เมื่อเร็วๆ นี้ พันเอก สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ โครงการพัฒนาเครือข่ายสี่อสารโทรคมนาคม เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการวิจัย นวัตกรรม งานทางวิชาการและการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำหรับความการลงนามในบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ นับเป็นการสานต่อความร่วมมือในการสนับสนุนด้านระบบสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งเป็นโครงการที่ NT และ มช.ดำเนินการต่อเนื่องมานับตั้งแต่ปี 2558 เพื่อร่วมกันเดินหน้าพัฒนาระบบ รวมถึงขยายโครงข่ายสื่อสัญญาณ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ สามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้งานทั้งในด้านการศึกษา วิชาการ การวิจัยตลอดจนนวัตกรรมต่าง ๆ และสามารถต่อยอดไปสู่การสนับสนุนพันธกิจของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการพัฒนาหลักสูตรและระบบการจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ และเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลาย ตลอดจนเพิ่มความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการสร้างรูปแบบการทำงานใหม่ เพื่อให้สามารถก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ และพร้อมก้าวสู่เป้าหมายสูงสุดในการผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพอย่างยั่งยืน และก้าวสู่ความเป็นเลิศในอนาคต
ทั้งนี้ NT และ มช. ต่างให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อสารดิจิทัลเพื่อพัฒนาศักยภาพในองค์รวมอย่างมีประสิทธิภาพ จึงพร้อมเดินหน้านำองค์ความรู้ และความเชี่ยวชาญของบุคลากร ตลอดจนทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัย อาทิ ระบบประมวลผลความเร็วสูง ระบบการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ ระบบเครือข่ายไร้สาย 5G และระบบโครงข่ายสื่อสารภายในมาร่วมผลักดันให้เกิดนวัตกรรม ตลอดจนงานวิจัย เพื่อส่งต่อคุณประโยชน์ต่อองค์กร ชุมชน และส่งผลให้เกิดความสำเร็จต่อภาพรวมในระยะยาว
สำนักงานพัฒนาธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (Electronic Transactions Development Agency)
เอไอเอส โดยนายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือเอไอเอส และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษา วิจัย ทดลอง ทดสอบ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี 5G ที่กำลังจะมาถึง เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการและบ่มเพาะบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนภาคเหนือและประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ
โดยการทดลอง ทดสอบ 5G ในพื้นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะดึงจุดเด่นของอัตลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ โอกาส ความสนใจ และความท้าทายในแต่ละภูมิภาคเป็นตัวกำหนด เพื่อให้นิสิต นักศึกษา นักวิจัย ประชาชน และทุกภาคส่วนใน 5G Ecosystem เห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีแห่งอนาคต ตลอดจนสามารถวางแผน ต่อยอด และพัฒนานวัตกรรมและการบริการบนระบบ 5G ให้เหมาะสมกับพื้นที่หรือภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดรับกับเจตนารมณ์ของ กสทช. ที่สนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาให้ทดลองทดสอบ 5G ทั้งในกรุงเทพฯ และในส่วนภูมิภาค