แกร็บ ประเทศไทย เดินหน้าปลุกพลังคนรุ่นใหม่ เสริมแรงบันดาลใจให้ Gen Z ผ่านการประกวดแผนธุรกิจ GrabSpark 2024 เปิดเวทีโชว์ศักยภาพในการนำเสนอไอเดียที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี-บิ๊กดาต้าเสริมทักษะด้านธุรกิจและนวัตกรรม พร้อมปลูกฝังแนวคิดด้านความยั่งยืนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการขับเคลื่อนธุรกิจยุคดิจิทัล เพื่อเตรียมความพร้อมให้คนรุ่นใหม่ก้าวสู่โลกธุรกิจอย่างมั่นใจ โดย 4 นิสิตจากรั้วจามจุรีสามารถฝ่าด่านการแข่งขันกับผู้สมัครนับพันจาก 32 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จนคว้ารางวัลชนะเลิศด้วยแผนธุรกิจ “Ever Grow and Never Ending” นำเสนอโซลูชันที่ช่วยผลักดันให้บริการซูเปอร์แอปเติบโตแบบก้าวกระโดด พร้อมเชื่อมโยงคนในอีโคซิสเต็มเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและยั่งยืนให้ธุรกิจ
นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า “นับเป็นปีที่สามแล้วที่ แกร็บ ประเทศไทย ได้จัดการประกวดแผนธุรกิจ GrabSpark โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนิสิตนักศึกษาไทย ซึ่งถือเป็นตัวแทนของ Gen Z ที่จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต โดยเฉพาะเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งมีอัตราการเติบโตกว่า 2 เท่าของ GDP ในปีนี้[1] โดย Gen Z เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีและโลกอินเทอร์เน็ต ทำให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ฉับไว เห็นโลกกว้าง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ มองเห็นโอกาสใหม่ๆ และกล้าตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ทั้งยังเป็นเจเนอเรชันที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Impact) ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจในการดำเนินธุรกิจของแกร็บที่มุ่งพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหา (Pain Point) และตอบสนองความต้องการให้กับผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ การเปิดเวทีให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้แสดงศักยภาพผ่านการนำเสนอแผนธุรกิจถือเป็นอีกหนึ่งความตั้งใจที่แกร็บต้องการผลักดันให้พวกเขาได้ใช้ความรู้และทักษะที่มีคิดต่อยอดเพื่อพัฒนาโซลูชันใหม่ๆ โดยสามารถใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้าและเทคโนโลยีดิจิทัลมาบูรณาการ ทั้งยังส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีม พร้อมปลูกฝังแนวคิดด้านความยั่งยืนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจและธุรกิจแห่งอนาคตอีกด้วย”
การประกวดแผนธุรกิจ GrabSpark จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2022 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ GrabCampus ที่มุ่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้กับกลุ่มนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยในปีนี้แกร็บได้เปิดโอกาสให้เยาวชนจากทุกสถาบันเข้าร่วมการประกวดแผนธุรกิจภายใต้โจทย์ “The Next Chapter of Superapp: Unlocking Potential for Accelerated Sustainable Growth” เพื่อนำเสนอไอเดียและแผนการตลาดในการผลักดันบริการซูเปอร์แอปให้สามารถเติบโตได้แบบก้าวกระโดดและยั่งยืน โดยมีนิสิตนักศึกษากว่า 1,116 คนจาก 32 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมการแข่งขันเพื่อแสดงศักยภาพ และชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 100,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ และสิทธิพิเศษ Fast-track เพื่อเข้าร่วมโปรแกรม GrabIntern ซึ่งเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกงานที่ แกร็บ ประเทศไทย เพื่อสัมผัสประสบการณ์การทำงานในธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์ม พร้อมต่อยอดสู่การพัฒนาทักษะในระดับมืออาชีพในโลกธุรกิจจริง
ทั้งนี้ หลังผ่านการประกวดที่เข้มข้นและการพิจารณาตัดสินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารผู้มากประสบการณ์ และมีความเชี่ยวชาญในหลายสาขา ทีมที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศในการประกวดแผนธุรกิจ GrabSpark 2024 ไปครองคือ ทีม G Good จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่โดดเด่นด้วยแผนธุรกิจที่ชื่อ “Ever Grow and Never Ending”
นางสาวคณิตา เนตรดวงมณี ตัวแทนจากทีม G Good กล่าวว่า “แผนธุรกิจของเรามุ่งเน้นไปที่การสร้างความสมดุลระหว่างการสนับสนุนพาร์ทเนอร์ร้านค้าของแกร็บและการตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยเรามองเห็นโอกาสในการพัฒนาบริการ GrabFood และ GrabMart ซึ่งมีฐานลูกค้าแข็งแกร่งอยู่แล้ว พร้อมต่อยอดความสำเร็จที่มีอยู่เดิม โดยสำหรับ GrabFood เราได้วิเคราะห์และออกแบบโซลูชันที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพให้พาร์ทเนอร์ร้านค้า และพัฒนาฟีเจอร์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างรอบด้าน ตั้งแต่การเดินทางไปจนถึงการทานอาหารที่ร้าน ส่วน GrabMart เราเน้นการขยายพาร์ทเนอร์ในระบบเพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อสินค้าคุณภาพ พร้อมสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้แก่พาร์ทเนอร์ร้านค้าอีกด้วย นอกจากนี้ เรายังเสนอการทำ Gamification ที่เชื่อมโยงบริการต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างความเพลิดเพลินและความผูกพันกับแบรนด์ในระยะยาว โดยเรามั่นใจว่าแผนธุรกิจนี้จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับพาร์ทเนอร์และผู้ใช้บริการ ผ่านกลยุทธ์ที่เน้นสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของแกร็บในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคม”
[1] อ้างอิงจาก ข่าวเว็บไซต์รัฐบาลไทย https://www.thaigov.go.th/news/contents/ministry_details/91333
ดร.แนบบุญ หุนเจริญ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ภาควิชาไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ฮิตาชิ เอบีบี เพาเวอร์ กริดส์ ในประเทศไทย ได้มีความร่วมมือในโครงการ Supporting Apprentice Students Program โดยจะดำเนินจัดนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 16 คน เข้าฝึกงานที่บริษัทฯ เป็นระยะเวลา 360 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2564
ปัจจุบันการเรียนรู้มีบริบทเปลี่ยนไป จากเดิมเรียนผ่านอาจารย์ ศึกษาจากห้องเรียน และเปลี่ยนรูปแบบไปหลังสถานการณ์โควิด ทำให้การเรียนออนไลน์เป็นเรื่องปกติ โครงการ Supporting Apprentice Students Program จึงเป็นโครงการที่จะทำให้นิสิตได้รับโจทย์จริงของภาคอุตสาหกรรม ได้รับการฝึกฝนเรียนรู้ในรูปาแบบต่างๆ ได้ทำจริง ในภาคอุตสาหกรรม ได้ความรู้ในการบริหารจัดการเทคโนโลยีจริง เพื่อนำไปใช้ในชีวิตการทำงานในอนาคต และเป็นโครงการจะสร้างบุคลากรในสังคม ให้คิดอะไรมากกว่าเรื่องของตนเอง เป็นการคิดเพื่อผู้อื่น เพื่อสังคม เป็นการตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืนที่สำคัญต่อโลก
ดร.ประดิษฐพงศ์ สุขสิริถาวรกุล Director & Vice President บริษัท ฮิตาชิ เอบีบี เพาเวอร์ กริดส์ ในประเทศไทย กล่าวว่า โครงการในครั้งเป็นเป็นโครงการพัฒนาระบบการฝึกงานของทางบริษัทให้มีมาตรฐานระดับโลก พร้อมเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินการสูงสุด ด้วยการให้นิสิตสามารถเลือก พัฒนา และเรียนรู้ในขอบเขตงานเฉพาะทางด้านวิศวกรรมตามที่ตนเองสนใจ อาทิ
"การฝึกงานครั้งนี้ก็มีการฝึกที่ออฟฟิต ราชดำริ โรงงานก็มีที่บางปู สมุทราปราการ นอกจากนั้นก็มีการฝึกนอกพื้นที่ และมีมาตรการ train from home ซึ่งมีหลายรูปแบบเป็นวิดีโอจากผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐอเมริกา จากยุโรป นักศึกษารุ่นนี้จะเป็นรุ่นที่ 4 ที่ได้มาฝึกกับ ABB เพาวเวอร์กริดส์ บริษัทฯ มีความยินดีและหวังว่า เป็นประโยชน์ต่อนิสิตที่จำนำความรู้ประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในการเรียน ศึกษาเพิ่มเติม และตอนนี้เรากำลังทำดิจิทัลทรานฟอร์มเมชั่น ซึ่งเป็นการนำดิจิทัลเข้ามาใช้ในพลังงาน นิสิตทุกคนที่เข้ามาฝึกงานจะได้เข้ามาเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่นการนำเอไอ แมชชีนเลิร์นนิ่ง บล็อกเชน ไซเบอร์ซีเคียวลิตี้ คราวน์ สิ่งเหล่านี้นิสิตจะได้รับเพิ่มจากบริษัทฯ การเรียนรู้จะได้ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์" ดร.ประดิษฐ์พงศ์ กล่าว