November 22, 2024

ในปัจจุบันมีจัดการแก้ไขปัญหาการจัดการเมือง หรือพัฒนาประเทศด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน เช่น กรุงเทพฯใช้ Traffy Fondue ที่ให้ประชาชนคอยแจ้งปัญหาถึงผู้รับผิดชอบโดยตรง พร้อมกับแสดงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และทำให้เห็นปัญหาตั้งแต่ระดับเล็ก หรือ รากฝอย ไปจนถึงปัญหาระดับใหญ่ ซึ่งการพัฒนากลไกต่าง ๆ นี้ มีทั้งความร่วมมือจากทางภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

รศ.ดร.ดวงพร  ภู่ผะกา (ขวาสุด) รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ พลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ด้วยการพัฒนาหลักสูตร พัฒนาบุคลากร (Smart People) ทั้งผู้สอนและผู้เรียน ด้วยกลไลพัฒนา และขับเคลื่อนเมืองด้วย City Data Platform  

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เดินหน้าผลักดันพัฒนาผู้ประกอบการบนฐานนวัตกรรมและวิถีชีวิตใหม่ในยุคดิจิทัล (Digital Next Normal Entrepreneur & Innovation) ภายใต้โครงการ Reinventing University นำโดย ผศ. ดร.พรพิมล วิริยะกุล  หัวหน้าโครงการ การพัฒนาผู้ประกอบการดิจิทัลบนฐานนวัตกรรมและวิถีชีวิตใหม่ ร่วมกับ บริษัท ISS Consulting (Thailand) Ltd. โดยมีการจัดอบรมทั้งหมด 3 หลักสูตร เนื้อหาการฝึกอบรม 3 หลักสูตร ประกอบด้วย การบริหารจัดการบนฐานวิถีใหม่สำหรับผู้ประกอบการ (Digital Disruption for Entrepreneur), การบริหารจัดการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing Management), ความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการ (Digital Intelligence Quotient for Entrepreneur) โดยมี SME กำลังแรงงานในสถานประกอบการ บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจเข้าร่วมอบรม ราว 300 คน มุ่งพัฒนาทักษะ Reskills & Upskills การใช้เครื่องมือทางด้านดิจิทัลสำหรับการพัฒนาผู้ประกอบการบนฐานนวัตกรรมและวิถีชีวิตใหม่ในยุคดิจิทัล อีกทั้งเป็นการวางแผนการตลาดดิจิทัลและเทคนิควิธีการสร้างและการจัดทำรูปแบบธุรกิจออนไลน์โดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสม และที่สำคัญเป็นการพัฒนาทักษะนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์บนฐานความรู้ (Knowledge-based Economy) ตลอดจนทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งได้จัดไปเรียบร้อยทั้งหมด 2 หลักสูตร

          ทั้งนี้โครงการการพัฒนาผู้ประกอบการดิจิทัลบนฐานนวัตกรรมและวิถีชีวิตใหม่ ได้มีการจัดเสวนาผ่านทาง Facebook Live ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ โดย ผศ. ดร.พรพิมล วิริยะกุล หัวหน้าโครงการ ฯ ร่วมด้วย คุณวิศิษฐ์ วิระยากรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ISS Consulting (Thailand) Ltd. และ อ.ดร.พงศธร ปาลี อ.ประจำคณะครุศาสตร์ ร่วมการเสวนา เรื่อง "ผู้ประกอบการดิจิทัล ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทางรอด" ดำเนินเสวนาโดย ครูทอม จักกฤต โยมพยอม

 

          ผศ.ดร.พรพิมล วิริยะกุล หัวหน้าโครงการฯ ได้ให้แนวทางว่า "การแข่งขันทางธุรกิจต้องการความรวดเร็ว ซึ่งต้องมีการปรับตัวทำธุรกิจวิถีใหม่ คือต้องนำการตลาดมาช่วย เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ หาความต้องการของลูกค้า และหาแพลตฟอร์มให้เจอ ว่าลูกค้าของเราอยู่ตรงไหน เพื่อให้เราทำการตลาดได้ตรงกับกลุ่มลูกค้า นอกจากนี้ ต้องนำเทคโนโลยีทางดิจิทัลมาช่วยในการขับเคลื่อนองค์กร เช่น เรื่องการจัดการสินค้า การจัดการบัญชี ถ้ามีโปรแกรมที่ประสิทธิภาพมาช่วยจัดการ จะทำให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและจัดการได้ง่ายยิ่งขึ้น รวมถึงข้อมูลของลูกค้า ที่มีการจัดการด้วยระบบดิจิทัล จะสามารถจัดการและตามเทรนด์ของโลกได้ทัน บริษัทก็จะทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น ทันกับการแข่งขันในปัจจุบัน นี่คือความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน สำหรับองค์กรขนาดเล็ก อาจจะเริ่มนำดิจิทัลมาใช้ในส่วนที่จำเป็น ส่วนที่ซับซ้อน ค่อย ๆ วางแผนในการปรับตัวและเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ การจัดโครงการหลักสูตรระยะสั้นในภาคตะวันออก ที่ทางมหาวิทยาลัยได้จัดทำ ก็เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการดิจิทัลบนฐานนวัตกรรมและวิถีชีวิตใหม่ ต้องการเข้ามาช่วยให้องค์กรมีบุคคลากรที่พร้อมทำงานและรู้เท่าทันกับดิจิทัล โดยมีการร่วมงานกับทาง ISS ที่มีประสบการณ์ระดับโลก มาช่วยเป็นวิทยากรในการจัดหลักสูตรระยะสั้นที่กล่าวไปข้างต้น"   

          ทางด้าน คุณวิศิษฐ์ วิระยากรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ISS Consulting (Thailand) Ltd. เป็นผู้นำในการขึ้นระบบต่าง ๆ และให้คำปรึกษากับผู้ประกอบการในประเทศไทยมากว่า 22 ปี และเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการวางระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยวางระบบการทำงานในบริษัทให้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ระบบการทำบัญชี การจัดซื้อจัดจ้าง การจัดการพนักงาน เป็นต้น  ได้มาร่วมเป็นวิทยากรในครั้งนี้โดยคุณวิศิษฐ์ มองว่า "การที่ผู้ประกอบการ เข้าใจคอนเซ็ปต์ของโลกดิจิทัล ระบบความคิดในการวางแผนในองค์กรแล้ว ถ้าทุกท่านนำความรู้ต่าง ๆ ที่ทางโครงการได้อบรมให้ไปปรับใช้ หาซอฟต์แวร์ที่ทางบริษัทจะนำมาช่วยพัฒนาองค์กรได้ โดยอย่าไปมองว่ามันคือต้นทุน ให้มองเป็นการลงทุน ก็จะทำให้ได้ประโยชน์ในการพัฒนาบริษัท"

          อ.ดร.พงศธร ปาลี อ.ประจำคณะครุศาสตร์ ได้เสริมว่า

          "ยุคนี้ คือยุค digital transformation เป็นยุคของการเปลี่ยนผ่าน เจ้าของสถานประกอบการต้องมีการปรับความคิดก่อน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงในการปรับองค์กรให้กลายมาเป็นองค์กรดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น (Reinventing) เพื่อให้สถานประกอบการมา upskill reskill รวมไปถึงการพัฒนาเป็น credit bank สามารถเก็บเกรดเพื่อนำไปคิดหน่วยกิตในการเรียนต่อไปในอนาคตได้ด้วย"

          โครงการ การพัฒนาผู้ประกอบการดิจิทัลบนฐานนวัตกรรมและวิถีชีวิตใหม่ ภายใต้โครงการ Reinventing University  เป็นการปรับตัวของมหาวิทยาลัยยุคใหม่ที่มองห้องเรียนไม่เพียงแค่รั้วมหาวิทยาลัย และมองผู้เรียนไม่เป็นเพียงแค่นักศึกษาเท่านั้น แต่แรงงานในสถานประกอบการยังเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่ต้องเร่งพัฒนา เพราะทักษะเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน เพื่อให้สามารถตอบโจทย์เศรษฐกิจสมัยใหม่ในโลกยุคดิจิทัลได้ทัน

           สำหรับโครงการอบรมหลักสูตระยะสั้น ยังเหลืออีก 1 โครงการ ได้แก่ ความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการ (Digital Intelligence Quotient for Entrepreneur) สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 038-517-004  หรือติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา

   

X

Right Click

No right click