พลังงานแสงอาทิตย์ คือพลังงานที่ธรรมชาติมอบให้มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างแทบไม่มีที่สิ้นสุด ในช่วงเวลาที่หลายฝ่ายให้ความสำคัญกับอนาคตสีเขียวและแหล่งพลังงานทดแทนมากขึ้น ทำให้หลายองค์กรในหลากอุตสาหกรรมหันมาเลือกใช้เทคโนโลยี “โซลาร์เซลล์” เพื่อแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ทดแทนการใช้พลังงานจากโรงไฟฟ้าในรูปแบบเดิม ที่เริ่มกลายเป็นต้นทุนของการดำเนินการที่สูงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ สิ่งนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญของการประกอบกิจการแทบทุกรูปแบบ ทั้งธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต ธุรกิจด้านการบริการต่าง ๆ ไปจนถึงธุรกิจประเภทศูนย์สรรพสินค้าที่ใช้ต้องใช้ไฟฟ้าปริมาณมากในแต่ละวัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เข้ามาจับจ่ายใช้บริการในสถานที่ตั้งแต่เช้าจนค่ำ เทคโนโลยีด้านพลังงานดิจิทัลจึงกลายมาเป็นจุดเปลี่ยนที่องค์กรหันมาให้ความสำคัญและลงทุนติดตั้ง เพื่อประยุกต์ใช้พลังงานทดแทนอย่างเต็มที่ โดยหวังให้อนาคตของทั้งองค์กรและคุณภาพชีวิตของประชากรไทยมีความความยั่งยืนไปด้วยกัน

หนึ่งในตัวอย่างความสำเร็จที่น่าสนใจคือโครงการของศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ โดยดร. พรต ซอโสตถิกุล รองกรรมการผู้จัดการสำนักปฎิบัติการ บริษัท ซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยเบื้องหลังความสำเร็จของศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ในการนำเทคโนโลยีพลังงานสะอาดมาใช้ใน ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์​ สาขาศรีนครินทร์ และสาขาบางแค ว่า “ตลอดช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เราพยายามมองหาว่าเราจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนไหนลงได้บ้าง ซึ่งเมื่อดูจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เราใช้ในการดำเนินธุรกิจ เราพบว่าค่าไฟฟ้าเป็นต้นทุนที่มีสัดส่วนสูงกว่าค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เราจึงเริ่มหาทางลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ โดยการเปลี่ยนหลอดไฟในศูนย์การค้าทั้งหมดให้เป็น LED และอื่น ๆ ซึ่งสุดท้ายก็ลดค่าใช้จ่ายได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เราจึงเริ่มหันมาศึกษาเรื่องเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์ เพราะเห็นหลายประเทศเริ่มใช้งานกันแล้ว” ทำให้ในปัจจุบัน เทคโนโลยีโซลาร์เซลล์สามารถช่วยให้ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์​ สาขาศรีนครินทร์ ประหยัดไฟไปได้ 47 ล้านบาทต่อปี ในขณะที่ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ สาขาบางแค สามารถประหยัดไฟลงไปได้คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 2 ใน 3 ของสาขาศรีนครินทร์”

เขายังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าภายหลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ผลที่ได้คือสามารถลดค่าไฟได้มากถึง 15-17% ในศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ทั้ง 2 สาขา ทำให้ในอนาคตทางบริษัทยังมีแผนที่จะติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่ซีคอนสแควร์​ ศรีนครินทร์ เพิ่มขึ้นอีก 1 เมกะวัตต์ รวมกับของเดิมกลายเป็น 6 เมกะวัตต์ และจะติดตั้งเพิ่มเติมให้กับบริษัทในเครือ ไม่ว่าจะเป็นนันยาง เรเนซองส์ ภูเก็ต รีสอร์ท แอนด์ สปา ไทยชูรส ฯลฯ ซึ่งความสำเร็จในการลดการใช้ปริมาณไฟฟ้าเปรียบได้กับการปลูกต้นไม้หลายแสนต้น ทำให้ทาง ซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ กลายเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ตอบแทนสังคมด้วยการรักษาทรัพยากรธรรมชาติผ่านการใช้เทคโนโลยี ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน (Carbon
Emission) เพื่อรักษาวัฏจักรธรรมชาติตอบรับกับเทรนด์การพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต

“เราตั้งใจทำสิ่งดี ๆ ไว้ก่อนอย่างน้อยก็ถือเป็นตัวอย่าง เราเชื่อว่าเดี๋ยวในอนาคตก็จะมีคนทำตามเอง ซึ่งตอนนี้ก็มีศูนย์สรรพสินค้าและองค์กรอื่น ๆ ให้ความสนใจเข้ามาศึกษาโครงการการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ของซีคอนสแควร์มากขึ้น ซึ่งเราเองก็สนับสนุนให้ทุกฝ่ายหันมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกวิธี เพราะมันมีประโยชน์ต่อทุกฝ่ายมากจริง ๆ อีกไม่นานองค์กรบางแห่งอาจหันมาใช้แบตเตอรี่สำหรับเก็บไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อกักเก็บไว้สำหรับใช้ไฟฟ้าในตอนกลางคืนมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการใช้พลังงานให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีต้นทุนต่อสังคมและองค์กรน้อยที่สุด ผ่านการใช้ประโยชน์จากพลังงานธรรมชาติอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทยที่มีแสงแดดส่องอยู่สม่ำเสมอเกือบทุกวันตลอดทั้งปี” ดร. พรต กล่าว

เขายังให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับโซลูชันโซลาร์เซลล์ของซีคอนสแควร์ว่าทางบริษัทได้ใช้เวลาศึกษาเรื่องโซลาร์เซลล์ และการใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาประมาณ 1 ปี บินไปดูงานในหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ (Inverter) ที่เป็นเครื่องมือแปลงแรงดันไฟฟ้าเอาไว้แปลงกระแสไฟจากไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ไปเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) สำหรับโซลาร์เซลล์ และพบว่าอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ของหัวเว่ยมีคุณภาพดีที่สุด และหลายประเทศในยุโรปเองก็ใช้อุปกรณ์ของหัวเว่ย และการที่มันเป็นระบบปิดก็ช่วยป้องกันไม่ให้ฝุ่นเข้าไปทำระบบไฟฟ้าเสียหาย ป้องกันไม่ให้แมลงเข้าไปทำรัง และยังเหมาะกับการรับมือกับความชื้นในประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นของอันตรายสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ดร. พรต กล่าวเสริมว่า “ตอนไปดูงานที่หัวเว่ย เจ้าหน้าที่ได้โชว์ให้ดูเลยว่าเอาอุปกรณ์ไปแช่น้ำ เอาไฟสปอร์ตไลท์จ่อให้ร้อนก็ไม่พัง อีกประเด็นต่อมาคือโครงการซีคอนของเราใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรามีแผงควบคุมไฟฟ้า (Panel) ทั้งหมด 15,000 แผ่น พื้นที่หลังคา 40 ไร่ ซึ่งโซลูชันของหัวเว่ยยังช่วยให้เรารู้ได้เลยว่าโซลาร์เซลล์แผงไหนใช้งานได้น้อยหรือใช้งานไม่ได้ แผงไหนผิดปกติ (Defect) และยังสามารถตรวจได้ทุกวันแบบเรียลไทม์ว่าแผงไหนมีปัญหา รวมถึงเรายังสามารถรู้ประสิทธิภาพของการเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้อีกด้วย”

นอกจากนี้ ทางบริษัท บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด และ ซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ ยังได้ร่วมมือสร้างศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center) ที่ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์​ สาขาศรีนครินทร์ โดยหัวเว่ยนำเอาตัวอย่างอุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ (Inverter) มาให้ข้อมูลและความรู้เรื่องการใช้แผงโซลาเซลล์กับหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทยอย่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มหาวิทยาลัยและโรงเรียน เพื่อเสริมสร้างความรู้พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีพลังงานดิจิทัลให้ทุกภาคส่วนช่วยกันเลือกใช้ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจถึงการทำงานของระบบโซลาร์ และเข้าใจถึงความสำคัญในการเลือกอุปกรณ์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานในเรื่องความปลอดภัยก่อนนำมาใช้งาน

ทั้งนี้ หนึ่งในเป้าหมายร่วมกันระหว่างทางซีคอนสแควร์และหัวเว่ยคือการสร้างเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมรวมถึงทำให้โลกใบนี้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ในฐานะที่หัวเว่ยเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทนระดับโลก ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี 5G Cloud และ AI ทำให้หัวเว่ยสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวเข้ามาใช้งานร่วมกับพลังงานสะอาด และส่งเสริมให้องค์กรและครัวเรือนร่วมติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ เพิ่มการใช้พลังงานทดแทน ภายใต้เป้าหมายในการสนับสนุนโครงการจำนวน 30,000 โครงการภายใน 3 ปี ข้างหน้า ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถลดก๊าซคาร์บอนได้ถึง 265,000 ตัน ในฐานะผู้นำด้านโซลูชันพลังงานสะอาด พันธมิตรชั้นนำด้านไอซีที และผู้พลิกโฉมสู่ความเป็นดิจิทัล หัวเว่ยมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน ผ่านการทำงานร่วมกับรัฐบาลและพันธมิตรในอุตสาหกรรมเพื่อทำให้โลกของเราเป็นสถานที่ที่ดียิ่งขึ้น พร้อมที่จะสนับสนุนให้องค์กรทุกรูปแบบได้เข้าถึงเทคโนโลยีพลังงานดิจิทัลและใช้พลังงานธรรมชาติได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ลดความรุนแรงของภาวะโลกร้อนด้วยวิธีการอันชาญฉลาดที่สามารถลดค่าใช้จ่ายให้กับองค์กรได้ผ่านการใช้เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนอย่างแท้จริง

เฟ้นหาสุดยอดนักรบไซเบอร์รุ่นใหม่จาก 2,323 คน จัดเต็มที่สุดในไทยและอาเซียน

ราคาเพียง 17,990 บาท พร้อมขยายโปรแจกของแถมถึง 31 ตุลาคม 2566

หัวเว่ย คอนเนกต์ ประจำปี พ.ศ. 2566 (Huawei Connect 2023) ได้เปิดงานในนครเซี่ยงไฮ้แล้ววันนี้ โดยมีนักธุรกิจชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี คู่ค้า นักพัฒนา และผู้มีส่วนได้เสียภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ จากทั่วโลก เข้าร่วมงานเพื่อหาโอกาสใหม่สำหรับโลกอัจฉริยะในอนาคต

ภายในงาน นางสาวซาบรีนา เมิ่ง รองประธาน ประธานกรรมการหมุนเวียนตามวาระ และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของหัวเว่ย ได้ประกาศกลยุทธ์อัจฉริยะครบวงจร หรือ All Intelligence และย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการเจาะลึกเทคโนโลยีเอไอขั้นพื้นฐาน และสร้างโครงสร้างพื้นฐานคอมพิวเตอร์อันแข็งแกร่งสำหรับประเทศจีน – เพื่อเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับทั่วโลก – เพื่อรองรับเทคโนโลยีและแอพพลิเคชั่นเอไอหลากหลายรูปแบบสำหรับทุกอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัวสถาปัตยกรรมอ้างอิงเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่โลกอัจฉริยะ ตลอดจนผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่เกี่ยวข้องอีกมากมายภายในงาน โดยรายละเอียดของสถาปัตยกรรมอ้างอิงที่ได้เปิดตัวภายในงาน ได้ถูกรวมอยู่ในสมุดปกขาวฉบับล่าสุด ในหัวข้อ การเร่งสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่โลกอัจฉริยะ (Accelerating Intelligent Transformation) ซึ่งให้คำแนะนำในเชิงปฏิบัติและประกอบด้วยข้อมูลอ้างอิงต่าง ๆ เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้รับประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีอัจฉริยะนี้

กลยุทธ์อัจฉริยะครบวงจรของหัวเว่ย (Huawei's All Intelligence Strategy)

กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อผลักดันเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น เริ่มจากกลยุทธ์ All IP เพื่อรองรับการใช้ข้อมูลสารสนเทศ ตามด้วยกลยุทธ์ All Cloud เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล (Digitalization)  ขณะที่ปัญญาประดิษฐ์ได้รับความสนใจมากขึ้น กอปรกับผลกระทบที่เพิ่มขึ้นต่อภาคอุตสาหกรรม กลยุทธ์อัจฉริยะครบวงจร (All Intelligence) ของหัวเว่ยจึงถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ทุกอุตสาหกรรมได้ประโยชน์สูงสุดจากโอกาสเชิงกลยุทธ์ใหม่ ๆ ที่มาพร้อมกับเอไอ

กุญแจสำคัญของกลยุทธ์นี้อยู่ที่การผนึกกำลังกันของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปริมาณมหาศาล อันจำเป็นสำหรับการสร้างความเข้าใจและความรู้ในการใช้งานโมเดลพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ  "หัวเว่ยมุ่งมั่นในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานคอมพิวเตอร์ที่แข็งแกร่งสำหรับประเทศจีน – เพื่อเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับทั่วโลก" ดังที่คุณเมิ่งได้กล่าวไว้  "เรายังคงเสริมสร้างการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ชิป (chips) เทคโนโลยีเอดจ์ (edge) เครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ และเทคโนโลยีคลาวด์ (cloud) เพื่อเป็นรากฐานที่สมบูรณ์สำหรับระบบนิเวศแห่งอนาคต  เป้าหมายสุดท้ายของเราคือการตอบสนองความต้องการคอมพิวเตอร์เอไอหลากหลายรูปแบบสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ"

คุณเมิ่งยังกล่าวถึงก้าวต่อไปของหัวเว่ยด้วยว่า "หัวเว่ยจะเดินหน้าเจาะลึกต่อยอดด้านผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่เรามีความเป็นเลิศ และทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้า คู่ค้า นักพัฒนา และผู้มีส่วนได้เสียอื่นเพื่อสร้างสรรค์โซลูชันทางอุตสาหกรรมที่ล้ำสมัยและใช้งานง่าย  โดยการทำงานร่วมกัน เราจะสามารถช่วยเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยและความน่าเชื่อถือทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น ตลอดจนเร่งสร้างโลกอัจฉริยะให้ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม"

ในช่วงท้าย คุณเมิ่งยังย้ำด้วยว่า "ความสามารถนำมาซึ่งความมั่นใจ และอนาคตคือสิ่งที่เราต้องร่วมกันสร้าง"  เพื่อให้โลกอัจฉริยะในอนาคตสัมฤทธิ์ผลขึ้นได้: "สามัคคีคือพลัง ความพยายามย่อมนำมาซึ่งความสำเร็จ"

หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ประเทศไทยโชว์ศักยภาพเทคโนโลยี

X

Right Click

No right click