ดร.แนบบุญ หุนเจริญ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ภาควิชาไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ฮิตาชิ เอบีบี เพาเวอร์ กริดส์ ในประเทศไทย ได้มีความร่วมมือในโครงการ Supporting Apprentice Students Program โดยจะดำเนินจัดนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 16 คน เข้าฝึกงานที่บริษัทฯ เป็นระยะเวลา 360 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2564
ปัจจุบันการเรียนรู้มีบริบทเปลี่ยนไป จากเดิมเรียนผ่านอาจารย์ ศึกษาจากห้องเรียน และเปลี่ยนรูปแบบไปหลังสถานการณ์โควิด ทำให้การเรียนออนไลน์เป็นเรื่องปกติ โครงการ Supporting Apprentice Students Program จึงเป็นโครงการที่จะทำให้นิสิตได้รับโจทย์จริงของภาคอุตสาหกรรม ได้รับการฝึกฝนเรียนรู้ในรูปาแบบต่างๆ ได้ทำจริง ในภาคอุตสาหกรรม ได้ความรู้ในการบริหารจัดการเทคโนโลยีจริง เพื่อนำไปใช้ในชีวิตการทำงานในอนาคต และเป็นโครงการจะสร้างบุคลากรในสังคม ให้คิดอะไรมากกว่าเรื่องของตนเอง เป็นการคิดเพื่อผู้อื่น เพื่อสังคม เป็นการตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืนที่สำคัญต่อโลก
ดร.ประดิษฐพงศ์ สุขสิริถาวรกุล Director & Vice President บริษัท ฮิตาชิ เอบีบี เพาเวอร์ กริดส์ ในประเทศไทย กล่าวว่า โครงการในครั้งเป็นเป็นโครงการพัฒนาระบบการฝึกงานของทางบริษัทให้มีมาตรฐานระดับโลก พร้อมเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินการสูงสุด ด้วยการให้นิสิตสามารถเลือก พัฒนา และเรียนรู้ในขอบเขตงานเฉพาะทางด้านวิศวกรรมตามที่ตนเองสนใจ อาทิ
- Grids Edge Solutions, Microgrid & Battery Energy Storage System (BESS) and e-mesh™
- SCADA and Control Systems, Substation Automation, Protection & Control
- High Voltage Switchgear & Breakers, Instrument Transformer Surge Arrester, Capacitor & Filters and Generator Circuit Breakers
- Power Transformers and TXpert™ Ecosystem
- FACTS & HVDC
- Substation & Electrification and Digital Substation with SAM 600
- Power Quality
- Overvoltage & Controlled Switching (Capacitor, Line and Shunt Reactor)
- Grid E-Motion Fleet (E-mobility) and TOSA E-bus
- Smart Grids and Virtual Power Plants (VPP)
- Enterprise Software and The Digital Energy Transformation
"การฝึกงานครั้งนี้ก็มีการฝึกที่ออฟฟิต ราชดำริ โรงงานก็มีที่บางปู สมุทราปราการ นอกจากนั้นก็มีการฝึกนอกพื้นที่ และมีมาตรการ train from home ซึ่งมีหลายรูปแบบเป็นวิดีโอจากผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐอเมริกา จากยุโรป นักศึกษารุ่นนี้จะเป็นรุ่นที่ 4 ที่ได้มาฝึกกับ ABB เพาวเวอร์กริดส์ บริษัทฯ มีความยินดีและหวังว่า เป็นประโยชน์ต่อนิสิตที่จำนำความรู้ประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในการเรียน ศึกษาเพิ่มเติม และตอนนี้เรากำลังทำดิจิทัลทรานฟอร์มเมชั่น ซึ่งเป็นการนำดิจิทัลเข้ามาใช้ในพลังงาน นิสิตทุกคนที่เข้ามาฝึกงานจะได้เข้ามาเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่นการนำเอไอ แมชชีนเลิร์นนิ่ง บล็อกเชน ไซเบอร์ซีเคียวลิตี้ คราวน์ สิ่งเหล่านี้นิสิตจะได้รับเพิ่มจากบริษัทฯ การเรียนรู้จะได้ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์" ดร.ประดิษฐ์พงศ์ กล่าว