สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดพิธีเปิด กิจกรรมเสวนา หัวข้อ ก้าวให้ทันในวันที่ตลาดเปลี่ยน….กับเซียนยักษ์ใหญ่ 3 แผ่นดิน “ภายใต้กิจกรรมการศึกษาการจัดทำข้อมูลเครือข่ายผู้ให้บริการและรายละเอียดการให้บริการของต่างชาติ”

อวดโฉม เครื่อง Nanoemulsion Homogenizer ครั้งแรกในอาเซียน

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดตัวคลินิก AI

คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายการศึกษาพิเศษ ร่วมกับภาคีเครือข่ายการดูแลบุคคลออทิสติกจังหวัดขอนแก่น ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ในการดำเนินการจัดการประชุมวิชาการ เปิดโลกออทิสติก ครั้งที่ 14  “AI  for  Autism : นวัตกรรม AI นำออทิสติกไทย ก้าวไกล สู่โลกดิจิทัล” โดยมี นายพันธ์เทพ เสาโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิด  ดร.สมพร หวานเสร็จ  ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ ระดับ 9  อาจารย์ที่ปรึกษา ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฝ่ายการศึกษาพิเศษ กล่าวต้อนรับ อาจารย์ปริศนา อานจำปา รองผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตฯ ฝ่ายการศึกษาพิเศษ กล่าวรายงาน นายสุภวัฒน์ หนูพริก พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่น กล่าววิสัยทัศน์การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จังหวัดขอนแก่น และมีพิธีมอบเกียรติบัตรประกาศเกียรติคุณ แก่หน่วยงานภาคีเครือข่ายผู้ดูแลบุคคลออทิสติก จังหวัดขอนแก่น และเยาวชนคนพิเศษตัวอย่าง  โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ประมาณ 300 คน ณ ห้องแกรนด์พาวิลเลี่ยน ราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล ขอนแก่น

ดร.สมพร  หวานเสร็จ  กล่าวว่า “การจัดการประชุมวิชาการ  เปิดโลกออทิสติก ครั้งที่ 14  “AI  for  Autism : นวัตกรรม AI นำออทิสติกไทย ก้าวไกล สู่โลกดิจิทัล” ในครั้งนี้ จัดขึ้นในธีมงาน “AI  for  Autism : นวัตกรรม AI นำออทิสติกไทย ก้าวไกล สู่โลกดิจิทัล” ซึ่งนับว่าเป็นตีมงานที่มีความสำคัญและน่าสนใจมาก เพราะยุคปัจจุบัน AI นั้น มีความเกี่ยวข้อง ใกล้ชิดในชีวิตประจำวันของทุกคนมาก และในเกือบทุกวงการ ก็มีการนำ AI มาใช้งานมากขึ้น รวมไปถึงด้านออทิสติกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการจัดการศึกษา หรือทางการแพทย์ ที่จะช่วยเหลือเด็กออทิสติกมากขึ้น เช่น มีการวิจัยโดยทีมผู้เชี่ยวชาญมหาวิทยาลัยเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีการนำ AI มาช่วยวินิจฉัยอาการออทิสติก ในเด็กตั้งแต่เนิ่น ๆ ที่ช่วยวิเคราะห์อาการออทิสติกได้ทันท่วงที เทคโนโลยี AI นี้ก็ยังสามารถใช้กับการรักษาทางไกล หรือการเช็คอาการย้อนหลังได้  หรือการสร้างนวัตกรรมสุดอัจฉริยะ “เก้าอี้กอด OTO” ช่วยผู้ที่อยู่ในกลุ่มอาการออทิสติก สเปกตรัม ให้รู้สึกปลอดภัยจากการสัมผัสที่เหมาะสม ซึ่งสิ่งประดิษฐ์นี้ ถูกออกแบบและพัฒนาโดย Alexia Audrain ช่างไม้ครุภัณฑ์ชาวฝรั่งเศส และมีการพัฒนางานด้าน AI อีกมากมาย และหวังว่า จะเป็นการเปิดโลกทัศน์อีกมุมมองหนึ่ง และได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการให้ความช่วยเหลือบุคคลที่มีภาวะออทิซึมที่เหมาะสม ตลอดจนเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาและขยายผล ทั้งด้านงานวิจัย บทความ สื่อ นวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาบุคคลที่มีภาวะออทิซึม และบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษต่อไป”

อาจารย์ปริศนา อานจำปา กล่าวว่า “การประชุมวิชาการ  เปิดโลกออทิสติก ครั้งที่ 14 ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักรู้ เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหาร สหวิชาชีพ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาบุคคลที่มีภาวะออทิซึม และบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ แบบองค์รวมในทุกมิติ  เป็นเวทีในการนำเสนอนวัตกรรม ผลการวิจัย แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความคิดเห็น และแสดงความความก้าวหน้าของงานวิจัย ซึ่งจะนาไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ในการพัฒนานวัตกรรม ผลงานวิจัย และการนำไปใช้ประโยชน์ ต่อการพัฒนาประเทศ และเป็นการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ผลงานกิจกรรม ของภาคีเครือข่ายการดูแลบุคคลออทิสติก และยกย่องเชิดชูเกียรติ แก่บุคคล หน่วยงานที่มีผลงานดีเด่น และทำคุณประโยชน์ด้านการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา และช่วยเหลือบุคคลที่มีภาวะออทิซึม  การประชุม “AI  for Autism :  นวัตกรรม AI  นำออทิสติกไทย ก้าวไกล สู่โลกดิจิทัล” ในครั้งนี้ได้เชิญผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมอภิปราย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และให้ความรู้ แก่ครู บุคลากรทางการศึกษา บุคลากรทางการแพทย์ นักวิจัย ผู้ปกครอง และผู้ที่สนใจ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์ความรู้ และเป็นแนวทาง ในการให้ความช่วยเหลือบุคคลที่มีภาวะออทิซึม และบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ในจังหวัดขอนแก่น”

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับกรมประมง บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการว่าด้วย การพัฒนาวิชาการด้านการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ โดยลงนามระหว่าง รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง ทั้งนี้มี ผู้บริหาร ทั้งสองหน่วยงานร่วมงานจำนวนมาก ณ ห้องประชุมสารสิน อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีโอกาสสร้างความร่วมมือทางวิชาการ การพัฒนาวิชาการด้านการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ ภายใต้ขอบเขตและแนวทางที่จะดำเนินการขับเคลื่อนร่วมกัน ซึ่งการบันทึกความเข้าใจครั้งนี้ ได้กำหนดให้มีระยะเวลาในการดำเนินการร่วมกัน 4 ปี นับจากวันลงนาม เพื่อพัฒนาทางวิชาการร่วมกันด้านวิชาการประมง เป็นประโยชน์ด้านวิชาการ การวิจัย การศึกษา และการพัฒนาบุคลากร ผนึกกำลังในการสร้างความเข้มแข็งเพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพภาคประมงให้มีความเข้มแข็งและสร้างประโยชน์สู่เกษตรกรของประเทศ

“ในนามของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอขอบคุณ กรมประมง ที่ให้เกียรติมาร่วมสร้างความร่วมมือนี้กับ และหวังว่าผลงานจากการขับเคลื่อนภายใต้บันทึกความร่วมมือฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรทั้งสองฝ่าย โดยแบ่งปันทรัพยากรทางด้านการเรียนการสอน การวิจัย บุคลากร นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ วัสดุอุปกรณ์ และข้อมูลด้านการประมงซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะถูกนำไปถ่ายทอดสู่เกษตรกร และเป็นโอกาสอันดีที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นทำหน้าที่รับใช้สังคม ซึ่งเป็นไปตามปณิธานของมหาวิทยาลัย ในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการอุทิศเพื่อสังคม”

นายเฉลิมชัย  สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง  กล่าวว่า กรมประมงในฐานะหน่วยงานของรัฐ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ทำการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ วิจัย วิเคราะห์ ทดลอง ด้านวิชาการทุกสาขาวิชาการของประมง ตลอดจนทำการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวกับการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้า การสร้างความร่วมมือกับวิจัยวิชาการกับหน่วยงานทางการศึกษาที่จะสามารถเพิ่มพูนองค์ความรู้ รวมถึงเป็นแหล่งบริการวิชาการที่มีส่วนร่วมแก้ปัญหาสังคมให้ภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการเกษตร นอกจากนี้ยังสามารถขยายความร่วมมือในภูมิภาคอื่น ๆ จนทั่วทั้งประเทศได้อีกกรมประมงก็ยินดีอย่างยิ่ง เพื่อหาแนวทางพัฒนาการประมง การวิจัย วิชาการ และการพัฒนาบุคลากรทั้งสองฝ่าย ยกระดับการประมงไทยให้แข่งขันได้ โดยใช้ทรัพยากรอย่างสมดุล พร้อมผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมที่สร้างความมั่งคั่งแก่เกษตรกร ผนึกกำลังในการสร้างความเข้มแข็งเพิ่มศักยภาพภาคประมงของประเทศไทยต่อไป

Page 3 of 7
X

Right Click

No right click