×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

กรุงเทพฯ/ 15 ธันวาคม 2566 – นักเทคโนโลยีไทยโชว์ผลงานนวัตกรรมสุดสร้างสรรค์ “งานวิจัยนวัตกรรมการรักษามะเร็ง” คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น 2566 และ “งานวิจัยเทคโนโลยีฐานในการสังเคราะห์ยา” และ “งานวิจัยวัสดุดูดซับโลหะหนักในผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม” คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี 2566 ในงาน Outstanding Technologist Awards and TechInno Forum 2023 ที่จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งนอกจากการแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลต่าง ๆ แล้ว ยังมีส่วนของงานสัมมนา TechInno Forum 2023 ภายใต้หัวข้อ “Healthy Living” ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญมากมายหลายด้านมาร่วมแบ่งปันเทรนด์และองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงาน Outstanding Technologist Awards and TechInno Forum 2023 ในหัวข้อ “Healthy Living” เพื่อเป็นแพลตฟอร์มแบ่งปันความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญและนักเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก รวมทั้งเชิดชูเกียรตินักเทคโนโลยีที่มีส่วนสำคัญในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศไทย ซึ่งผ่านเข้ารอบสุดท้ายของรางวัลพระราชทานนักเทคโนโลยีดีเด่นและรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ประจำปี 2566 โดยงานครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนการจัดงานจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และเอสซีจี

 

ดร. ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรม บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และประธานกลุ่มบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) กล่าวว่า “การจัดงานในปีนี้มุ่งเน้นต่อยอดงานวิจัยและพัฒนาไปสู่การใช้งานจริง เราจึงจัด TechInno Mart ให้นักวิจัยจากไทยและต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ รวมถึงนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ได้มาจัดแสดงผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ เพื่อนำองค์ความรู้และผลงานวิจัยเหล่านี้ไปต่อยอดพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป”

มอบรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ได้ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิธีมอบรางวัลและร่วมแสดงความยินดีแก่ผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายและผู้ชนะรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมีผู้ที่ได้รับรางวัลต่าง ๆ ดังนี้

รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2566 จำนวน 1 รางวัล ได้แก่

1. ศาสตราจารย์ นพ. สุรเดช หงส์อิง, รองศาสตราจารย์ นพ. อุษณรัสมิ์ อนุรัฐพันธ์ และคณะ จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงาน: การค้นพบและวิจัยการพัฒนานวัตกรรมการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดที่ผ่านการแปลงพันธุกรรมตัวรับแอนติเจนจำเพาะ chimeric antigen receptors T-cell (CAR-T) ด้วยเทคโนโลยีเซลล์และยีนบำบัด

 

รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2566 จำนวน 2 รางวัล ได้แก่

1. ดร. ภก. นิติพล ศรีมงคลพิทักษ์ สังกัดศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ผลงาน: การวิจัยเทคโนโลยีฐานในการสังเคราะห์ยา

2. ผศ. ดร. กนกวรรณ กองพัฒน์พาณิชย์ สังกัดสำนักวิชาวิทยาการโมเลกุล สถาบันวิทยสิริเมธี ผลงาน: วิจัยโครงข่ายโลหะอินทรีย์เพื่อใช้เป็นวัสดุดูดซับโลหะหนักในผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

โดยนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่จะเข้ารับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 49 ในวันอังคารที่ 23 มกราคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา

 

ในโอกาสนี้ รศ.ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน ประธานมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มอบช่อดอกไม้ พร้อมกล่าวแสดงความยินดีแก่ทุกท่านที่ได้รับรางวัลว่า “ในนามของมูลนิธิฯ ผมขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลทุกท่าน และขอขอบคุณที่ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจทำงานอย่างต่อเนื่องจนประสบผลสำเร็จ ผลงานของทุกท่านจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาในวงการนี้ต่อไป รางวัลนี้ไม่เพียงเชิดชูเทคโนโลยีไทยที่ประสบความสำเร็จ และยังช่วยผลักดันความสามารถทางวิชาการของเยาวชนรุ่นใหม่ของไทยให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึง TMA ที่ให้การสนับสนุน สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงนักวิจัยและธุรกิจ ให้สามารถนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเหล่านี้ไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป”

ภายในงานยังเปิดโอกาสให้นักวิจัยที่ประสบความสำเร็จจากทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มานำเสนอผลงานและนวัตกรรมต่างๆ เพื่อต่อยอดการค้นพบ จับคู่ธุรกิจและพัฒนาเพื่อประโยชน์ของคนในวงกว้างอีกด้วย อาทิ Breathology เครื่องเป่าวัดระดับน้ำตาลในเลือด, Biomede สตาร์ทอัพจากฝรั่งเศส ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการทำให้ดินที่ใช้ในการ

เพาะปลูกพืชที่ปนเปื้อนสารโลหะหนัก กลับมาสะอาดและมีคุณภาพดี, BlueTree เป็นบริษัทระดับโลกที่ทำการผลิตน้ำตาลทดแทนรสชาติเยี่ยม เพื่อลดการใช้น้ำตาลจากธรรมชาติในเครื่องดื่ม, Genfosis ให้บริการ Preventive Healthcare Solution โดยทดสอบวิเคราะห์จาก DNA เพื่อทราบถึงความเสี่ยง โอกาสในการเกิดโรค และแนวทางในการทำ Preventive Healthcare ไม่ให้เกิดโรค เป็นต้น

Inspiring the Future of Healthy Living

ในส่วนของงานสัมมนา TechInno Forum 2023 ภายใต้หัวข้อ “Healthy Living” เริ่มต้นด้วยการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “เมกะเทรนด์” โดยคุณอนุชา มาจำปา Country Head ประจำประเทศไทย บริษัท ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน (ไทยแลนด์) จำกัด ที่กล่าวถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเราที่เปลี่ยนแปลงไปหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 รวมไปถึงภาวะวิกฤตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Permacrisis) ทำให้เกิดผลกระทบ 4 ประการ คือ 1) คนคิดมากขึ้นเมื่อจะใช้จ่ายเงินแต่ละครั้ง 2) ให้ความสำคัญกับสินค้าที่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืน 3) ให้การสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่นมากขึ้น และ 4) ให้ความสำคัญกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีมากขึ้น ทำให้เกิดเมกะเทรนด์ ดังต่อไปนี้ เมกะเทรนด์ที่ 1 Traditional to Future Family พบว่าขนาดของครอบครัวลดลง เมกะเทรนด์ที่ 2 Pensioner Boom พบว่ามีแนวโน้มสัดส่วนผู้เกษียณอายุมากยิ่งขึ้น เมกะเทรนด์ที่ 3 Sustainable Living พบว่าคนพยายามสรรหาแนวทางในการลดผลกระทบเพื่อรักษาสภาพแวดล้อม เมกะเทรนด์ที่ 4 Preventative Health Models คือปรับก่อนป่วย การกินอาหารที่ดี ออกกำลังกาย อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เมกะเทรนด์ที่ 5 Personalized Nutrition มีการตรวจว่าขาดสารอาหารอะไร มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอะไร เพื่อจัดเตรียมยาสำหรับแต่ละคนโดยเฉพาะ และเมกะเทรนด์ที่ 6 Mental Health เรื่องของสุขภาพจิตมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

ทางด้านคุณอริยะ พนมยงค์ Co-CEO บริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) และ CEO & Founder บริษัท ทรานส์ฟอร์เมชั่นนอล จำกัด ได้บรรยายถึงการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี และเน้นย้ำว่าไลฟ์สไตล์เป็นสิ่งสำคัญ และกล่าวอธิบายถึงเทคโนโลยีด้านสุขภาพว่า ความท้าทายในเรื่องนวัตกรรมและการทรานส์ฟอร์เมชั่น จำเป็นต้องให้ความสำคัญใน 3 เรื่อง คือ 1) Users First, Not you first ให้ความสำคัญกับผู้ใช้งานเป็นลำดับแรก 2) Being a Platform ต้องเป็นแพลตฟอร์ม Universal เหมือน Google, Line, Facebook ไม่ยึดติดกับชื่อของโรงพยาบาล 3) Fixing the Obvious ต้องแก้ไขสิ่งที่จำเป็นและเห็นได้ชัดว่าเป็นปัญหา

ในการบรรยายหัวข้อ Food for Life: Innovation for Health and Environment ดร. อัลลัน ลิม (Dr. Allan Lim) Head of Open Innovation บริษัท ศูนย์วิจัยและพัฒนา เนสท์เล่ จำกัด สิงคโปร์ ได้กล่าวถึงความท้าทายสำคัญที่เกิดขึ้นด้านอาหารคือ จะทำอย่างไรให้มีอาหารเพียงพอกับการบริโภคของประชากร 10 พันล้านคนทั่วโลก ในปี ค.ศ. 2050 โดยเนสท์เล่พยายามสร้าง Sustainable foods ให้เกิดขึ้นตาม Net Zero Roadmap ของเนสท์เล่ ที่ครอบคุลมตั้งแต่ต้นน้ำ (Sourcing) ไปจนถึงกลางน้ำ การผลิตและบรรจุ (Manufacturing และ Packaging) ถึงขั้นสุดท้ายคือผู้บริโภค

ทั้งนี้ การวิจัยพัฒนา (R&D) ของเนสท์เล่ ให้ความสำคัญใน 5 แพลตฟอร์มหลัก ได้แก่ 1) แนวโน้มอาหารใหม่ (New Food Trends) 2) อาหารว่างเพื่อสุขภาพ (Healthy Snacking) 3) การมีชีวิตยืนยาวอย่างมีสุขภาพดี (Healthy Aging) 4) สารอาหารที่สามารถจ่ายได้ (Affordable Nutrition) และ 5) บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน (Sustainable Packaging) โดยการสำรวจผู้บริโภคของเนสท์เล่ เน้นการค้นพบ เช่น การทำ Social Listening เพื่อการ Track Sentiment และ Perception ของผู้บริโภคต่อ Ingredients รวมถึงมีการทำ Open Innovation ทำ R&D Accelerator ที่สามารถเร่งกระบวนการวิจัยและการผลิตภายใน 6 เดือน โดยเชื่อว่า “Test and Learn” คือแนวทางที่ควรปฏิบัติ รวมถึงร่วมมือกับบริษัทในท้องถิ่น เพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับเส้นทางแห่งนวัตกรรมนี้ร่วมกันได้

นอกจากนี้ ในงานยังได้มีการนำเสนอเรื่อง TechInno for Healthy Living โดยคุณวชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Smart System Solution Business บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ซึ่งได้กล่าวถึงเรื่องมาตรฐานอากาศ ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการใช้ชีวิตของคนไทย ทำให้เอสซีจีได้พัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ด้านคุณภาพอากาศออกมาช่วยลดปัญหา เช่น เทคโนโลยี Air Filter ซึ่งเป็นอุปกรณ์กรองอากาศคุณภาพสูงที่ใช้ในอาคาร, ระบบไอออนกำจัด

เชื้อโรค (Ion Technology) ที่มีขึ้นมาในช่วงโควิด 19, เทคโนโลยีการหมุนเวียนอากาศ กรองฝุ่น PM 2.5 ลดกลิ่น และป้องกันเชื้อโรค เป็นต้น

ในส่วนของดร. สืบสกุล โทนแจ้ง ผู้จัดการฝ่ายนวัตกรรม บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ได้บรรยายถึงแนวโน้มเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลด้านเฮลธ์แคร์ว่า ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อแนวโน้มเทคโนโลยีด้านเฮลธ์แคร์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น โลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์ ทั้งผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นและการอพยพข้ามถิ่นฐาน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และมลพิษและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้อุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์ต้องมีการดำเนินงานที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย เพิ่มประสิทธิภาพบุคลากร รวมถึงนำเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ มาใช้ทำ Preventive care ให้แก่ผู้คน ไม่ว่าจะเป็นการรักษาทางไกล การเชื่อมต่ออุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ของโรงพยาบาลเข้าด้วยกัน การนำ AI and Machine Learning มาใช้เพื่อประเมินอาการ AR/VR/MR การนำเทคโนโลยีภาพเสมือนมาใช้ในระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ทำให้วางแนวทางการรักษาได้รวดเร็วมากขึ้น Blockchain เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลทางการแพทย์ส่วนบุคคล และการทำ Big Data & Predictive Analytics ให้สามารถคาดการณ์อาการของคนไข้ในอนาคตที่จะเกิดขึ้น เพื่อใช้ทำ Preventive cares ได้

จากกิจกรรมการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานระยะ 9 เดือน (Site Visit) ในโครงการวิจัย

X

Right Click

No right click