December 22, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

ไทยพาณิชย์ โพรเทค เปิดแผนธุรกิจปี 2566 ต่อยอดทิศทางแบงก์แม่ จับโจทย์ผลิตภัณฑ์ประกันเป็นหนึ่งในรากฐานการสร้างความมั่งคั่ง พร้อมมอบประสบการณ์บริการที่เชื่อมถึงกันแบบไร้รอยต่อจากทุกช่องทางสู่ทุกภูมิภาคจากการวางระบบรากฐานข้อมูลเทคโนโลยีจากสำนักงานใหญ่ เพื่อการให้บริการที่เข้าใจง่ายและใส่ใจ ครอบคลุมทั่วพื้นที่สำคัญในประเทศไทยเพื่อการเติบโตระยะยาว ประเดิมเปิดศูนย์กลางการดำเนินงานภาคเหนือที่ จ.เชียงใหม่ เป็นแห่งแรก เพื่อสนับสนุนศักยภาพงานขายและบริการเต็มรูปแบบ พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ประกันกลุ่มราคาสุดคุ้ม เพื่อช่วยตั้งต้นวางแผนชีวิตอย่างมั่นคงสำหรับกลุ่มอาชีพอิสระ โดยออกแบบประกันกลุ่มอุบัติเหตุสุดคุ้มเริ่มต้นเพียง 225 บาทต่อปี นำร่อง 5 องค์กรภาคธุรกิจและท่องเที่ยวเชียงใหม่ ตั้งเป้าผลักดันเบี้ยรับรวมและรายได้ปี 2566 โต 200%

 

นางสาวปรมาศิริ มโนลม้าย รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจประกัน ธนาคารไทยพาณิชย์ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจนายหน้าประกันชีวิตและประกันวินาศภัย เปิดเผยว่า “จากการวางรากฐานการทำงานเพื่อสร้างการเจริญเติบโตในช่วงที่ผ่านมา การนำเสนอผลิตภัณฑ์ด้านความคุ้มครองที่คุ้มค่าและพัฒนาช่องทางการติดต่อลูกค้าทั้งออฟไลน์และออนไลน์ เพื่อให้ผู้บริโภคกลุ่มแมสเข้าถึงความคุ้มครองที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะช่องทางประกันออนไลน์ (Digital Insurance) https://online.scbprotect.co.th/ ส่งผลให้บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค จำกัด ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทนายหน้าประกันชีวิตและประกันวินาศภัยที่มียอดกรมธรรม์ผ่านช่องทางออนไลน์ที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในตลาด ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ย 200% ต่อเดือน บริษัทมีผลประกอบการที่โดดเด่น โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา บริษัทมีเบี้ยรับรวม 1.7 พันล้านบาท และฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นกว่า 1.8 แสนราย”

ในปี 2566 นี้ บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค ตั้งเป้าหมายเติบโตอย่างมีศักยภาพ โดยกำหนดกลยุทธ์สอดรับกับกลยุทธ์ของธนาคารไทยพาณิชย์ที่ประกาศเป็น “ดิจิทัลแบงก์ที่เป็นอันดับหนึ่งด้านการบริหารความมั่งคั่ง พร้อมมอบประสบการณ์การให้บริการที่เชื่อมถึงกันอย่างไร้รอยต่อในทุกช่องทาง” ด้วยการวางโครงสร้างการให้บริการและการวางระบบรากฐานข้อมูลเทคโนโลยี IT infrastructure ให้สามารถรองรับการให้บริการที่เชื่อมถึงกันอย่างไร้รอยต่อ (Omni-Channel) จากช่องทางการขายที่แตกต่างกัน เป็นการผสานความสะดวกสบายในการเข้าถึงความคุ้มครองผ่านทางดิจิทัลกับการดูแลและให้บริการลูกค้าด้วยใจจากพนักงานทั้งก่อนและหลัง

การขาย รวมถึงการพัฒนา AI ในการเรียนรู้และวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และค่าเบี้ยที่คุ้มค่าผ่านช่องทางการขายที่เหมาะสมสำหรับลูกค้าแต่ละราย และการขยายเครือข่ายสู่ภูมิภาคหลัก โดยจะทยอยเปิดศูนย์กลางการดำเนินงานประจำภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ประเดิมภาคเหนือ จ.เชียงใหม่เป็นแห่งแรก โดยตั้งเป้าภูมิภาคจะมีส่วนผลักดันให้เบี้ยรับรวมและรายได้ปีนี้เติบโต 200%

“เชียงใหม่เป็นเมืองหลักของธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยวของประเทศไทย และตลาดแรงงานปรับดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 จังหวัดเชียงใหม่ ในไตรมาสแรกของปี 2566 เติบโต 30%*1 อีกทั้งยังพบว่าหลังจากสถานการณ์โควิดดีขึ้นนั้น มีแรงงานกลับคืนถิ่นจำนวนมาก และต้องการมีอาชีพที่มั่นคง จนปัจจุบัน ศูนย์กลางการดำเนินงานประจำภาคเหนือ มีพนักงาน รวมทั้งสิ้น 450 คน พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ลงนามความร่วมมือกับ 5 องค์กรภาคธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยวเชียงใหม่ ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ สมาพันธ์ SME ไทย จังหวัดเชียงใหม่ สมาคมส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการไทยจังหวัดเชียงใหม่ ATED.CM และสมาคมโรงแรมไทยภาคเหนือ (ตอนบน) สนับสนุนผลิตภัณฑ์ประกันกลุ่มราคาพิเศษสุด เพื่อช่วยตั้งต้นวางแผนชีวิตอย่างมั่นคงสำหรับกลุ่มอาชีพอิสระเกี่ยวกับธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยวซึ่งเป็นหัวใจหลักของภาคเหนือสามารถเข้าถึงประกันที่จำเป็นได้ในราคาคุ้มค่า”

นางสาวปรมาศิริ กล่าวว่า บริษัทฯ ร่วมมือกับ ซันเดย์ ประกันภัย บริษัทอินชัวร์เทคชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ SCB 10X ถือหุ้นอยู่ พัฒนาผลิตภัณฑ์และระบบที่ทันสมัยเหมาะกับลูกค้าในยุคดิจิทัลที่สามารถรับความคุ้มครองง่ายๆ ผ่านมือถือ ออกประกันกลุ่มอุบัติเหตุสุดคุ้ม (Group Personal Accident) ประกันพื้นฐานความคุ้มครองสำหรับความเสี่ยงในการใช้ชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นได้บ่อยสำหรับทุกวัย โดยสามารถทำได้ทั้งพนักงานองค์กร สมาชิกในองค์กรและครอบครัวของคนในองค์กร ด้วยค่าเบี้ยเริ่มต้นเพียงปีละ 225 บาท รับความคุ้มครองชีวิตจากอุบัติเหตุสูงถึง 100,000 บาท และอีกไฮไลต์สำคัญคือประกันกลุ่มอุบัติเหตุ PA แผน 6 ที่มีค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุครั้งละ 5,000 บาท ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และความคุ้มครองชีวิตจากอุบัติเหตุสูงถึง 500,000 บาท ด้วยค่าเบี้ยเพียง 1,180 บาทต่อปี นอกจากนี้ ยังมีประกันกลุ่มรถทัวร์ รถตู้ ประกันทรัพย์สินและโรงงาน ให้บริการอีกในลำดับถัดไป การขยายเครือข่ายสู่ภูมิภาคนี้ บริษัทตั้งเป้าสร้างเบี้ยรับเพิ่มภาคละ 720 ล้านบาทต่อภาคต่อปี

ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนที่จะขยายศูนย์กลางการดำเนินงานประจำภาค โดยภาคถัดไป คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดขอนแก่น โดยจะเริ่มรับสมัครทีมงานในไตรมาส 3 ของปีนี้กว่า 300 อัตรา จุดเด่นของงานเช่น งานเทเลเซลล์ คือ เป็นสัญญาจ้างพนักงาน มีเงินเดือนประจำ เบี้ยขยัน ค่าคอมมิชชั่นตามผลงาน รางวัลพิเศษตามแคมเปญ และสวัสดิการต่างๆ นอกจากนี้ บริษัทยังส่งเข้าอบรมและส่งสอบใบอนุญาตโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นต้น โดยรับทั้งผู้ที่มีประสบการณ์งานขายประกันและนักศึกษาจบใหม่ บริษัทฯ คาดว่าจะ

ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลามเช่นที่จังหวัดเชียงใหม่ ผู้สนใจสามารถแอดไลน์ @scbprotect เพื่อติดตามประกาศเกี่ยวกับการรับสมัครงานและโปรโมชั่นประกันดีๆ คุ้มๆ ได้ตลอดทั้งปี

บริษัทฯ มีแนวทางที่สอดคล้องกับแบงก์แม่ คือ การให้บริการที่เชื่อมถึงกันอย่างไร้รอยต่อในทุกช่องทาง โดยยึดหลักการดูแลด้วยใจและใส่ใจบริการ ด้วยการบริการที่หลากหลายช่องทาง นำโดย 1314 SCB Protect Customer Service Center เป็นศูนย์กลางการให้บริการหลังการขายและตอบคำถามเกี่ยวกับประกันจากทุกช่องทาง ความสามารถในการรองรับการให้บริการจาก 200 คนต่อเดือนในช่วงเริ่มต้น เป็น 200 คนต่อวันในปี 2566 ช่องทางดิจิทัลอย่าง LINE Official Account (LINE OA) SCB Protect, Facebook SCB Protect และอีเมล และในปี 2566 นี้ ได้เชื่อมต่อระบบประกันออนไลน์ และประกันรถยนต์ทางโทรศัพท์เข้ากับ LINE OA SCB Protect ทำให้สามารถสอบถามเกี่ยวกับประกันที่สนใจ ทำรายการซื้อจนจบจ่ายเงิน และรับความคุ้มครองผ่านทางไลน์ได้อย่างปลอดภัย เป้าหมายสำคัญคือการเชื่อมต่อทุกระบบเพื่อเป็น One-Stop Service ในการให้บริการลูกค้าสำหรับทุกประเภทประกัน เพื่อให้คนไทยเข้าถึงประกันที่ต้องการได้ในราคาที่คุ้มค่า ผ่านการบริการที่สะดวกรวดเร็วในปี 2567

 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เดินหน้า ต่อยอดความสำเร็จโครงการอาชีพดีพร้อม เฟส 2 จัดอบรมเสริมสร้างทักษะและความรู้ให้กับชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการย้ายถิ่นฐานกลับภูมิลำเนาให้มีความรู้ในการ ต่อยอดอาชีพ พร้อมสร้างช่างสำหรับแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในชุมชน คาดผู้เข้าร่วมกว่า 350,000 คน

นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ “ดีพร้อม” เปิดเผยว่า ในช่วง ที่ผ่านมา สังคมไทยได้รับผลกระทบจากสภาวะทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก โดยสถิติล่าสุดของสำนักงาน สถิติแห่งชาติที่จัดทำขึ้นปีละครั้ง พบว่ามีผู้ย้ายถิ่นฐานทั่วประเทศรวมกว่า 6.67 แสนคน ซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ “ดีพร้อม” (DIPROM) เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างโอกาสและพัฒนาคนกลุ่มนี้ เป็นอย่างมาก จึงได้ดำเนินโครงการ “อาชีพดีพร้อม” ผ่านศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ทั้ง 11 แห่ง และในส่วนกลาง โดยประกอบด้วย 4 หลักสูตร ซึ่งในเฟส 1 ได้จัดอบรมหลักสูตรที่ 1 เป็นการพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐาน ด้านการผลิตไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วโดยการอบรมเน้นการพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิต อาทิ การผลิตของใช้ในครัวเรือนต่าง ๆ อาทิ น้ำยาล้างจาน สบู่เหลว ของชำร่วย การเพ้นท์กระเป๋า มีผู้ที่ผ่านการอบรมแล้วทั้งสิ้น จำนวน 350,000 คน

สำหรับในเฟส 2 ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ดีพร้อม มุ่งพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการ ต่อยอดอาชีพ โดยประกอบด้วยหลักสูตรที่ 2 การพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการบริการที่เน้นการนำไปประกอบอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้พัฒนาให้เกิดทักษะความเชี่ยวชาญมากขึ้นในกลุ่มอาชีพเฉพาะทาง งานช่าง อาทิ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซ่อมรถ ซ่อมแอร์ และกลุ่มอาชีพบริการ เช่น เชฟ ช่างเย็บผ้า ช่างตัดผม เป็นต้น ซึ่งผู้ที่จบหลักสูตรนี้จะสามารถนำไปประกอบอาชีพหารายได้ ในส่วนหลักสูตรที่ 3 การพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ เป็นการถ่ายทอดความรู้ด้านการสร้างแบรนด์สินค้าจากภายในท้องถิ่น สร้างอัตลักษณ์ ให้มีความโดดเด่น ตรงกับความต้องการของตลาด และมีการสอนเรื่องการจัดส่งกระจายสินค้าให้เป็นระบบ จะเห็นได้ว่าหลักสูตรที่ 3 นี้ เป็นการเตรียมความพร้อมสู่การพัฒนาด้านความคิดสร้างสรรค์ที่จะต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่ามากขึ้น และหลักสูตรที่ 4 การพัฒนาต่อยอดทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจที่จะเป็นการอบรม เพื่อสร้างความรู้เรื่องการจัดการเงินในการประกอบธุรกิจ อาทิ การทำแผนธุรกิจ การจัดทำบัญชี การตลาด การบริหารจัดการเงินให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นการเตรียมความรู้ที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการใหม่ให้มีความพร้อมมากที่สุดก่อนลงมือทำกิจการ

โดยในเฟส 2 ดีพร้อมตั้งเป้าหมายว่าจะมีผู้สนใจเข้าร่วมทั้งสิ้นรวม 350,000 คน และเชื่อมั่นว่า การพัฒนาทักษะให้กับคนจะเป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีและจะนำมาซึ่งความสำเร็จสู่ผู้ประกอบการและชุมชน ส่งผลให้ราคาจำหน่ายสูงมากขึ้นกำไรก็จะมากขึ้น ผลประโยชน์นี้ไม่ได้ตกอยู่กับตัวผู้อบรมอย่างเดียว แต่สามารถสะท้อนผลความเจริญต่อไปได้ในระดับประเทศ นายใบน้อย กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0 2430 6865-66 ต่อ 4 หรือ ติดตามข้อมูลข่าวสารและความเคลื่อนไหวได้ที่ www.facebook.com/dipromindustry หรือ www.diprom.go.th

มูลนิธิซิตี้ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย (คีนัน) และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ร่วมปั้นโครงการ

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านธุรกิจและอุตสาหกรรมการบริการ และ โรงเรียนสอนวิชาชีพความงามและสุขภาพสปาชีวาศรม

กรุงเทพฯ 29 มีนาคม 2564 – จ๊อบส์ ดีบี เปิดข้อมูลการประเมินแนวโน้มทิศทางตลาดแรงงานหลังวิกฤต (Wake-up Talk : Job Market Projection after Crisis) พบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 จำนวนความต้องการแรงงานในประเทศไทยทั้งจากบนแพลตฟอร์มหางาน และช่องทางสื่อกลางออนไลน์อื่น ๆ ฟื้นขึ้นจากจุดต่ำสุดถึง 24.65% โดยได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดจากเดือนเมษายน 2563 และเดือนธันวาคม 2563 จากการระบาดระลอกที่ 2 โดยกลุ่มสายงานที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่ 1) สายงานขาย บริการลูกค้า และพัฒนาธุรกิจ คิดเป็น 16.0% 2) สายงานไอที คิดเป็น 14.7% 3) สายงานวิศวกรรม คิดเป็น 9.8% ในด้านมุมมองกลุ่มธุรกิจพบว่า ธุรกิจที่มีอัตราการฟื้นตัวสูงสุดเมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2563 ได้แก่ 1) กลุ่มธุรกิจประกันภัย 2) กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 3) กลุ่มธุรกิจการผลิต นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราการแข่งขันในการหางานของคนไทยมีอัตราส่วนการแข่งขันอยู่ที่ 1 ต่อ 100 ใบสมัคร โดยกระจุกตัวอยู่เพียงในเงินเดือนไม่เกิน 30,000 บาท ในด้านของสถานการณ์การจ้างงานของกลุ่มประเทศในอาเซียน 4 ประเทศเศรษฐกิจหลัก พบว่า ประเทศที่เริ่มกลับมามีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ ตามลำดับ ล่าสุด จ๊อบส์ ดีบี ได้เปิดตัวแคมเปญ “หางานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่เลือก” (Jobs That Matter) พร้อมเปิดตัวโซลูชันใหม่ให้ภาคธุรกิจและคนหางาน อาทิ การปรับอินเตอร์เฟซโฉมใหม่ การปรับฟีเจอร์ใหม่ ระบบเอไอใหม่ เพื่อรองรับการหางานของคนไทยทุกกลุ่มทั่วประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน จ๊อบส์ ดีบี มีจำนวนประกาศงานใหม่ต่อเดือนทั้งหมดกว่า 10,000 งาน

นางสาวพรลัดดา เดชรัตน์วิบูลย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จ๊อบส์ ดีบี ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินแนวโน้มทิศทางตลาดแรงงานหลังวิกฤต พบว่า ล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 จำนวนความต้องการแรงงานในประเทศไทยทั้งจากบนแพลตฟอร์มหางาน และช่องทางสื่อกลางออนไลน์อื่น ๆ ฟื้นขึ้นจากจุดต่ำสุดถึง 24.65% สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณการฟื้นตัวของตลาดแรงงานไทยผ่านจำนวนความต้องการแรงงานของผู้ประกอบการว่า ได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดจากช่วงเดือนเมษายน 2563 และเดือนธันวาคม 2563 จากการระบาดระลอกที่ 2 และคาดการณ์ว่าจำนวนประกาศงานทั้งประเทศจะกลับมาเป็นบวก 5% ในกลางปี 2564 (เมื่อเทียบกับกลางปี 2563) และจะฟื้นตัวเท่ากับก่อนวิกฤตการณ์โควิด–19 ในต้นปี 2565 หากไม่มีการระบาดระลอกใหม่

ในส่วนของความต้องการเมื่อแบ่งตามสายงาน จากจำนวนประกาศงานบน จ๊อบส์ ดีบี ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 พบว่า กลุ่มสายงานที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่ 1) สายงานขาย บริการลูกค้า และพัฒนาธุรกิจ คิดเป็น 16.0% 2) สายงานไอที คิดเป็น 14.7% 3) สายงานวิศวกรรม คิดเป็น 9.8% และในส่วนของการฟื้นตัวของแต่ละกลุ่มสายงาน พบว่า กลุ่มสายงานที่มีจำนวนประกาศงานเติบโตขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2563 ได้แก่ 1) สายงานการตลาดและประชาสัมพันธ์ คิดเป็น 29.7% 2) สายงานขนส่ง คิดเป็น 24.7% 3) สายงานการผลิต คิดเป็น 20.8% นอกจากนี้ ยังพบว่า มีสายงานใหม่ ๆ เกิดขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศที่เปลี่ยนไปหลังวิกฤตการณ์โควิด-19 อาทิ นักพัฒนาเอไอ ที่ปรึกษาด้านบล็อกเชนและสกุลเงินดิจิทัล ผู้เชี่ยวชาญ Business Transformation รวมถึง Growth Officer

 

ในด้านมุมมองกลุ่มธุรกิจพบว่า ธุรกิจที่มีสัดส่วนจำนวนประกาศงานสูงสุด ได้แก่ 1) กลุ่มธุรกิจไอที คิดเป็น 12.9% 2) กลุ่มธุรกิจการผลิต คิดเป็น 8.1% 3) กลุ่มธุรกิจการค้าปลีก-ส่ง คิดเป็น 6.6% และในส่วนของธุรกิจที่มีอัตราการฟื้นตัวสูงสุดเมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2563 ได้แก่ 1) กลุ่มธุรกิจประกันภัย คิดเป็น 42.9% 2) กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็น 41.9% 3) กลุ่มธุรกิจการผลิต คิดเป็น 37.7% นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราการแข่งขันในการหางานของคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นถึง 20% ในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 และมีอัตราส่วนการแข่งขันอยู่ที่ 1 ต่อ 100 ใบสมัคร โดยการแข่งขันมีการกระจุกตัวอยู่เพียงในกลุ่มคนทำงานที่เงินเดือนไม่เกิน 30,000 บาท

ในด้านของสถานการณ์การจ้างงานของกลุ่มประเทศในอาเซียน พบว่า ประเทศที่มีจำนวนประกาศงานออนไลน์ลดลงมากที่สุดจากช่วงก่อนหน้าสถานการณ์โควิด-19 ได้แก่ 1) อินโดนีเซีย ลดลง 55.7% 2) ฟิลิปปินส์ ลดลง 46.6% 3) มาเลเซีย ลดลง 39.0% 4) ไทย ลดลง 35.6% ในขณะเดียวกัน จากจำนวนประกาศงานออนไลน์ล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 พบว่า ประเทศที่เริ่มกลับมามีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ 1) มาเลเซีย เพิ่มขึ้น 14.8% 2) อินโดนีเซีย ติดลบดีขึ้นเหลือ -16.4% 3) ไทย ติดลบดีขึ้นเหลือ -20.5% 4) ฟิลิปปินส์ ติดลบดีขึ้นเหลือ -37.7% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปี 2563

จ๊อบส์ ดีบี ได้ร่วมมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (Boston Consulting Group) และ เดอะ เน็ตเวิร์ก (The Network) ในการจัดทำแบบสำรวจระดับโลก “ถอดรหัสลับ จับทิศทางความต้องการคนทำงานยุคใหม่” (Global Talent Survey) ฉบับที่ 1 จากผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 2 แสนคน ใน 190 ประเทศ ภายใต้หัวข้อ “Where – ประเทศที่คนอยากทำงาน และการทำงานแบบเวอร์ชวล” เพื่อศึกษาความต้องการที่เปลี่ยนไปในแต่ละปีของแรงงานทั่วโลก โดยเฉพาะปีที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โควิด-19 ทั้งนี้ จากผลสำรวจ พบว่า เกิดสองปรากฏการณ์สำคัญในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 ซึ่งปรากกฏการณ์แรกคือ คนทำงานหันมาให้ความสนใจการทำงานแบบเวอร์ชวล โดยกว่า 57% ของคนทำงานทั่วโลกยินดีที่จะทำงานให้กับบริษัทที่อยู่ต่างพื้นที่ และ 50% ของคนไทยยินดีที่จะทำงานให้กับบริษัทที่อยู่ต่างพื้นที่ ซึ่ง 3 อันดับประเทศที่คนไทยอยากไปทำงานด้วยมากที่สุด ได้แก่ 1) ออสเตรเลีย 2) ญี่ปุ่น 3) สิงคโปร์ และ 5 อันดับแรงงานต่างชาติที่สนใจอยากมาทำงานให้กับบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) มาเลเซีย 3) จีน 4) อินโดนีเซีย 5) รัสเซีย ซึ่งในปี 2020 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับ 35 จากประเทศทั่วโลกที่คนทำงานต่างชาติสนใจอยากเข้ามาทำงาน ขยับขึ้นมาจากอันดับ 43 และ 39 ในปี 2014 และ 2018 ตามลำดับ

และปรากฏการณ์ที่สอง จากผลสำรวจของ จ๊อบส์ ดีบี คือ คนทำงานในประเทศไทยหลังวิกฤตการณ์โควิด-19 มีพฤติกรรมหันมาทำงานแบบเวอร์ชวลมากขึ้นในทุกสายงาน โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยี ดิจิทัล วิทยาศาสตร์ ซึ่งทั้งสองปรากฏการณ์ดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มคนทำงานแบบเวอร์ชวล (Virtual Talent Pool) ที่จะมาเป็นกุญแจสู่ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้กับภาครัฐ นายจ้าง รวมถึงคนทำงานในยุคหลังวิกฤตการณ์โควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการหางานในต่างประเทศโดยไม่ต้องโยกย้ายถิ่นฐาน หรือโอกาสในการหาคนทำงานที่ตรงตามความต้องการจากต่างประเทศ

ล่าสุด จ๊อบส์ ดีบี ได้ปรับรูปลักษณ์ตลอดจนทิศทางการดำเนินธุรกิจใหม่เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ผ่านการเปิดตัวแคมเปญ “หางานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่เลือก” (Jobs That Matter) และเปิดตัวโซลูชันใหม่ให้ภาคธุรกิจและคนหางาน อาทิ การปรับอินเตอร์เฟซโฉมใหม่ การปรับฟีเจอร์ใหม่ที่จะเน้นไปที่การสร้างประสบการณ์แบบเพอร์เซอนัลไลเซชัน (Personalization) ให้กับผู้หางาน ไม่ว่าจะเป็นระบบค้นหาด้วยข้อมูลอัลกอริทึม ทางลัดเข้าสู่โปรไฟล์ส่วนตัว และระบบเอไอแนะนำตำแหน่งงาน  รวมถึงการพัฒนาโครงการ “ยกระดับความรู้ ก้าวสู่งานที่ใช่” (#levelupyourcareer) กิจกรรมยกระดับทักษะคนหางานผ่านคอร์สเรียนออนไลน์ “อัพสกิล รีสกิล”  รวมกว่า 80 คอร์ส อาทิ ฟินเทคและอีคอมเมิร์ซ ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง ทักษะทางด้านภาษา อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน จ๊อบส์ ดีบี มีจำนวนประกาศงานใหม่ต่อเดือนทั้งหมดกว่า 10,000 งาน นางสาวพรลัดดา กล่าวทิ้งท้าย

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click