พบ ‘ปัญหาสิ่งแวดล้อม’ กลับมาขึ้นแท่นอันดับ 1 ที่คนไทยกังวลใจสูงสุดถึง 42% แซงเรื่องค่าครองชีพ

บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 TUXSA ปริญญาโทออนไลน์โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane ได้ร่วมถอดรหัสทักษะสำหรับคนทำงานยุคใหม่จากซีรีส์สัมภาษณ์ผู้บริหารของหลากหลายบริษัทชั้นนำ ที่ร่วมทำกับ 8 บรรทัดครึ่ง เพจของ คุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร ผู้บริหาร บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จํากัด (มหาชน) เพื่อให้คนทำงานนำไปปรับใช้ เตรียมความพร้อมรับมือโลกการทำงานในปี 2023 และอนาคตต่อจากนั้น

ในยุคที่องค์กรและคนทำงานต่างก็ต้องเร่งปรับตัวเพื่อความอยู่รอด คนทำงานทุกระดับจำเป็นต้องมีความรู้ที่ช่วยให้ตอบโจทย์โลกทำงานยุคใหม่ TUXSA ปริญญาโทออนไลน์โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane แพลตฟอร์มเรียนออนไลน์อันดับ 1 ของไทย จึงได้ร่วมกับ 8 บรรทัดครึ่งเพจของ กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร ผู้บริหาร บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จํากัด (มหาชน) จัดทำซีรีส์สัมภาษณ์ผู้บริหารจากหลากหลายบริษัทชั้นนำ อาทิ ดุสิตธานี SCG และ Tencent เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่องการบริหารงานและบริหารคน โดยผู้บริหารที่มาร่วมรายการต่างให้ความสำคัญกับการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของพนักงาน เช่น การเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ที่ช่วยให้บุคลากรเข้าถึงความรู้คุณภาพได้จากทุกที่ทุกเวลา และหนึ่งในประเด็นที่ผู้บริหารต่างกล่าวถึงคือ ทักษะสำหรับพนักงานยุคใหม่ ที่คนทำงานน่าเรียนรู้แล้วนำไปปรับใช้กับการทำงานของตัวเอง

ในวาระก้าวสู่ปีใหม่ TUXSA ได้สรุป 5 ทักษะสำหรับคนทำงานยุคดิจิตัล จากมุมมองของผู้นำองค์กรธุรกิจชั้นนำที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันออกไป เพื่อช่วยให้คุณก้าวเข้าสู่โลกการทำงานในอนาคตได้อย่างมั่นใจ และมีโอกาสเติบโตได้มากยิ่งขึ้น

5 ทักษะที่คนทำงานยุคใหม่ควรมี

1. Ability to Learn - Ability to Unlearn (ฮาวทูเลิร์น และ ฮาวทูทิ้ง): การเปิดกว้างในเรื่องการเรียนรู้ และการไม่ยึดติดกับความรู้ก่อนหน้า ตลอดจนรีเฟรชความรู้ที่มีอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้คือทักษะจำเป็นเพื่อให้เราก้าวไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคต

คุณศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) เผยว่า “สิ่งที่เคยทำมาและยึดติดอาจไม่ใช่สิ่งที่ช่วยให้เราเดินไปข้างหน้า พนักงานต้องคอยทำให้ความรู้ของตัวเองสดใหม่ เรียนรู้ และเปิดกว้างสำหรับสิ่งที่แตกต่างให้ได้ ทักษะนี้อาจไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะคนเก่งที่คิดว่าทำแบบนี้แล้วสำเร็จ เดี๋ยวทำอีกก็สำเร็จอีก ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงอาจไม่ใช่อย่างนั้น”

2. Digital & Data Literacy (ทักษะเชิงข้อมูล): ความสามารถในการอ่านและวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ โดยพนักงานยุคใหม่ต้องรู้ว่าจะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างไร เพื่อมาใช้ในการตัดสินใจในสิ่งสำคัญ รวมไปถึงการคัดสรรข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่ท่วมท้นให้เป็น ตลอดจนการแบ่งปันและการสื่อสารข้อมูลให้เป็นประโยชน์เพื่อช่วยให้การทำงานรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น

3. Communication (ทักษะการสื่อสาร): ความสามารถในการสื่อสาร ครอบคลุมตั้งแต่การพูดจูงใจ การรับฟังความต้องการของผู้อื่น การเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ เป็นต้น หากมีทักษะในการสื่อสารที่ดีจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ทำงานได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงเช่นกัน

4. T-Shaped Skill (รู้รอบ และ รู้ลึก): ทักษะการเรียนรู้ที่กว้างขวาง หลากหลายไม่จำเจ ผสานกับทักษะการเรียนรู้เชิงลึก กล่าวคือพนักงานต้องมีทักษะความชำนาญที่ไม่ใช่เพียงแค่ในตำแหน่งหน้าที่ของตัวเองเท่านั้น แต่ยังต้องรู้กว้างขวางในอีกหลากหลายด้าน นำไปสู่การต่อยอดการทำงานและการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้เป็นอย่างดี

คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer บริษัท SCG Cement-Building Materials จำกัด (SCG-CBM) กล่าวถึงการพัฒนาบุคลากรในทีมทำงานด้านนวัตกรรมให้มีทักษะนี้ไว้ว่า “เราจะพัฒนาให้บุคลากรมี Technical skills ที่เป็น T-Shaped คือไม่ใช่แค่รู้ลึก แต่ยังต่อยอดทักษะพนักงานให้รู้กว้างออกไป เช่น ถ้าพนักงานเป็นโปรแกรมเมอร์ซึ่งรู้ลึกด้านเทคโนโลยี เราก็จะต่อยอดด้านการออกแบบและด้านธุรกิจให้เขา”

5. Problem-solving skill (ทักษะการแก้ปัญหา): เครื่องมือที่จะช่วยให้สามารถทำความเข้าใจปัญหา คิดวิเคราะห์ และนำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม เป็นทักษะที่เราจำเป็นต้องใช้ในแทบทุกสถานการณ์

คุณกฤตธี มโนลีหกุล รองประธาน เทนเซ็นต์ คลาวด์ อินเตอร์เนชันแนลประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด เสริมว่า “อีกทักษะจำเป็นคือ Problem-solving ที่ต้องรู้ขั้นตอนการแก้ไขปัญหา เพื่อรับมือกับปัญหาที่อาจจะมาในรูปแบบเดิมอีกในครั้งต่อไป อย่างที่มีคนกล่าวไว้ว่าการแก้ปัญหาไม่ใช่ถึงปลายทางแล้วก็จบ แต่เป็นการเดินทางที่เราต้องชื่นชมทุกอย่างในระหว่างทางด้วย เพื่อให้เข้าใจว่าเราเดินทางไปถึงเป้าหมายได้อย่างไร”

สำหรับผู้ที่สนใจซีรีส์สัมภาษณ์ผู้บริหารของ TUXSA และ 8 บรรทัดครึ่ง สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม รวมถึงย้อนชมและย้อนอ่านบทสรุปการสัมภาษณ์ของซีอีโอแต่ละท่านได้ทางเพจ TUXSA

ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้เขียนหนังสือ “The Lost Skills”

ไม่มีใครปฏิเสธได้จริง ๆ ว่าในช่วง 3 – 4 ปีมานี้โลกเปลี่ยนแปลงไปมาก แนวคิด ทัศนคติ กระแสสังคม พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ ทักษะอาชีพที่เรียกได้ว่าเคยเป็นงานนอกกระแสกลับบูมอย่างคาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็น ไรเดอร์ส่งอาหาร, TikToker, ขายของออนไลน์, นักเล่นหุ้น, นักเขียนนิยายออนไลน์ ฯลฯ หรือหลายคนก็ยังคงเกาะตำแหน่งเหนียวแน่นไม่ไปไหน ด้วยค่าตอบแทนเท่าเดิม ชีวิตแบบเดิม ทว่าต้องทนกับปัจจัยทางเศรษฐกิจที่แย่ลงเรื่อย ๆ ซึ่งเราก็จะได้เห็นว่าท่ามกลางสถานการณ์เหล่านี้ มีทั้งคนที่ประสบความสำเร็จกับการใช้ชีวิตอย่างมาก คนที่แค่พออยู่พอกิน ไปจนถึงด้านกลับก็คือคนที่ไม่ได้รับผลตอบแทนเป็นชิ้นเป็นอันจากการพยายามเอาชีวิตรอดในโลกยุคใหม่นี้เลย และกำลังเอาตัวรอดไปในแต่ละวันอย่างยากลำบากเจียนตาย

อะไรคือความแตกต่างระหว่างคนแต่ละประเภท

ในคนทั้งสามรูปแบบที่กล่าวไปข้างต้น แม้จะมีเรื่องดวงเข้ามาเกี่ยวทำให้แต่ละคนมีระดับความสำเร็จที่ต่างกันไป ถึงอย่างนั้น การมี ‘Soft Skills’ ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งเช่นกัน โดยงานวิจัยจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด, มูลนิธิคาร์เนกี และศูนย์วิจัยสแตนฟอร์ด ระบุว่า 85% ของการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เกิดจากการมี Soft Skills ที่ดี โดยหากขาด Soft Skills ไปก็จะทำให้มาตรฐานการทำงานลดลง ประสิทธิภาพในการผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ ลดลง และยังส่งผลกระทบต่อการผลิตบุคลากรใหม่ ๆ ในวงกว้างอีกด้วย

ภายในงาน SOFT SKILLS BOOTCAMP ครั้งที่ 1 “Work Life Enhance” มี Session หนึ่งที่ชื่อว่า The Lost Skills” ซึ่งมี ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้เขียนหนังสือ “The Lost Skills” พาสำรวจทักษะชีวิตที่ใครหลายคนอาจหลงลืมหรือทำหล่นหายไปเสียแล้ว เป็นกุญแจสำคัญที่จะไขประตูสู่การอยู่รอด และการประสบความสำเร็จในโลกยุคใหม่

เข้าใจว่าการเรียนไม่รู้จบ

ท่ามกลาง Soft Skills นับพันที่ล่องลอยอยู่ตามโลกอินเทอร์เน็ตและหนังสือคู่มือพัฒนาตัวเอง ทักษะแรกที่ ศ.ดร.นภดลเลือกจะแนะนำกลับเป็นเรื่องเบสิค ไม่ต้องมีชื่อจำยากหวือหวาอย่าง “ทักษะการเรียนรู้” โดยได้ให้เหตุผลว่าในยุคสมัยที่ทุกอย่างเปลี่ยนไปเร็วเกินกว่าใครจะคาดคิด เรื่องที่เราเคยสอนเคยเรียนกันในคลาสทุกวันนี้ ปีหน้าอาจล้าสมัยไปเสียแล้ว ฉะนั้นทักษะที่จะซึมซับเรื่องราวใหม่ ๆ เข้ามาเติมเต็มสมองอยู่ตลอดเวลาจึงสำคัญ โดยการฝึกตัวเองให้รักการเรียนรู้ โดยหัวใจสำคัญคือการที่เราต้องรู้ว่า เรียนไปแล้วได้อะไร ความรู้ชุดนี้ใช้ประโยชน์ได้จริงไหม เพื่อทำให้การเรียนอะไรสักอย่างมีความหมาย

เลือกโฟกัสบางเรื่อง เพราะยากที่จะเก่งทุกเรื่องในเวลาเดียวกัน

ในโลกนี้มีความรู้อยู่มากมายหลายศาสตร์ ซึ่งคนจำนวนไม่น้อยคิดว่าการได้มีคามรู้ติดหัวไว้ยิ่งมากยิ่งดี ดังคำกล่าว ‘Why Choose? When You Can Have Them All’ อยากเก่ง อยากได้ความรู้อะไรก็เลือกช็อปปิ้งแบบบุฟเฟต์จาก Google ไปเลยสิ ทว่าระดับความจำและศักยภาพในการทำความเข้าใจของมนุษย์ก็มีจำกัด หากเทียบกับองค์ความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่รอบตัวในตอนนี้ เราจึงต้องมี “ทักษะการเลือก” เพื่อคัดกรองสิ่งที่ควรต้องเรียน และนำมาจัดลำดับความสำคัญเพื่อไม่ให้ตัวเอง Overload จนเกินไปจะดีกว่า

หมั่นสร้างทักษะที่ไม่มีใครแทนที่ได้

ยุคนี้เป็นยุคที่น่ากลัวสำหรับคนเก่ง เพราะไม่ว่าทักษะใดก็มีวี่แววว่าจะโดนปัญญาประดิษฐ์กับหุ่นยนต์เข้ามาแย่งงานได้ทุกเมื่อ ทั้งงานสายบัญชี, พิสูจน์อักษร, งานออกแบบ ไปจนถึงงานสายความคิดสร้างสรรค์อย่าง Creative Content หรือนักเขียนบทความ ก็มีข่าวว่ามีเอไอที่สามารถผลิตผลงานลักษณะนี้แทนมนุษย์ได้เช่นกัน ฉะนั้นการรับมือที่ดีที่สุดคือการ Up-Skill & Re-Skill อยู่เสมอ เพื่อสร้าง “ทักษะที่ไม่มีใครมาแทนได้” ให้เกิดขึ้นในตนเอง

ศ.ดร.นภดลได้ทิ้งท้ายว่าจากที่กล่าวมาทั้งหมดอาจไม่สามารถเกิดขึ้นจริงได้เลย หากคนเราขาดความเชื่อที่ว่า ตนนั้น ‘เรียนรู้และฝึกฝนได้’ ซึ่งนี่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญเช่นกัน ศ.ดร.นภดลเคยนิยามตัวเองว่าเป็น Introvert คนหนึ่ง คือไม่ชอบที่จะพูดต่อหน้าคนเยอะ ๆ ไม่ได้กล้าแสดงออก แต่ก็พัฒนาตัวเองจนกลายมาเป็นอาจารย์และนักจัดพอดแคสต์ในทุกวันนี้ได้ จากความรู้สึกที่อยากจะแบ่งปันความรู้และเรื่องราวดี ๆ ที่ตนได้พบเจอมากให้กับคนอื่น อะไรก็ตามที่เราเคยไม่เก่ง ไม่เคยทำได้มาก่อน หากได้ลองเปิดโอกาสเพื่อฝึกฝนตนเองดูก็อาจพัฒนาจนกลายเป็นทักษะที่มีประโยชน์ต่อตัวเองและโลกใบนี้ก็เป็นได้

ในโลกยุคใหม่ที่รูปแบบการเรียนรู้และความต้องการของตลาดแรงงานเปลี่ยนไป อีกทั้งผู้คนมีการตั้งคำถามถึงความสำคัญของสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมมือกับ SkillLane ปรับตัวรับมืออนาคตด้วย TUXSA หลักสูตรปริญญาโทออนไลน์ ที่ช่วยให้ธรรมศาสตร์กลับสู่การเป็น “ตลาดวิชายุคดิจิทัล” ที่ตอบโจทย์โลกสมัยใหม่ โดยเป็นปีที่ 4 แห่งความสำเร็จด้วยจำนวนผู้เรียนมากกว่า 16,000 คน รวมถึงมีนักศึกษาเรียนจบเป็นมหาบัณฑิตแล้วในปี พ.ศ.2565 นี้

ในปัจจุบัน รูปแบบการเรียนรู้ของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป ทั้งไม่จำเป็นต้องเรียนรู้อยู่แค่ในห้องเรียนและอาจไม่จำเป็นต้องเรียนในมหาวิทยาลัย ขณะเดียวกัน สถานการณ์ของตลาดแรงงานก็เปลี่ยนไป ผลวิจัยระบุว่า ในช่วง 5 ปีข้างหน้า งานทั่วโลกจะหายไป 85 ล้านตำแหน่ง และจะเกิดงานใหม่กว่า 97 ล้านตำแหน่ง ส่งผลให้ตลาดแรงงานยุคใหม่อาจเกิดปรากฏการณ์คนจำนวนมากไม่มีงานทำ และงานเกิดใหม่จำนวนมากไม่มีคนที่ทักษะเหมาะสมมาทำได้ กระแสการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้เกิดคำถามสำคัญคือ “มหาวิทยาลัยยังจำเป็นอยู่หรือไม่” และ “หากมหาวิทยาลัยจะอยู่รอดต่อไป ควรปรับตัวและมีบทบาทอย่างไร”

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยได้ตอบคำถามเหล่านี้ผ่านการปรับตัวเพื่อตอบโจทย์อนาคต โดยร่วมกับ SkillLane แพลตฟอร์มเรียนออนไลน์ของไทย ได้เปิดตัว TUXSA หลักสูตรปริญญาโทในรูปแบบออนไลน์ที่ส่งมอบทักษะแห่งอนาคตให้แก่คนไทย หลักสูตรปริญญาโทนี้ทั้งตอบโจทย์การเรียนรู้ของผู้เรียนยุคใหม่และตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอนาคตไปพร้อมกัน

รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ธรรมศาสตร์มีอายุ 88 ปี เก่าแก่และมีความขลัง แต่ความขลังนี้อาจทำให้ไม่ทันโลก เราจึงต้องกลับไปเป็น 18 ใหม่อีกครั้ง โดยเราจะตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี แต่หลักการทำงานของเราคือ อะไรที่ไม่เชี่ยวชาญอย่าลงทุน ให้หาพันธมิตรที่เก่งในเรื่องนี้แทน นั่นคือเหตุผลที่เราจับมือกับสตาร์ทอัปด้าน Education Technology สร้าง TUXSA ปริญญาโทออนไลน์ที่เป็นโปรแกรมการเรียนรู้รูปแบบใหม่

7 จุดเด่นของหลักสูตร TUXSA  คือ

● เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้ที่ต้องการจากที่ไหน เมื่อไรก็ได้

● เลือกเรียนเฉพาะวิชาที่สนใจได้

● ถ้าเลือกเรียนทั้งหลักสูตรเพื่อรับใบปริญญา จะได้รับวุฒิปริญญาโทที่มีศักดิ์และสิทธิ์เท่าปริญญาโทปกติ

● วางแผนค่าใช้จ่ายในการเรียนได้

● ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

● เนื้อหาหลักสูตรพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ผู้เรียน

● เรียนพร้อมทำงานได้ ไม่เสียโอกาสทางการงาน

ปัจจุบัน TUXSA เปิดสอนอยู่ทั้งหมด 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรปริญญาโทบริหารธุรกิจ สาขา Business Innovation (M.B.A. Business Innovation) ที่ผ่านการรับทราบหลักสูตรจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และหลักสูตรปริญญาโท Data Science for Digital Business Transformation (M.S. Digital Business Transformation)

และในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งครบรอบ 4 ปีของการก่อตั้ง TUXSA หลักสูตรปริญญาโทนี้ฉลองความสำเร็จด้วยจำนวนผู้เรียนมากกว่า 16,000 คน และมีนักศึกษาจบการศึกษาเป็นมหาบัณฑิตแล้ว ความสำเร็จของ TUXSA สะท้อนถึงการปรับตัวไปในทิศทางที่ถูกต้องของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทั้งรูปแบบการเรียนและเนื้อหา โดยมีปริญญาสนับสนุนว่าผู้เรียนผ่านการรับรองจากสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพ

รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ตอนธรรมศาสตร์เกิดขึ้นมา เราเป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ทุกคนเข้าถึงได้ พอเราเปลี่ยนมาเป็นมหาวิทยาลัยปิด จำนวนที่นั่งก็จำกัด คนจะเข้าสู่ธรรมศาสตร์ต้องผ่านการคัดเลือกมากมาย การเปิดปริญญาโทออนไลน์ที่ชื่อ TUXSA ของเราคือการ Back to the Future ทำให้ธรรมศาสตร์กลับไปสู่จุดตั้งต้นเดิมของความเป็นตลาดวิชา แต่เทคโนโลยีทำให้เราก้าวผ่านข้อจำกัดของจำนวนที่นั่ง เวลา สถานที่ และค่าใช้จ่าย ทำให้เราตอบโจทย์การเรียนรู้รูปแบบใหม่ให้กับคนในทุกเจนเนอเรชัน

สำหรับผู้ที่สนใจ ดูรายละเอียด TUXSA ได้ที่ www.skilllane.com/tuxsa

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click