สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ขอชวนน้อง ๆ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา พร้อมคุณครูผู้สอนจากสถาบันการศึกษาทั่วไทยร่วมประชันไอเดีย พร้อมสร้างสรรค์ผลงานด้านโค้ดดิ้งใน “Coding War” รายการแข่งขันทักษะด้านโค้ดดิ้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ อีกหนึ่งกิจกรรมที่ห้ามพลาดเป็นอย่างยิ่งของโครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย

มหกรรมแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะระดับนานาชาติ พร้อมนำเสนอ ‘บัญชีบริการดิจิทัล’ อำนวยความสะดวกให้ผู้พัฒนาเมืองสามารถเลือกสินค้าและบริการ ด้านดิจิทัลที่มีคุณภาพในราคาที่เป็นธรรมและเหมาะสมกับบริบทของตนเอง

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) โดย ดีป้า พร้อมด้วย บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด เตรียมจัดงาน “Thailand Smart City Expo 2024” มหกรรมแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะระดับนานาชาติที่จะมีขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 6 – 8 พฤศจิกายน 2567 ฮอลล์ 3 – 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยปีนี้มาพร้อมแนวคิด ‘Towards Smart Data Era’ ซึ่งแสดงถึงความตื่นตัวของทุกภาคส่วนที่จะนำประเทศไทยเข้าสู่ยุคแห่งการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่า Thailand Smart City Expo 2024 จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมโครงการพัฒนาเมืองในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านการนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการพัฒนาเมือง การประชุมและสัมมนาระดับนานาชาติโดยผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งเป็นพื้นที่ที่จะเกิดการต่อยอดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการพัฒนาเมือง

“นอกจากนี้ กระทรวงดีอี โดย ดีป้า ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) พัฒนานโยบายกระตุ้นการลงทุนเพื่อดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาในพื้นที่เมืองอัจฉริยะผ่านมาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 100% ของเงินลงทุนด้านดิจิทัล ระยะเวลาสูงสุด 3 ปี เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการที่ขึ้นทะเบียนใน ‘บัญชีบริการดิจิทัล’ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้พัฒนาเมืองสามารถเลือกสินค้าและบริการด้านดิจิทัลที่มีคุณภาพในราคาที่เป็นธรรมและเหมาะสมกับบริบทของตนเอง ขณะที่หน่วยงานภาครัฐสามารถเลือกใช้สินค้าและบริการในบัญชีบริการดิจิทัลได้ด้วยระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างแบบเฉพาะเจาะจง ส่วนภาคเอกชนจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการลดหย่อนภาษีสูงถึง 200%” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าวเพิ่มเติม

ด้าน นายสุรพล อุทินทุ กรรมการผู้จัดการ เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ กล่าวว่า เทคโนโลยีดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้คนในชุมชนเมืองปรับเปลี่ยนไปเป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้พัฒนาเมืองจำเป็นต้องยกระดับเมืองไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้อยู่อาศัยในเมืองรอบด้าน เช่น ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านจราจรและขนส่ง ด้านการยกระดับการประกอบอาชีพและการศึกษา และด้านพลังงานสะอาด เป็นต้น

ทั้งนี้เทคโนโลยีด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเมืองให้ตรงกับความต้องการของผู้อยู่อาศัยในเมือง ช่วยแก้ไขปัญหา และเสริมจุดเด่นของแต่ละเมืองที่มีความแตกต่างกัน ได้อย่างตรงจุด ดังนั้น อ็น.ซี.ซี. จึงได้ร่วมกับ ดีป้า จัดงาน Thailand Smart City Expo 2024 ซึ่งเป็น

การต่อยอดความสำเร็จจากปีที่ผ่านมาที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมแสดงสินค้าเป็นจำนวนมาก และมีผู้เข้าชมตลอดระยะเวลาการจัดงานกว่า 8,600 คน อีกทั้งได้รับความสนใจจากผู้นำท้องถิ่นและผู้พัฒนาเมืองเข้าร่วมเจรจาธุรกิจกว่า 100 เมือง

สำหรับงาน Thailand Smart City Expo 2024 ได้รวบรวมเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะไว้ 7 กลุ่มอุตสาหกรรม ประกอบด้วย SMART Telecom, SMART Energy, SMART Living, SMART Industry & Retail, SMART Mobility, SMART Environment และ SMART Healthcare เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเมืองในทุกมิติ โดยคาดว่าปีนี้จะมีผู้เข้าร่วมชมงานราว 10,000 ราย มีผู้ประกอบการเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 150 ราย

“เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดงานในครั้งนี้จะเป็นช่องทางให้ชุมชนต่าง ๆ มาศึกษาเรียนรู้และนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลที่เหมาะสมกลับไปพัฒนาชุมชนของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เติบโตและก้าวหน้าได้อย่างก้าวกระโดด” นายสุรพล กล่าว

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีเมืองที่ผ่านการรับรองเป็นเมืองอัจฉริยะแล้วจำนวน 36 เมืองจาก 25 จังหวัดทั่วประเทศ โดยในปี 2567 – 2570 รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะยกระดับเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ไม่น้อยกว่า 105 เมือง อีกทั้งมีการประเมินว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นกว่า 10,000 ล้านบาท สำหรับผู้สนใจสามารถร่วมงาน Thailand Smart City 2024 มหกรรมแสดงสินค้าและเทคโนโลยีด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะระดับนานาชาติระหว่างวันที่ 6 - 8 พฤศจิกายน 2567 ณ ฮอลล์ 3 - 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.thailandsmartcityexpo.com 

รางวัลเชิดชูเกียรติผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลของไทย

ดีป้า เดินหน้าเสริมศักยภาพดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยต่อเนื่อง รุกส่งเสริม 3 โครงการผ่านมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล คาดสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจมากกว่า 25 ล้านบาท พร้อมช่วยกระตุ้นการจ้างงาน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้แก่ผู้ใช้บริการดิจิทัลโซลูชันจากดิจิทัลสตาร์ทอัพที่ได้รับการส่งเสริม

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดีป้า มุ่งยกระดับศักยภาพดิจิทัลสตาร์ทอัพสัญชาติไทยในทุกระยะการเติบโตด้วยการเสริมสร้างความรู้และทักษะสำคัญผ่านโครงการต่าง ๆ ควบคู่กับการพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัล พร้อมเปิดโอกาสให้เกิดการจับคู่ธุรกิจกับเหล่าผู้ประกอบการ เกษตรกร และชุมชนที่กำลังมองหาดิจิทัลโซลูชันที่เหมาะสมกับบริบทของตนเองก่อนนำมาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ อีกทั้งร่วมผลักดันดิจิทัลสตาร์ทอัพที่มีความพร้อมเพื่อก้าวสู่เวทีระดับสากล โดยปัจจุบัน ดีป้า ยกระดับดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยแล้วมากกว่า 165 ราย ขณะที่ปี 2567 มีแผนที่จะส่งเสริมสตาร์ทอัพเพิ่มกว่า 20 ราย

ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการส่งเสริมและสนับสนุน ดีป้า มีมติเห็นชอบข้อเสนอโครงการที่ขอรับการส่งเสริมสนับสนุนตามมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล (depa Digital Startup Fund) ระยะเริ่มต้น (Early Stage) จำนวน 3 ราย รวมมูลค่าการลงทุน 3 ล้านบาท ประกอบด้วย

  • Pettinee Televets แพลตฟอร์มให้บริการปรึกษาสัตวแพทย์ทางไกลและดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงครบวงจร โดย บริษัท เพทที่นี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
  • ThaiMarket แพลตฟอร์มจับคู่ระหว่างพ่อค้าแม่ค้า และเจ้าของตลาด โดย บริษัท สวัสดีไทยมาร์เก็ต จำกัด
  • Lightster แพลตฟอร์มทดสอบผลิตภัณฑ์และรับฟังความคิดเห็นของผู้ใช้งานสำหรับบริษัทเทคโนโลยี โดย นายปฏิเวธ เสถียรสัมฤทธิ์

สำหรับดิจิทัลสตาร์ทอัพทั้ง 3 รายที่ได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนฯ ในครั้งนี้มาจากบริการดิจิทัลที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของภาคประชาชน อีกทั้งมีศักยภาพที่จะเติบโตสู่ระดับสากลได้ในอนาคต พร้อมกันนี้ยังประเมินว่า ดิจิทัลสตาร์ทอัพทั้ง 3 ราย จะสามารถสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 25 ล้านบาท ทั้งในส่วนของการต่อยอดบริการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล การยกระดับทักษะบุคลากร กระตุ้นการจ้างงาน ตลอดจนการมีส่วนช่วยให้เกิดการสร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่ใช้บริการจากดิจิทัลสตาร์ทอัพทั้ง 3 รายผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบโครงการพัฒนาศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aircraft System Standard Testing Center) โดย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนภายใต้มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งภาครัฐและเอกชน (depa Digital Infrastructure Fund) โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) พื้นที่รวมกว่า 800 ตารางเมตรของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการภายในอาคาร (Indoor Labs) และพื้นที่ทดสอบการบินบริเวณลานบิน รองรับความต้องการวิเคราะทดสอบและยืนยันศักยภาพของผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอนาคต

เดินหน้ายกระดับความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาด้านดิจิทัล

Page 1 of 8
X

Right Click

No right click