เมื่อองค์กรแสวงหาคน “เก่ง” เพื่อมาร่วมทีม และบุคลากรมุ่งมั่นพัฒนาตนเองให้ "เก่ง"  คำถามที่น่าสนใจ คือ "เก่ง" แบบไหนที่องค์กรต้องการ?  บทความนี้จะวิเคราะห์มุมมอง "เก่งเพื่อเสริมทีม" และ "เก่งเพื่อเหนือทีม"   พร้อมทั้งสะท้อนมุมมองสำคัญของ "ทีม" และผลลัพธ์ต่อองค์กร

ความเก่งที่แท้จริง: นิยามที่แปรผัน

"ความเก่ง" ไม่มีคำจำกัดความตายตัว ขึ้นอยู่กับระดับงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ บริบทองค์กร และเป้าหมายขององค์กร ในระดับหัวหน้างาน ความเก่ง อาจจะหมายถึง ความสามารถในการชี้นำ กระตุ้น พัฒนาทีม ตัดสินใจ แก้ปัญหา มองการณ์ไกล และสื่อสาร ในขณะที่ระดับปฏิบัติการ อาจจะหมายถึง ทักษะเฉพาะทาง ความเชี่ยวชาญ ความรับผิดชอบ ความอดทน ความตั้งใจ ความเก่งสำหรับงานบริการ อาจจะหมายถึง ทักษะการสื่อสาร การบริการลูกค้า การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ความอดทน ความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ในขณะที่ความเก่งสำหรับงานขาย อาจจะหมายถึง ทักษะการสื่อสาร การโน้มน้าว การเจรจาต่อรอง ความสัมพันธ์ ความเข้าใจลูกค้า โดยความเก่งที่เหมาะสมควรจะส่งผลลัพธ์เชิงบวกกับองค์กร มากกว่าการเป็นเพียงเครื่องประดับอวดอ้างให้คนอื่นเห็นความสำคัญของตนเอง

ทีม: ฟันเฟืองขับเคลื่อนองค์กร

"ทีม" เปรียบเสมือนฟันเฟืองสำคัญขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย ทีมที่ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ผนึกกำลัง แบ่งปันความรู้ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สร้างผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่กว่าการทำงานคนเดียว ทีมเป็นแหล่งรวมความคิดสร้างสรรค์ มุมมองที่หลากหลาย ประสบการณ์ที่แตกต่าง กระตุ้นการคิดนอกกรอบ นำไปสู่ไอเดียใหม่ และนวัตกรรม นอกจากนี้ทีมยังเป็นกลไกแห่งการเรียนรู้ โดยสมาชิกในทีมจะได้เรียนรู้จากกันและกัน เกิดการพัฒนาทักษะ เพิ่มพูลความรู้ความสามารถ ทำให้สมาชิกภายในทีมเติบโตจากการทำงานร่วมกัน และส่งผลให้องค์กรเกิดการพัฒนาและก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

องค์กรเปรียบเสมือนเรือที่แล่นสู่จุดหมาย ทีมที่สร้างผลลัพธ์ จะมีความมุ่งมั่น ทุ่มเท ทำงานด้วยความตั้งใจ ร่วมมือกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร ในขณะที่ทีมที่เน้นการเมือง จะมุ่งแสวงหาอำนาจ ใช้ความสามารถที่ตัวเองมีเพื่อกดขี่คนที่มีความสามารถน้อยกว่า สร้างความขัดแย้ง แบ่งแยก ทำลายบรรยากาศการทำงาน ในทีมมักมีสมาชิกที่มีความสามารถ ทักษะ นิสัย หลากหลาย คนเก่งที่แท้จริงจะนำความรู้ ทักษะ มาเสริมสร้างทีม แบ่งปัน และช่วยเหลือเกื้อกูล มุ่งหวังที่จะเห็นองค์กรประสบความสำเร็จภายใต้ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทีมงานทุกคน ในขณะที่คนไม่เก่ง สามารถเรียนรู้ พัฒนา เติบโต ด้วยโอกาส การสนับสนุน จากเพื่อนร่วมงาน ผู้นำ ในขณะที่คนดีจะมุ่งมั่น รับผิดชอบ สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี ไม่เอาความเก่งไปทำลายความตั้งใจในการทำงานของคนอื่น ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกองค์กรจะมีคนไม่ดีร่วมอยู่ด้วย คนเหล่านี้จะคอยสร้างปัญหา ขัดขวางแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร แสดงความไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่ไม่สอดคล้องกับความสนใจของตน และทำลายบรรยากาศการทำงาน ใช้เวลาไปกับการเล่นการเมือง สร้างกลุ่มก๊วนเพื่อนินทาคนที่มีความเห็นต่าง คอยจ้องจับผิดคนที่ไม่ใช่พวกพ้องตน

เก่งเพื่อเสริมทีม หรือ เก่งเพื่อเหนือทีม

"เก่งเพื่อเสริมทีม" หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถ ทักษะ ความรู้ นำมาใช้เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาเพื่อนร่วมงาน   และพัฒนาองค์กร "เก่งเพื่อเหนือทีม" หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถ ทักษะ ความรู้ นำมาใช้เพื่อเอาชนะ กดขี่เพื่อนร่วมงาน สร้างกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อรักษาไว้ซึ่งความนิยมชมชอบตัวเอง "เก่งเพื่อเสริมทีม" เปรียบเสมือนแสงสว่าง นำทางองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ทีมที่ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ผนึกกำลัง แบ่งปันความรู้ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สร้างผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่กว่าการทำงานคนเดียว มุมมองที่หลากหลาย ประสบการณ์ที่แตกต่าง กระตุ้นการคิดนอกกรอบ นำไปสู่ไอเดียใหม่ และนวัตกรรม สมาชิกในทีมเรียนรู้จากกันและกัน แบ่งปันความรู้ พัฒนาทักษะ เติบโตทั้งส่วนตัวและองค์กร องค์กรที่มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม ส่งเสริมการทำงานของกันและกัน ให้คำแนะนำและแง่คิดด้วยความบริสุทธิ์ใจปราศจากอคติ "เก่งเพื่อเสริมทีม" จึงมีพลังมหาศาลในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ และสร้างอนาคตที่ยิ่งใหญ่ คนที่มีจิตสำนึกต่อองค์กรไม่เพียงแต่บอกว่ารักองค์กร ทำอะไรเพื่อองค์กร แต่ต้องไม่ปล่อยให้ “อีโก้” ผนึกกำลังกับความลุ่มหลงมัวเมาใน “ตัวกู” มาทำลายองค์กรให้พังทลายเพียงเพราะแค่ต้องการแสดงอิทธิฤทธิ์ของความเก่งเพื่อเหนือทีม คนเก่งจริงไม่จำเป็นต้องเล่นการเมือง เพราะท้ายที่สุด การเมืองที่ทำลายพลังสร้างสรรค์อาจจะไม่มีที่ให้เก่งเพื่อเหนือทีมอีกต่อไป


----------------------------

วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ
ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มจธ.

 

พลิกโฉมอุตสาหกรรมไทยในการถ่ายทอดองค์ความรู้และยกระดับความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ในงานนี้เต็มไปด้วยเหล่า Speakers คุณภาพที่มีประสบการณ์และมุมมองทางด้านธุรกิจในการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้กันและกัน

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้บริหารจากองค์กรภาครัฐและเอกชนหรือผู้ที่สนใจในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ

การพูดคุยหัวข้อสำคัญ

  1. ทิศทางเศรษฐกิจ 2025 กับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย
  2. ยกระดับอุตสาหกรรมไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน
  3. เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย
  4. การยกระดับความสามารถทางการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนด้วย STECO’s Enterprise Mix

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567

ณ ห้อง Auditorium ชั้น 7 อาคาร KX Knowledge Xchange ถ.กรุงธนบุรี

เวลา 12.00 – 17.00 น.

ลงทะเบียนร่วมงานฟรี ได้ที่

https://forms.gle/rfuNdNVWjCis2uLMA 

รายละเอียดเพิ่มเติม

Facebook : ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มจธ.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร. 064-749-9629 , 02-470-9643 คุณดลฤทัย

E mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

จัดเต็มพร้อมอัดแน่นความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม LED ที่เปลี่ยนแปลงวิธีการใช้พลังงานในอาคารและการนำไปใช้ประโยชน์ในประเทศไทยปี 2024 พร้อมอัปเดตนวัตกรรมใหม่ๆ และพฤติกรรมการใช้งาน LED ในปัจจุบัน และ ศึกษาตัวอย่างการใช้งานจริง อีกทั้งยังช่วยการจัดการพลังงานในอาคารอย่างถูกต้อง

โดยความรู้จากการสัมมนาออนไลน์ในครั้งนี้จะช่วยให้คุณวางแผน พร้อมแนวทางการติดตั้งการใช้แสง LED เพื่อการอนุรักษ์พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร

สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้ :
1. การประยุกต์ใช้นวัตกรรม LED ในการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร
2. เทรนด์และนวัตกรรม LED ล่าสุดในประเทศไทย
3. การเข้าใจพฤติกรรมการใช้แสงสว่างที่เปลี่ยนแปลงไป
4. ตัวอย่างการใช้งาน LED ที่นำไปสู่ผลลัพธ์อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
5. การนำข้อมูลมาวางแผนการใช้แสงสว่างอย่างมีประสิทธิภาพ

เรียนรู้จากวิทยากรชั้นนำ!
เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมแสงสว่างโดย ผศ.ดร. จรรยาพร สไตเลอร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและนวัตกรรมการส่องสว่าง มจธ. เจาะลึกเรื่องการใช้แสง LED ในด้านต่างๆ เพื่อส่งเสริมการออกแบบแสงสว่างอย่างยั่งยืน และ ใช้พลังงานในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ลงทะเบียนสัมมนาฟรีที่ >>> https://us06web.zoom.us/webinar/register/6017113423117/WN_Jnbrc_l6TTSyeUERVA15_g#/registration 

เมื่อเร็วๆ นี้ที่ผ่านมา โครงการฝึกอบรม-ฝึกงานเพื่อเตรียมความพร้อมคนพิการเข้าสู่การทำงานในสถานประกอบการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จัดกิจกรรมครบรอบ 10 ปี โครงการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการ มจธ. “เติม…เต็ม Empower” โดยมีนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิด รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บุคลากร มจธ. และหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม ณ ห้อง Auditorium อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX)

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดอาคารโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ (NBF) ให้คณะผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยไทย-สหราชอาณาจักร ในโครงการความร่วมมือวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีววัตถุและวัคซีนด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ และคณะสื่อมวลชน เข้าเยี่ยมชมห้องแล็บเพื่อการวิจัยต่อยอดขั้นสูงจาก Lab-scale สู่ Pilot-scale สำหรับงานเชิงพาณิชย์ พร้อมมีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพบุคลากร องค์ความรู้ และเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง รองรับอุตสาหกรรมชีวเวชภัณฑ์ของประเทศ โดยมีผู้บริหาร มจธ. นำโดย ดร.กัญญวิมว์ กีรติกร รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รศ.ดร.โสฬส สุวรรณยืน รองอธิการบดี มจธ.บางขุนเทียน ร่วมด้วย รศ.ดร.ชวิน จันทรเสนาวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาความเป็นสากล พร้อมด้วยทีมนักวิจัยไบโอเทค และ มจธ. ร่วมต้อนรับ และกล่าวแนะนำภาพรวมโรงงานและความร่วมมือ

ดร.วรินธร สงคสิริ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยวิศวกรรมชีวเคมีและชีววิทยาระบบ ไบโอเทค สวทช. กล่าวถึงความสำคัญและความจำเป็นในการสร้างความร่วมมือสนับสนุนการจัดตั้งโรงงานต้นแบบเพื่อผลิตชีววัตถุและสารมูลค่าสูงของประเทศ ด้วยเล็งเห็นถึงคอขวดของการเชื่อมต่องานวิจัยด้านยาชีววัตถุ (Biopharmaceuticals) ซึ่งเป็นยาที่ผลิตโดยใช้กระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพสู่การทดลองในมนุษย์และเชิงพาณิชย์ ดังนั้นศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. จึงร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จัดตั้ง “โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ (National Biopharmaceutical Facility, NBF)” ขึ้นในปี 2551 โดยตั้งอยู่ ณ มจธ.บางขุนเทียน

“ไบโอเทคมีการวิจัยและพัฒนาในโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ หรือ NBF มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนากระบวนการผลิตชีววัตถุและวัคซีนในระดับห้องปฏิบัติการ ได้หลายแพลตฟอร์มแล้ว เช่น แพลตฟอร์มของ monoclonal antibody ที่เป็นกลุ่มชีววัตถุที่ใช้เป็นยาต้านมะเร็ง, แพลตฟอร์ม plasmid DNA และแพลตฟอร์มกลุ่มโปรตีนเพื่อการรักษาโรค เช่น PCV2d ซึ่งเป็นวัคซีนความร่วมมือของไทยโดยไบโอเทค มจธ. และพันธมิตรสหราชอาณาจักรภายใต้ความร่วมมือโครงการ GCRF รวมถึงการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ BPCL ที่มีการให้บริการวิเคราะห์โปรตีนและสารพันธุกรรม นอกจากนี้ ไบโอเทคและพันธมิตรเอกชนยังได้มีความร่วมมือกับ NBF ในการผลิตวัคซีนสำหรับหมูในโรคอื่นที่เป็นการระบาดในประเทศไทย ได้แก่ PEDV และ PRRS โดยปัจจุบันมีการผลิตธนาคารเซลล์ที่ใช้เพาะเลี้ยงไวรัส ณ โรงงานต้นแบบนี้เรียบร้อยแล้ว” ดร.วรินธร สงคสิริ กล่าว

ด้าน ผศ.ดร.ลลิลทิพย์ หอเจริญ นักวิจัย โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ มจธ. กล่าวว่า โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ หรือ National Biopharmaceutical Facility (NBF) สร้างขึ้นเพื่อเป็นหน่วยเชื่อมต่องานของนักวิจัยกับการทดสอบยาชีววัตถุและวัคซีนในขั้น pre-clinic และ clinical phase I, II โดย NBF มีหน่วยงานที่ครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนากระบวนการผลิตระดับเล็ก (มากกว่าหรือเท่ากับ 5 ลิตร) ระดับ pilot (5 - 30 ลิตร) สำหรับทั้งกระบวนการต้นน้ำ (การหมัก/เลี้ยงเซลล์) และปลายน้ำ (การทำให้สารบริสุทธิ์) ไปจนถึงการผลิตในโรงงานต้นแบบที่มีกำลังการผลิตสูงสุดคือ 2,000 ลิตร รวมถึง NBF ยังมีเครื่องมือและห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ชีววัตถุและวัคซีน ที่พร้อมรองรับการวิเคราะห์ตั้งแต่คุณลักษณะเบื้องต้น ไปจนถึงระดับที่ต้องใช้เทคนิคขั้นสูงและเครื่องมือที่ทันสมัย เช่น การวิเคราะห์ลำดับขั้นของสารพันธุกรรม และโปรตีน เป็นต้น

“สำหรับวัคซีนในโครงการไทย-สหราชอาณาจักร โครงการมีการพัฒนา candidate vaccine (วัคซีนที่อยู่ระหว่างการคัดเลือก) สำหรับหมู เป็นวัคซีน Porcine Circovirus type 2d (PCV2d) ซึ่งขณะนี้ได้ทดสอบวัคซีนต้นแบบในสัตว์เล็กคือ หนูและกระต่ายไปแล้ว พบว่า วัคซีนต้นแบบสามารถกระตุ้นให้สัตว์สร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะกับไวรัส PCV2 ได้ และมีแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ที่ลดการติดเชื้อของไวรัสในระบบเซลล์ได้ อย่างไรก็ตาม ท้ายสุดต้องไปทำการทดลองในสัตว์ที่จะใช้จริง คือ สุกร ซึ่งอาจจะทำในประเทศไทยไม่ได้ เนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่ที่เหมาะสม และการหาหมูที่ไม่ได้ฉีด PCV2 มาก่อน ขณะเดียวกัน ทาง NBF และมหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน (UCL) ได้มีการทำงานร่วมกันด้านการพัฒนากระบวนการผลิตและขยายขนาดไปที่ 30 ลิตร ซึ่งกระบวนการผลิตดังกล่าว ประสบความสำเร็จด้วยดี สามารถผลิต candidate vaccine PCV2d ได้มากถึง 200,000 โดส ต่อขนาดการผลิต 30 ลิตร ดังนั้น ภาพรวมของโครงการนี้คือ อยู่ระหว่างทดลองในหมู และนำผลการศึกษาไปปรึกษากับทาง อย. เพื่อหาแนวทางร่วมกัน สำหรับโอกาสการขึ้นทะเบียนวัคซีนสำหรับสัตว์ที่ผลิตภายในประเทศต่อไป” ผศ.ดร.ลลิลทิพย์ หอเจริญ กล่าว

ทั้งนี้ ในการเยี่ยมชมโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ ทำให้เห็นภาพความสำคัญของการวิจัยต่อยอดเพื่อรองรับอุตสาหกรรมชีวเวชภัณฑ์ของหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย โดยคณะครั้งนี้ได้เข้าเยี่ยมชมหน่วยงาน 3 แห่ง ได้แก่ แห่งแรก ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมกระบวนการชีวภาพ (Bioprocess Research and Innovation Centre, BRIC) เพื่อเห็นภาพของการ Scale-up จาก Lab scale สู่ Pilot scale แห่งที่สองคือ ห้องปฏิบัติการ Biopharmaceutical Characterization Laboratory (BPCL) เพื่อเห็นภาพการวิเคราะห์คุณสมบัติลักษณะเฉพาะยาชีววัตถุ เช่น กลุ่มวัคซีน ยา anti-cancer เป็นต้น และแห่งที่สามคือ ส่วนการผลิตโดยใช้ระบบ single-use system ณ อาคารโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ เพื่อเห็นภาพของการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำโดยมีกำลังการผลิตที่สูงสุด 2,000 ลิตร ที่ตั้งอยู่ในโรงงานด้วย

Page 1 of 5
X

Right Click

No right click