค้าบอร์ดเกมเพื่อการศึกษาเรือธง ตอบรับดีมานด์กำลังซื้อตลาดของเล่นเสริมพัฒนาการที่ยังมีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง สมาคมการค้าของเล่นและผลิตภัณฑ์เด็กไทยคาดการณ์ปี 2566 ตลาดจะโตกว่า 10 % มูลค่าตลาดรวม 4,000-5,000 ล้านบาท พร้อมเดินหน้ากลยุทธ์สร้างความผูกพันระหว่างแบรนด์ EduPLOYS กับกลุ่มผู้บริโภคทุกวัย ผ่านกิจกรรมการแข่งขัน “เอ็ดดูพลอยส์ ครอสเวิร์ดเกม เอแม็ท คำคม และซูโดกุ ชิงแชมป์ประเทศไทย” ที่มีการแข่งขันตลอดทั้งปี พร้อมผลักดันยกระดับ “EdSport เกมกีฬาทางปัญญา” ให้กลายเป็นกีฬาสากลระดับชาติ

 

นางสาวลักษณ์สิดี พลอยแสงงาม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็ดดูพลอยส์ เกมแอนด์ทอย จำกัด หรือ EduPLOYS เปิดเผยว่า EduPLOYS เดินหน้าสร้างการรับรู้และทำการตลาดผลิตภัณฑ์เรือธงในกลุ่มสินค้าบอร์ดเกมเพื่อการศึกษา ได้แก่ “เอแม็ท” (A-MATH) เกมต่อเลขคำนวณคณิตศาสตร์ ,“ครอสเวิร์ดเกม” เกมต่อศัพท์ภาษา อังกฤษ และ “คำคม” เกมต่อศัพท์ภาษาไทย อย่างต่อเนื่อง ตอบรับกระแสความต้องการของตลาดจากการเปิดภาคการศึกษาใหม่ และจากกระแสการจับจ่ายของกลุ่มผู้ปกครองที่ต้องการรัดเข็มขัด โดยมองหาของเล่นที่คุ้มค่า ในราคาที่จับต้องได้ รวมถึงเป็นของเล่นที่เล่นได้สนุก ทั้งช่วยเสริมทักษะความรู้ เป็นของเล่นที่สามารถเล่นได้หลากหลายวัย รองรับสมาชิกในครอบครัวให้สามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้

สมาคมการค้าของเล่นและผลิตภัณฑ์เด็กไทย ได้คาดการณ์ว่าปี 2566 ตลาดของเล่นเด็กจะเติบโตกว่า 10 % มูลค่าตลาดรวม 4,000-5,000 ล้านบาท และมองว่ากลุ่มผู้ปกครองยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลลูกและนิยมซื้อของเล่นเด็กที่เสริมพัฒนาการ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นโอกาสของ “เอแม็ท” (A-MATH) เกมต่อเลขคำนวณคณิตศาสตร์ ,“ครอสเวิร์ดเกม” เกมต่อศัพท์ภาษาอังกฤษ และ “คำคม” เกมต่อศัพท์ภาษาไทย ที่จะสามารถเข้ามาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับผู้ปกครอง และทุกคนที่กำลังมองหาของเล่นที่ตอบโจทย์ ทั้งในด้านความสนุกสนาน เสริมทักษะความรู้ และราคาเข้าถึงได้ทุกคน

“EduPLOYS เดินกลยุทธ์แผนการตลาดในระยะยาว โดยหนึ่งพันธกิจของบริษัท ฯ นั่นคือการผลักดันยกระดับ “EdSport เกมกีฬาทางปัญญา” ให้กลายเป็นกีฬาสากลระดับชาติ ด้วยการจัดกิจกรรมการแข่งขัน “เอ็ดดูพลอยส์

ครอสเวิร์ดเกม เอแม็ท คำคม และซูโดกุ ชิงแชมป์ประเทศไทย” ที่มีการแข่งขันตลอดทั้งปี โดยจัดทัวร์นาเมนท์การแข่งขันตั้งแต่ในระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค ไปจนถึงระดับประเทศ เพื่อสร้างการรับรู้และปลุกกระแสความนิยมให้กับสาธารณะชนว่าการเล่นแข่ง เอแม็ท” (A-MATH) เกมต่อเลขคำนวณคณิตศาสตร์ ,“ครอสเวิร์ดเกม” เกมต่อศัพท์ภาษา อังกฤษ และ “คำคม” เกมต่อศัพท์ภาษาไทย ไม่ได้เป็นเพียงกิจกรรมเพื่อความผ่อนคลายในยามว่าง แต่เป็นกีฬาชนิดหนึ่ง ที่ต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝนทักษะ บ่มเพาะความชำนาญในการคิดวิเคราะห์วางแผน และคอยเก็บเกี่ยวประสบการณ์จนมีความเชี่ยวชาญ เหมือนกับกีฬาชนิดอื่นเช่นเดียวกัน และเยาวชนหรือผู้เล่นที่ชนะและเชี่ยวชาญก็เปรียบเสมือนนักกีฬา โดยเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการตลาดที่สร้างความผูกพันระหว่างแบรนด์ EduPLOYS กับกลุ่มผู้บริโภคทุกวัย และเกิดความคุ้นเคยใกล้ชิดระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายที่ได้เล่นเกมกระดานตั้งแต่เด็ก จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็ยังสามารถเล่นได้” นางสาวลักษณ์สิดี กล่าวสรุป

 

สำหรับสินค้า เอแม็ท (A-MATH) เกมต่อเลขคำนวณคณิตศาสตร์ ถือเป็นนวัตกรรมด้านการศึกษาที่ประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนาโดยคนไทย ประสบความสำเร็จในการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวิธีการเล่น ด้วยการผสมตัวเลขให้เกิดเป็นสมการคณิตศาสตร์ วางเชื่อมกับสมการที่อยู่บนกระดานเพื่อสร้างสมการใหม่ ก็จะได้รับคะแนน เมื่อจบเกมสรุปคะแนนที่ได้ ฝ่ายใดได้คะแนนมากกว่าเป็นผู้ชนะ โดยแบ่งสินค้าออกเป็น 3 รุ่นได้แก่ รุ่นอนุบาล, รุ่นประถม และรุ่นทั่วไป โดยวิธีการเล่นจะโดนออกแบบ มาให้เหมาะสมแก่พัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย

ครอสเวิร์ดเกม เกมต่อศัพท์ภาษาอังกฤษ และ “คำคม” เกมต่อศัพท์ภาษาไทย เป็นเกมกระดานที่ช่วยเสริมทักษะภาษาอังกฤษ และภาษาไทย, ความจำ, ความช่างสังเกต, การคิดวิเคราะห์และการวางแผน ซึ่งมีวิธีการเล่นโดยผสมตัวอักษรให้เกิดเป็นคําศัพท์ วางเชื่อมกับคําศัพท์ที่อยู่บนกระดาน เพื่อสร้างคําศัพท์ใหม่ก็จะได้คะแนน ฝ่ายใดได้คะแนนมากกว่าเป็นผู้ชนะ โดยแบ่งสินค้าออกเป็น 3 รุ่นได้แก่ รุ่นอนุบาล รุ่นประถม และรุ่นทั่วไป เช่นกัน

Salesforce (NYSE: CRM) หนึ่งในผู้นำด้าน CRM ระดับสากล เปิดตัวรายงานผลการศึกษา State of the Sales ฉบับที่ห้า นำเสนอข้อมูลเชิงลึกจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านการขายกว่า 7,700 รายจาก 38 ประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมการศึกษา 300 รายจากประเทศไทย โดยผลการศึกษาได้แสดงถึงแนวทางที่องค์กรการขายจะปรับใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมเพื่อสร้างประสิทธิภาพที่สูงสุด สามารถตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพและผลงานของตัวแทนฝ่ายขายให้สูงสุดเพื่อเร่งขับเคลื่อนความสำเร็จให้แก่ธุรกิจอย่างเร่งด่วน (Success Now)

ข้อมูลเชิงลึกสำคัญจากรายงาน State of the Sales ในปีนี้ได้แก่: หลักการใหม่ของการขาย: มุ่งเน้นในสิ่งที่สร้างให้เกิดผลสูงสุด บริษัทต่าง ๆ กำลังขยับหนีจากกลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงสูงในช่วงเวลาที่ต้องรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในระบบซัพพลายเชน ความไม่แน่นอนของกฎระเบียบจากหน่วยงานกำกับดูแล และผลกระทบด้านการเมือง แม้จะพบกับความท้าทายมากมาย ตัวแทนฝ่ายขายยังคงอยู่ใต้แรงกดดันในการผลักดันยอดขายให้ถึงเป้าหมาย ทั้งนี้ 62% ของผู้ประกอบวิชาชีพด้านการขายในประเทศไทยกล่าวว่าการขายมีความยากขึ้นในสภาวการณ์ปัจจุบัน

· ทีมขายต้องพยายามหาแนวทางที่จะตอบสนองความคาดหวังที่สูงขึ้นของผู้ซื้อ ผู้ซื้อคาดหวังที่จะติดต่อกับตัวแทนฝ่ายขายได้ไม่ว่าจะทำการติดต่อผู้ขายผ่านช่องทางใดก็ตาม ไม่เพียงเท่านั้น ตัวแทนฝ่ายขายยังต้องสามารถทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาที่น่าเชื่อถือได้ไปพร้อมกันด้วย หน่วยงานและองค์กรธุรกิจในประเทศไทยมีช่องทางในการติดต่อกับผู้ซื้อโดยเฉลี่ย 9 ช่องทาง

· ทีมปฏิบัติการสนับสนุนงานขาย (Sales Operation) จะช่วยเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพกับองค์กร ประสิทธิภาพการดำเนินงานมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องกับธุรกิจ ทีมปฏิบัติการสนับสนุนฝ่ายขายกำลังถูกขยายบทบาทและควาทสำคัญเชิงกลยุทธ์มากขึ้น โดยได้รับมอบหมายในการช่วยจัดการงานด้านปฏิบัติการเพื่อให้ฝ่ายขายมีเวลาเพิ่มขึ้นในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งตัวแทนฝ่ายขายในประเทศไทยประเมินว่าปัจจุบันตนสามารถใช้เวลาเพียง 27% ของสัปดาห์เท่านั้นในงานที่เป็นการขายจริงๆ

· ประสบการณ์ของผู้ขายถูกนำกลับมาประเมินใหม่อีกครั้ง บริษัทต่าง ๆ กำลังทบทวนและตรวจสอบโปรแกรมการฝึกอบรมและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยทำคู่ไปกับการจัดพื้นที่และกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เหมาะสมให้กับทีมขาย และจัดทำเครื่องมือเสริมสร้างทักษะให้พนักงานฝ่ายขายมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น พร้อมทั้งเป็นการรักษาพนักงานที่มีฝีมือให้อยู่กับบริษัท ทีมฝ่ายขายในประเทศไทยมีอัตราการลาออกของพนักงานฝ่ายขายโดยเฉลี่ย 25% ในช่วงปีที่ผ่านมา

คำกล่าวจากผู้บริหาร:· “อุปสรรคนานัปการที่ถาโถมใส่ธุรกิจ ประกอบกับการจำกัดงบประมาณค่าใช้จ่ายของบริษัท ส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้บริหารฝ่ายขาย ซึ่งบริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องบริหารจัดการทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จในสภาวการณ์นี้ (success now)” คุณกิตติพงษ์ อัศวพิชยนต์ กรรมการผู้จัดการ เซลส์ฟอร์ซ ประเทศไทย กล่าว “การใช้ประโยชน์จากระบบ CRM ให้ได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วยการใข้ความสามารถของระบบออโตเมขั่นซึ่งสร้างกระบวนการปฏิบัติการแบบอัตโนมัติและการใช้ประโยขน์จากข้อมูลเชิงลึก มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในเศรษฐกิจขณะนี้ สำหรับประเทศไทย รายงาน State of Sales ฉบับล่าสุดเผยว่า พนักงานขายในประเทศของเราประเมินว่าพวกเขาใช้เวลาเพียง 27% ในการทำงานขายจริง ๆ การที่บริษัทจะหามาตรการในการลดงานที่ไม่จำเป็นและงานที่ไม่ได้ช่วยให้การเกิดการขาย ออกจากสิ่งที่พนักงานขายต้องทำ พวกเขาจะสามารถใช้เวลามากขึ้นในการติดต่อกับลูกค้าและทำกิจกรรมที่จะข่วยสร้างรายได้ เพื่อเสริมสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ”

· “ช่วงเวลาของการมุ่งเน้นแต่การเติบโตของธุรกิจเกิดการหยุดชะงักลง และถูกแทนที่ด้วยการควบคุมและเข้มงวดกับงบประมาณค่าใช้จ่ายและการมุ่งที่จะทำกำไรจากการดำเนินงานให้สูงขึ้น” คุณอดัม กิลเบิร์ด รองประธานบริหารฝ่ายขาย เซลส์ฟอร์ซ กล่าว “ในฐานะผู้ขาย เราคุ้นเคยกับสภาพการณ์และข้อจำกัดเหล่านี้และสามารถปรับตัวได้รวดเร็ว ลูกค้าของเรากำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายเหล่านี้ เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องช่วยเหลือลูกค้าให้สามารถรับมือกับสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่นี้ ด้วยการนำเสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพ การประหยัดต้นทุน และการเพิ่มประสิทธิผล

และผลลัพธ์ที่ดีขึ้นทางธุรกิจ เพื่อที่ทีมงานขายจะสามารถสร้างความไว้วางใจที่จะเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่จะนำธุรกิจของลูกค้าก้าวสู่เป้าหมายและพบความสำเร็จในสภาวการณ์นี้”

 

เชื่อหรือไม่…ว่าการศึกษาจะช่วยส่งมอบคุณค่า และเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น?

 “จุดที่แตกต่างของ Saturday School คือ มุ่งพัฒนา Soft Skills ให้กับเด็กๆ ซึ่งจะติดตัวพวกเขาไปในอนาคตได้อย่างดีเยี่ยม เรามุ่งพัฒนาและดึงศักยภาพของทุกคนจากภายใน สร้าง Growth Mindset ให้เขาเป็นคนดี และอยากแบ่งปันให้ผู้อื่น” กล่าวโดย ครูยีราฟ

 หลายๆ คนที่อยู่ในแวดวงการศึกษาน่าจะเคยได้ยินชื่อ “Saturday School” หรือ “โรงเรียนวันเสาร์” โรงเรียนแสนสนุกที่ก่อตั้งในรูปแบบมูลนิธิ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มคนในสังคมจากหลากหลายสาขาอาชีพ บนความมุ่งมั่นเดียวกันที่จะเปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ในวันเสาร์ ให้เป็นคอมมูนิตี้แลกเปลี่ยนกัน ระหว่างเด็กนักเรียนที่อยากเรียนรู้ และคุณครูอาสาที่อยากสอน เพื่อช่วยเติมฝันและความสุขให้น้องๆ ได้ทำในสิ่งที่พวกเขาอยากทำ พร้อมดึงศักยภาพในตัวเขาออกมา

 รายการ open talk EP.16 ขอพาคุณไปสัมผัสมิติใหม่แห่งการศึกษานอกห้องเรียน กับ “ครูยีราฟ” สรวิศ ไพบูลย์รัตนากร คุณครูผู้ผันตัวจากอดีตโปรแกรมเมอร์บริษัทยักษ์ใหญ่ สู่ Founder & CEO

ของ Saturday School กับเป้าหมายใหญ่ที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้ดีขึ้น ด้วยภารกิจปั้นโอกาสทางการศึกษาสู่วิชานอกห้องเรียน และมุ่งขยายคอมมูนิตี้การเรียนการสอนของ Saturday School ให้ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ มาร่วมรับชมรับฟังบทสัมภาษณ์กันได้เลยค่ะ Link EP.16: VDO https://www.youtube.com/watch?v=tAiug42C7W0&t=4s

 เมื่อ Mission หลักของ Saturday School คือการพัฒนาการศึกษา เพื่อผลิตคนเก่งๆ ให้กลับไปพัฒนาประเทศในอนาคต รูปแบบการเรียนการสอนของที่นี่จึงไม่ได้มีหลักสูตรสำเร็จตายตัว แต่จะเป็นคลาสเรียนทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว ที่เกิดขึ้นจากความสนใจของเด็กๆ และคุณครูอาสา เช่น คลาสเรียนเต้น โปรแกรมมิ่งคอมพิวเตอร์ เกมแคสติ้ง การวางแผนการเงิน โปรแกรมพัฒนาตัวเองใน 21 วัน (21 Days Challenge) ฯลฯ โดยในช่วงโควิด จะเป็นการสอนผ่านระบบออนไลน์ควบคู่กับกล่องการเรียนรู้ (Learning Box) ที่คุณครูอาสาจะส่งไปให้เด็กๆ ที่บ้าน พร้อมคอยช่วยเหลือและติดตามผลอยู่เป็นระยะ เพื่อกระตุ้นให้เด็กๆ มี Active Learning และ Engagement ให้ได้มากที่สุด เมื่อเด็กๆ และคุณครูอาสาสามารถแสดงศักยภาพและทำได้ตามเป้าหมาย พวกเขาจะเกิดความภาคภูมิใจและแรงบันดาลใจที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม และส่งต่อพลังบวกให้คนรอบข้างต่อไป

 สำหรับผู้ที่อยากเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นพันธมิตรหรือสนับสนุน Saturday School สามารถร่วมบริจาคได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น เงินทุน อุปกรณ์การเรียนการสอน เครื่องมือ ระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรมต่างๆ ฯลฯ ผ่านมูลนิธิ Saturday School เพื่อร่วมพัฒนาการศึกษาและเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้ดีขึ้น โดยร่วมบริจาคได้ที่ https://bit.ly/Saturday-School หรือติดต่อเพจ Saturday School Thailand

 ท้ายนี้ ครูยีราฟยังได้ฝากข้อคิด เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ครูอาสา นักเรียน บุคคลทั่วไป และองค์กรต่างๆ ไว้ว่า “ผมอยากให้เราเชื่อมั่นในศักยภาพของแต่ละคน ว่าเป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาได้ แม้ว่าเราจะมีพื้นฐานและต้นทุนชีวิตที่แตกต่างกัน และผมเชื่อว่าเด็กๆ จะเรียนรู้ได้ดีเมื่อเขาได้ทำในสิ่งที่เขาสนใจ”

 สามารถรับชมเรื่องราวและกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจ ของ open talk และ Episode ใหม่ๆ ของเราผ่านช่องทางเหล่านี้

www.OPEN-TEC.com

OPEN-TEC Official Facebook

www.tcc-technology.com

TCC Technology Official Facebook

TCC Technology Official Youtube

https://www.linkedin.com/company/tcc-technology

 อย่าลืมติดตามคอนเทนต์ดีๆ จากเรา พร้อมกดถูกใจ (Like) กดติดตาม (Follow) กดเห็นโพสต์ก่อน (See First) และ Subscribe ในทุกช่องทางเพื่อรับอัปเดตใน Episode ใหม่ๆ ได้ทันที

หากมีคำแนะนำ สามารถทิ้งข้อความได้ทั้งในเพจ หรือในลิงก์อีเมลThis email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ทางรายการยินดีรับฟังทุกคำแนะนำ

 แขกรับเชิญ: คุณสรวิศ ไพบูลย์รัตนากร Founder & CEO ของ Saturday School

ผู้ดำเนินรายการ: วลีพร สายะสิต General Manager - Corporate Communications, TCC Technology

 สามารถรับชมวิดีโอบทสัมภาษณ์ open talk EP.16 ฉบับสมบูรณ์ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=tAiug42C7W0&t=4s

X

Right Click

No right click